ขับเคลื่อน PLC ที่ สพป. กาฬสินธุ์ เขต 1_17 : การเรียนรู้บนฐานปัญหาในชีวิตจริง (RL-PBL)


วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๗ ทีม CADL ได้รับเชิญเป็น "วิทยากรกระบวนการ" จาก ดร.นุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย (หรือ ดร.อ้อย) ไปขับเคลื่อนการจัดการรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ เรื่อง การเรียนรู้บนฐานปัญหาจริง (ปัญหาจริงในชุมชนและท้องถิ่น) หรือที่ผมเรียกว่า Real Life-PBL กลุ่มเป้าหมายเป็นครูการงานอาชีพและเทคโนโลยีจำนวน ๕๐ คน เป็นกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการผ่านกิจกรรมกึ่งจิตตปัญญา ณ ห้องประชุมจิตตถาวโร สำนักงานเขตพื้นที่ กาฬสินธุ์เขต ๑

ขอบคุณรูปจาก ดร.นุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย

ก่อน เริ่มกิจกรรม ดูเหมือนครูหลายท่านจะค่อนข้างแปลกใจว่า ทำไมไม่มีโต๊ะ ไม่มีที่รองเขียน แต่จัดเก้าอี้โค้งกลม ให้ทุกคนได้มองเห็นหน้ากันหมด หลังจากถามไถ่พอสมควร ผมพบว่า PLC วงนี้ยังมีคำถามว่า "วันนี้จะมาอบรมเรื่องอะไร" และส่วนหนึ่งบอกว่ายังไม่ค่อยรู้จักกัน จึงได้ปรับกระบวนการด้วยการเริ่มด้วยการละลายพฤติกรรมด้วยกิจกรรม "ดอกไม้ ๕ กลีบ" และตามด้วยการ "กระตุก" และ "กระตุ้น" ด้วยตัวอย่างการจัดการเรียนรู้แบบใหม่ โดยการใช้กิจกรรม "๑๕ นาที กับ PBL ในชั้นเรียน" (อ่านวิธีการทำกิจกรรมทั้งสองนี้ที่นี่)

หลัง จากสรุปและสะท้อนกิจกรรมที่ ๒ ผมนำครูสู่ RL-PBL ด้วยการเล่าเรื่องราวของ ๓PBL และประสบการณ์ของครูเพ็ญศรี โดยมีเอกสารประกอบไว้ให้ครูไปอ่านที่บ้าน (ดาวน์โหลดที่นี่) เพื่อคลายความกังวลและสร้างความมั่นใจว่า PBL ไม่ใช่สิ่งใหม่จนครูไม่เคยทำ แต่เป็นสิ่งที่ครูรู้และคุ้นเคยอยู่แล้วระดับหนึ่ง โดยเฉพาะครูเกษตร การงาน และเทคโนโลยี ซึ่งมักจะมี BP ด้าน "ทักษะชีวิต" อยู่แล้ว

หลังเบรคเช้า เราเริ่มกันด้วยกิจกรรม "แผนที่ชุมชน" คล้ายกับที่ทำที่โรงเรียนบ้านเขวาทุ่ง (อ่านที่นี่) ผมพยายามกระตุ้นเป็นระยะให้ครูเกิดแรงบันดาลใจที่จะนำกิจกรรมนี้ไปใช้กับนัก เรียนที่โรงเรียน โดยใช้คำถามในการชวนสะท้อนกิจกรรมเป็นระยะ เช่น "หากท่านเป็นผมในวันนี้ ท่านจะสรุปสิ่งที่ควรได้เรียนรู้จากกิจกรรมนี้ อย่างไรครับ..." หรือ "...หากท่านนำกิจกรรมนี้ไปใช้ในโรงเรียน ท่านจะสรุปอะไรจากกิจกรรมที่เราทำ ให้นักเรียนประทับใจและจดจำ.."

เมื่อ ถึงขั้นตอนของการ วิเคราะห์และระบุ "ปัญหา" ภูมิปัญญา" "แหล่งผลิต" และ "ผลิตภัณฑ์" ในชุมชน ด้วยสัญลักษณ์ "ดองจัน ดาว กุ้มข้าว และกระติ๊บข้าว" ตามลำดับ แล้วให้เลือกว่ากลุ่มของตนสนใจเรื่องใดที่จะนำมาทำ PBL มากที่สุด... พบว่า ไม่มีใครเลือก "ปัญหา" เลย ... นี่เป็นเวทีที่สองที่ผมใช้กิจกรรมนี้ (หลังจากที่ได้เรียนรู้มาจาก "ทีมครูเพ็ญศรี") พบว่าเกิดเหตุการณ์คล้ายๆ กันนี้ ผมจึงตีความเบื้องต้นว่า นี่อาจเป็นบริบทของครูไทย คนไทย ที่เราไม่ได้ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มักเริ่มจากการมองปัญหา แต่เรามักมองโลกในแง่ดี มอง "ภูมิปัญญา" "ผลิตภัณฑ์" หรือสิ่งที่มีเป็นหลัก .... แม้ว่ากับ "เด็กรุ่นใหม่" จะไม่ค่อยเหลือความภมูิใจนี้แล้ว แต่สำหรับครู ความภาคภูมิใจนี้ยังอยู่อย่างเต็มเปี่ยม....

กิจกรรมร่าง "ภาพฝัน" ร่วมกัน ยังสนุกสนานและประสบผลสำเร็จดีเหมือนเช่นเคย เสน่ห์ของกิจกรรมนี้อยู่ตรงที่ ต่างคนต่างวาด"ภาพฝัน" ของตนเอง แต่ตอนนำเสนอ ให้นำมาร่วมกันสร้างเป็นเรื่องราว จนเกิดเป้าหมายร่วม ดังที่ได้อธิบายไปแล้วเมื่อครั้งไปบ้านเขวาทุ่ง

เรา ทำกิจกรรม "ต้นไม้เจ้าปัญหา" และ "ปัญญาจากต้นไม้" เพื่อให้ครูได้เห็นกระบวนการ "พาเด็ก" วิเคราะห์ปัญหา หรือ "ภูมิปัญญา" ที่ได้เลือกไว้ เพื่อนำไปจัดทำเป็นโครงร่าง RL-PBL ต่อไป

ก่อนจะจบด้วยการ ตั้งวง AAR ว่าจะทำอะไรอย่างไรต่อไป

เรา AAR ระหว่างเดินทางกลับบ้านว่า

  • เรา มีความสุขที่ได้มาขับเคลื่อนฯ ในวันนี้ ... ในใจลึกๆ คือเรารู้สึกว่าเราทำได้ดี และได้รับการยอมรับจากครูผู้เข้าร่วมโครงการพอสมควร
  • มีครูอย่างน้อย ๑ ท่าน (ท่านสะท้อนตอน AAR) ว่าจะนำกระบวนการนี้ไปทดลองใช้ดู ส่วนครูท่านอื่นๆ ทาง ศน. และเขตฯ จะติดตาม กระตุ้น ต่อไป
  • เราเริ่มตกผลึกและมั่นใจแล้วว่า การขับเคลื่อน PBL ในพื้นที่ หลักสูตรการฝึกอบรมควรจะทำอย่างไร ...
  • ดร.นุช รัตน์ และทีมงาน ให้โอกาสและมีการวางแผนร่วมกันชัดเจนระดับหนึ่งแล้วว่า ต่อไป เราจะทำค่ายนักเรียนแกนนำ โดยใช้งบประมาณส่วนที่เหลืออยู่ที่เรามี สำหรับ PLC กาฬสินธุ์

(ดูรูปทั้งหมดได้ที่นี่)

หมายเลขบันทึก: 578878เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2014 06:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ตุลาคม 2014 06:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท