บ้าหอบฟาง


ผมคิดว่า การศึกษาขั้นพื้นฐานของไทย ตอบโจทย์อาเซียนไม่ได้เลย เราภูมิใจและมีความสุขกับคำทักทาย อาหาร สัญลักษณ์บางอย่างและธงชาติในอาเซียน จนลืมวัฒนธรรมในระดับรากหญ้าและปากท้องของเราเอง...หรือไม่

เคยขับรถเข้าไปในโรงเรียนมัธยม เห็นเด็กไม่เข้าเรียน เดินเล่นเตร็ดเตร่ไปเรื่อยๆ บ้างก็จับกลุ่มหยอกล้อ ใต้ร่มไม้ เหมือนปล่อยเวลาให้หมดไป ไร้การอ่านและขีดเขียน ในจุดของการผ่อนคลายของวัยรุ่น เราพอเข้าใจได้
แต่เราคิดเลยไปถึง พื้นที่ปฏิบัติการฯ งานอาชีพในโรงเรียนมัธยม เพื่อบ่มเพาะทักษะรักงาน ทำงานเป็นตามความสนใจในแต่ละช่วงวัย ทั้งงานเกษตร งานช่าง งานไฟฟ้า งานไม้และคหกรรม ฯลฯ มีมากน้อยแค่ไหนกัน
เป็นเรื่องที่น่าคิด..ถ้าจะรองรับอาเซียนในแบบที่วัยรุ่นไทย ไม่เป็นอะไรเลย อ่านตำราเพื่อสอบและจบอย่างเดียว
แล้วแย่งกันเข้ามหาวิทยาลัย โดยทิ้งถิ่นฐานที่ทำกิน บางทีก็คิดว่า ระบบการศึกษาไทยต้องเป็นอย่างนี้ หรือ.... วัฒนธรรมการคิดของโรงเรียนไทยต้องเป็นอย่างนี้ตลอด หรือ
คือ ผู้ปกครองส่งลูกมาเรียนอ่านเขียนกระดาษ มุ่งแต่วิชาการ ถ้าจะต้องปฏิบัติสัมผัสออกแรง จะเป็นความผิดอย่างใหญ่หลวง..กระนั้นหรือ
สรุป..ผมคิดว่า การศึกษาขั้นพื้นฐานของไทย ตอบโจทย์อาเซียนไม่ได้เลย เราภูมิใจและมีความสุขกับคำทักทาย อาหาร สัญลักษณ์บางอย่างและธงชาติในอาเซียน จนลืมวัฒนธรรมในระดับรากหญ้าและปากท้องของเราเอง...หรือไม่
ดังนั้น เดี๋ยวนี้จึงพบเห็นบ่อยมาก ถ้าท่านไปต่างจังหวัด วันเสาร์อาทิตย์ ยามสายๆ ในเรือกสวนไร่นา คนที่เดินดูแลไร่นา ตากข้าว ตวงข้าว ใส่ปุ๋ย ถากหญ้า จะมีแต่เกษตรกรวัยกลางคนไปจนถึงคนเฒ่าคนแก่
ผมเคยเข้าไปถามว่าลูกหลานไปไหนกันหมด..คำตอบก็คือ อยู่ในบ้าน ดูทีวี ยังไม่ตื่นนอนก็มี ขี่มอเตอร์ไซค์ไปบ้านเพื่อน และท้ายที่สุดข้อมูลที่ได้คือ ลูกหลายวัยรุ่นที่มีเรียวแรงเหล่านั้น ทำงานไม่เป็นและไม่ชอบอาชีพของผู้ปกครอง
ครับ เราจะเอาอะไรไปแข่งขันในตลาดอาเซียน ในเมื่อเรามีคุณภาพของคนที่นักลงทุนมักจะไม่ต้องการ..เสมอ.
ผมจะคิดประมาณนี้ เมื่อลงมือทำงานเกษตรกับเด็กๆ จะฝึกให้เขามีพื้นฐานเรียนรู้สู้งาน เพิ่มพูนทักษะชีวิตเข้าไปทีละน้อย วันนี้อาจดูเป็นบ้าหอบฟาง ต่อเมื่อเขาโตขึ้น และคิดเป็น จัดวางระเบียบชีวิตได้ เขาจะแยกแยะได้ว่าเส้นทางอาชีพของเขาคืออะไรกันแน่
บอกเขาว่า..ฟาง..ชาวนาเตรียมจะเผา การเผาสร้างมลพิษให้แก่โรงเรียน วิธีสร้างภูมิคุ้มกัน เราก็ต้องไปขอเขามาทำแปลงผัก ทำปุ๋ย และเพาะเห็ดฟาง เป็นได้ทั้งความพอประมาณและมีเหตุผลในตัวเอง
การจะทำให้โรงเรียนมีชีวิต ไม่ต้องคิดเดินทางไปแข่งขันทักษะวิชาการฯยังที่ห่างไกล สิ้นเปลืองเวลาและงบประมาณ เป็นการบ่มเพาะความเห็นแก่ตัว สร้างภูมิคุ้มกันที่ผิดๆ มุ่งแต่จะเอาชนะ ชิงดีชิงเด่น แต่ควรสร้างกิจกรรมให้เขาอยู่ในพื้นที่ และเรียนรู้อย่างมีความสุข... เข้าใจและรู้จักตนเองก็พอ

ชยันต์ เพชรศรีจันทร์

๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๗

</strong></span></span>

หมายเลขบันทึก: 582681เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2014 21:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ธันวาคม 2014 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ชอบใจประโยคท่อนสุดท้ายที่ว่า"แข่งให้เกิดความเห็นแก่ตัวไปทําไม " น่าจะมี ผอ อย่างอาจารย์สักครึ่งประเทศ สังคมจะดีขึ้นอีกเยอะครับ

เป็นมุมมองที่อยากเห็นในผู้บริหารการศึกษาบ้านเราจังเลยค่ะ

ย้ายไปเป็น ผอ.แถว ๆ เมืองสามอ่าวสักเทอมได้ไหมท่าน

กลัวย้ายไปแล้ว ติดใจอากาศชายทะเล..ไม่อยากย้ายกลับเมืองกาญจน์

</span></strong></span>

มาชื่นชมผลงาน..(ชอบ)..อยากให้..ลูกหลานบ้าหอบฟาง..มากกว่า.(.บ้า.)(ประกาศณียบัตร)..อิอิ..(เสียดายแรงงานพ่อแม่ปู่ย่าตายาย..๕ (ที่นับวันก็จะหมดคุณค่าไปทุกทีๆ)...เหมือนหุ่นไร่กา..ที่ผุๆพังๆที่ยืนเดียวดายอยู่กลางนา..ที่นกก็จะไม่มี บิน ให้เห็นกันต่อไป..ปลาในน้ำก็ไม่มี..เพราะน้ำมันเป็นพิษ..๕

สุดยอดอีกแล้วครับท่าน ผอ.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท