ระวัง "ตกขบวน" เวทีรับฟังความคิดเห็นก่อนการปฏิรูป จ.ขอนแก่น ๒๖ กันยายน ๒๕๕๗


ผมติดตามงานปฏิรูปผ่าน PLC ออนไลน์ ไม่ใช่ใครที่ไหนครับ ครูเพ็ญศรี ใจกล้า กับทีม "ฮักนะเชียงยืน" ที่ได้ไปร่วมงานระดมความคิดเห็นด้านการศึกษา หนึ่งใน "รถด่วน" ใครไม่อยาก "ตกขบวน" ก็ติดตามถามถึงได้ในเว็บทั่วไป ... เหมือนผมที่ไม่ได้ไป แต่ก็ใส่ใจติดตามครับ.... ผมเห็นข้อสรุปในมุมมองของคุณอาเพ็ญศรี ทาง Facbook   น่าสนใจ คิดว่าครูเราใน PLC มหาสารคาม ควรจะมาระดมสมอง ทดลองเสนอ หรือตีความตาม "ความคิด ความอ่าน" ของเราชาวครูเพื่อศิษย์อีสาน ไว้ตรงนี้ 

ประเด็นการศึกษาที่พวกเราเสนอคือ

๑) มุ่งพัฒนาทักษะของผู้เรียนเน้นสู่สายอาชีพและความหลากหลายตามความถนัดและสนใจของผู้เรียน ไม่เน้นโอเนต ควรมีปริญญาอาชีพ ครูควรจัดหลักสูตรบนสภาพปัญหาของชุมชนและควรรองรับด้วย
๒) รัฐควรมีแผนรองรับคนที่จบการศึกษาให้มีงานทำ
๓) มีการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียน วิชาที่เรียนยึดหลักกระบวนการเรียนรู้ที่สามารถให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์และ สังเคราะห์ได้ โดยเฉพาะการจัดการเรียนรู้ผ่านการทำโครงงาน PBL และนักเรียนสามารถเอาโครงงานตัวเองเขาสมัครเรียนต่อได้
๔) ควรมีการให้การบ้านและลดการบ้าน ที่เหมาะสมของรายวิชา และครูควรบูรณาการการทำงานร่วมกับการใช้ชีวิตจริง ให้เด็กสนุกกับการเรียน ให้โรงเรียนเป็นโรงเรียน
๕) มีการสร้างแรงจูงใจ แรงบันดาลใจ และสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้
๖) อยากเห็นห้องเรียนมีชีวิต อยากเห็นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ
๗) ครูและโรงเรียนมีอำนาจในการจัดการศึกษาอย่างแท้จริง
๘) มีการเรียนรู้ร่วมกับชุมชน มีกิจกรรมช่วยเหลือสังคม
๙) ปรับปรุงระบบการคัดเลือกการเข้าเรียนต่อ ให้มีความสอดคล้องกับวิชาที่เรียน คัดเลือกตามความสามารถ เด็กสามารถเอางานวิจัย ๑๐) มีความเท่าเทียมเทียมกันในการเรียน คือฟรีอย่างแท้จริง และต่อเนื่องถึงมหาวิทยาลัย เพราะปัจจุบันเสียค่าหน่วยกิตแพงมากลูกชาวนาแทบไม่มีสิทธิ์เรียน
๑๑) ระบบการสอบวัดผลเข้ามหาวิทยาลัยควรมั่นคงไม่เปลี่ยนไปมาตามรัฐบาล
๑๒) ควรมีการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างแท้จริงและมีคุณภาพ มีมาตรฐานทั้งครูและนักเรียน
๑๓) มีการรองรับและยอมรับผู้ที่จบจากการศึกษานอกระบบมากยิ่งขึ้น


กลไกที่ใช้

๑) กระจายอำนาจการจัดการศึกษาสู่ท้องถิ่น

๒) ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างแท้จริง ปลุกพลังในชุมชนให้ได้

๓) มีเครือข่ายในการพัฒนาการศึกษาทั้งเครือยข่ายวิชาการ ภาคเอกชน ร่วมกันสร้างการเรียนรู้ใหม่

๔) มีการผลิตครูจากชุมชน เพื่อชุมชน เพราะครูจะรู้ปัญหาของชุมชนได้ดี
ควรมีผู้นำธรรมชาติ คือพระมาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษา สร้างการทำงานเป็นทีมระหว่างโรงเรียนและชุมชน

๕) มีระบบประเมินคุณภาพการศึกษาอย่างเข้ม


...แต่น่าเสียดายเพราะผู้ที่เข้าร่วมเวทีกลุ่ม มี นศ.จากมมส ร้อยเอ็ด เชียงยืนพิทยาคม และการศึกษาตามอัธยาศัยเพียงคนเดียว

สาธุ ขอให้ฟังเราจักอย่างแน้เด้อ...

สำหรับผม การปฏิรูปการศึกษา เป็นหนทางเดียวที่จะแก้ปัญหานี้ได้อย่างยั่งยืน หากทุกคนที่ไปร่วมประชุมแลกเปลี่ยนในทุกเวทีด้านการศึกษา หันมา ศึกษา "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา" อย่างจริงจัง จะพบทางสว่าง และหนทางสู่เป้าหมายของการศึกษา ที่ดูเหมือนจะคลำหากันมานาน....

เราเปรียบคำสอนของพระพุทธเจ้า เหมือนเป็น "ทางสายเอก" ที่เป็นพาพวกเราสู่การรู้แจ้ง พ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง ฉันใด ผมคิดว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ก็เปรียบได้ กับ "ทางสายเอก" ในการพัฒนาการศึกษาไทย (และโลก) ฉันนั้น

หมายเลขบันทึก: 577222เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2014 08:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กันยายน 2014 08:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท