อบรมทิศทางแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรและการสอน


บันทึกอนุทิน รายวิชา การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

โดย นางสาวมณฑนา เพ็งกลาง รหัสนักศึกษา 57D0103113 สาขาหลักสูตรและการสอน

เรื่อง อบรมทิศทางแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรและการสอน วันที่บันทึก31สิงหาคม พ.ศ. 2557


ได้เรียนรู้อะไรในวันนี้

หลักสูตร เป็นแผนและประสบการณ์ที่ต้องจัดทำขึ้นหรือพัฒนาขึ้นเป็นแนวทางจัดการเรียนรู้ให้บรรลุวัตถุประสงค์ หรือผู้เรียนบรรลุ มีผลการเรียนรู้ตามที่กำหนดซึ่งหลักสูตรควรได้รับการวิเคราะห์ และพัฒนาให้ทันสมัยทันเหตุการณ์อยู่เสมอ วิธีการสอน คือ ขั้นตอนที่ผู้สอนดำเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไปตามองค์ประกอบ วิธีสอนแบบสืบสอบ (inquiry teaching method) การจัดการเรียนการสอนโดยวิธีให้ผู้เรียนเป็นผู้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมาย วิธีการสอนแบบโครงงาน (project teaching method) ขั้นตอนของการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนศึกษาเพื่อค้นพบความรู้ใหม่ด้วยตนเอง โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์และมีครูอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ให้คำปรึกษา วิธีสอนแบบอุปนัย (inductive method) กระบวนการสอนที่ผู้สอนใช้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดโดยนำตัวอย่าง เพื่อนำไปใช้ในสถานการณ์อื่น ๆ การเรียนรู้ที่ใช้การวิจัยเป็นฐาน (research – based learning) การเรียนรู้ที่ใช้การวิจัยเป็นฐานเป็นแนวการสอนที่เน้นการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเน้นการทำวิจัยที่เป็นการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ รูปแบบการสอน รูปแบบแผนการดำเนินการสอนที่ได้รับการจัดเป็นระบบ รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5E learning cycle model) การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต้องเป็นการให้นักเรียนใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สร้างความรู้ด้วยตนเอง อันทำให้เกิดความเข้าใจและสามารถประยุกต์ความรู้สร้างชิ้นงานเพื่อนำไปบริการสังคมได้ แนวการสอน กลยุทธ์ กลวิธีการสอนเป็นแนวทางกว้าง ๆ โดยมีหลักการเพื่อการจัดการเรียนการสอน แนวการสอนโดยใช้กิจกรรม (activity teaching approach) การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกิจกรรม แนวการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง (case study) กรณีตัวอย่างที่ใช้ในการเรียนการสอน เทคนิคการสอน กลวิธีต่าง ๆ ที่เสริมกระบวนการ ขั้นตอน เพื่อช่วยให้กระบวนการ ขั้นตอนนั้นมีคุณภาพ เทคนิคการใช้คำถาม (questioning technique) การใช้คำถามเป็นเทคนิคสำคัญของการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ (cooperative learning techique) วิธีการที่กำหนดโครงสร้างหรือกิจกรรมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน เทคนิคการใช้พหุปัญญา (technique of using multiple intelligences) เทคนิคการใช้ผังกราฟิก (techniqur of using graphic organizers) แบบการสื่อความหมาย เพื่อใช้นำเสนอข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมอย่างเป็นระบบ การเสริมสร้างทักษะการคิดด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ ระบุคำถาม ออกแบบรวบรวมข้อมูล ปฏิบัติการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สรุป กลยุทธ์การเรียนการสอนและกระบวนการที่ใช้เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ความรู้ กระบวนการเรียนรู้สร้างความรู้และเข้าใจ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ การเป็นแบบอย่าง ทักษะกระบวนการ กระบวนการเรียนภาษา อ่าน ฟัง เขียน สื่อความหมายข้อมูล จัดกระทำข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ใช้เหตุผลแบบนิรนัยอุปนัย คิดสร้างสรรค์ การพัฒนาตนเองของครูจากการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้สู่การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยวิจัย CICA สามารถวิเคราะห์หลักสูตร รายวิชา สาระการเรียนรู้ตามตัวชี้วัด สามารถออกแบบการสอนเน้นเด็กเป็นสำคัญ จัดการชั้นเรียนเพื่อการใช้แผนการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

รู้แล้วคิดอย่างไร คิดอะไรต่อ

การแสวงหาความรู้ด้วยการใฝ่รู้ มีลักษณะสำคัญดังนี้ มีความรู้ความเข้าใจ คือ ความรู้พื้นฐาน ความรู้ในอาชีพ ความรู้โลกศึกษา มีทักทักษะ 5C ดังนี้ ทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการร่วมมือร่วมพลัง ทักษะการสื่อสาน ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ แนวการสอนแบบผสมผสาน อาจใช้แนวการสอนที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ หรือ แนวการสอนที่เน้นครูเป็นศูนย์กลางได้ เพราะจะทำให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวก การจัดการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ จึงต้องมีการพัฒนาครูให้มีศักยภาพ กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ในการจัดการเรียนการสอนเน้นให้นักเรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และให้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ นักเรียนในปัจจุบันต้องเผชิญปัญหาและมีการเปลี่ยนแปลงที่สูงขึ้น เพราะฉะนั้นการกำหนดลักษณะผู้เรียนจะต้องมีความสามรถในการคิดเพื่อสร้างองค์ความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร และความสามรถในการสร้างชิ้นงาน ครูผู้สอนต้องมีความเข้าใจและมีความสามารถในการพัฒนาผู้เรียน การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง หรือเน้นเด็กสร้างความรู้ ใช้แนวทางสอนเน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง ใช้รูปแบบวิธีและเทคนิคการสอนหลากหลาย ใช้สื่อแหล่งการเรียนรู้ ใช้การประเมินผลการเรียนรู้รอบด้าน การจัดชั้นเรียนเพื่อการใช้แผนการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ คือ บันทึกหลังสอน ทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ได้นวัตกรรมการเรียนรู้ ทำวิจัยเชิงวิชาการ

จะนำไปปรับประยุกต์ใช้อย่างไร

นำทักษะการพัฒนาครูมาใช้ในการพัฒนาตนเอง เพราะทักษะครูมืออาชีพเป็นทักษะที่สำคัญที่ได้จากการวิเคราะห์สิ่งที่ครูต้องปฏิบัติและพึงมีได้แก่ พัฒนาหลักสูตร การเรียนรู้เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง การนำนวัตกรรมไปใช้ การประเมินตามสภาพจริง การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน การจัดการชั้นเรียน การเสริมสร้างลักษณะ และนำไปปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลอย่างมีคุณภาพ พัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ใช้การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และเกิดนวัตกรรมด้วยวิจัยมาใช้ในการเรียนการสอน เพราะทำให้ได้พัฒนาตนเองด้วยว่า สามารถวิเคราะห์หลักสูตร รายวิชา สาระการเรียนรู้ตามตัวชี้วัก สามารถออกแบบการสอนเน้นเด็กเป็นสำคัญ เขียนแผนการจัดการเรียนรู้โดยที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ จัดการชั้นเรียนเพื่อใช้แผนการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งจะได้มาจากการบันทึกหลังสอน และทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

บรรยากาศในการร่วมกิจกรรม

มีความเป็นกันเองระหว่างผู้บรรยายและผู้รับฟังการบรรยาย จัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อให้ผู้รับฟังการบรรยายได้รู้จักกัน ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับหมอบหมาย

คำสำคัญ (Tags): #aar#บันทึกอนุทิน
หมายเลขบันทึก: 580036เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 11:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 11:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท