โครงการเวทีประชาเสวนา เรื่อง "สานพลังนักศึกษาเพื่อปฏิรูปประเทศไทย" (ตอนที่ ๑)


ในคราวนี้ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยฯ ให้เข้าร่วมโครงการเวทีประชาเสวนา เรื่อง "สานพลังนักศึกษาเพื่อปฏิรูปประเทศไทย" ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการอำนวยการจัดโครงการเวทีประชาเสวนาสานพลังนักศึกษาเพื่อปฏิรูปประเทศไทย สภาปฏิรูปแห่งชาติ ในระหว่างวันที่ ๑๙ - ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๗ ณ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ

สำหรับในบันทึกนี้จะขอเล่ากิจกรรมพิธีเปิดเวทีประชาเสวนาในช่วงเช้าของวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๗ นะครับ

ในวันนี้ได้รับเกียรติจากท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ท่านศาสตราจารย์เทียนฉาย กีระนันทน์ มากล่าวเปิดการสานเสวนาพร้อมทั้งได้เล่าเรื่องราวของสภาปฏิรูปแห่งชาติ บทบาท อำนาจหน้าที่ และความคาดหวังจากการจัดเวทีประชาเสวนาในครั้งนี้ให้ได้ฟังกัน

ท่านเริ่มต้นจากการที่เราต้องรู้จักการเรียนรู้บทเรียนในอดีตที่ผ่านมาก่อนเพื่อที่จะวางรากฐานการพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืนและท่านยังได้ย้ำถึงความมีสิทธิเสรีภาพที่เท่าเทียมกันของพวกเราประชาชนชาวไทย ต่อมาท่านได้เล่าถึงความเป็นมาของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) โดยสปช.นั้นมีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ เพื่อ "ศึกษา" "วิเคราะห์" และจัดทำ "แนวทาง"และ "ข้อเสนอแนะ" เพื่อให้เกิดการปฏิรูปต่างๆ ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยภาพที่จะได้เห็นจากการปฏิรูปในครั้งนี้ คือ (ขอขอบพระคุณ Presentation จากท่านศาสตราจารย์เทียนฉาย กีระนันทน์ ครับ)

  • ทำให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทย
  • มีระบบเลือกตั้งที่สุจริตและเป็นธรรม
  • มีกลไกขจัดการทุจริต คอรัปชั่นที่มีประสิทธิภาพ
  • ขจัดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ สังคม
  • มีกลไกของรัฐที่ให้บริการกับประชาชนอย่างทั่วถึง สะดวกและ รวดเร็ว
  • มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม

ต่อมาท่านได้พูดถึงโครงสร้างของสปช. ดังที่ทุกท่านได้พอทราบกันโดยสังเขป ผมจึงขอข้ามเรื่องนี้ไปครับ

ต่อมาท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติได้พูดถึงการปฏิรูปในด้านต่างๆ
โดยผมจะขอนำเสนอในส่วนที่ถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญก่อน ซึ่งมีทั้งหมด ๑๑ ด้านดังต่อไปนี้

  1. การเมือง
  2. การบริหารราชการแผ่นดิน
  3. กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
  4. การปกครองท้องถิ่น
  5. การศึกษา
  6. เศรษฐกิจ
  7. พลังงาน
  8. สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
  9. สื่อสารมวลชน
  10. สังคม
  11. อื่น ๆ

และอีกส่วนนึงที่ทางสภาปฏิรูปแห่งชาติได้กำหนดขอบเขตไว้สำหรับการดำเนินการปฏิรูปที่จะเกิดขึ้นมีทั้งหมด ๑๘ ด้านดังต่อไปนี้

  1. การเมือง
  2. การบริหารราชการแผ่นดิน
  3. กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
  4. การปกครองท้องถิ่น
  5. การศึกษาและการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์
  6. เศรษฐกิจการเงินและการคลัง
  7. เกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์ การท่องเที่ยวและบริการ
  8. พลังงาน
  9. ระบบสาธารณสุข
  10. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  11. สื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  12. สังคม ชุมชน เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส
  13. แรงงาน
  14. การป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตและประพฤติมิชอบ
  15. ค่านิยม ศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรมและการศาสนา
  16. การกีฬา
  17. วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย นวัตกรรม และทรัพย์สินทางปัญญา
  18. การคุ้มครองผู้บริโภค

ซึ่งเมื่อเราได้มองดูภาพที่สภาปฏิรูปแห่งชาติจะทำนั้น ได้สอดคล้องไปตามรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว โดยสปช.ได้มีการแตกประเด็นออกมา เพื่อให้สปช.เอง สามารถดำเนินการไปได้ด้วยดี เพราะฉะนั้นวันนี้เรามีสปช.เกิดขึ้นมา การเสนอความคิดเห็นของคนหนึ่งคนก็อาจจะเป็นส่วนที่ไปช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคมและประเทศชาติของเรา แม้เป็นเพียงจุดเล็กๆ ที่ได้นำเสนอความคิดเห็นแต่จุดนั้น อาจเป็นจุดสำคัญที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่กับประเทศของเราก็เป็นได้ครับ


สวัสดีครับ.

ชญานนท์ ทัศนียพันธุ์

๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๗ ๒๒๕๕น.

หมายเลขบันทึก: 582855เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2014 22:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มกราคม 2015 08:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เห็นข่าวนี้จาก Nation TV อยู่ครับ ;)...

ขอบคุณมากๆครับ

ที่เขียนให้อ่าน

รออ่านอีกครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท