ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ


ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเวียดนามด้านการสังคม

ประเทศเวียดนาม เน้นการพัฒนาด้านสังคมและวัฒนธรรม ที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาเศรษฐกิจ และส่งเสริมการลงทุนในด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับการพัฒนา เศรษฐกิจ และให้ความสำคัญแก่ผู้ที่สละผลประโยชน์เพื่อประเทศชาติ ให้ความช่วยเหลือ ผู้สูงอายุ เด็กกำพร้า และผู้พิการ

เน้นการพัฒนาและการปรับปรุงการเรียนการสอน และร่วมมือกับต่างประเทศในการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปรับปรุง คุณภาพการศึกษาระดับมัธยมให้เท่าเทียมกันทั้งประเทศ และระดับมหาวิทยาลัยให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ รวมทั้งสนับสนุนองค์กรและนักลงทุนต่างประเทศลงทุนในเวียดนามในอุตสาหกรรมที่ ใช้เทคโนโลยีสูง และส่งเสริมให้ชาวเวียดนาม ที่มีความชำนาญด้านเทคโนโลยีไปทำการสอนและพัฒนาเทคโนโลยีใน เวียดนาม ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเวียดนาม ไทยมีความร่วมมือด้านวิชาการ กับเวียดนาม ด้านทางการศึกษาการเปิดสอนภาษาของทั้งสองประเทศในระดับมหาวิทยาลัยที่มีมาก ขึ้น อาจเป็นอีกหนึ่งสิ่งสะท้อนพัฒนาการความสัมพันธ์ อีกทั้งทางไทยยังมีโครงการพัฒนาหมู่บ้านมิตรภาพไทย-เวียดนามขึ้นที่บ้านนา จอก จังหวัดนครพนม เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์-วัฒนธรรม และเพื่อเป็นการสนับสนุนมิตรภาพระหว่างไทยและเวียดนาม แต่ในทางกลับกันการ เปิดประเทศของเวียดนามและการปฏิรูปทางเศรษฐกิจทำให้ประชาชนเวียดนามมีความ เป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมระหว่างเมืองกับชนบท ปัญหาการว่างงานในเมือง ปัญหายาเสพติด ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของเวียดนาม

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเวียดนามด้านการเมือง

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเวียดนามยังมี ความแตกต่างกันมากในเรื่องทางด้านแนวความคิด เนื่องจากอยู่กันบนแนวคิดคนละ ขั้วภายใต้สังคมที่ค่อนข้างแตกต่างกัน เวียดนามได้รับอิทธิพลทางความคิด การแสดงออกรูปแบบมาจากจีน อย่างมาก จนเราไม่สามารถแยกออกได้ ไม่ว่าจะเป็น รูปแบบธงชาติ การแต่งกายของทหาร ตรารัฐบาล เรื่อยมาจนกระทั่งรูปแบบการปกครองที่อาศัยความเด็ดขาดของผู้นำ อำนาจเบ็ดเสร็จ ซึ่งนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ในประเทศไทยมีความเข้มข้นมาก ในช่วงหนึ่ง แสดงให้เห็นถึงความโหดร้ายของโลกคอมมิวนิสต์ และความสวยงามในโลกเสรี เพื่อขู่ให้คนเกลียดกลัวคอมมิวนิสต์ปรากฏอยู่ทุกแห่ง โดยข้อมูลข่าวสารที่ได้รับนั้นล้วนเป็นข้อมูลจากตะวันตก โดยเฉพาะอเมริกา ที่แน่นอนว่าเป็นศัตรูตัวสำคัญของเวียดนาม จึงเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้คนไทยไม่สามารถจะรู้จักเวียดนามที่แท้จริงได้ เท่าที่ควร ชุมชนเวียดนามที่อยู่ในประเทศไทยเองก็ค่อนข้างจะอยู่อย่างยาก ลำบาก เพราะเต็มไปด้วยความหวาดระแวงจากคนท้องถิ่นและฝ่ายความมั่นคงของรัฐไทย

เวียดนามดำเนินนโยบายแทรกแซงการเมืองภายใน กัมพูชา ประเทศไทยซึ่งมีชายแดนติดกับกัมพูชาได้รับผลกระทบโดยตรงจากการรบ พุ่งดังกล่าว รวมถึงปัญหาการหลั่งไหลของผู้พลัดถิ่น จากเหตุการณ์นี้ทำให้ความสัมพันธ์ไทย-เวียดนามต้องหยุดชะงักลงอีก ครั้ง เนื่องจากประเทศไทยได้รณรงค์ร่วมกับอาเซียนและนานาชาติเพื่อต่อต้าน การยึดครองกัมพูชา ขณะที่เวียดนามก็ถูกโดดเดี่ยวจากประชาคมโลก เมื่อเห็นว่าปัญหาในกัมพูชามี แนวโน้มจะคลี่คลายไปในทางที่ดี ตัวแทนจากรัฐบาลไทยโดย พล.อ.อ. สิทธิ เศวตศิลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้นจึงได้เดินทางเยือนเวียดนาม เพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ทวิภาคีและหารือเรื่องการวางรากฐานของสันติภาพใน ภูมิภาค และเวียดนามก็ได้ประกาศถอนทหารจากกัมพูชาเช่นเดียวกันนั้นเอง ความ สัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับเวียดนามมีความคึกคักตื่นตัวเป็นพิเศษ เนื่องจาก พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ประกาศและดำเนินนโยบายเปลี่ยนแปลงอินโดจีนจากสนามรบเป็นสนามการค้าและมุ่ง ให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อการติดต่อกับเวียดนาม นักลงทุนจากไทยก็เริ่มขยายพื้นที่การลงทุนไปที่เวียดนามกันมากขึ้น มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงกันบ่อยครั้ง เป็นการเน้นย้ำถึงความสัมพันธ์ที่พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ มาถึงวันนี้เรียกได้ว่า ไทยและเวียดนามนั้นมีความสนิทสนมเป็นเพื่อนบ้านที่ค่อนข้างใกล้ชิดกัน แม้พรมแดนไม่ได้ติดต่อกัน ประเทศไทยมองเห็นเวียดนามเป็นทั้งคู่แข่ง คู่ค้า แต่แน่นอนว่าทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานการเป็นมิตรที่ดีต่อกัน ความแตกต่างใน ระบบการเมืองของราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ไม่เป็น อุปสรรคใด ๆ ต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรและความร่วมมืออันเป็นประโยชน์ระหว่างประเทศ ทั้งสอง ประเทศเวียดนามกับประเทศไทย ต่างมีความปรารถนาร่วมกัน ที่จะ สถาปนาสัมพันธภาพฉันเพื่อนบ้านที่ดีระหว่างกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งการ เคารพต่อเอกราชซึ่งกันและกัน อธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนไม่รุกรานกัน ไม่ แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน เคารพต่อความเสมอภาคต่อผลประโยชน์ร่วม กัน และการดำรงอยู่ร่วมกันโดยสันติ

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเวียดนามด้านเศรษฐกิจ

ทุกๆวันนี้ประเทศต่างๆ จำเป็นต้องติดต่อพึ่งพาอาศัยกัน และกล่าวได้ว่าเกือบไม่มีประเทศใดที่สามารถอยู่ได้อย่างปกติสุข โดยไม่ต้องติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ เพราะฉะนั้นการค้าระหว่างประเทศจึง เป็นสิ่งจำเป็น อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือทางด้านความสันพันธ์ระหว่างประเทศ ต่างๆอีกด้วย เมื่อกล่าวถึงความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจ เวียดนามได้เป็น สมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) ลำดับ ที่ 150 อย่างเป็นทางการ ซึ่งมีผลให้เวียดนามต้องลดภาษีและยกเลิกมาตรการต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคทางการค้า เพื่อเปิดให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในเวียดนามได้ ตามที่ผูกพันไว้กับดับเบิลยูทีโอ รวมทั้งปรับปรุงกฎระเบียบทางการค้าให้มีความชัดเจน โปร่งใส สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของ(WTO) ด้าน การค้าขายไทยและเวียดนามได้มีการลงนามในข้อตกลงทางเศรษฐกิจระหว่างกัน เช่น การตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ พิธีสารเกี่ยวกับการแก้ไขข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ข้อตกลงเกี่ยวกับเงินกู้เพื่อการค้าด้วยดอกเบี้ย ร้อยละ 3 ข้อตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและการคุ้มครองการลงทุน ข้อตกลงว่าด้วยการหลีกเลี่ยงภาษีซ้ำซ้อน เป็นต้น

การเข้าเป็นสมาชิก (WTO) ยัง ทำให้เวียดนามได้รับประโยชน์สามารถเข้าถึงตลาดประเทศต่าง ๆ ได้มากขึ้น และทำให้การส่งออกโดยรวมดีขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการและผู้ส่งออกของไทย แต่เมื่อพิจารณาจากภาพรวมทั้งหมดแล้ว การที่เวียดนามได้เข้าเป็นสมาชิกดับเบิลยูทีโอ จะส่งผลดีทางอ้อมต่อนักลงทุนไทยมากกว่าผลเสีย โดยเฉพาะนักลงทุนที่เข้าไปดำเนินธุรกิจในเวียดนามและมีการผลิตสินค้าไทย กระจายไปยังประเทศต่าง ๆ ซึ่งจะได้รับสิทธิพิเศษหลายประการ แม้ว่าในบางธุรกิจจะเป็นคู่แข่ง แต่จากกรอบดับเบิลยูทีโอและความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเวียดนามที่ดีต่อกันมา ช้านาน จะส่งเสริมสินค้าไทยในอนาคตให้เป็นไปทางเชิงบวกอย่างแน่นอน เวียดนามเป็น หนึ่งในประเทศที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนมาก เพราะเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ อันดับสองของโลก รองจากไทยและไทยยังลงทุนในเวียดนามสูงเป็นอันดับที่ 12 จากนักลงทุนต่างชาติทั้งหมดในเวียดนาม แหล่งใหญ่ที่สุดที่เอกชนไทยไปลงทุน คือที่นครโฮจิมินห์และจังหวัดข้างเคียง ในสาขาสำคัญ ได้แก่ ด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม อุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมพลาสติก ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ ทั้งนี้สาขาการลงทุนที่มีความน่าสนใจได้แก่ ภาคบริการ ซึ่งไทยมีประสบการณ์และเวียดนามมีความต้องการด้านนี้เพิ่มขึ้นอีกมากเมื่อ เข้า WTO และมีการขยายตัวทาง เศรษฐกิจขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง อีกทั้ง ประเทศเวียดนามยังมีการรวมกลุ่มด้านการค้าทางเศรษฐกิจที่สำคัญคือการเข้า ร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนทำให้เวียดนามได้รับผลประโยชน์มากมายในการเข้าร่วม เป็นสมาชิกในครั้งนี้ โดยเหตุผลในการเข้าร่วมเป็นสมาชิก การเข้ารวมกลุ่ม อาเซียนจะทำให้เวียดนามมีโอกาสได้เรียนรู้ประสบการณ์ในการพัฒนาประเทศจาก สมาชิกต่างๆ อันจะมีส่วนเอื้ออำนวยและเร่งการพัฒนาของตนไปสู่ระบบเศรษฐกิจการตลาดซึ่ง ตั้งอยู่บนหลักการของการแข่งขันได้ในที่สุด นับตั้งแต่เวียดนามเปิดประเทศ และประกาศกฎหมายว่าด้วยการลงทุนต่างชาติ ประเทศสมาชิกอาเซียนต่างก็ให้ความสนใจลพยายามแสวงหาโอกาสเข้าไปลงทุนใน เวียดนาม ทั้งนี้เพราะอาเซียนก็สนใจในผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้วยเช่นกันทั้งด้านการ ค้าและการลงทุน เนื่องจากเวียดนามเป็นตลาดใหญ่มีประชากรถึง 73 ล้านคน ความสมบูรณ์ทางทรัพยาธรรมชาติ มีแรงงานที่มีศักยภาพและมีราคาถูก การมีเวียดนามเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้นจะทำให้อาเซียนมีประชากรเพิ่มเป็น 420 ล้านคน และจะมีผลผลิตมวลรวมภายในถึง 500 พันล้าน เหรียญสหรัฐฯ อันจะทำให้อาเซียนมีศักยภาพในการขยายตัวกางเศรษฐกิจได้มากขึ้นไปอีก

เวียดนามจะเป็นประเทศ เพื่อนบ้านที่เจริญขึ้น โดยจะส่งผลประโยชน์ต่างๆแก่ไทย เช่น เป็นตลาดสินค้าส่งออกแก่ไทย และมีนักท่องเที่ยวจากเวียดนามมาท่องเที่ยวในไทยมากขึ้น รวมทั้งช่วยลดในเรื่องการลักลอบเข้ามาทำงานในประเทศไทย ส่วนในเรื่องการที่เวียดนามแย่งชิงตลาดส่งออก เป็นเรื่องปกติ ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการของไทยควรจะต้องหาวิธีและแนวทางที่จะพยายามรักษาตลาด ของตนไว้ให้ได้ โดยการพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพ และมีความหลากหลาย และผู้ประกอบการของไทยอาจจะพิจารณาเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจ เวียดนาม

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเวียดนามใน ภาพรวมแล้ว คงจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากความสัมพันธ์ของสองประเทศเป็นไปอย่างใกล้ชิดและไม่มีปัญหาขัดแย้ง รุนแรงใด ๆ หากเวียดนามเพิ่มการปฏิรูปเศรษฐกิจมากขึ้น ก็จะเป็นช่องทางให้ไทยเข้าไปติดต่อทำธุรกิจหรือให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ ได้มากขึ้น เพราะเวียดนามก็ต้องการความรู้และประสบการณ์ จากไทยในหลายเรื่อง เช่น การท่องเที่ยว ประมง การแปรรูปอาหาร เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 574612เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2014 14:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 สิงหาคม 2014 14:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท