ครูอุ่นใจ สังคมมติ มติแห่งความปรองดองของสังคม


ได้เรียนรู้เทคนิคและการฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม ที่ต้องร้อย รัด มัด ห่อ หัวใจของคนทำงานให้เป็นทีมที่เป็นทิศทางเดียวกัน


ผู้เขียนได้เรียนรู้กระบวนการ การเป็นกระบวนกร คนทำกิจกรรมแบบ"หัดในไถ"

จาก "ศูนประสานงานเครือข่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาท้องถ่ิน(ศวพถ)

ซึ่งมีบล็อกเกอร์ นาม อาจารย์ชายขอบ (วรพล หนู่นุ่น)เป็นคนถ่ายทอด แบบ"หัดในไถ

"ทำให้เห็น เป็นให้ดู อยู่ให้จริง เป็นการเรียนไปทำไป บ่มเพราะประสบการณ์เรียนรู้ด้วยการฝึกหัด

ไม่ว่าจะเป็นการสัญจรแบบ "นาคอน"(นอนคา)บ้านแกนนำ

ปรึกษาหารือแบบไร้ระเบียบ แต่ได้อรรถรส ได้สุนทรียสนทนา

ได้พื้นที่แห่งความปลอดภัยในการสนทนา ให้ทุกคนเท่าเทียมกัน

ทุกคนได้พูดในสิ่งที่อยากพูด ได้เล่าในสิ่งที่อยากเล่า ได้บอกในสิ่งที่อยากบอก

ได้ปัญหา ได้ประเด็น ได้แนวทาง และได้ปัญญานำมาแก้ไขชุมชน

ห่างหายการเรียนรู้จาก อาจารย์ วรพลไป 2 ปี มาร่วมเวทีกันอีกครั้ง ในวันนี้

อาจารย์ วรพล หนู่นุ่น(อาจารย์ชายขอบ) ผู้ก่อตั้ง ศูนย์ประสานงานเครือข่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น (ศวพถ)

ภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ"แกนนำครูอุ่นใจ"พี่เลี้ยงในการลดสารเสพติดด้วยแนวคิดลดอันตราย

เครือข่าย คน ศวพถ จึงรวมพลกันอึกครั้ง และอีกหลายๆครั้งในวันข้างหน้า

ในเวทีนี้นอกจากมาเป็นคณะวิทยากรแล้ว ก็ยังได้เรียนรู้เทคนิคและการฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม

ที่ต้องร้อย รัด มัด ห่อ หัวใจของคนทำงานให้เป็นทีมที่เป็นทิศทางเดียวกัน แม้มาจากหลายสถาบัน

หลายสถานะ หลายอาชีพ แต่คุณคือทีมวิทยากร ที่ต้องเป็นหนึ่งเดียวในการนำพาเวที

ผู้เขียนได้เรียนรู้การเลือกคนมาเป็นผู้นำทีม ภายใต้กติการ"สังคมมติ"ที่ถูกกำหนด

ในบทบาทที่ทางสังคมมอบให้ ส่วนผู้ที่ได้ลำดับรองๆลงมาก็เป็นคณะทำงานในการที่สังคมมติไว้

เป็นวิธีการที่ลดความเลื่อมล้ำ ทางสถานะภาพ ปรองดองสมานฉันท์ ในการสังคมมติ

ซึ่งผู้เขียนจะได้นำวิธี สังคมมติไปทดลองใช้ในการคััดเลือกคน ในเวที ชุมชนเพื่อปฎิรูปการเลือก

ผู้นำคณะทำงาน ที่ปรองดองต่อไป



หมายเลขบันทึก: 581630เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2014 04:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ธันวาคม 2014 06:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อยากรู้ที่มาของชื่อ "ครูอุ่นใจ" ค่ะ ฟังแล้วน่าเข้าใกล้

สวัสดี อาจารย์ Nui ครูอุ่นใจ คือโครงการจัดอบรมแกนนำครูให้เป็นที่ปรึกษา เป็นพี่เลี้ยงในการลดการใช้สารเสพติด ด้วยแนวคิดการลดอันตราย

ซึ่งทาง ปปส.เขต 9 เป็นเจ้าภาพ มีอาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา เป็นวทยากร

พวกผม คน ศวพถ (ศูนย์ประสานงานเครือข่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น) มาเป็นคน นำกระบวนการกลุ่ม

เรียนท่านศุภลักษณ์ เภสัชพันธ์หายาก

ขอบคุณมากที่แวะมา นานหนักหนาแล้วที่ไม่ได้แลกเปลี่ยนกัน


อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท