หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

ตามรอยหญ้าคา


ตรงจุดที่มีสาบเสือแซมอยู่กับหญ้าคา เป็นดินสูงๆต่ำๆคล้ายลูกคลื่นลอนลาด ส่วนลาดเป็นเหมือนรางน้ำเล็กๆ ส่วนลอนเป็นที่ซึ่งมีหญ้าคาขึ้น ส่วนสันคลื่นเป็นที่ซึ่งสาบเสือขึ้น บอกนิสัยว่าหญ้าคาไม่ทนแฉะ สาบเสือชอบดินชุ่มน้ำ

มาคลุกคลีตีโมงไม่กี่ครั้ง ก็ได้เห็นการคัดเลือกตามธรรมชาติที่เกิดขึ้น ว่ามันเกิดในทุกอณูของที่ๆหนึ่ง ณ เวลาหนึ่งๆ และเมื่อมีอณูหนึ่งเปลี่ยนไป การเปลี่ยนแปลงก็เกิดตามเสมอ ไม่เคยหยุด ไม่มียั้ง ความลงตัวแห่งความสัมพันธ์ที่ดำรงอยู่ให้จับได้ ต้องได้ เห็นได้ ณ ขณะหนึ่งๆนั้นเป็นเสี้ยวหนึ่งของทั้งหมดที่คนสามารถทำความรู้จักกับคำว่าการคัดเลือกตามธรรมชาติเท่านั้น

พยายามหาพืชคลุมดินเหมาะๆอยู่ ธรรมชาติก็ให้คำตอบว่า ที่หญ้าคาถูกเลือกให้เป็นพืชคลุมดินตรงที่นี้ ด้วยมันมีประโยชน์ช่วยดูแลให้ดินมีชีวิตได้ ได้คำตอบมาจากการด้อมๆมองๆตามดงหญ้า แล้วพบว่ามีพืชชนิดอื่นขึ้นแซมได้ บ้างแซมเป็นดง บ้างแซมไม่กี่ต้น ไม่ได้มีแต่สาบเสือ แต่มีพืชตระกูลถั่วพวกนี้ด้วย ไมยราบ หญ้าเกล็ดหอย ถั่วลิสงนา

หญ้าเกล็ดหอย

ณ ตรงพื้นที่โล่ง แดดจัดจ้าและร้อนมาก รับแดดตรงๆวันละกว่า ๖ ชั่วโมง แดดแรงแต่หญ้าคาขึ้นเป็นดง ไม่มีหย่อมไหนเหี่ยวแห้งเลย ใต้กอโปร่งลมบ้าง แน่นจนไม่เห็นช่องลมบ้าง ใบบังแสงแดดได้บ้างไม่ได้บ้าง กอไหนใบสั้นตรง ดินตรงนั้นแดดส่องถึง กอไหนใบยาว โอนอ่อนง่าย ดินใต้ร่มใบนั้นแดดส่องไม่ถึง

ต้นอ่อนของหญ้าคาใบคมนะ โดนทิ่มจึ๊กตรงปลายเท้าเจ็บมาก บางจิ๊กทำเลือดซึมด้วยแหละ เขาว่ารากหญ้าคาทั้งแข็งแรงและคม แทงดินแทรกไปถึงไหนๆ ทำให้ดินร่วนซุย แค่ต้นอ่อนยังแข็งทิ่มเนื้อได้ รากไม่แข็งก็แปลกละ ด้วยความคมแหลมของต้นอ่อนและรากนี่แหละ ที่ทำให้แหวกดงหญ้าแล้วไม่เจอสัตว์มีพิษอย่างงู ตะขาบ มานอนรอ

ตรงจุดที่มีสาบเสือแซมอยู่กับหญ้าคา เป็นดินสูงๆต่ำๆคล้ายลูกคลื่นลอนลาด ส่วนลาดเป็นเหมือนรางน้ำเล็กๆ ส่วนลอนเป็นที่ซึ่งมีหญ้าคาขึ้น ส่วนสันคลื่นเป็นที่ซึ่งสาบเสือขึ้น บอกนิสัยว่าหญ้าคาไม่ทนแฉะ สาบเสือชอบดินชุ่มน้ำ

ต้นและดอกสาบเสือ

ในทางกสิกรรมธรรมชาติ มีความรู้บอกต่อกันมาว่า รากหรือเหง้าหญ้าคา มีแร่ธาตุไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, โปแทสเซียมอยูมากมาย เมื่อหญ้าคาเน่าจึงเป็นปุ๋ยชั้นดีเติมลงในดิน แถมป้องกันเพลี้ยและแมลงต่างๆได้ไม่ต่างจากพืชตระกูลถั่ว

ในเมื่อตัวมันเป็นปุ๋ยได้ ในเมื่อมันมีพืชตระกูลถั่วขึ้นแซมได้ ดินแถบนี้ก็มีแต่ได้ไม่มีเสีย หากยังต้องการเก็บมันไว้

ดูเหมือนธรรมชาติเตรียมการไว้พร้อมสำหรับสภาพที่แห้ง แล้ง และร้อน จึงมอบคุณสมบัติทางยาไว้ให้พร้อมใช้ในตัวหญ้าคา หลายส่วนใช้เป็นยาได้ ดอก ราก ใบ ขนที่แห้งสนิทแล้ว เป็นยาได้หมด สดๆก็ใช้เป็นยาได้

ประโยชน์ที่ถูกนำมาใช้ในตำหรับยาแผนไทยและแผนจีนคือ ฤทธิ์ขับของเสียออกจากร่างกาย

ประโยชน์ในทางยาสำหรับเกษตรกร คือ ฤทธิ์ช่วยห้ามเลือดเมื่อเกิดบาดแผล ส่วนที่มีฤทธิ์ห้ามเลือด คือ ราก และ ช่อดอก ปริมาณที่ใช้ครั้งละประมาณ ๑๐-๑๕ กรัมน้ำหนักแห้ง

ถั่วลิสงนา

เจอพืชที่ธรรมชาติเลือกไว้ให้คลุมดินแล้ว ๕ ชนิด หญ้าคา ถั่วลิสงนา ไมยราบ หญ้าเกล็ดหอย หญ้าเจ้าชู้ เริ่มโล่งใจ ถึงเวลาใคร่ครวญว่าป่าละเมาะที่ฝันจะมีหมู่ไม้อย่างไรต่อไป

ผู้รู้ด้านสวนป่าเคยบอกต่อมาว่า กว่าจะเกิดป่าใหญ่ ก็จะต้องมีกลุ่มป่าละเมาะขนาดย่อมๆกระจายอยู่ก่อนตามจุดต่างๆเป็นองค์ประกอบ กลุ่มป่าที่ว่านี้เป็นต้นไม้หลากหลายชนิด และจะต้องมีซ้ำชนิดกันบ้างในขนาดที่ต่างกัน

ป่าละเมาะที่เคยเห็นเป็นป่าที่มีหมู่ไม้ขนาดเล็ก ขึ้นในที่โล่งเป็นหย่อมๆ ในสุมทุมพุ่มไม้มีทั้งไม้พุ่มสูง ไม้พุ่มเตี้ยขึ้นคละเคล้าไปกับไม้ใหญ่อย่างไม่มีระเบียบ พันธุ์ไม้ที่พบมักจะเป็นชนิดเดียวกันแต่ต่างขนาดกัน ต้นเล็กๆมักจะเป็นต้นที่งอกขึ้นเองจากเมล็ดของต้นใหญ่

ก็ได้เห็นอยู่แล้วว่า พื้นที่นี้มีที่โล่งเป็นทุ่งหญ้าคาปนไม้พุ่มเตี้ยอย่างสาบเสือ ปลูกไม้ป่าชนิดใหม่ลงไปลองแล้วขึ้นได้ จะเก็บหญ้าคาเอาไว้ช่วยคลุมดิน ก็น่าจะจัดระเบียบไม้พุ่มเตี้ยอย่างสาบเสือไปด้วยกัน แล้วจึงกำหนดจุดปลูกพันธุ์ไม้ป่าที่สูงกว่าลงไป

หมายเลขบันทึก: 581241เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2014 02:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ธันวาคม 2014 23:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

"...หญ้าคาเน่าจึงเป็นปุ๋ยชั้นดีเติมลงในดิน แถมป้องกันเพลี้ยและแมลงต่างๆได้ไม่ต่างจากพืชตระกูลถั่ว..." absolutely!

And this brings up the interests in micro=organisms like nitrogen-fixers, sulphur-fixers, phosphorus-fixers, carcon(-dioxide)-fixers,... they are are very small or invisible but they are nevertheless importants players of the "environment games" ;-)

อาจารย์ครับ อบากเห็นรูปสาบเสือของอาจารย์ ผมกำลังสับสนครับ

ใบสาบเสื้อที่บ้าน จะเป็นใบหนา มีขนเล็กๆ กินแกล้มกับลาบ

หรือ สาบเสื้อของอาจารย์ เป็นใบ "ล้อห้าง" ฉุนมาก ดอกขาวๆ เกิดง่าย ใช้ใบตำมาห้ามเลือด

ชื่นใจที่อาจารย์ชอบวิถีเกษตร

อยากไปชมจังครับ

ขอบคุณค่ะคุณ sr

เมื่อเห็นภาพความสัมพันธ์ระหว่างพืชอย่างหญ้าคา ถั่วลิสงนา หญ้าเกล็ดหอย และไมยราบ ก็ทึ่งกับคำว่า การคัดเลือกตามธรรมชาติมากขึ้นๆ เรื่องของชีวธรณีเคมีที่ธรรมชาติควบคุมเองนี่มีเสน่ห์นะคะ

น้อง ทิมดาบ ค่ะ

สาบเสือคือต้นตามภาพในบันทึกค่ะ ใบสาบเสือมีรสขมจัดคล้ายๆมะระค่ะ

ส่วนที่น้องพูดถึงว่าใช้กินแกล้มลาบ น่าจะเป็นต้นนี้ "เนียมหูเสือ" ซึ่งมีคนบอกว่ารสของมันคล้ายๆกับออริกาโนค่ะ

ต้นหูเสือ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท