กระบวนทัศน์ของการออกกฎหมาย


จึงขอเสนอกระบวนทัศน์ใหม่ (ซึ่งไม่ทราบว่าจะถูกหรือผิด) ในการออกกฎหมาย ว่าน่าจะเปลี่ยนไปเป็นออกกฎหมายเพื่อเอื้อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เอื้อให้มีการทดลองสิ่งใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆ


ผมเขียนบันทึกนี้ด้วยความเคารพต่อนักกฎหมาย ด้วยความไม่มั่นใจว่าความคิดของผมจะถูกต้อง แต่ก็อยากเสนอไว้ เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินไทย สังคมไทย เป็นการเสนอกระบวนทัศน์ใหม่ ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ผมคิดว่า กระบวนทัศน์ในการตรากฎหมายของสังคมไทย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เป็นการตราเพื่อสร้างบรรทัดฐาน เพื่อให้ยึดถือ เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติตาม เน้นว่าสิ่งที่ตรานั้นเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุด เป็นสิ่งที่หยุดนิ่งอยู่กับที่ (fixed) หรือตายตัว เป็นสิ่งที่เหมาะสำหรับสังคมมนุษย์สมัยศตวรรษที่ ๒๐, ๑๙ และก่อนหน้านั้น ไม่เหมาะต่อสภาพสังคมในศตวรรษที่ ๒๑ ที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก

โลกแข่งขัน (และร่วมมือ) กันด้วยความสามารถในการสร้าง (หรือนำหน้า) การเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่วิ่งไล่กวดการเปลี่ยนแปลง

แต่วิธีคิด หรือกระบวนทัศน์ ในการออกกฎหมายไทย มุ่งไล่ตามการเปลี่ยนแปลง

จึงขอเสนอกระบวนทัศน์ใหม่ (ซึ่งไม่ทราบว่าจะถูกหรือผิด) ในการออกกฎหมาย ว่าน่าจะเปลี่ยนไปเป็นออกกฎหมายเพื่อเอื้อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เอื้อให้มีการทดลองสิ่งใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆ

คือใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือสร้างการเปลี่ยนแปลง


วิจารณ์ พานิช

๒๐ พ.ย. ๕๗


หมายเลขบันทึก: 581522เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2014 14:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ธันวาคม 2014 14:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ต้องเปลี่ยนกระบวนทรรศน์ของกฤษฎีกา ทั้ง 11 คณะให้ได้ครับ เพราะตัวการสำคัญก็คือตัวคนในตำแหน่งเหล่านั้นครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท