"พี่หนาน"
นาย พรพจน์ พี่หนาน เรียงประพัฒน์

"ฝึกแปล: เรียนรู้พุทธศาสนาไทยผ่านมุมมอง "พระฝรั่ง" ที่มีต่อพระสงฆ์และพระพุทธศาสนาไทย" (๒)


๑/๑๒/๒๕๕๗

**************

"ฝึกแปล: เรียนรู้พุทธศาสนาไทยผ่านมุมมอง "พระฝรั่ง"

ที่มีต่อพระสงฆ์และพระพุทธศาสนาไทย" (๒)


Q. At what stage did things change that made you feel that you were as good a monk as any Thai person?

From my first day!

A. This is continuing my interview with Peter Robinson, who is probably better known in Thailand as "Phra Farang", the foreign monk. Peter spent ten years as a monk before finally disrobing in order to spend more time with his student charity, The SET Foundation (SET). I will be talking more with Peter about SET in a later interview and how you can help needy Thai students get a scholarship.

ถาม. หากมีโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ที่ทำให้คุณรู้สึกว่าเป็นการกระทำดีขณะที่เป็นพระสงฆ์ของประเทศไทย ควรจะทำอะไร?

ต่อจากวันแรกของผม!

ตอบ. นี่คือการสัมภาษณ์อย่างต่อเนื่องของผมที่มีต่อ ปีเตอร์ โรบินสัน(Peter Robinson) ผู้ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทยว่า "พระฝรั่ง" ("Phra Farang") พระชาวต่างชาติ ปีเตอร์ใช้เวลาสิบปีในชีวิตพระสงฆ์ ก่อนที่จะลาสิกขามาทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ให้กับมูลนิธิเพื่อการกุศลของเขาที่ The SET Foundation (SET) ผมจะไม่พูดอะไรในเรื่องของปีเตอร์ เกี่ยวกับสถานที่ทำงานของเขาในการสัมภาษณ์ครั้งนี้มากนัก และคุณสามารถให้ความช่วยเหลือนักเรียนไทยให้ได้รับทุนได้อย่างไร

...

Q. In Thailand there are two Buddhist sects. Can you briefly explain what these are and the main differences?

A. The biggest sect is called Mahanikaya and the smaller sect is Dhammayuttika. Both follow exactly the same teaching and rules, but Dhammayuttika monks have traditionally been more strict in their practice. They tend to live in isolated monasteries without as much contact with the lay people and spend more time in meditation. Mahanikaya monks are often teacher or scholar monks, so they live in larger cities and towns where the people are.

ถาม. ในประเทศไทยผู้ที่นับถือศาสนาพุทธมีสองนิกาย คุณสามารถอธิบายโดยสรุป ถึงนิกายเหล่านี้ว่ามีหลักการที่แตกต่างกันอย่างไรได้ไหม?

ตอบ. นิกายที่ใหญ่ที่สุดเรียกว่า "มหานิกาย" (Mahanikaya) และนิกายขนาดเล็กคือ "ธรรมยุติกนิกาย" (Dhammayuttika) ทั้งสองปฏิบัติตามหลักคำสอนและกฎระเบียบเดียวกัน แต่พระสงฆ์ธรรมยุติ มีธรรมเนียมประเพณีแบบดั้งเดิมและการปฏิบัติที่เข้มงวดมากกว่า พวกเขามีนิสัยที่จะอยู่ในวัดที่สงบไม่ต้องติดต่อกับศาสนิกชนมากนัก และใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการฝึกสมาธิฝ่ายพระมหานิกายมักจะเป็นพระผู้สอนและเป็นนักการศึกษา/นักศึกษา ดังนั้นพวกเขาจึงอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่และเมืองที่มีผู้คนอยู่หนาแน่น

...

Q. Sometimes you see monks wearing different coloured robes. Is there any significance in this?

A. Not really. Dhammayuttika monks usually wear a dark brown robe and city-based Mahanikaya monks often wear orange. Some monks may wear a deep red robe. It often depends on the choice of the abbot. In my ten years as a monk, I wore all three colors at various times.

ถาม. บางครั้งคุณเห็นพระสงฆ์ห่มจีวรที่มีสีแตกต่างกัน มีความสำคัญอย่างไร ในเรื่องนี้?

ตอบ. ก็ไม่เชิงนะ พระสงฆ์ธรรมยุติมักจะห่มจีวรสีน้ำตาลเข้ม ส่วนพระสงฆ์มหานิกาย ในเมือง มักจะห่มจีวรสีส้ม พระสงฆ์บางรูปอาจห่มจีวรสีแดงเข้ม(กลักแดง) มันขึ้นอยู่กับว่าเจ้าอาวาสท่านจะเลือกใช้ ในรอบสิบปีที่ผมเป็นพระสงฆ์ ผมห่มจีวรทั้งสามสีในช่วงเวลาที่ต่างกัน

...

Q. Some Western people see the alms round as monks going around the community begging for food. Do the lay people see this differently?

A. Definitely. Monks anyway do not beg and the rules forbid them from asking for anything. They simply walk in the streets with their alms bowls and if people want to offer food, the monks accept it. If the people don't offer food, then the monk must go hungry.

ถาม. ชาวตะวันตกบางคนเห็นพระอุ้มบาตรเข้าไปบิณฑบาตภายในชุมชนเพื่อขออาหาร จะนำเสนอหรือบอกกล่าวแก่ศาสนิกชนที่มีความเห็นต่างอย่างไรดี?

ตอบ. แน่นอน ถึงอย่างนั้นพระสงฆ์ก็ไม่สามารถทำการขอ และมีระเบียบห้ามพวกเขาร้องขอในสิ่งต่างๆ จากชาวบ้าน พวกเขาเพียงแค่เดินอุ้มบาตรไปตามถนนถ้าชาวบ้าน(ประชาชน)ต้องการที่จะนำอาหารมาใส่พระสงฆ์ท่านก็ยอมรับ ถ้าชาวบ้านไม่ให้อาหารแล้ว พระสงฆ์ท่านก็จำต้องทนหิวเป็นแน่

...

Q. Do you still remember your first alms round? What were your main concerns when you were doing this?

A. I will never forget my first alms round because it was such an extraordinary spiritual experience. At first there were practical difficulties, like keeping my robe from falling off, or dropping my alms bowl, or being careful not to step bare-footed in dog crap. But I got use to these practicalities in a very short time.

ถาม. คุณยังจำการบิณฑบาตครั้งแรกของคุณได้ไหม? อะไรคือความกังวลหลักของคุณเมื่อคุณกำลังทำเช่นนี้?

ตอบ. ผมจะไม่ลืมบิณฑบาตครั้งแรกของผม เพราะมันเป็นดั่งประสบการณ์ทางจิตวิญญาณที่ไม่ธรรมดา ในตอนแรกมีความยากลำบากในทางปฏิบัติมาก การรักษาจีวรมิให้หลุดลุ่ยหรือบาตรของผมจะหลุดจากวงแขน หรือการระมัดระวังไม่ให้ก้าวเท้าที่เปลือยเปล่าไปเหยียบขี้หมา แต่ผมก็ได้ปฏิบัติการในสิ่งเหล่านี้ในช่วงเวลาที่น้อยมาก

Q. Did you ever feel embarrassed when you went on the alms rounds? Did you ever feel like you were a fraud or that people would treat you as a joke?

A. Not at all. What was to be embarrassed about? I was doing exactly what the Buddha did everyday and his monks have been doing the same thing for more than 2,500 years. Thai people never treated me as a joke – though my appearance seemed to give some foreigners a good laugh.

ถาม. คุณเคยรู้สึกอายเมื่อคุณไปบิณฑบาตไหม? คุณเคยรู้สึกว่าคุณหลอกลวงเขา หรือว่าชาวบ้านที่ปฏิบัติต่อคุณขณะนั้นเป็นเรื่องน่าขันหรือไม่?

ตอบ. ไม่ใช่ทั้งหมด ผมจะต้องอายในเรื่องอะไรหรือ? ผมได้ทำในสิ่งที่ถูกต้องโดยแท้ เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าได้ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน และพระสาวกของพระองค์ได้ทำสิ่งเดียวกันนี้มานานกว่า 2,500 ปีแล้ว ประชาชนไทยไม่ได้ปฏิบัติต่อผมโดยถือเป็นเรื่องตลก - แม้ว่ารูปร่างหน้าตาของผมดูเหมือนจะทำให้ชาวต่างชาติบางคนหัวเราะก็ดี

Q. I have seen some monks go out on their alms round on the back of a motorcycle taxi or standing outside a 7-Eleven convenience store. I have also seen some defending their "turf" from rival temples. Are there many Thai monks out there who are just there for an "easy life" or for the money that they collect?

A. Sometimes the monks you see standing around at 7-Elevens or wherever and asking for food or money are not actually monks at all. They are 'false monks' and the Sangha is very aware of the problem. It has its own investigator monks who go out with police looking for them and the police immediately arrest them, though they are not too harsh on them.

It is true that there are men who ordain just for an easy life, for free food and accommodation, and to make a little money by chanting blessings, but there are lazy people to be found in every walk of life.

ถาม. ผมได้เห็นพระสงฆ์บางรูปออกไปบิณฑบาต อยู่ด้านหลังวินมอเตอร์ไซต์ รถแท็กซี่ หรือยืนอยู่ด้านนอกร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ผมยังได้เห็นบางรูปปกป้อง "สายบิณฑบาต" ("turf") ของพวกเขาจากวัดคู่แข่งอีกด้วย มีพระสงฆ์ไทยจำนวนมากปรารถนาที่จะมี "ชีวิตที่สะดวกสบาย" ("easy life") จึงต้องมีการเก็บรวบรวมเงินเอาไว้อย่างนั้นหรือ?

ตอบ. บางครั้งพระสงฆ์ที่คุณเห็นยืนอยู่ใกล้ๆ 7-Elevens หรือที่ใดก็ตามและเรียกร้องให้เขานำอาหารหรือเงินมาให้ ไม่ใช่พระสงฆ์จริงทั้งหมด พวกเขาเป็น "พระปลอม" และคณะสงฆ์ ตระหนักรู้ถึงปัญหานี้เป็นอย่างมาก จึงจัดให้มีพระสงฆ์ผู้ตรวจสอบเป็นของตนเอง(พระวินยาธิการ) ออกไปพร้อมกับตำรวจมองหาพวกเขา และให้ตำรวจเข้าจับกุมทันที แม้ว่าพวกเขา(พระปลอม)จะทำจริงแต่ก็ไม่ได้ทำการรุนแรงจนเกินเหตุ

มันเป็นความจริงที่ว่า มีคนที่บวชเพียงเพื่อมีชีวิตที่สะดวกสบาย สำหรับอาหารและที่พักฟรี และจะทำให้ได้เงินอีกนิดหน่อย โดยการสวดมนต์ให้ศีลให้พร แต่ก็มีประชาชนที่ขี้เกียจที่เราจะพบเห็นได้ในทุกก้าวย่างของชีวิต

...

Q. Why do Thai people prefer to give food and money to monks rather than to a charity or a poor family down the road?

A. Simply because they believe they make more merit by giving to the monks. One day, when I returned from alms round with enough food to feed six people, I found a lady waiting for me at my kuti, wanting to offer yet more food. I explained that I already had more than enough and suggested she take her food to the nearby orphanage. She looked at me as though I was crazy, and said "but there are no monks there".

ถาม. ทำไมคนไทยชอบที่จะถวายอาหารและเงินแด่พระสงฆ์ มากกว่าเพื่อการกุศลหรือเพื่อครอบครัวที่ยากจนบนท้องถนน?

ตอบ. เพียงเพราะพวกเขาเชื่อว่า พวกเขาทำบุญมากขึ้น โดยการถวาย(ให้)กับพระสงฆ์ มีอยู่วันหนึ่ง เมื่อผมกลับมาจากบิณฑบาตพร้อมกับอาหารเพียงพอที่จะเลี้ยงชาวบ้านได้หกคน ผมพบว่ามีหญิงคนหนึ่งรอผมอยู่ที่กุฏิ (kuti)ต้องการที่จะใส่บาตรถวายอาหารที่ยังอยู่จำนวนมาก ผมอธิบายว่า อาตมามีมากเกินพอแล้ว และแนะนำให้เธอนำอาหารของเธอไปสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าที่อยู่ใกล้ๆ เธอมองที่ผมราวกับว่าผมเป็นคนบ้า และกล่าวว่า "แต่มันไม่มีพระสงฆ์" ("but there are no monks there")

...

Q. I know monks are not supposed to handle money, but what expenses do they have that calls for money. I am thinking here of electricity bills?

A. Monks have no real expenses. The bills for water and electricity are paid for by the monastery from funds given by lay people, and monks don't have to pay for their accommodation in the monastery. But even monks may need a little money sometimes. Thai lay people are very generous when it comes to giving food on alms round, but they may not think to give things like toothpaste, soap or other toiletries. I often had to buy these things myself when I was a monk.

ถาม. ผมรู้ว่าพระสงฆ์ไม่สมควรจะถือจับเงิน แต่ว่ามีค่าใช้จ่ายพวกเขาจึงเรียกร้องเอาเงิน ผมคิดว่านี่คงเป็นค่าไฟฟ้าใช่หรือไม่?

ตอบ. พระสงฆ์ไม่มีค่าใช้จ่ายจริง ค่าใช้จ่ายสำหรับน้ำและไฟฟ้าทางวัดเป็นผู้ออกให้ เป็นเงินที่ได้รับจากศาสนิกชน(พุทธบริษัท) และพระสงฆ์ไม่ได้จ่ายเงินเพื่ออาหารและที่อยู่ของพวกเขาในวัด แม้กระทั่งพระสงฆ์อาจจะต้องการเงินเล็ก ๆ น้อย ๆ ในบางครั้ง พุทธบริษัทไทยมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มากๆ คอยใส่อาหารบิณฑบาต แต่พวกเขาอาจไม่คิดว่าจะให้ในสิ่งที่ต้องการ มียาสีฟัน, สบู่ หรืออุปกรณ์อาบน้ำอื่น ๆ ผมมักจะได้ไปซื้อสิ่งเหล่านี้ด้วยตัวเอง เมื่อผมเป็นพระสงฆ์

...

Q. I sometimes see monks on buses or in taxis. Is this free for them?

A. The back seat of public buses is (or was?) for monks and they could travel free. Taxis or private transport are not free.

ถาม. ในบางครั้งผมเห็นพระสงฆ์บนรถเมล์หรือรถแท็กซี่ นี้เป็นบริการฟรีสำหรับพวกเขาหรือเปล่า?

ตอบ. เบาะหลังของรถโดยสารสาธารณะ (is หรือ was?) สำหรับพระสงฆ์ และพวกเขาสามารถเดินทางฟรี รถแท็กซี่หรือรถขนส่งเอกชนจะไม่ฟรี

...

Q. These days many foreigners seem to want to become monks for a short period of time. Do you have any advice on how they can go about doing this?

A. For several years I ran a course for Westerners who wanted to ordain short-time as monks or novices. Most of the men responded very well but that was because there was no language or cultural barrier between us. I was also able to teach a more pure form of Buddhism than is generally taught or understood by Thai monks.

To really get the most out of it, any Westerner wanting to become a monk should ordain at a monastery with a senior English-speaking monk; someone who can really explain not only the rules but also the why of being a monk. Otherwise, it can be a total waste of time. Probably the best place for a Westerner to ordain is at the international forest monastery – Wat Pa Nanachat – in the northeast.

ถาม. วันนี้ชาวต่างชาติหลายคน ดูเหมือนต้องการที่จะเข้ามาบวชเป็นพระสงฆ์ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง คุณมีคำแนะนำที่พวกเขาสามารถนำไปปฏิบัติตามได้อย่างไรหรือไม่?

ตอบ. เป็นเวลาหลายปีที่ ผมเปิดสอนเป็นคอร์สแก่ชาวตะวันตกที่อยากจะบวชเป็นพระสงฆ์หรือสามเณรในเวลาสั้นๆ ชาวต่างชาติส่วนใหญ่ให้การตอบรับได้ดีมาก นั่นเป็นเพราะไม่มีปัญหาอุปสรรคทางด้านภาษาหรือทางวัฒนธรรมระหว่างเรา ผมสามารถที่จะสอนพระพุทธศาสนาในรูปแบบที่บริสุทธิ์ได้มากกว่าการสอนโดยทั่วไปหรือที่เรียนรู้ได้โดยพระสงฆ์ไทย

ความจริง ได้แนะนำให้ทำมากกว่านั้นอีก ชาวตะวันตกต้องการที่จะมาเป็นพระสงฆ์ ควรจะบวชที่วัดที่มีพระสงฆ์ผู้อาวุโสที่พูดภาษาอังกฤษได้; บางรูปอธิบาย กฎ ข้อปฏิบัติที่ถูกต้องได้ไม่ทั้งหมด รวมทั้งทำไมถึงต้องการอยากมาเป็นพระสงฆ์ มิฉะนั้นอาจจะเป็นการเสียเวลาไปเปล่าๆ หากเป็นไปได้ สถานที่ที่ดีที่สุดสำหรับชาวตะวันตกที่น่าจะบวชน่าจะเป็นวัดป่านานาชาติ - Wat Pa Nanachat - ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Q. You have lived in temples in both towns and rural countryside. Which do you prefer?

A. In my early days as a monk I needed the peace of a rural monastery because I had to practice very intensive meditation. Years later, I was needed to teach meditation to others, so I had to move to a city monastery. As a monk, I felt I should go where I was most needed, or where I could do the most good. But – country or city – it's all the same really. Your personal space and your reaction to your immediate environment is all in the mind. Personal preference doesn't really enter into the decision after a while.

ถาม. คุณได้อาศัยอยู่ในวัดทั้งในเมืองและชนบท ที่ซึ่งคุณชอบใจไหม?

ตอบ. ในเริ่มแรกของการเป็นพระสงฆ์ของผม ผมต้องการความสงบของวัดในชนบท เพราะผมต้องฝึกสมาธิอย่างเข้มงวดมาก ปีต่อมา ผมต้องการสอนการทำสมาธิให้กับผู้อื่น ดังนั้นผมจึงต้องย้ายไปอยู่ที่วัดในเมือง ในขณะที่เป็นพระสงฆ์ ผมรู้สึกว่า ผมควรจะไปในที่ที่ผมต้องการมากที่สุด หรือสถานที่ซึ่งผมจะทำความดีได้มากที่สุด แต่ - ประเทศหรือเมือง – ความจริงมันก็ดูไม่แตกต่างกัน พื้นที่ส่วนตัวและการแสดงอาการโต้ตอบเข้ากับสภาพแวดล้อมโดยตรง มีผลต่อจิตใจทั้งหมด ความชอบโดยส่วนตัวไม่ใช่ความจริงที่นำไปสู่การตัดสินใจในภายหลัง

Q. Life in temples can be quite challenging for Westerners used to soft beds and sitting down to three meals a day. What can they do to prepare themselves mentally and physically for life as a monk?

A. Unless they are in the same position as me and able to prepare over a long period, there is very little that can be done. But if the Westerner is truly committed to the Buddha's teaching and the life of a monk, he shouldn't be at all concerned about losing some home comforts. The benefits to be gained far outweigh any disadvantages.

ถาม. ชีวิตในวัดค่อนข้างจะท้าทายสำหรับชาวตะวันตกที่ชอบนอนเตียงนุ่มๆ และนั่งรับประทานอาหารสามมื้อในแต่ละวัน พวกเขาสามารถเตรียมความพร้อมของตัวเองด้านจิตใจและร่างกาย สำหรับการใช้ชีวิตเป็นพระสงฆ์ได้อย่างไร?

ตอบ. เว้นเสียแต่ว่า พวกเขาอยู่ในสถานะเดียวกับผม และสามารถที่จะเตรียมความพร้อมในช่วงระยะเวลาที่นานได้มากกว่า หากมีเวลาน้อยมากๆ ก็ไม่สามารถจะทำได้ แต่ถ้าชาวตะวันตกมีความมุ่งมั่นอย่างแท้จริง ที่จะเรียนหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าและเรียนรู้ชีวิตแบบพระสงฆ์ เขาไม่ควรที่จะกังวลกับการสูญเสียสิ่งอำนวยความสะดวกที่บ้าน ผลประโยชน์ที่จะได้รับมีค่าเกินกว่าที่จะเปรียบเทียบได้

...

Q. Even with all these preparations, will it still be a shock to the system?

A. Oh yes!

ถาม. แม้จะมีการเตรียมพร้อมเหล่านี้ทั้งหมดแล้ว ยังทำให้เกิดความปั่นป่วนไปทั้งระบบใช่ไหม?

ตอบ. โอ้ ใช่เลย!

ที่มา

https://www.gotoknow.org/posts/581188

Photographs of Thai Temples & Buddha Images by Richard Barrow

http://www.thaibuddhist.com/an-interview-with-phra-farang/

...........ขอบคุณคำชี้แนะ ขอบคุณทุกท่านที่สนใจ ขอบคุณโกทูโนว์………

หมายเลขบันทึก: 581472เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2014 16:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 สิงหาคม 2015 11:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สายตาพระฝรั่งย่อมมองเห็นอย่างตรงไป ตรงมา เพราะไม่มีเยื่อใยวัฒนธรรมของไทยเป็นตัวกำหนด..เหมือนกับเราวิจารณ์ฝรั่งอย่างตรงไปตรงมาโดยไม่รู้รากเหง้าของเขา.. ทั้งหมดเป็นมุมมองที่เสริมสร้างความจริงของสังคมโลก..เพราะยังไงมนุษย์ย่อมมีวัฒนธรรมประเพณีต่างกัน..แม้แต่ศาสนาพุทธ ดังนั้น เรารับรู้และเห็นสิ่งที่เป็นอยู่จนชาชิน และมองไม่เห็นแก่นแท้ของวัฒธรรมตน...จึงต้องจ้างฝรั่งมาสอนคนไทยแทน.. จะได้ตาสว่างครับ

ขอบคุณพี่หนานครับ เก่งจริงๆ

ขอขอบคุณอ. ส.รตนภักดิ์ เป็นอย่างสูง ที่ร่วมแสดงความเห็นแบบเปิดใจกว้างทั้งสองบันทึก พร้อมกับคำชมที่ช่วยให้มีกำลังใจในการสร้างสรรค์บันทึก และเขียนอย่างตั้งใจมากขึ้น...

ความจริงก็อยากเขียนวิพากษ์เสริมเพิ่มเติมอยู่แต่ก็เกรงใจพระคุณเจ้า เดี๋ยวท่านจะไม่พอใจเอา หาว่า "เนรคุณ" อีก ขอบคุณมากๆ อีกครั้งนะครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท