การจัดการความรู้


พื้นฐานเกี่ยวกับความรู้

ความรู้เป็นการผสมระหว่างประสบการณ์ ค่านิยม ความเข้าใจ การรู้โดยสัญชาติญาณ ซึ่งเป็นพื้นฐานการประเมินเอาประสบการณ์ และ เทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ๆของบุคคล ความรู้เป็นสิ่งที่ใช้ไม่หมด ไม่มีสึกหรอ แต่ยิ่งงอกเงย หรืองอกงานมากยิ่งขึ้น นำไปใช้ประโยชน์ในการสรุป และ การตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ จนเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม

พีระมิดความรู้



  • ภูมิปัญญา (Wisdom) เป็นความรู้ที่อยู่ในตัวคน นำมาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ไขปัญหา หรือ พัฒนาการทำงานให้เกิดประโยชน์ เรียกว่า ปัญญาปฏิบัติ และ มีการยกระดับเป็น นวัตกรรมแห่งความสำเร็จ
  • ความรู้ (Knowledge) เป็นสารสนเทศที่ผ่านการประมวลผมการคิด วิเคราะห์ เปรียบเทียบ ปะกอบด้วยสาระ หลักการ และ ประสบการณ์ ซึ่งสามารถชี้แนะแนวทางในการแก้ปัญหา เมื่อมีความรู้ และ ความเข้าใจก็สาใสรถใช้ประโยชน์ได้
  • สารสนเทศ (Information) ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว เป็นวิธีการแปลงข้อมูลด้วยสารสนเทศ ด้วยการเพิ่มมูลค่าให้กับข้อมูลด้วยวิธีการต่างๆ
  • ข้อมูล (Data) คือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งยังเป็นข้อมูลดิบ ยังไม่ผ่านการประมวลผลใดๆ เช่น ตัวเลข ตัวหนังสือ เป็นต้น

แหล่งเก็บความรู้ในองค์กร

  • ความรู้ที่มีอยู่ในตัวคน (สมอง) 42 %
  • ความรู้ที่เก็บอยู่ในรูปแบบเอกสาร (กระดาษ) 26 %
  • ความรู้ที่เก็บอยู่ในรูปเอกสาร (Electronic) 20 %
  • ฐานข้อมูลความรู้ 12 %

ประเภทของความรู้

  • ความรู้ที่อยู่ในตัวคน / ความรู้โดยนัย (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ ของแต่ล่ะบุคคลในการทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูด หรือ ลายลักษณ์อักษรได้ เช่น ทักษะการทำงาน งานฝีมือ เป็นต้น
  • ความรู้ที่อยู่ในรูปเอกสาร / ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถถ่ายทอดออกมาได้โดยผ่านวิธีการต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร คู่มือต่างๆ และ บางครั้งเรียกว่า ความรู้แบบรูปธรรม

มิติทางด้านความรู้

ผู้ที่มีอำนาจ คือ ผู้ที่มีความรู้สูงกว่า สามารถใช้เทคโนโลยีขั้นสูงมาทำให้องค์กรพัฒนา ผู้ที่ขาดความรู้จะมีแนวโน้มว่างงานมากขึ้น

ระดับความรู้

  • Know – What (รู้ว่าคืออะไร) เป็นความรู้ในเชิงทฤษฏีล้วนๆ
  • Know – How (รู้ว่าอย่างไร / รู้วิธีการ) เป็นความรู้ที่รวมทั้งทฤษฏี และ บริบท
  • Know –Why (รู้ว่าทำไม / รู้เหตุผล) เป็นความรู้ในระดับที่อธิบายเหตุผลได้
  • Care –Why (ใส่ใจกับเหตุผล) เป็นความรู้ในระดับ คุณค่า ความเชื่อ

กระบวนการสร้างความรู้

  1. การบ่งชี้ความรู้
  2. การสร้าง และ แสวงหาความรู้
  3. การจัดการความรู้เป็นระบบ
  4. การประมวลผลความรู้
  5. การเข้าถึงความรู้
  6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
  7. การเรียนรู้


หมายเลขบันทึก: 581147เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2014 13:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2014 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท