การสัมภาษณ์ Spivak นักหลังอาณานิคม ตอนที่ 2


ว่าด้วย อดีตที่เป็นอานานิคม

งานเขียนของ Spivak ในเรื่อง การศึกษาระดับสูงในทวีปน้อยๆ เช่นอินเดีย เป็นต้น (Higher Education in Our Subcontinent) และได้มองไปที่ปัญหาต่างๆในส่วนการศึกษา ซึ่งเกิดขึ้นในอินเดีย และปากีสถาน---ทั้งสองประเทศมีความเป็นอดีตที่เป็นอาณานิคม.

หล่อนกล่าวว่า พวกเราบางคนเสนอว่า มีการบรรจุไว้ด้วยมนุษยนิยมแบบท้องถิ่น (regional humaninsm) ในการศึกษาระดับมากขึ้น (มันเป็นความตั้งใจในเรื่องการปรุงจิตวิญญาณอย่างช้าๆสำหรับชาติที่อยู่ในช่วงหลังอาณานิคม) สิ่งนี้จำเป็นต้องมีการตั้งคำถามอย่างถึงรากถึงโคนในเรื่องแนวคิดเกี่ยวกับหลังอาณานิคมร่วมสมัย (contemporary post-coliniality)

Spivak พูดถึงวิธีการที่หลังอาณานิคมจะกลายมาเป็นโพสเตอร์ (poster) รูปเด็กในการพลัดถิ่นแบบอาณานิคม (the colonial diasporas) ซึ่งเป็นการเรียกผิดชื่อ หล่อนสรุปว่า ไม่มีสถานที่อีกต่อไปในโลกสมัยใหม่ ในเรื่องของอาณานิคมอีกแล้วในตอนนี้

Spivak ยังกล่าวอีกว่า มหาวิทยาลัยในเมืองใหญ่กลายมาเป็นสิ่งโลกานุวัตร (โลกาภิวัตน์ แต่ผมชอบโลกานุวัตรมากกว่าโลกาภิวัตน์) มากขึ้นในตอนนี้ แต่เรายังคงมองข้ามการแบ่งแยกสีผิวในชั้นเรียนอยู่ดี แนวโน้มที่อนุญาตให้มหาวิทยาลัยอเมริกาหรืออังกฤษที่ทำให้เรารู้สึกว่าพวกเขาผ่อนคลายเรื่องการควบคุมคุณภาพ (quality control) มากขึ้น ก็เพราะพวกเขากำลังหาเงินให้มากด้วยเช่นกัน หล่อนเสริมว่า มันเป็นวิธีการที่จะหลงลืม (to gloss over) ในเรื่องการแบ่งแยกสีผิว ในขณะที่การแบ่งแยกนั้นก็ยังมีชีวิตอยู่และไม่ถูกรบกวนแต่อย่างใด

พวกเราควรจะปฏิเสธในเรื่องการแทรกหรือการเติมคำในเรื่องโลก และยอมรับในเรื่องความซับซ้อนในเรื่องรากเหง้า แม้กระทั่งพวกเราร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในเมืองที่เป็นชาวต่างชาติ เพื่อที่จะก่อตั้งพื้นฐานทางจริยะธรรมที่เพียงพอ ไปจนถึงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็ตาม แต่เราต้องไม่ลืมว่าหากปราศจากการผลิตความรู้ที่มีอย่างระมัดระวังในเรื่องปัญญาชนที่อยู่ในท้องถิ่น ส่วนที่ใหญ่ที่สุดในเรื่องความเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะถูกละทิ้ง ไม่สามารถที่จะช่วยเหลือในการสร้างความยุติธรรมทางสังคม (social justice) ได้

หนังสืออ้างอิง

Teachers must get to know students and then learn how to teach them: Spivak

By Sarah Eleazar ตีพิมพ์ครั้งแรกใน The Express Tribune, ตุลาคม ที่ 26 ปี 2014

หมายเลขบันทึก: 581316เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2014 18:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2014 18:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท