มุมมองทางปัญญา 2


การเรียกชื่อนักปรัชญาเป็นคนแรกในโลกคือพิธากอรัส ( Pythagoras ) ท่านเป็นชนชาวกรีกและเป็นผู้ใช้คำนี้สำหรับเรียกวิชาการต่าง ๆ ที่ยังไม่มีชื่อเฉพาะในยุคนั้นจึงใช้เรียกรวม ๆ ว่า ปรัชญา การมีหมวดปรัชญามาจากผลงานของท่านอาริสโตเติล ( Aristotle ) ท่านก็เป็นชนชาวกรีกเช่นกัน ได้แบ่งแนวคิดทางปรัชญาเป็น 2 ภาคคือ

1 . ภาคอภิปรัชญาสะท้อนภาพทางนามธรรม

2 . ภาคศาสตร์ต่าง ๆ และกลายมาเป็นในทุกสาขาวิชาที่มีอยู่ในปัจจุบัน

อันที่จริงแล้ว ปัญญาหรือปรัชญานั้นศึกษาทุกสิ่ง และมีเนื้อหากว้างเท่าที่สติปัญญาความสามารถของมนุษย์จะก้าวไปถึงได้ ปรัชญาจึงได้รับการยกย่องให้เป็นแม่ของศาสตร์ทั้งปวง แต่เป็นที่เชื่อได้ว่าไม่มีนักปรัชญาคนใดรู้เจนจบจักรวาล


ด้วยปรัชญาเป็นเรื่องของการแสวงหาความรู้ที่มนุษย์มีข้อสงสัยจึงตั้งเป็นประเด็นขึ้นมาวิจัยและการค้นพบความรู้จากสิ่งที่ได้แสวงหานั้น นักปรัชญามักถ่อมตนด้วยมุมคิดที่ว่าในโลกนี้ยังมีอะไรอีกมากที่เขายังไม่รู้เหมือนโสคราตีสกล่าวว่า หนึ่งเดียวที่ฉันรู้คือฉันไม่รู้อะไรสักอย่าง 


ดังนั้นนักปรัชญาจึงชอบศึกษาในทุกเรื่องที่เขาสนใจอยากเรียนรู้เพื่อก่อให้เกิดปัญญา คนทั่วไปไม่ค่อยใช้เวลาว่างในการค้นคิดถึงปัญหาต่าง ๆ และไม่ให้ความสำคัญต่อความอยากรู้อยากเห็นแม้แต่มีความสงสัยก็ไม่สอบถาม แม้อยากรู้ก็ไม่เล่าเรียนให้รู้แจ้งเห็นจริง ด้วยวันเวลาของคนเราส่วนมากทุ่มเทไปกับเรื่องไร้สาระและเรื่องการแก้ปัญหาปากท้องของตน ที่ก่อให้เกิดความวิตกกังวลในการดำเนินชีวิตทำให้ชาวโลกจมลงอยู่ในทะเลชีวิตเกือบหมดสิ้นนั้นคือการถูกมรสุมชีวิตมาบดบังแสงแห่งปัญญาที่จะเกิดมีขึ้นกับตนนั้นแล.

หมายเลขบันทึก: 576081เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2014 22:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กันยายน 2014 22:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท