ขับเคลื่อน PLC มหาสารคาม ปี ๒๕๕๗ (๙) : ไปเรียนรู้กระบวนการ PBL แบบ "เชียงยืนโมเดล" กับทีม "ครูเพ็ญศรี ใจกล้า" (๒)


บันทึกที่ ๑ ของเวทีนี้

จาก ลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง พบว่าปัญหาสำคัญของการขับเคลื่อนเพื่อเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้สู่ ศตวรรษที่ ๒๑ คือ ครูและผู้บริหาร "ไม่กล้าลงมือทำ" ไม่ใช่ "ทำแล้วไม่สำเร็จ" ครูที่มาร่วมกันใน PLC มหาสารคาม เป็น "ชนกลุ่มน้อย" ของครู เป็น "ผู้กล้า" แม้ว่าผู้บริหารจะสนับสนุนหนุนเต็มที่หรือบางที่ก็ยังมีความลังเลสงสัย จึงยังไม่ให้โอกาสเต็มที่ แต่ทุกคนที่มาร่วมเวทีนี้ กำลัง "วิ่ง" อย่างเต็มที่เพื่อลูกศิษย์ของตนเอง

ในมุมมองของผู้สังเกต ผมตีความว่า กิจกรรมและกระบวนการ PBL แบบ "เชียงยืนโมเดล" เกิดจาก "ความกล้าหาญ" กล้าเปลี่ยนแปลง "ลงมือลุย" และ "ประสบการณ์" จากที่ทั้งครูและนักเรียนแกนนำได้รับการฝึกอบรมหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก ทั้งครูและหน่วยงานหนุนเสริมต่างๆ ทั้งระดับภูมิภาคและระดับประเทศ นักเรียนกลุ่ม "ฮักนะเชียงยืน" คือสิ่งยืนยันว่า "เชียงยืนโมเดล" นั้น "ถูกต้อง ถูกทาง" หากเพื่อนครูที่อ่านอยู่ ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มหรือทำอย่างไร ขอให้ทดลองนำกิจกรรมต่อไนี้ไป "ลง" ทำดู

๑) เริ่มที่ BAR (Befor Action Review)

"กระบวน กร" เริ่มด้วยกระบวนการ BAR โดยใช้กระดาษโพส์อิท ให้แต่ละคนเขียนแล้วนำมาติดบนผนัง ก่อนจะแลกกันอ่าน ในกรณีเวทีนี้กลุ่มเป้าน้อย ใช้เวลาไม่นาน กระบวนกรจึงใช้การอ่าน "ปี้น้อย" ทีละแผ่น แล้ว "แสน" (ผู้ช่วยกระบวนกร) สังเคราะห์จัดเป็นประเด็น ดังนี้ครับ (อ่านบันทึกของแสนที่นี่)

(คัดลอกจากบันทึกของ ธีระวุฒิ ศรีมังคละ)

๑.ความต้องการอยากเห็นวิธีการของ PBL ในบริบทเชียงยืนเเละของครูเพ็ญศรี

๒.ความอยากเห็นวิธีการทำงาน การขับเคลื่อน เเละทางโรงเรียน

๓.ความอยากเห็นเทคนิคของครูเพ็ญศรี ในการพัฒนาคนให้มีความรู้ที่คงทน ยั่งยืน

๒) ละลายพฤติกรรม

ผมตีความกิจกรรม "ดอกไม้ ๕ กลีบ" "อัพสปีชีย์" "เป็ดหาบ้าน" และ "PBL ๑๕ นาทีกับวิธีทำให้ลูกโป่งแตก" (อ่านวิธีทำกิจกรรมได้ที่นี่) สามารถทำให้ทำให้รู้จักกันและกันมากขึ้น เปิดใจตนเองให้ตนเอง เปิดใจตนเองให้คนอื่น เตรียมความพร้อมก่อนกระบวนการเรียนรู้ เพื่อสร้างเป้าหมายร่วมกัน เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำเป็นอันดับแรกใน "วง PLC"

๓) ทำแผนที่ชุมชน

ที่ ผ่านมา การขับเคลื่อน PBL ส่วนใหญ่ ใช้วิธีการ "บอก บรรยาย ฉายตัวอย่าง" แต่หลังจากร่วมกิจกรรม "ทำแผนที่ชุมชน" ในเวทีนี้แล้ว ผมเปลี่ยนความคิดไปเลย ต่อไปจะใช้กิจกรรม "thinking design" หรือ "ใช้มือคิด" (ได้ชื่อนี้จากแรงบันดาลใจในการทำกิจกรรมนี้ครั้งแรกกับ อ.ชัยวัฒน์ ถิระพันธ์) แบบนี้ในทุกๆ เวทีของ PLC ที่จะทำต่อไป

อุปกรณ์ที่กระบวนกรเตรียมไว้ได้แก่

  • กระดาษฟิวเจอร์บอร์ดขนาด ๓๐x๕๐ ตารางเซนติเมตร ๑ อัน
  • ดินน้ำมัน ๓ สีๆ ละ ๑ ก้อน
  • สีช็อค ๑ กล่อง

กระบวนเริ่มด้วยการเกริ่นนำและบอกให้ทำแผนที่ชุมชนที่ตนอยู่ โดยการใช้สีวาดแผนที่เชิงภูมิศาสตร์ลงบนกระดาษฟิวเจอร์บอร์ด แล้วทุกคนระดมสมองกันว่าอะไรคือ ปัญหา (Problem) ภูมิปัญญา (Wisdom) แหล่งเรียนรู้ (Learning Area) หรือแหล่งผลิต (ผลิตภัณฑ์, เกษตรกรรม, ฯลฯ) ปั้นเป็นรูป/สัญลักษณ์ด้วยดินน้ำมัน แล้ววางไว้ให้เด่นเห็นชัด สุดท้ายให้ปั้นรูปตนเอง วางไว้ในจุดที่ตนภูมิใจหรือสนใจ หรือมีแรงบันดาลใจที่จะเข้าไปเกี่ยวข้อง

การ ทำแผนที่ชุมชนแบบ "thinking design" หรือผมมักเรียกว่าใช้ "มือคิด" ช่วยให้กลุ่มเป้าหมายทุกคนได้ร่วมกันคิดพิจารณา ใคร่ครวญถึง ปัญหา ภูมปัญญา แหล่งเรียนรู้ แหล่งผลิต ผลิตภัณฑ์เด่น ฯลฯ หรือทรัพยากรต่างๆ ของชุมชน ทั้งมิติสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ... เป็นการเตรียมความพร้อมไปสู่ "PBL บนฐานชีวิตจริง" ซึ่งเป็นสิ่งที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของ "เชียงยืนโมเดล"

๓) วิเคราะห์เลือกปัญหาหรือภูมิปัญญาในชุมชน ด้วยกิจกรรม "ต้นไม้เจ้าปัญหา"

กิจกรรมนี้เป็นวิธีของ "ครูเพ็ญศรี ใจกล้า" ซึ่งผมเคยนำมาเขียนตีความเป็นเครื่องมือการจัดการความรู้แล้ว อ่านได้ที่นี่ โดย ให้แต่ละกลุ่มเลือก ปัญหา หรือ ภูมิปัญญา หรือ ผลิตภัณฑ์ ฯลฯ ที่ได้ร่วมกันระดมมาแล้วในการทำแผนที่ชุมชน โดยให้แต่ละคนเลือกพร้อมแสดงเหตุผล ทีละคน ก่อนจะร่วมกันเลือก และช่วยกันวิเคราะห์โดยใช้ "แผนภูมิต้นไม้" หรือที่ผมเรียกว่า "ต้นไม้เจ้าปัญหา"

๔) ร่วมกันสร้างภาพฝัน Share Vision ของ PLC

กระบวน กรบอกทีมให้แจกกระดาษ ๑๒๐ แกรม ขนาดครึ่ง A4 ที่แตกต่างไปหลากหลายสี แล้วให้ทุกคนใช้เวลากับตนเอง จินตนาการถึง "ภาพฝัน" "วันที่สำเร็จ" หมายถึง แก้ปัญหาหรือเสริมสร้างพัฒนาภูมปัญญาที่ร่วมกันเลือกไว้ได้สำเร็จ เช่น เห็นภาพชุมชน ผู้คน สังคม หรือ สิ่งแวดล้อมจะเปลี่ยนอย่างไร มีความสุขอย่างไร ฯลฯ แล้ววาดรูป "ภาพฝัน" นั้นลงในกระดาษที่แจกให้

ต่อ ไป ให้นำ "ภาพฝัน" ของแต่ละคน มา "รวม -> เรียง -> ให้เป็นเรื่งราว" โดยให้อภิปรายภาพของเพื่อนๆ ในกลุ่มในมุมมองของตน ก่อนที่แต่ละคนจะนำเสนอ (เฉลย) ให้เพื่อนรู้ว่า อะไรอยู่ในใจตนเอง

แล้วช่วยกันเรียงลำดับและ เชื่อมโยงความหมาย หรือสร้างความหมายใหม่ ให้เป็น "ภาพฝันร่วม" นำภาพติดลงในกระดาษปลู๊พแแผ่นใหญ่ และนำไปติดไว้ให้ใครๆ กลุ่มอื่นๆ ได้เห็น...

๕) เขียนเค้าโครงร่าง โด้ยใช้กิจกรรม "ปัญญาจากต้นไม้"

นำ "ปัญหา" หรือ "ภูมิปัญญา" (หรือสิ่งที่กลุ่มเลือก) มาเปลี่ยนเป็น "หัวข้อโครงงาน" โดยใช้ "แผนภูมิต้นไม้"

  • นำสาเหตุของปัญหา หรือ องค์ประกอบของภูมปัญญา มาเป็นวัตถุประสงค์ของโครงงาน
  • ระบุสิ่งที่อยู่ใน "ภาพฝันร่วม" เป็นสิ่งที่คาดหวังที่จะให้เกิด
  • แล้วร่วมกันระดมสมองหาวิธีการแก้ไขหรือพัฒนา เพื่อนำมาเขียนเป็น "วิธีดำเนินการ"
  • ก่อนจะ backward design ต่อไปว่าจะวัดอย่างไรให้รู้ว่า เราอยู่ตรงไหนของเส้นทางสู่ "ความฝัน"

(อ่านรายละเอียดวิธีการทำแผนภูมิต้นไม้ได้ที่นี่)

๖) ลงมือทำ

หมาย ถึง นักเรียนต้องได้ลงมือทำด้วยตนเอง ลงพื้นที่จริง สัมผัสและ "ตะลุย" สถานการณ์จริง นี่คือหัวใจสำคัญของ PBL หากไม่มีขั้นนี้ "จะไม่มีความสำเร็จเด็ดขาด" ความยากอยู่ที่ "ความกล้า" ปัญหาคือ "เวลา ภาระงาน และนโยบาย" ความง่ายคือ "ไม่มีอะไรตายตัว" "ไร้รูปแบบ"

๗) นำเสนอ

หลาก หลายวิธี.... วิธีที่ครูเพ็ญศรีและ "ฮักนะเชียงยืน" ทำแล้วสำเร็จยิ่งคือ "ละครเร่" (เชิญสืบค้นคำว่า "ฮักนะเชียงยืน" กับ "ละครเร่")

ทั้ง ๗ ขั้นตอนนี้ คือกระบวนการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่ PBL แบบ "เชียงยืนโมเดล"

ใครสนใจอ่านรายละเอียดได้จากเอกสารเผยแพร่ เรื่อง "ครูเพ็ญศรี ใจกล้า ครู BP จาก PLC มหาสารคาม"

ครูเพ็ญศรี ใจกล้า _ ๐๑ : ครู BP จาก PLC มหาสารคาม (บทนำ)

ครูเพ็ญศรี ใจกล้า _ ๐๒ : วิธีคิดและกระบวนการของครูเพ็ญศรี

ครูเพ็ญศรี ใจกล้า _ ๐๓ : เรื่องเล่าจากครูเพ็ญศรี "การจัดการเรียนรู้แบบ 3PBL สไตล์ เชียงยืน"

ครูเพ็ญศรี ใจกล้า _ ๐๔ : PBL ในวิชาค้นคว้าอิสระ ณ เชียงยืนพิทยาคม (จบ)

หมายเลขบันทึก: 578129เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2014 06:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2014 07:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท