ระบบนวัตกรรมแห่งชาติ (National Innovation Systems)


ระบบนี้จะช่วยส่งเสริมกิจกรรมระหว่างกัน ให้เกิดการไหลเวียน​ขององค์ความรู้และเกิดการแพร่เทคโนโลยีไปสู่กลุ่มผู้ใช้ที่ต้องการ เป็นลักษณะของารทำงานอย่างเป็นครือข่าย เพื่อมุ่งสู่การเป็นสังคมเศรษฐกิจแบบองค์ความรู้ (Knowledge-based Economy)

ระบบนวัตกรรมแห่งชาติ (National innovation Systems หรือ NIS) มีผู้ให้คำนิยามแตกต่างแต่ใกล้เคียงกัน เช่น

" .. the network of institutions in the public and private sectors whose activities and interactions initiate, import, modify and diffuse new technologies." (Freeman, 1987)

" .. the elements and relationships which interact in the production, diffusion and use of new, and economically useful, knowledge ... and are either located within or rooted inside the borders of a nation state." (Lundvall, 1992)

".. that set of distinct institutions which jointly and individually contribute to the development and diffusion of new technologies and which provides the framework within which governments form and implement policies to influence the innovation process. As such it is a system of interconnected institutions to create, store and transfer the knowledge, skills and artefacts which define new technologies." (Metcalfe, 1995)

แต่โดยภาพรวมแล้วระบบนวัตกรรมจะประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน ได้แก่ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง (Actors) และส่วนเชื่อมโยง (Linkages) ดังแสดงในรูปที่ 1

รูปที่ 1 ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและการเชื่อมโยงในระบบนวัตกรรมระดับประเทศ (OECD, 1999)

จะพบว่า actor ในระบบจะมีความเชื่อมโยงกัน ซึ่งความเชื่อมโยงนี้หมายถึงการมีความร่วมมือ กิจกรรมระหว่างกัน ให้เกิดการไหลเวียนขององค์ความรู้และเกิดการแพร่เทคโนโลยีไปสู่กลุ่มผู้ใช้ที่ต้องการ เป็นลักษณะของารทำงานอย่างเป็นครือข่าย เพื่อมุ่งสู่การเป็นสังคมเศรษฐกิจแบบองค์ความรู้ (Knowledge-based Economy) ทั้งนี้ระบบนวัตกรรมอาจไม่ได้หมายถึงระดับประเทศเสมอไป มีผู้จำแนกระบบนี้ตามระดับของผลกระทบ ได้แก่ ระบบนวัตกรรมในระดับประเทศ (National Level) ระบบนวัตกรรมในระดับอุตสาหกรรม (Sectoral Level) และ ระบบนวัตกรรมในระดับเทคโนโลยี (Technological Level) ซึ่งอย่างหลังนี้ก็คือการแพร่เทคโนโลยีภายในองค์กรนั่นเอง

กิจกรรมและฟังก์ชั่นของระบบนวัตกรรมที่ช่วยให้เกิดการผลิต การเผยแพร่ และการประยุกต์ใช้นวัตกรรม เช่น

  • การสร้างทุนมนุษย์
  • การสร้างและแพร่ขยายโอกาสในด้านเทคโนโลยี
  • การสร้างและเผยแพร่ผลิตภัณฑ์
  • การริเริ่มเพื่อจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์ และการบริหารจัดการ
  • การอำนวยความในด้านกฎระเบียบสำหรับเทคโนโลยี วัสดุอุปกรณ์ และผลิตภัณฑ์ เพื่อการเข้าสู่ตลาด
  • การควบคุมเทคโนโลยีและบริษัทที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
  • การสร้างตลาดและเผยแพร่ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับตลาด
  • การเข้าถึงเครือข่ายความร่วมมือ
  • กาชี้นำเทคโนโลยี ตลาด และผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย
  • การอำนวยความะดวกในด้านแหล่งเงินทุน
  • การสร้างตลาดแรงงานที่เป็นประโยชน์

อ้างอิง: thanakrit.net

หมายเลขบันทึก: 581248เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2014 08:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มกราคม 2016 07:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท