การศึกษาทางไกล..ใจต้องมาก่อน


โรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีครู ๓-๔ คน คงรอด้วยใจจดจ่อ ส่วนโรงเรียนที่เล็กไม่จริง กำลังอยากจะเป็นขนาดกลาง และมีครูพอดี มีวิชาเอกหลักๆ ก็อาจมีบ้างที่คิดคำนึงถึงการจัดการ แต่อย่างไรก็ตาม ณ วันนี้ โอกาสมาถึงแล้ว ที่จะได้สื่อที่เป็นตัวช่วยพัฒนาคุณภาพ ตอบรับด้วยหัวใจ แล้วใช้ไปตามบริบท บริหารการจัดการให้ถูกที่ถูกเวลา..

การประชุมสัมมนาศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนด้วยสื่อทางไกลผ่านดาวเทียมวังไกลกังวล เสร็จสิ้นไปทั้งในส่วนผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครูทั่วประเทศ ไม่เฉพาะแต่โรงเรียนขนาดเล็กที่ต้องร่วมโครงการอย่างแน่นอน ยังหมายถึงโรงเรียนที่เห็นความสำคัญ ก็สามารถแสดงความประสงค์เข้าร่วมโครงการได้

แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของสื่อหรือนวัตกรรมนี้ได้พอสมควร คงไม่ได้มองกันแค่การตัดสินใจของฝ่ายทหาร แต่อยากให้มองถึงพัฒนาการที่ยาวนานของการศึกษาทางไกลฯ... ซึ่งถ้ายังไม่ได้สัมผัส อาจจะมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว

ผมดีใจเมื่อทราบว่าจะได้รับ และติดตั้งอย่างสมบูรณ์ เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๔๙  และเมื่อคู่มือครูเดินทางมาถึง ก็ได้จัดการเรียนการสอนกันทันทีในเดือนธันวาคม ขณะนั้นยังอยู่ในช่วง สปช.(เดิม) ไม่มีการอบรมใดๆทั้งสิ้น มีแค่การประชาสัมพันธ์บอกต่อ ในทำนองว่าถ้าเป็นโรงเรียนขนาดเล็กก็ควรจะนำมาใช้

เพื่อตอบโจทย์และแก้ปัญหา..ครูไม่ตรงวิชาเอก ครูไม่ครบชั้นหรือขาดครูแบบวิกฤตินั่นเอง  ซึ่งก็ตรงกับวัตถุประสงค์หลักของนโยบายในปัจจุบัน  ที่พยายามจะไม่พูดถึงภาระงานอื่นๆของครูที่มากขึ้นเป็นเงาตามตัว

ปีการศึกษา ๒๕๔๙ ผ่านไป..ทิ้งไว้ซึ่งปัญหาที่ผมต้องแก้ไขและเรียนรู้อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนการสอนที่ต้องเปิดคู่มือล่วงหน้าทุกครั้ง การเตรียมสื่อและเครื่องมือประเมินผลที่โรงเรียนต้นทางกำหนดไว้ รวมทั้งบรรยากาศห้องเรียน วินัยในชั้นเรียน ตลอดจนการบริหารจัดการเวลาที่เป็นเรื่องสำคัญ ที่วิชาการของโรงเรียนต้องนำมาพูดคุยให้เข้าใจตรงกันถึงวิธีการใช้ที่ถูกต้อง

ความที่มีครูไม่มาก ก็คุยกันง่าย ครูคลายตวามคับข้องใจไปได้มาก เนื่องจากไม่ถนัดในบางรายวิชา แต่ครูทางไกล(ครูตู้)ช่วยได้.. เมื่อครูมีใจให้กับสื่อฯ ความสุขก็เกิดขึ้นในโรงเรียน บรรยากาศการเรียนการสอนก็ราบรื่น นับตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๐ เป็นต้นมา ผลสัมฤทธฺ์ทางการเรียนในภาพรวมก็ดีขึ้นเป้นลำดับ

โดยส่วนตัวแล้ว ก็ยังคิดว่าโชคดี ที่ไม่หลงประเด็นไปกับนโยบายการศึกษา ที่เปรียบเสมือนไม้หลักปักเลน ที่ยุคหนึ่งสมัยหนึ่ง ของสพฐ.นอกจากจะไม่พูดถึงการศึกษาทางไกลแล้ว ยังจะยุบ ควบ รวม โรงเรียนเล็ก ไปให้ความสำคัญกับแท๊บเล็ตและทุ่มเทกับโรงเรียนดีมีคุณภาพ จนหลงลืมไปว่าโรงเรียนเล็กๆและห่างไกล เขามีเครื่องมือทางการศึกษาที่เขามั่นใจได้ และที่สำคัญ..เป็นโครงการในพระราชดำริ...ที่ต้องเข้าใจ เข้าถึง ทำจริงอย่างตั้งใจ.....อย่าทำเป็นเล่น

ครับ..อบรมกันแล้ว ก็เชื่อว่าครูหลายคน ตั้งตารอด้วยใจจดจ่อ อย่าเสียเวลาไปกับการรอความพร้อมของชุดอุปกรณ์ว่าจะมาครบหรือไม่ สวยงามขนาดไหน ในเมื่อต้องได้อย่างแน่นอน จึงควรใส่ใจกับการวางแผนศึกษาแนวดำเนินการ อาทิ บรรยากาศชั้นเรียนจะต้องเป็นอย่างไร ทีวีควรจะตั้งในจุดไหน ที่ไม่สูงจนเกินไป บทบาทของครูต้องปรับเปลี่ยนไปอย่างไร รวมทั้งผู้บริหารที่ต้องเข้าใจทั้งระบบเพื่อการนิเทศกำกับติดตามและอำนวยการช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา

โรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีครู ๓-๔ คน คงรอด้วยใจจดจ่อ ส่วนโรงเรียนที่เล็กไม่จริง กำลังอยากจะเป็นขนาดกลาง และมีครูพอดี มีวิชาเอกหลักๆ ก็อาจมีบ้างที่คิดคำนึงถึงการจัดการ แต่อย่างไรก็ตาม ณ วันนี้ โอกาสมาถึงแล้ว ที่จะได้สื่อที่เป็นตัวช่วยพัฒนาคุณภาพ ตอบรับด้วยหัวใจ แล้วใช้ไปตามบริบท บริหารการจัดการให้ถูกที่ถูกเวลา..

การศึกษาทางไกลสมัยนี้ ไม่เหมือนกับที่ผ่านมา..ครูจะได้ฮาร์ดดิสไว้สอน เรียนซ้ำ ย้ำทวน และสอนซ่อมเสริม แค่นี้ก็คุ้มแล้วครับ..ขอให้สบายใจได้.

                                  

ชยันต์ เพชรศรีจันทร        

๗ กันยายน ๒๕๕๗




 




ขอบคุณเพลง รางวัลของครู ประกอบบันทึกนี้



หมายเลขบันทึก: 575859เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2014 22:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กันยายน 2014 07:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สอนคือ สาน สานความคิดให้เด็กรับรู้โลกความจริงและโลกมายา ที่

เขาเผชิญอยู่ครับผอ. ครูเป็นดวงใจของเด็กๆ เด็กคือ ดวงใจของครูครับ

วันนี้ไปฟังบรรยายพิเศษที่สตรีภูเก็ต แนะแนวศึกษาต่อ... คิดถึงคุณครูทุกคนเลยค่ะ

ครั้งหนึ่ง.....คุณมะเดื่อเคยเป็น  " ครูตู้ " ของไกลกังวลเหมือนกันนะจ๊ะ ......  มันไม่ง่ายเลยกับการทำหน้าที่ตรงนั้น.... 

การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมมีมานานมากตั้งแต่พระองค์ท่านยังหนุ่ม ๆ ไม่ทราบว่าโรงเรียนห่างไกลใหญ่น้อยมีโอกาสเข้าถึงทั้งหมดหรือไม่ เช่นเดียวกับไอทีอื่น ๆ ถ้าเนื้อหา หรือ content ไม่ดีพอก็หมายถึงคุณภาพ ทำอย่างไรจะให้เด็กได้มีโกาสลงมือทำด้วย มันแก้ปัญหาบางอย่างได้ แต่ก็ไม่ง่ายที่จะจัดการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้ที่พึงปรารถนาโดยไม่ผ่านการเสริมโดยครูในโรงเรียนมาก ๆ  

ขอขอบพระคุณทุกท่านนะครับ ที่กรุณาเข้ามาอ่านและมอบกำลังใจให้ผม

อ่านแล้วคิดว่าหากเรามีผู้บริหารโรงเรียนเล็กๆทั้งหลายคิดและทำได้แบบนี้มากๆ เด็กไทยจะมีอนาคตที่ดีแน่นอนไม่ต้องรอระบบที่ล้มเหลวอย่างที่เป็นอยู่นะคะ ขอบคุณท่านผอ.มากที่ช่วยให้คนอ่านมีกำลังใจ เป็นกำลังใจให้ท่านด้วยเช่นกันค่ะ ทางที่ถูก ทางที่ดี ยังไงก็ต้องดีค่ะ 

ครูตู้ สอนได้  แต่ที่สำคัญที่จะทำให้ครูตู้เป็นผู้ช่วยที่ดี  คือ ครูตัวเป็นๆๆนี่หละำคั

การศึกษาในระดับปฏิบัตินั้น ไม่มีอะไรยุ่งยากหรอกครับ ถ้าปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ แต่ที่มันยุ่ง เพราะนโยบายในระดับสูง ที่คิดกันไม่เคยหยุดหย่อนเสียที ...ขอบคุณความคิดเห็นนะครับ

สวัสดีค่ะ   อ ชยันต์  เพชรศรีจันทร์    

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท