การศึกษาวิธีการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนที่ประสบผลสำเร็จ : กรณีศึกษานักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2556


การศึกษาวิธีการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนที่ประสบผลสำเร็จ : กรณีศึกษานักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2556

1. ความเป็นมา

การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 นั้นสถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องเป็นหน่วยบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพเพื่อรองรับการแข่งขันอย่างเสรีที่จะเกิดขึ้นการพัฒนาเด็กและเยาวชนของชาติในอนาคตให้มีศักยภาพหลายด้านและนำไปสู่ความเป็นสากลต้องปรับการเรียน เปลี่ยนการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ให้มากขึ้นและการเรียนรู้เฉพาะภาษาแม่และภาษาต่างประเทศที่ 2 อย่างเช่นในอดีตนั้นคงไม่เพียงพอจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาต่างประเทศที่ 3, 4, ...เพราะเมื่อเรียนรู้ได้หลากหลายภาษาจะส่งผลให้เด็กและเยาวชนได้เปรียบทั้งในด้านการสื่อสาร การเจรจาต่อรองแต่สิ่งที่ต้องเน้นย้ำและไม่อาจมองข้ามนั่นไปได้ก็คือต้องปลูกฝังความรู้ควบคู่คุณธรรมเพื่อพัฒนาให้ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันในประชาคมโลกได้อย่างสันติสุขด้วย

การยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มีนักเรียนที่มีความสามารถเป็นเลิศ ให้นักเรียนมีความพร้อมในระดับเวทีสากลเป็นสิ่งจำเป็นจะเป็นการสร้างคนไทยรุ่นใหม่ให้เป็นคนดีของสังคมโลก โดยคาดหวังยกระดับวิธีการเรียนรู้ของนักเรียน การจัดการเรียนรู้ของครูและการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นการยกระดับการบริหารจัดการระบบคุณภาพ ให้มีมาตรฐานพร้อมรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนมุ่งสร้างนักเรียนให้มีศักยภาพด้วย การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ที่ใช้เป็นเป้าหมายในการยกระดับการจัดการศึกษาของทั้งสถานศึกษาการออกแบบหลักสูตรจะต้องสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งผู้เรียนจะเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามที่กำหนดมีการพัฒนาต่อยอดคุณลักษณะที่เทียบเคียงกับสากลโดยสถานศึกษาต้องพิจารณาให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพความพร้อมและจุดเน้นที่มีความแตกต่างกันตามบริบทของแต่ละสถานศึกษา

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 ตระหนักดีในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ประกาศให้ปีการศึกษา 2556 “เป็นปีแห่งการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาเพื่อสร้างและเตรียมอนาคตนักเรียน” ที่ต้องการเห็นคุณภาพ 3 คุณภาพคือ ครูคุณภาพ ชั่วโมงคุณภาพและนักเรียนคุณภาพ โดยใช้กลไกขับเคลื่อน 3 ด้าน คือ ด้านการเรียนการสอน ด้านการบริหารจัดการและด้านการนิเทศการศึกษา ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน โดยในแต่ละด้าน ได้นำไปจัดทำกลยุทธ์ โครงการ/งาน กิจกรรม รองรับและกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญคือ การสนับสนุน ส่งเสริมให้นักเรียนได้เข้าร่วมประกวดและแข่งขันในเวทีต่างๆ ทั้งในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับภาค ระดับชาติและระดับนานาชาติ ผลของการประกวดและแข่งขันดังกล่าว ส่งผลให้นักเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศระดับชาติ สร้างความภาคภูมิใจให้กับนักเรียน ครู ผู้บริหารสถานศึกษารวมทั้งผู้ปกครอง และสิ่งที่ได้จากผลการประกวดและการแข่งขันก็คือ วิธีการเรียนรู้ของนักเรียน วิธีการจัดการเรียนรู้ของครู วิธีการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษาและวิธีการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครอง ดังนั้นจึงได้มีการถอดบทเรียนเกิดขึ้น เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ที่สามารถจะนำสิ่งที่ได้จากการถอดบทเรียนครั้งนี้ นำไปพัฒนาและต่อยอดต่อไป

2. วัตถุประสงค์การศึกษา

2.1 เพื่อศึกษาวิธีการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนที่ประสบผลสำเร็จ

2.2 เพื่อศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน

ที่ประสบผลสำเร็จ

3. ขอบเขตการศึกษา

3.1 ขอบเขตด้านแหล่งข้อมูล/พื้นที่การศึกษา

พื้นที่การศึกษาคือ นักเรียน ครู ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ปกครองนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2556

3.2 ขอบเขตด้านตัวแปร

ตัวแปรที่ศึกษา คือ วิธีการจัดการเรียนรู้

3.3 ขอบเขตด้านเนื้อหา

เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย วิธีการเรียนรู้ วิธีการจัดการเรียนรู้ การส่งเสริมสนับสนุนและการอบรมเลี้ยงดู

3.4 ขอบเขตด้านเวลา

เวลาที่ใช้ในการศึกษา ศึกษาจากนักเรียนที่ประสบความสำเร็จและได้รับรางวัลระดับชาติขึ้นไป ในปีการศึกษา 2556

4. นิยามศัพท์เฉพาะ

ถอดบทเรียน หมายถึง การนำเสนอ วิธีการจัดการเรียนรู้นักเรียน ของนักเรียน ครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้ปกครอง จนทำให้นักเรียน ในความรับผิดชอบ/ในความปกครอง ประสบผลสำเร็จจนได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดและแข่งขันในระดับชาติที่ได้จากการการสัมภาษณ์ การสอบถามและการบันทึกเรื่องเล่า จากวีดิทัศน์ ของผู้เกี่ยวข้อง

วิธีการจัดการเรียนรู้ หมายถึง วิธีการเรียนรู้ของนักเรียน วิธีการจัดการเรียนรู้ของครูที่นักเรียนได้รับรางวัลระดับชาติ วิธีการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษาที่นักเรียนได้รับรางวัลระดับชาติและวิธีการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองนักเรียนที่ประสบความสำเร็จและได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดและแข่งขันในระดับชาติขึ้นไป ในปีการศึกษา 2556

นักเรียนที่ประสบผลสำเร็จ หมายถึง นักเรียนที่เข้าประกวดและแข่งขันและได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดและการแข่งขันนั้น ในระดับชาติ

นักเรียน หมายถึง นักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1ที่เข้าประกวดและแข่งขัน ในเวที ของหน่วยงานต่างๆที่ได้จัดให้มีการประกวด แข่งขันและได้รับรางวัลชนะเลิศในระดับชาติ

รางวัลระดับชาติ หมายถึง ผลการประกาศของการประกวดและการแข่งขันที่ได้รับรางวัลสูงสุดของแต่ละลักษณะของการประกวดและแข่งขัน ประกอบด้วย การแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน การทดสอบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับชาติ การทดสอบระดับชาติ การแข่งขันวิชาการระดับนานาชาติ การแข่งขันอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ การแข่งขันว่ายน้ำ การแข่งขันจักรยาน รางวัลดีเด่นด้านคุณธรรม จริยธรรมระดับประเทศ รางวัลโรงเรียนพระราชทาน และผู้ทำประโยชน์ทางด้านการศึกษาที่เป็นแบบอย่างที่ดี

ผู้เกี่ยวข้อง หมายถึง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนที่ประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วย ตัวนักเรียนเอง ครู ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ปกครองนักเรียน

5. เอกสารแนวคิด หลักการ ที่เกี่ยวข้อง

5.1 แนวคิด ด้านการบริหารจัดการโรงเรียน

5.2 แนวคิด ด้านการจัดการเรียนรู้

5.3 แนวคิด ด้านการอบรมเลี้ยงดู

5.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

นลินี ทวีสิน (2549) ทำการวิจัยเรื่องรูปแบบการสอนที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรมจริยธรรม โดยเก็บข้อมูลจาการศึกษาเอกสาร ประชุมแบบเน้นกลุ่มเป้าหมาย การสัมภาษณ์เชิงลึกและการทำเดลฟายเทคนิค รวมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 68 ท่าน ผลการศึกษาได้ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ บริบทชุมชน กระแสโลกาภิวัตน์ กระบวนทัศน์จัดการศึกษาสมัยใหม่ กระบวนการจัดการเรียนการสอน ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอน และตัวแบบการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม แนวทางการพัฒนารูปแบบการสอนที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม พบว่า มีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง มิได้เพียงปัจจัยด้านการสอนในชั้นเรียนเท่านั้น ยังเกี่ยวกับการบริหารจัดการของสถานศึกษา รวมทั้งปัจจัยภายนอกสถานศึกษาที่ต้องมีส่วนส่งเสริมสนับสนุน เช่น บทบาทและแนวดำเนินงานของเขตพื้นที่การศึกษา กระทรวงศึกษาธิการและรัฐบาล ทำงานสนับสนุนเกื้อกูลกัน ไม่ซ้ำซ้อนกันและต่อเนื่อง ในระดับสถานศึกษา ต้องมีนโยบายที่ชัดเจน มีการวิเคราะห์ มีการระดมและสนับสนทรัพยากร รวมทั้งการประยุกต์ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในสถานศึกษาและองค์กรในพื้นที่/ชุมชนได้อย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด

Diana Baumrid (1971. อ้างถึงใน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 2552: บทคัดย่อ) ได้ศึกษารูปแบบการอบรมเลี้ยงดูได้นำเสนอมิติสำคัญในการอธิบายพฤติกรรมชิงบิดามารดาในการอบรมเลี้ยงดูบุตรว่า ประกอบด้วย 2 มิติ คือ 1) มิติควบคุมหรือเรียกร้องจากบิดามารดา และ 2) มิติการตอบสนองความรู้สึกเด็ก จากการผสมผสาน 2 มิติ ทำให้ได้รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเป็น 3 รูปแบบ คือ 1) การอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่(ควบคุมและตอบสนองความรู้สึกเด็ก) 2) รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุม (ควบคุมแต่ไม่ตอบสนองความรู้สึกเด็ก) และ 3) รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูตามใจ(ไม่ควบคมแต่ตอบสนองความรู้สึกเด็ก)

Macccoby and Martin (1983.อ้างถึงใน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 2552: บทคัดย่อ) ได้ศึกษารูปแบบการอบรมเลี้ยงดูได้นำเสนอพัฒนาต่อยอดจาก Diana Baumrid คือรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบทอดทิ้ง (ไม่ควบคมและไม่ตอบสนองความรู้สึกเด็ก)

ดุลยา จิตตยโศธร (2552.อ้างถึงใน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 2552: บทคัดย่อ) ได้สังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูบุตร โดยสรุปรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูที่มีประสิทธิภาพสามารถหล่อหลอมให้เด็กและเยาวชนเป็นผู้มีความสามารถในการปรับตัว มีพฤติกรรมทางสังคมที่เหมาะสม มีความสามารถในการกำกับตนเองและมีความฉลาดทางอารมณ์ คือ รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่

6. วิธีดำเนินการศึกษา

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 ได้ดำเนินการศึกษา ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

6.1 กำหนดพื้นที่และแหล่งข้อมูลในการศึกษา

6.2 รวบรวมข้อมูลจากการระบบฐานข้อมูลที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้จัดเก็บไว้ส่วนหนึ่งและสอบถามไปยังสถานศึกษาในสังกัดทุกสถานศึกษา

6.3 แต่งตั้งคณะทำงานสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล

6.4 กำหนดรูปแบบวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อเป็นการถอดบทเรียน ใน 3 ลักษณะ คือ

6.4.1 การสัมภาษณ์

6.4.2 การสอบถาม

6.4.3 การบันทึกเรื่องเล่า จากวีดิทัศน์

6.5 เก็บรวบรวมข้อมูลตามที่ได้กำหนดรูปแบบไว้ สอบถามไปยังสถานศึกษา บันทึกเรื่องเล่าด้วยวีดิทัศน์และทำการสัมภาษณ์ ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2556ในการจัดงานวันเกียรติยศแห่งความสำเร็จ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียน ณ หอประชุมโรงเรียนอนุบาลสระบุรีอำเภอเมืองสระบุรีจังหวัดสระบุรี สำหรับแบบสอบถามได้รับแบบสอบถามที่ผู้เกี่ยวข้องตอบกลับมาจำนวน98ฉบับจำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 14 คนครู จำนวน 38 คนผู้ปกครองนักเรียนจำนวน22 คนและนักเรียน จำนวน 24คน

6.6 ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและตีความลงข้อสรุป

7. ผลการศึกษา

การศึกษาวิธีการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนที่ประสบผลสำเร็จ ครั้งนี้ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก นักเรียน ครู ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ปกครองนักเรียน เกี่ยวกับ วิธีการจัดการเรียนรู้นักเรียน ที่ประสบผลสำเร็จและได้รับรางวัลชนะเลิศในระดับชาติ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ สอบถามและการบันทึกเรื่องเล่า จากวีดิทัศน์ ผลการศึกษา พบว่า

6.1 วิธีการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนที่ประสบผลสำเร็จ พบว่า

7.1.1 นักเรียน

นักเรียนส่วนใหญ่มีวิธีการเรียนรู้ของตนเอง ด้วยการปฏิบัติตนเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จจนได้รับรางวัลจากการประกวดและแข่งขันในระดับชาติ โดยการยึดตนเองเป็นสำคัญ คือ การเรียนทุกครั้งจะต้องตั้งใจเรียนรู้ ฟังครูอธิบายให้มากที่สุด มีความรับผิดชอบการเรียนของตนเอง ทำแบบฝึกหัดมากๆ บ่อยๆทบทวนบทเรียนสม่ำเสมอ อ่านหนังสือทุกวัน ศึกษาเรียนรู้ และสืบค้นทาง Internetเข้าห้องสมุดเป็นประจำ ขยันเรียนพิเศษเข้าร่วมการแข่งขันทุกสนามเพื่อหาจุดพัฒนาตนเองเด็กมีคติเตือนใจว่า “โจทย์ที่ท้าทาย เป็นสิ่งพัฒนาความสามารถ” ส่วนการได้รับความช่วยเหลือ การสนับสนุนสู่ความสำเร็จ เด็กเกือบทุกคนบอกว่าได้รับ ความรัก ความอบอุ่น กำลังใจ จากบิดา มารดา รวมถึงการให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ สนับสนุนอย่างเต็มที่ของผู้ปกครอง และคุณครูที่สอนในสถานศึกษาและครูที่สอนพิเศษ ที่เสียสละเวลา อุทิศตนมา ฝึกให้ทำแบบฝึกหัด แบบทดสอบอย่างสม่ำเสมอ ส่วนผู้บริหารให้คำปรึกษา แนะนำ และสนับสนุนด้านวิทยากรให้ความรู้ วัสดุ อุปกรณ์และทรัพยากรที่จำเป็น

7.1.2 ครู

ครูส่วนใหญ่มีวิธีการจัดการเรียนรู้ วิธีการพัฒนา ฝึกฝน ส่งเสริม สนับสนุน ที่ส่งผลต่อความสำเร็จและนักเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดและแข่งขัน ที่ครูปฏิบัติเหมือนกันและสอดคล้องกันให้กับนักเรียนที่ คือ ครูมีการศึกษา วิเคราะห์เด็กเป็นรายบุคคล เป็นผู้อุทิศเวลาในการฝึกซ้อม อย่างจริงใจและต่อเนื่อง ให้นักเรียนทำแบบฝึกมากๆ สม่ำเสมอ สอนเสริมเนื้อหาหลักสูตร โดยใช้สื่อการสอน เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหลายรูปแบบ เช่น ทบทวนเนื้อหาเดิม เติมเนื้อหาใหม่ ฝึกการคิดวิเคราะห์ ลงมือปฏิบัติสืบค้นทาง Internet เล่นเกมต่างๆและฝึกซ้ำๆฝึกความมีวินัยและความรับผิดชอบ ใช้วิธีวัดและประเมินผลสภาพจริง สอบวัดความรู้เด็กบ่อยๆ ตรวจผลงาน สะท้อนคิดให้นักเรียนรู้ข้อบกพร่องและเสนอแนะวิธีแก้ไขผิดพลาดทั้งนี้ ครูต้องมีการพัฒนาตนเอง แสวงหาความรู้ใหม่ๆ ให้ทันสมัยอยู่เสมอ มีความกระตือรือร้น เป็นกันเองกับเด็ก เข้าใจพฤติกรรมการแสดงออกของเด็ก สร้างทีมงาน ยอมรับฟังความคิดเห็น ร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ ร่วมแก้ปัญหา และร่วมรับผิดชอบกับเพื่อนร่วมทีมงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครูต้องประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองอย่างสม่ำเสมอ

7.1.3 ผู้บริหารสถานศึกษา

ผู้บริหารสถานศึกษาส่วนใหญ่มีวิธีการบริหารจัดการ ส่งเสริม สนับสนุน ที่ส่งผลต่อความสำเร็จและนักเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศระดับชาติ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาใช้แนวทางการพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนเชิงระบบ มีคำสั่งมอบหมายงานให้ครูรับผิดชอบฝึกซ้อมที่ชัดเจน จัดประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง กำหนดเป้าหมาย แนวทางการดำเนินงาน สร้างความตระหนักให้บุคลากรในสถานศึกษา ให้เห็นความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพนักเรียน การทำงานเป็นทีมและรับผิดชอบร่วมกัน จัดสรรเวลาการฝึกซ้อมให้กับนักเรียนสม่ำเสมออำนวยความสะดวกในการดำเนินงานเต็มที่ให้ความสนใจ กำกับ ติดตาม ให้กำลังใจครูและนักเรียน ประสานความร่วมมือกับภาคี 4 ฝ่าย ระดมทรัพยากรบุคคลทั้งภายใน ภายนอกสถานศึกษาและจัดหางบประมาณสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง

7.1.4 ผู้ปกครองนักเรียน

ผู้ปกครองนักเรียน มีวิธีการอบรม เลี้ยงดู ที่ส่งผลต่อความสำเร็จและนักเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศระดับชาติ สิ่งที่ผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่ปฏิบัติเหมือนๆกัน คือ ให้ความรักความอบอุ่น เป็นกำลังใจให้บุตรหลานเสมอ อบรมเลี้ยงดูลูกด้วยใจจัดให้รับประทานอาหารที่เหมาะสมกับวัย ฝึกสุขนิสัยที่ดีฝึกเด็ก

ให้เป็นคนตรงต่อเวลา รู้หน้าที่ มีความรับผิดชอบต่อการเรียน กล้าแสดงความคิดเห็น กล้าแสดงออกสร้างให้เด็กเกิดความมั่นใจในตนเองช่วยเหลือ จัดหาสื่ออุปกรณ์ ส่งเสริมความสามารถของเด็กสนับสนุนให้เข้าร่วมการประกวดแข่งขันทางวิชาการให้มีประสบการณ์ในการแข่งขัน ยอมรับความจริง เป็นคนมีเหตุผล รู้แพ้ รู้ชนะ ช่วยฝึกซ้อม แนะนำปรับปรุงข้อบกพร่องเมื่อเด็กอยู่ที่บ้าน ส่งเสริมให้เรียนพิเศษตามความสนใจและจัดกิจกรรมสร้างความท้าทาย สนุกสนาน ในครอบครัว

7.2 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนที่ประสบผลสำเร็จ พบว่า

7.2.1 ในภาพรวมทั้งผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียนมีความคิดเห็นข้อเสนอแนะการดำเนินการที่สอดคล้องกัน คือ ควรจัดกิจกรรมสร้างความภาคภูมิใจ ให้ขวัญและกำลังใจอย่างนี้ทุกๆปี

7.2.2 ผู้บริหารสถานศึกษา มีความคิดเห็นว่า ควรมีการวางแผน เตรียมการส่งเด็กเข้าแข่งขันตั้งแต่ต้นปีการศึกษาครูผู้ฝึกซ้อมมีความสำคัญต่อเด็ก ครูต้องมีความกระตือรือร้น ทุ่มเท เสียสละ หารูปแบบการฝึกฝนเด็กที่แปลกใหม่ แตกต่าง สร้างสรรค์

7.2.3 ครู แสดงความคิดเห็นว่า ในการคัดเลือกนักเรียนเข้าแข่งขัน ควรให้นักเรียนที่มีความสามารถ สมัครใจ และผู้ปกครองให้การสนับสนุน ครูจัดเวลาแน่นอน ดำเนินการฝึกอย่างสม่ำเสมอ ขณะฝึกซ้อมเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถาม แสดงวิธีการคิด แสดงความมีเหตุผล จัดกิจกรรมส่งเสริมการกล้าแสดงออกเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้กับเด็กการประกวดแข่งขันที่เป็นภาคปฏิบัติควรสนับสนุนสื่อ วัสดุอุปกรณ์ให้กับเด็กอย่างเต็มที่

7.2.4 ผู้ปกครองนักเรียนแสดงความคิดเห็นว่า ควรให้การสนับสนุน ส่งเสริมวิชาการที่เป็นภาคปฏิบัติมากกว่า จัดหาวิทยากรพิเศษที่มีความสามารถเฉพาะด้านมาติวเข้มนักเรียน และส่งเสริมศักยภาพของเด็กด้านอื่นๆด้วย เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ

7.2.5 นักเรียน แสดงความคิดเห็นว่า อยากได้อาจารย์สอนพิเศษมาสอนเพิ่มเติมด้านคณิตศาสตร์ จัดสอบตลอดปี เพราะเด็กไม่สามารถเก่งได้ในระยะเวลาสั้นๆ “โจทย์ที่ท้าทาย เป็นสิ่งพัฒนาความสามารถ

8. ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา

8.1 จากผลการศึกษาครั้งนี้ การที่นักเรียนจะสบความสำเร็จในการแข่งขันหรือการประกวดในระดับชาติได้นั้น ต้องอาศัยปัจจัยทั้งตัวนักเรียนเอง ครู ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ปกครอง ควรต้องมีการประสานความร่วมมือในการทำงาน ตั้งแต่การวางแผนรวมกัน ให้การส่งเสริมสนับสนุนร่วมกัน อย่างเป็นระบบที่เป็นรูปธรรมไม่ใช่ต่างฝ่ายต่างดำเนินการ

8.2 การที่นักเรียนจะประสบผลสำเร็จส่วนหนึ่งคือการจัดให้มีเวทีการประกวดและแข่งขัน ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ควรจัดให้มีการจัดประกวดและแข่งขันตั้งแต่ระดับสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียน/อำเภอ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา/จังหวัด ระดับภาพและดับชาติ อย่างต่อเนื่องทุกปี

บรรณานุกรม

ชวลิต พลราษฎร์ .2557. แนวทางการบริหารการจัดการโรงเรียนสู่คุณภาพ. โรงเรียนมัธยมตระการพืชผล

สืบค้นจาก http://mtk.ac.th/person/chawalit/pawat/mang.html เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2557.

ณัฐฎา แสงคำ.2557. หลักการสอนที่ดี. สืบค้นจาก :http://www.sahavicha.com/?name=

admin&file=article&op=article_add เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2557.

เดลินิวส์ออนไลน์. 2557. “โรงเรียนที่ดี” กับปัจจัยหลายอย่างที่เมืองไทยขาดหาย!!. สืบค้นจาก

http://www.dailynews.co.th/Content/Article/เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2557.

นลินี ทวีสิน .2549. รายงานวิจัย เรื่อง รูปแบบการสอนที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม

จริยธรรม. ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม สำนักบริหารและพัฒนาองค์ความรู้

(องค์การมหาชน).

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. 2552. รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู:แนวคิดของ Diana BaumridDiana

Baumrid’s Parenting Styes. 29: 4 ตุลาคม-ธันวาคม.

รัชนี คุณานุวัฒน์ .2557. บัญญัติ 10 ประการของการสอนที่ดี... สืบค้นจาก http://www.newschool.in.thเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2557.

วิทยาลัยอินเตอร์เทค ลำปาง .2557. รูปแบบเทคนิควิธีการสอนที่ดี . สืบค้นจาก

http://www.lit.ac.th/kmlearning/articleview.php?aid=550024&pn=1เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน

2557.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2550. แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัด

การศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวง

กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550.

พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

สมใจ รักษาศรี. 2557. การเลี้ยงดูบุตร – เลี้ยงลูกอย่างไร…ให้ได้ดี. สืบค้นจาก

http://www.thisisfamily.org/เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2557.

อาภาพร เหล็กกล้า.2557: การบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพ. สืบค้นจาก

http://www.gotoknow.org/posts/340990 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2557.

คณะทำงาน

ที่ปรึกษา

นายสุเมธี จันทร์หอมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1

รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1

นายยืนยงราชวงษ์ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา

เก็บรวบรวมข้อมูล

นายยืนยงราชวงษ์ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา

นายเรวัฒน์แจ่มจบศึกษานิเทศก์

นางปราณี คำแท้ศึกษานิเทศก์

นางสาวแหวนไพลินเย็นสุขศึกษานิเทศก์

นายสมนึกพรเจริญศึกษานิเทศก์

นางศิริลักษณ์โพธิภิรมย์ศึกษานิเทศก์

นางสุวารีสอนจรูญศึกษานิเทศก์

นางฉวีวรรณรื่นเริงศึกษานิเทศก์

นายพิศิษฐ์พันธุ์ดีศึกษานิเทศก์

นางกมลทิพย์เจือจันทร์ศึกษานิเทศก์

นายไพโรจน์วังบรรณ์ศึกษานิเทศก์

นายสมบัติเนตรสว่างศึกษานิเทศก์

นางปฐมาภรณ์ แก้วทอนศึกษานิเทศก์

นางทัตยา ยาชมภูศึกษานิเทศก์

นางปสุตา สุษฎาพงษ์นักประชาสัมพันธ์

นายบัณฑิต พรสินสินชัยรองผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลสระบุรี

วิเคราะห์ข้อมูลและเขียนรายงาน

นายยืนยงราชวงษ์

นางปราณี คำแท้

บรรณาธิการกิจ

นายยืนยงราชวงษ์

นายเรวัฒน์แจ่มจบ

นางสาวแหวนไพลินเย็นสุข

พิมพ์

นางสุขใจ ธนพงศ์ล้ำเลิศ

นางฉวีวรรณ นามประจักษ์

หมายเลขบันทึก: 574052เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2014 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 สิงหาคม 2014 15:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท