ชีวิตที่พอเพียง : ๒๒๙๙. ตามเสด็จปราจีนบุรี : ๕. ไหมอีรี่



หลังจากทำงาน ๓ วัน (๗ - ๙ ตุลาคม ๒๕๕๗) คณะกรรมการนานาชาติ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล และคู่สมรส ได้รับพระราชทานพาเที่ยว ๓ วัน (๑๐ - ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๗) ปีนี้ไปภาคตะวันออก ๓ จังหวัด คือ ปราจีนบุรี สระแก้ว และ ฉะเชิงเทรา

จุดที่ ๔ ของวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ คือ วิสาหกิจชุมชนราชภูมิฟาร์มไหมอีรี่ ตำบลแซร์ออ อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว เมื่อไปถึง ก็ตรงไปยังที่จัดนิทรรศการ มีครอบครัวนางสาวรัชนีกร ชำนาญ เฝ้ารับเสด็จ เราได้เรียนรู้ว่า นางสาวรัชนีกรสนใจและเรียนรู้วิธีเลี้ยง ไหมอีรี่ ด้วยตนเอง เมื่อทีวีมาทำข่าว สมเด็จพระเทพรัตน์ฯทรงทราบ จึงรับโครงการไว้ในพระอุปถัมภ์ ทางศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ ๙ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และ มทร. ภาคตะวันออก วิยาเขตจันทบุรี ได้เข้าไปจัดอบรมปฏิบัติการ หลักสูตร "เทคนิคการบริหารจัดการการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไหมอีรี่"

เราได้เห็นการเลี้ยงตัวไหม เห็นหนอนไหมระยะต่างๆ การสาธิตสาวใยไหม และผลิตภัณฑ์จากใยไหม ที่ไม่ใช่แค่เอามาทำเป็นผ้าหรือเครื่องนุ่งห่มเท่านั้น ยังเอาโปรตีนใยไหมมาทำเครื่องสำอางได้ด้วย ส่วนนี้ศูนย์นาโนเทคได้มาช่วยเหลือพัฒนาผลิตภัณฑ์ และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กลุ่มชาวบ้านผลิตเอง

ไหมอีรี่เลี้ยงง่าย และกินใบไม้หลายชนิด ที่นี่เลี้ยงด้วยใบมันสำปะหลัง ซึ่งปลูกกันแพร่หลายในพื้นที่ หนอนไหมอีรี่นอนวันละ ๓ - ๔ ชั่วโมงเท่านั้น ตื่นเมื่อไรเป็นกินตลอดเวลา จึงโตเร็วมาก

ผมดูจากป้ายนิทรรศการ พบว่ารังไหม ๑๐ กิโลกรัม ขายใยได้ ๑ กิโลกรัม ๓๐๐ บาท ขายตัวไหมได้ ๘ กิโลกรัม ๘๐๐ บาท เอาไปทำอาหาร ที่อินเดีย เขาเลี้ยงไหมอีรี่เอาไว้กิน โดยกินทั้งรัง ในนิทรรศการวันนี้ มีข้าวเกรียบดักแด้ไหมอีรี่ และน้ำพริกผสมดักแด้ไหมอีรี่ รวมทั้งดักแด้ทอด ให้ชิม ผมได้ชิมทั้งสามอย่าง




นางสาวรัชนีกร ชำนาญ ถวายรายงาน


เรื่องราวของนางสาวรัชนีกร


หนอนไหมกำลังกินใบมันสำปะหลัง


ที่ใส่ดักแด้


เรื่องราวของไหมอีรี่


เครื่องนุ่งห่มจากไหมอีรี่


การสาวใยไหม และการผ่าเอาตัวหนอนออกม และการผ่าเอาตัวหนอนออก


ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและเครื่องนุ่งห่มจากใยไหม


ผลิตภัณฑ์อาหารจากตัวไหม


วิจารณ์ พานิช

๑๒ ต.ค. ๕๗


หมายเลขบันทึก: 581521เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2014 14:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2018 06:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ไม่รู้ และผมได้รู้จากบันทึกนี้ครับ

วันที่ 27 ธันวาคม 2557 ผมไปประชุมคณะกรรมการอำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวาระนำเสนอผลงานของโครงการฝ้ายแกมไหม ที่ส่งเสริมการเลี้ยงไหมอีรี่ ผมถามเรื่องรายได้จากการขายรังไหมและตัวไหม พบว่าที่เชียงใหม่ขายตัวหนอนไหมได้กิโลกรัมละ 200 บาท ราคาสองเท่าของที่วัฒนานคร ส่วนรังไหมขายได้กิโลกรัมละ 300 บาท เท่ากับที่วัฒนานคร

วิจารณ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท