ขับเคลื่อน PLC สพป. ๒ มหาสารคาม _ (๕) : ณ โรงเรียนบ้านเขวาทุ่ง อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม : RL-PBL


วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๗ ผมกับคุณสายยัญ ในฐานะตัวแทน CADL ไปช่วย ท่านผอ. เพ็ญศรี โรงเรียนบ้านเขวาทุ่ง ขับเคลื่อน PLC และ PBL ของโรงเรียน หลังจากที่ได้ช่วยท่านมาแล้ว ๓ ครั้ง ดังที่บันทึกเวทีแรกไว้ที่นี่ เวทีที่ ๒ ที่โรงแรมเพชรรัตน์ จ.ร้อยเอ็ด เวทีที่ ๓ ที่โรงแรมวสุ จ.มหาสารคาม ผมไม่ได้บันทึกกิจกรรมเวทีท่ ๒ และที่ ๓ ไว้ เพราะ...

เวที ที่ ๒ ทีมเรา AAR กันว่า เราไม่บรรลุเป้าหมายเลย เพราะสาเหตุหลายประการ ที่สำคัญ คือ เราพยายามปรับกิจกรรมให้มีการ Show Cases เพื่อที่ให้ได้เป้าหมายที่ทางสำนักงานเขตฯ (ที่เป็นเจ้าภาพร่วม) ต้องการ คือ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ดี (BP) ในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ (O-net) ซึ่งเรา AAR ว่า BP เกือนทั้งหมดเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเตรียมตัวสอบ เราเสียเวลาทั้งเช้าไปกับกิจกรรมนี้และพิธีการเปิดงาน และด้วยประสบการณ์ขณะนั้น ไม่สามารถกู้กลับมาได้ทัน .... ครูสะท้อนในห้องน้ำว่า "...อบรมอะไรก็ไม่รู้ ไม่รู้เรื่องเลย... ทำไมไม่บอกเลยว่า จะให้ทำอะไร..." ... ด้วยสาเหตุนี้ จึงไม่มีแรงใจที่จะบันทึกประสบการณ์ไว้ ได้แค่ AAR ว่าเราจะปรับกันอย่างไรขณะที่นั่งรถกลับบ้าน ....

เวที ที่ ๓ เป็นเพียงผมคนเดียวที่่ไป ในฐานะวิทยากรกระบวนการ ผมได้รับการติดต่อหาผมอย่างเร่งด่วนล่วงหน้าเพียงไม่กี่วัน ผมนำเอาประสบการณ์ของครูเพ็ญศรี ใจกล้า และความสำเร็จของกลุ่มฮักนะเชียงยืน เล่าเรื่องการทำ PBL แบบ "เชียงยืนโมเดล" เป็นตัวอย่าง พร้อมทั้งแนะนำให้ทุกโรงเรียน จัดการเรียนรู้แบบ Real Life-based PBL (RLB-PBL) หรือ "การเรียนรู้บนฐานปัญหาชีวิต"... ช่วงนั้นมีงานอย่างอื่นมาก เลยไม่ได้เขียนบันทึกไว้ ... แต่จำได้ว่า AAR กับตนเองว่า เราตกลงกันชัดพอสมควรว่าจะกลับไปทำอะไรอย่างไร...

คราว นี้นับเป็นครั้งที่ ๔ ที่เราเจอกันกับคณะครูของบ้านเขวาทุ่ง ผมได้รับเมตตาและความไว้ใจจาก ผอ.เพ็ญศรี อย่างยิ่ง ถ้าเป็นคนอื่น ท่านคงดูถูกไม่ยอมให้โอกาสขนาดนี้

เราแบ่งกิจกรรมออกเป็น ๕ ช่วง ได้แก่ ๑) ช่วงแรกเป็นการพูดคุยสนทนาสื่อเนื่องมาตั้งแต่ที่จากกันมาเมื่อครั้งเวทีที่ ๓ และถอดบทเรียนให้เห็นบริบทของตนเอง เพื่อกำหนดค่านิยมร่วมของ PLC ๒) ต่อด้วยการทำกิจกรรมกระตุ้นแรงบันดาลใจให้ตื่นตัวในการ "ออกแบบ" กิจกรรม และ ๓) พาทำกิจกรรมเพื่อเชื่อมโยงภูมิสังคมสู่หัวเรื่อง PBL ๔) กิจกรรมสร้างภาพฝัน ร่วมกันกำหนดเป้าหมายร่วม ๕) ก่อนจะจบด้วยการทำ AAR ว่าจะทำอย่างไรกันต่อไป

ช่วงที่ ๑) ถอดบทเรียน ที่ผ่านมา พบว่า

  • ผมสังเกตว่า ครูที่บ้านเขวาทุ่งมีชีวิตชีวา มีพลังใจในการทำงาน บรรยากาศของการตื่นตัว (Active) สูงมาก ครูเป็น "ก้อน" และเป็น "กันเอง" เกือบทุกโรงเรียน ทุกเวทีที่ผมลงพื้นที่ ผมจะพบว่ามีบ้างที่ครูบางส่วน "ถูกแยก" หรือ "แยกตัวเอง" ออกไปจากกลุ่ม แต่ไม่พบที่นี่ ครูที่นี่มีความสามัคคีสูงมาก ผมตีความว่า แรงผลักดันคือ ผอ.เพ็ญศรี ที่ท่านขยันหา "โครงการ (ระดับประเทศ)" มาสานต่อในโรงเรียน ทำให้ครูได้รับ "โอกาส" ในการพัฒนาตนเอง หลายคนได้ร่วมเดินทางต่างประเทศ เช่น ฟินล์แลนด์ มาเลฯ สิงคโปร์ ฯลฯ
  • ครูตอบอย่างมั่นใจว่า นักเรียนที่นี่มี "สัมมาคารวะ" และ "เรียบร้อย" น้อบน้อมต่อแขกที่มาเยือนมาก (ผมได้บันทึกตีความสะท้อนไว้บ้างแล้วในครั้งแรกที่มา) "รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ มีวินัย พอเพียง และมีจิตสาธารณะ"
  • เมื่อถามว่า ครูภูมิใจอะไรที่สุดในความเป็น ร.ร.บ้านเขวาทุ่ง จับคำตอบได้ว่า โครงการ "โรงเรียนสุจริต" แต่เมื่อถามต่อว่า อะไรคือปัจจัยทำให้ มีความสำเร็จจนภูมิใจในโรงเรียนสุจริต ครูหลายบอกว่า "...เพราะเราเป็นโรงเรียนวิถีพุทธ..." ผมจึงตีความว่า พื้นฐานด้านการฝึกนักเรียนด้วยกระบวนการของโรงเรียนวิธีพุทธ คือปัจจัยที่ทำให้ นักเรียนมี "สัมมาคารวะ และ สุภาพเรียบร้อย" แบบที่สังเกตพบ
  • อีกอย่างหนึ่งที่ครูภูมิใจที่สุดคือ "ความสะอาด" เมื่อถามถึงเคล็ดลับ ผอ.เพ็ญศรี ก็ขอ "จับไมค์" อธิบาย เห็นได้ชัดว่า วิธีแบ่งเขตกันรับผิดชอบ โดยให้ครูและนักเรียนทำงานและรับผิดชอบร่วมกัน คือแนวคิดริเริ่มของ ผอ. นั่นเอง นอกจากในโรงเรียนแล้ว โรงเรียนได้ส่งเสริมให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการรักษาความสะอาดในชุมชน โดยเฉพาะในงานบุญสำคัญๆ ... ผมชื่นชมในความสำเร็จของประเด็นนี้ และแสดงความเห็นว่า งานนี้ ผอ.ภูมิใจ ครูภูมิใจ นักเรียนก็ภูมิใจ แต่ถ้าให้พวกเขา "คิดเอง" "ทำเอง" "แก้ปัญหา" และ "รักษาเอง" ได้ด้วยวิธีของตนๆ อาจจะภูมิใจมากกว่านี้
  • ผมตีความว่า วิธีการแห่งความสำเร็จในการปลูกฝังให้นักเรียนมีคุณลักษณะข้างต้นคือ โครงการโรงเรียนสุจริต โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร และโครงการโรงเรียนพระราชทาน ฯลฯ ... สรุปคือ ผอ.เพ็ญศรี พัฒนาโรงเรียน ครู และนักเรียน โดยการใช้ "โครงการเป็นฐาน" ซึ่งอาจเรียกว่า Project-based Development (PBD)
  • ตอนนี้ ร.ร. บ้านเขวาทุ่ง กำลังทำโครงการ "โรงเรียนอัจริยะจรรยา" ควมคิดรวบยอดของโครงการนี้คือ
    • สแกนลายนิ้วมือ แล้วทำนายความถนัดของนักเรียน ครู และ ผอ.
    • พัฒนานักเรียนตามความถนัดโดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญา เป็นแนวทาง
    • สแกนลายนิ้วมือ อีกครั้งถึงการเปลี่ยนแปลง
  • ขณะ นี้ได้ผ่านการสแกนครั้งแรกแล้ว ครูและผอ.สะท้อนว่า นักเรียนสมัยนี้ "มีสมาธิสั้น" โรงเรียนได้จัดกิจกรรมเสริมเพื่อพัฒนานักเรียนตามความถนัดด้าน กีฬา (ฟุตบอล) ดนตรี (โปงลาง) การคิด (หมากฮอด, ชมรมคณิตและวิทย์) ภาษา (ไทย อังกฤษ จีน) ฯลฯ
  • ที่ผ่านมา ผมตีความว่าครูอยู่ในโหมด "ต่อสู้" หรือ "ปกป้อง" ผมหมายถึง การที่ครูต้องง่วนอยู่กับภาระงานทั้งประจำและ "ประจร" ทั้งงานสอนและ "งานเสริม" ใช้การ "เติมแต่ง" เพื่อ "แข่งขัน" จึงไม่ได้อยู่ในโหมด "ผ่อนคลาย" ซึ่งจะได้ "เรียนรู้และเปลี่ยนแปลง" กระบวนการหรือโครงสร้างของการจัดการเรียนรู้ใหม่ (ในศตวรรษที่ ๒๑) ตามที่ "PLC บ้านเขวาทุ่ง" ได้วางแผนไว้

ช่วงที่ ๒ สร้างแรงบันดาลใจด้วย "๑๕ นาที กับ PBL ในชั้นเรียน"

เราใช้กิจกรรมที่ได้เรียนรู้จากทีมครูเพ็ญศรี จากโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม มาปรับใช้ ก่อนจะช่วยกันสรุปในตอนท้ายว่า

  • เป้าหมายที่สำคัญที่สุดในการจัดการเรียนรู้คือ "การสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้"
  • คำถามคือ จะทำอย่างไร ให้นักเรียน "เรียนอย่างมีความสุข สนุกที่ได้เรียน"
  • หน้าที่ของครูคือ "ออกแบบการเรียนรู้" (ไม่ใช่เพียงถ่ายทอดความรู้)
  • กิจกรรม "ทำลายลูกโป่งด้วยการตัด" นี้ เป็นตัวอย่างของการ "ออกแบบ" กิจกรรมการเรียนรู้บนฐานปัญหา" หรือ PBL ครู "ออกแบบ" ปัญหา และสร้างเงื่อนไขให้นักเรียนแก้ปัญหานั้นเป็นทีม อย่างมีส่วนร่วม
  • ทักษะ ในศตวรรษที่คาดหวังคือ ทักษะการคิดวางแผน ทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะการแก้ปัญหาในเวลาที่กำหนด ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความรอบคอบ ระวัง สติ สมาธิ เป็นต้น

กิจกรรมนี้ประสบผลสำเร็จอย่างดี ครูสนุกสนาน และรับปากว่า จะทดลองนำไปใช้กับนัเรียนและออกแบบกิจกรรมคล้ายกันนี้ต่อไป

ช่วงที่ ๓) กิจกรรมทำแผนที่ชุมชน เพื่อเชื่อมโยงภูมิสังคมสู่หัวเรื่อง PBL

กิจกรรม นี้ก็เช่นกัน เรานำประสบการที่ได้เรียนรู้จาก "ครูเพ็ญศรี" และทีม มาปรับใช้ พบว่าได้ผลดีเช่นกัน สิ่งที่ปรับปรุงเพิ่มเติมคือ การระบุ "ประเด็น" ที่จะนำไปสู่หัวข้อ PBL ด้วยสัญลักษณ์ ๔ อย่างได้แก่

  • รูป "ดอกจัน" ให้แทน "ปัญหา" โดยทำเครื่องหมายดอกจันลงตรงบริเวณที่มีปัญหาชุมชน ... ครูสะท้อนว่า มีพื้นที่เสียงด้านปัญหาวัยุรุ่นมั่วสุม ใต้สะพาน ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนที่ไม่ได้ศึกษาต่อ...
  • รูป "ดาว" ให้แทน "ภูมิปัญญา" ของชุมชน บริเวณที่โรงเรียนอาจใชเป็นแหล่งเรียนรู้ ดูงาน ลงพื้นที่ เช่น ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง ปราชญชาวบ้าน ดอนปู่ตา ฯลฯ
  • รูป "กองข้าว" หรือ "กุ้มข้าว" หรือ "ลอมข้าว" ใช้เป็นสันญลักษณ์แทน "แหล่งผลิต" ในชุมชน เช่น นาข้าว ไร่มัน สวนผลไม้ นากก นาไหล ไร่ม่อน ฯลฯ
  • รูป "กระติ๊บข้าว" ใช้แทน ผลิตภัณฑ์ ที่มีโดดเด่น มีกระบวนการผลิต มีศักยภาพในการพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ OTOP เช่น ผ้าไหม กล้วยตาก กล้วยทอด เสื่อกก ฯลฯ ... คุณครูนำ "กล้วยเกล็ดช็อกโกแลต" ผมว่าอร่อยมาก รสชาดนี้น่าจะขายได้

โรงเรียนคาดหวังว่า ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับใบเตยและกล้วย จะกลายเป็นสินค้าต่างๆ จากโรงเรียน และมีเป้าหมายที่จะทำร้ายแสดงสินค้า OTOP

การ วิเคราะห์ชุมชนผ่านกระบวนการใช้ "มือคิด" (Thinking Design) แบบนี้ ได้ผลดีอย่างยิ่ง สามารถถึงสมาธิและการมีส่วนร่วมจากทุกคน และร่วมกันถกเถียง ระดมสมองกัน ที่สำคัญ ทำให้กระบวนกรได้มีโอกาสเข้าไปร่วมเรียนรู้ "บริบท" ของโรงเรียนและชุมชน ซึ่งมีผลโดยตรงต่อ ข้อความเห็นและคำแนะนำที่เหมาะสมต่อโรงเรียน ในฐานะ "นักขับเคลื่อน"

ช่วงที่ ๔) กิจกรรมสร้างภาพฝัน ร่วมกันหาเป้าหมายร่วม

หลัง จากเรียนรู้ ทบทวน บริบทของตนเอง จากกิจกรรมแผนที่ชุมชน ขั้นต่อมาคือ ให้ทุกกลุ่มช่วยกันเลือก "ประเด็น" ที่คิดว่า น่าจะเป็นหัวข้อในการนำมาจัดการเรียนรู้แบบ PBL พบว่า ส่วนใหญ่ไม่เลือก "ปัญหา" แต่จะเลือก "ภูมิปัญญา" หรือแหล่งเรียนรู้มากกว่า เมื่อวานนี้ CADL เพิ่งกลับจากขับเคลื่อน สพป. กส. ๑ กลุ่มเป้าหมายเป็นครูการงานฯและเทคโนโลยี พบว่าทุกกลุ่ม ไม่เลือก "ปัญหา" เช่นกัน ส่วนใหญ่จะเลือก "ภูมิปัญญา" หรือไม่ก็ "ผลัตภัณฑ์" .... นี่เป็นข้อค้นพบสำคัญ ผมตีความว่า เป็นวัฒนธรรมของคนไทย ที่ไม่เหมือนฝรั่ง ดังนั้น PBL ที่คนไทยถนัด อาจไม่ใช่ "ปัญหาเป็นฐาน" แต่น่าจะเป็น "ภูมปัญญาเป็นฐาน" ก็เป็นได้ ...

วิธีการของกิจกรรมนี้ ก็ได้มาจาก "ทีมครูเพ็ญศรี" เช่นกัน เมื่อเลือกหัวข้อหรือประเด็นแล้ว เราก็แจกกระดาษขนาดครึ่ง A4 ให้แต่ละคนวาด "ภาพฝัน" วันแห่งความสำเร็จ ถ้าพัฒนาหรือแก้ปัญหานั้นได้อย่างยอดเยี่ยม โดยกำชับให้ต่างคนต่างวาด

จาก นั้นขั้นต่อมา คือการสร้าง "เป้าหมายร่วม" (Share goal) ของกลุ่ม วิธีการคือ ให้แต่ละกลุ่มนำภาพฝันที่ต่างคนต่างวาด มา "รวม ร้อย เรียง เป็น เรื่องราว" แล้วให้นำเสนอ ... นี่เป็นก็เป็นวิธีที่ได้ผลดียิ่งในการรวมคน รวมใจ เราเป้าหมาย รวมพลัง... ต้องยกย่องคนคิดกิจกรรมเป็นคนแรก ....

ช่วงที่ ๕) สุดท้าย ร่วมกันทำ AAR ให้เกิดพลัง ให้เกิดความตั้งใจ มั่นใจที่จะนำไปทำต่อ

เรา จัดก้าวอี้เป็นวงกลม แล้วชวยทุกคนได้คิด สะท้อนบทเรียนในวันนี้ และตั้งคำถามว่า สิ่งใดที่จะนำไปทำหรือปรัชใช้ต่อ... ลึกๆ แล้วผมเองก็ยังไม่มั่นใจว่า ครูท่านจะว่าอย่างไร แม้ทุกคนจะเห็นด้วย อาจเป็นเพราะภาระงานในโหมด "ต่อสู้" หรือ "ปกป้อง" ของโรงเรียน ผมเสนอให้ ผอ.จัดเวลาประจำอาทิตย์ๆ ละ ๒ ชั่วโมง ที่ทั้งครูละนักเรียนจะได้ร่วมกันทดลองปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอน ให้เป็นการเรียนรู้แบบตื่นตัว (Active Learning) แบบ PBL ทั้งในและนอกห้องเรียนแบบนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้ครูได้ "ฝึกคิด" ออกแบบ เปลี่ยนโหมดการทำงานไปสู่การ "ผ่อนคลาย" เน้นการเรียนรู้ด้วยความสุข สนุกที่ได้เรียน ....

สู้ๆ ครับ ครูบ้านเขวาทุ่ง ทุกท่านมีศัยกภาพและพลังในตัวจริงๆ ครับ จะคอยติดตามผลงานของท่านต่อไป

อ.ต๋อย (CADL)

ดูรูปทั้งหมดได้ที่นี่

หมายเลขบันทึก: 578828เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2014 07:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ตุลาคม 2014 04:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท