ห้องเรียนคู่ขนาน ต้นแบบบริหารจัดการ..เรียนร่วม"


จึงเป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งที่โรงเรียนจะต้องบริหารวิสัยทัศน์และพันธกิจ อย่างมืออาชีพ โดยการพัฒนาครูพิเศษ ควบคู่กับการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ บริหารงาน/โครงการพิเศษ รวมถึงปรับปรุงเอกสาร /คู่มือแนวการจัดกิจกรรมฯ ที่จะต้องพร้อมสมบูรณ์และสามารถใช้ได้จริงกับนักเรียนรายบุคคล ในห้องเรียนคู่ขนาน ที่ผู้บริหารและคณะครู จะต้องหารือ แก้ไขและพัฒนางานอย่างเป็นรูปธรรมอยู่เสมอ

               ที่โรงเรียนชุมชนบ้านป่ามะม่วง เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ที่เป็นโรงเรียนดีศรีตำบล หลายท่านแปลกใจ เป็นได้อย่างไร นอกจากจะได้รับการประเมินตามเกณฑ์ทุกข้อ จนผ่านเกณฑ์มาตรฐานในทุกเงื่อนไขแล้ว ก็ต้องมาดูกันที่ภารกิจ ซึ่งหลายฝ่ายให้การยอมรับว่าภาระงานมิได้เล็กเลย

            จากการใช้ทฤษฎีทางการบริหารที่มีประสิทธิภาพ ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีว่า PDCA ควบคู่กับนวัตกรรมการบริหารจัดการทีี่เป็นโมเดลเฉพาะของโรงเรียน หรือ Twins Model ทั้ง ๒ หลักการมีความสอดคล้องกับบริบทและพันธกิจของโรงเรียน ที่ต้องจัดการศึกษาให้เด็กปกติ ขณะเดียวกันก็มีห้องเรียนคู่ขนาน ที่โรงเรียนจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้เด็กพิเศษเรียนร่วม

             นี่คือ..คุณลักษณะเฉพาะ หรืองานพิเศษ ของโรงเรียนชุมชนบ้านป่ามะม่วง ที่ไม่ค่อยจะเหมือนกับโรงเรียนทั่วๆไป คณะครูจึงต้องดูแล เอาใจใส่ มีความมุ่งมั่น ทุ่มเทให้กับงานพัฒนาคุณภาพนักเรียนอย่างเป็นพิเศษเช่นเดียวกัน จนปัจจุบัน โรงเรียนได้เป็นแกนนำ หรือเป็นต้นแบบ..เรียนร่วม ที่มีผลงานเชิงประจักษ์อย่างต่อเนื่อง

             ความสำเร็จส่วนหนึ่งเกิดจากความรู้ความสามารถของครู ที่ผ่านการฝึกอบรมสัมมนา และได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือด้านงบประมาณจากเขตพื้นที่การศึกษา ตลอดจนมีการนิเทศกำกับติดตามอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ ในโรงเรียนเองก็มีระบบการประกันคุณภาพภายใน โดยใช้การนิเทศภายในที่เข้มแข็งและเป็นระบบ และระดมสรรพกำลังจากทุกภาคส่วนเข้ามาช่วยพัฒนาขีดความสามารถของโรงเรียน ให้มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ

              ปีการศึกษา ๒๕๕๗ นักเรียนห้องเรียนคู่ขนานดังกล่าว มีเด็กพิการเรียนร่วม ๒๑ คน แยกเป็นเด็กออทิสติก ๗ คน พิการซ้ำซ้อน ๑ คน สมาธิสั้น(ไฮเปอร์) ๓ คน บกพร่องสติปัญญา ๔ คน และบกพร่องทางการเรียนรู้ ๖ คน

             จึงเป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งที่โรงเรียนจะต้องบริหารวิสัยทัศน์และพันธกิจ อย่างมืออาชีพ โดยการพัฒนาครูพิเศษ ควบคู่กับการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ บริหารงาน/โครงการพิเศษ รวมถึงปรับปรุงเอกสาร /คู่มือแนวการจัดกิจกรรมฯ ที่จะต้องพร้อมสมบูรณ์และสามารถใช้ได้จริงกับนักเรียนรายบุคคล ในห้องเรียนคู่ขนาน ที่ผู้บริหารและคณะครู จะต้องหารือ แก้ไขและพัฒนางานอย่างเป็นรูปธรรมอยู่เสมอ

           ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลย อย่างที่ทุกท่านทราบกันดี ที่มีการเรียนร่วมกับเด็กปกติในโรงเรียน แต่ก็ไม่ยากเลย ถ้าโรงเรียนใช้หลักบริหารอย่างถูกวิธี และมีนวัตกรรมบริหาร(Model)ที่มีความชัดเจนและมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลที่พึงปรารถนา ก็คือ ความรักความเอาใจใส่ของครูที่มีต่อเด็กพิเศษทุกคน เป็นที่รักและศรัทธาของผู้ปกครองและชุมชน ให้การยอมรับโรงเรียน ได้เข้ามาให้ความร่วมมือ  มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน และให้การสนับสนุนช่วยเหลือโรงเรียนอย่างน่าประทับใจยิ่ง

          ห้องเรียนคู่ขนาน... จึงพร้อมก้าวไป อย่างก้าวไกล และพร้อมจะเติบโตอย่างมีคุณภาพ ด้วยความรักความเข้าใจของผู้ที่เกี่ยวข้องทางการศึกษาทุกฝ่าย และคือ..เส้นทาง และเป้าหมายของโรงเรียนชุมชนบ้านป่ามะม่วง ณ เวลานี้

อัญชัญ  ครุฑแก้ว

๒๖  ตุลาคม  ๒๕๕๗

           

 

          

                   

หมายเลขบันทึก: 579298เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2014 21:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 ตุลาคม 2014 10:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

หวัดดีท่าน ผอ.คนขยัน  มีความสุขกับการทำงาน  คือความสุขที่ไม่เหนื่อย แม้งานจะหนักนะจ๊ะ

ที่โรงเรียนมีเยอะค่ะ ส่วนใหญ่บกพร่องทางการเรียนรู้

มาให้กำลังใจท่าน ผอ. คนเก่ง  ดี  มีความสุข ค่ะ  ^_,^

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท