สรุปการประชุมโครงการDHML ของ LCCสิชล ครั้งที่ 2/2557 วันที่ 22 กรกฎาคม 2557


วันที่ 22 กรกฎาคม 2557 เวลา 09.00 น. – 12.00 น.

ณ ห้องประชุมนางตรา  โรงพยาบาลท่าศาลา

นายแพทย์เอกรัฐ จันทร์วันเพ็ญ(FA) รพ.สิชล ทบทวนที่มา วิธีการดำเนินโครงการและบทบาทหน้าที่ของการเข้าร่วมโครงการ ทั้งอาจารย์ประจำศูนย์ประสานงานและจัดการการเรียนสิชล และบทบาทของพื้นที่ รวมทั้งกิจกรรมที่จะร่วมกันดำเนินการต่อไป โดยสรุปดังนี้

1.ผู้ปฏิบัติหรือผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการได้แก่

1.1 LCC: Learning and Coordinating Centre (ศูนย์ประสานงานและ

จัดการการเรียน)

1.2 AI : Academic Institution (สถาบันการศึกษา) คือมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

1.3 LT: Learning Teams (LT) (ทีมผู้เรียน) Core Team ประกอบด้วย 4 ทีม

ได้แก่ ทีมท่าศาลา ทีมนบพิตำ ทีมหัวไทร และทีมสิชล โดยแต่ละทีมจะมี

ผู้เรียนจากโรงพยาบาล 2-3 คน สสอ.และรพ.สต 2-3 คน ภาคประชาชน 2 คน

1.4 P : Preceptor (ครูพี่เลี้ยง)

นายแพทย์กิตติ รัตนสมบัติ เป็นพี่เลี้ยงทีมท่าศาลา

นายแพทย์ยุทธนา สุทธิธนากร เป็นพี่เลี้ยงทีมนบพิตำ

นายแพทย์ยุทธพงศ์ ณ นคร เป็นพี่เลี้ยงทีมหัวไทร

นายแพทย์จรุง บุญกาญจน์ เป็นพี่เลี้ยงทีมสิชล

2.สรุปโครงการดำเนินการใน DHS ในแต่ละเครือข่าย ดังนี้

2.1 เครือข่ายท่าศาลา ดำเนินการเรื่อง ผู้พิการ

2.2 เครือข่ายนบพิตำ ดำเนินการเรื่อง ความดันโลหิตสูง

2.3 เครือข่ายหัวไทร ดำเนินการเรื่อง การดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

2.4 เครือข่ายสิชล ดำเนินการเรื่อง โรคหลอดเลือดสมอง

3.แนวทางการดำเนินการโครงการ DHML

3.1 คณะทำงาน LCC สิชล ประกอบด้วย ผู้จัดการ ครูใหญ่ FA , Note Taker ตัวแทน AI , P , LT และผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีหน้าที่ บริหารจัดการประสานงาน วางแผน ติดตาม ประเมินผล สนับสนุนวิชาการ กระตุ้นอำนวยการเรียนรู้ จัดเวทีแลกเปลี่ยน/เสริมความรู้/ดูงาน สรุปบทเรียนกระบวนการ PILA ของ LCC

มติ:FA คือ นายแพทย์เอกรัฐ จันทร์วันเพ็ญ, Note Taker คือนางสุคลทิพย์ ครุยทอง และนายสุรกิจ สุทธิเกิด โดยกำหนดให้มีการประชุมทุก 1-2 เดือน โดยมีการทบทวนก่อน เรียน(BAR) ทบทวนหลังเรียน (AAR) กิจกรรมละลายพฤติกรรม ดำเนินการโดย FA และ Note Taker ,LCC มีหน้าที่จัดเวทีการเรียนรู้ภายใต้ Project Base และพี่เลี้ยงต้องช่วยให้ผู้เรียนมีกำลังใจที่จะเรียนรู้

3.2 ทีมผู้เรียน (LT) ทั้ง 4 ทีม ดำเนินการดังนี้

-คัดเลือกหัวหน้าและเลขานุการ

-ทำโครงการในพื้นที่และครูพี่เลี้ยงเข้าร่วมกิจกรรมทุก 1-2 เดือน

-มีการบันทึกทุกครั้งที่มีการประชุม

-เก็บข้อมูลหลักฐานเอกสารภาพถ่าย

-บันทึกข้อมูลความรู้ ประสบการณ์ ความคิดอารมณ์ความรู้สึก

ในสมุดบันทึกประจำตัว

-ประเมินตนเอง 3 ครั้ง ในเดือนที่ 0, 6 และ 12

-เสนอหัวข้อ/กิจกรรม/การดูงาน/ที่ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม

-ส่งรายงานผลการดำเนินงาน ได้แก่ โครงการจัดการปัญหาในชุมชน

และ ทบทวน สรุป ประเมินผลกระบวนการ PILA

3.3 แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (Workshop) ต้องมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง ครั้งละ 1-2 วัน โดยมีผู้เข้าร่วม ได้แก่ LT, P ,AI ,FA ,Note Taker, LCC ผู้สนใจ แต่ละครั้งจะมีขั้นตอนดังนี้

1.เริ่มด้วย Reflection-BAR

2.แลกเปลี่ยนประสบการณ์ 1-2 ครั้งแรก วิเคราะห์ สถานการณ์โครงการ แผนงาน , 2 ครั้ง กลาง การดำเนินงาน ,ครั้งหลังๆ ผลลัพธ์การประเมินผล

3.เสริมความรู้/ กิจกรรม ตาม Modules/ตาม Demand

4.ปิดท้ายด้วย Reflection-AAR

3.4 การประเมินผลผู้เรียน

การประเมินผลมีเป้าหมายเพื่อเสริมพลัง การขับเคลื่อนการดำเนินการโครงการด้วยการบริหารจัดการของทีมผู้เรียน โดยมีวัตถุประสงค์

1.เพื่อเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการ ได้แก่ การประเมิน 6 หลัก คือ ควบคุมตนเอง, วิสัยทัศน์,วางแผน,นำการเปลี่ยนแปลง,ทำงานเป็นทีม,ใช้เครื่องมือทางการจัดการ และ 4 เงา คือ การรู้คุณค่า มีมนุษย์สัมพันธ์ สื่อสารพูดคุย ใช้อำนาจในความต่าง

2.เพื่อการจัดการปัญหาสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ

3.เพื่อให้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้ที่เข้มแข็ง

คำสำคัญ (Tags): #DHS#DHML#LCC#สิชล
หมายเลขบันทึก: 573920เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2014 20:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 สิงหาคม 2014 20:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท