ฮักนะเชียงยืน 41


ติดตามงานเด็กน้อยบ้านหนองกุง

การติดตามงานครั้งสำคัญ


        ในโครงการฮักแพงร่วมใจลดใช้สารเคมีที่ฮักนะเชียงยืน มี สกช. เเละ สสส. ให้การสนับสนุนในการขับเคลื่อน สุขภาวะทางปัญญาให้เกิดแก่เยาวชนกลุ่มเป้าหมาย โดยในกลุ่มเป้าหมายในครั้งนี้ เป็นเด็ก ในบ้านเเบก จำนวน 40 คน เเละเด็ก บ้านหนองกุง จำนวน 10 คน ซึ่ง เน้นการพัฒนากระบวนการคิดของเด็กด้วยกระบวนการทางละคร ที่มีเครื่องมือทางละครที่นำไปสู่ปัญญา จนอาจก่อเกิด เป็น ภาวะ ได้เเก่ 

1.กระบวนการทางละคร  ซึ่งกระบวนการทางละครเป็นหลักคิดในการวอเคราะห์เเล้วเเยกเเยะออกมาเป็นละคร 1 เรื่องที่มี 5 ภาพด้วยกัน คือ ที่มา  ปัญหา  ผล  วิธีการ  เเละเป้าหมาย  ซึ่งจะเรียงภาพใดขึ้นก่อนก็ได้ เเต่ต้องเน้นย้ำเด็กลงไปอีกว่า "จะเเสดงออกมาเเล้วจะทำอย่างไรให้คนดูรู้เรื่องกับเรา" อันนี้ผมมองว่าเป็นการฝึกภูมิคุ้มกันทางความคิดให้กับเด็กอีก 1 ชั้น ซึ่งก็ต้องพัฒนากันต่อไป  ประการหนึ่งเป็นมุมของเส้นเรื่อง ซึ่งเมื่อเรามีเส้นเรื่องที่ชัดเจนเเล้ว มีเรื่องราวที่ชัดเจน เเล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องไปยึดติดกับฉาก 5 ภาพที่ได้ตั้ง ไว้ในการเขียนเรื่องราว   กระบวนการทางละครเป็นการฝึกให้เด็กคิดเชื่อมโยงโดยมองความเป็นจริงของข้อมูลร่วมด้วยเเละสิ่งที่อยากจะสื่อสารร่วมด้วย ซึ่งเราเองในฐานะพี่เลี้ยง เราควรรักษาระดับของหลักคิดในกระบวนการนี้ ซึ่งมีดังนี้ คือ  ข้อมูลที่เเท้จริงและสิ่งที่อยากจะสื่อ ซึ่งเราต้องคอยชวนน้องคิดเพื่อให้เกิดความสมดุลกัน

2.ซ้อม  เป็นการเเสดงออกภายในกลุ่ม โดยเป็นการฝึกให้เด็กมีความกล้าเเสดงออกมากยิ่งขึ้น กล้าสื่อสารออกไปสู่ผู้ชม  ทักษะการสื่อสาร  ซึ่งเขาจะเร่ในชุมชนของเขาเอง ซึ่งกว่าที่จะมาเป็นละคร 1 เรื่องได้นั้น ในช่วงนี้ต้องเกิดการซ้อมเเละคอมเมนต์เพื่อต่อยอด อาจเกิดทักษะการทำงานเป็นทีม  ทักษะการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น  ทักษะการคิด ฯ ในช่วงนี้เราเองในฐานะพี่เลี้ยงควรรักษา ระดับ ดังนี้ คือ ความบันเทิง  การพัฒนา  เเละการเรียนรู้  ให้อยู่อย่างสมดุลกัน คอยใช้คำถามกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ เกิดขึ้น ใช้จินตนาการในการสร้างความบันเทิงที่ไม่ใช้ผู้ชมไม่รู้สึกว่าโดยยัดความคิดให้ เเละพยายามตั้งคำถามให้น้องว่า "คิดว่าชุมชนเราจะเกิดอะไรขึ้นหากเราทำสำเร็จ" หรือ "คิดว่าถ้าให้เราเเก้ไขปัญหาในชุมชน เราจะแก้อย่างไร จะชวนใครมาทำร่วมกันบ้าง" ฯ 

3.เร่ละคร  เป็นการเเสดงออกสู่ภายนอก เป็นการคอยปลูกให้เขามีประสบการณ์จริงจากคิดของเขาเองในการมองชุมชนที่อาศัยอยู่ ในช่วงนี้เด็กอาจเห็น Feedback จากผู้ปกครองซึ่งเขาอาจเกิดการเรียนรู้เล็กๆเกิดขึ้น เมื่อเขาเร่ออกไปเเล้วโดยธรรมชาติของคนเราจะมีความภาคภูมิใจ จะมีคนชม เเต่เราในฐานะพี่เลี้ยง ก็ต้องให้กำลังใจ เเต่ก็ไม่ควรที่จะให้เด็ก มองตนเองด้านเดียวจนเกินไป อาจลองชวนคิดให้เกิดการเรียนรู้ต่อไปอีกว่า "ถ้ามีโอกาสต่อยอดเราจะต่อยอดต่อไปอย่างไร" หรือ "ตัวเราเปลี่ยนแปลงอะไรไปบ้างจากการเล่นละคร" 

        จากการลงพื้นที่บ้านหนองกุง ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มดราก้อนบอล (ปัญหาเด็กติดเกมส์)  เเละ กลุ่มหนองกุงซิตี้ (ปัญหามลพิษจากควันการเผาอ้อย) ในวันเเรก พาน้องเขียนเรื่อง 5 ภาพ ทบทวนปัญหาใหม่ทั้ง 2 กลุ่ม โดยสิ่งที่เห็น คือ เด็กบางคนอาจเงียบไปบ้าง เด็กบางคนอาจหยอกล้อกันไปมา เด็กบางคนก็เเลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นอย่างดี ซึ่งเราเองก็เข้าใจว่าเด็ก ป.6 มีวุฒิภาวะทางการเรียนรู้ได้เพียงเท่านี้  ซึ่งต้องคอยรดน้ำพรวนดินให้ต่อไป  วันที่สอง เป็นการเล่นละครตามภาพที่เราได้เขียวร่วมกันเอาไว้  ตัวบ่งชี้อีกอย่างหนึ่งที่ทำให้มองเห็นปัญหาในความคิดของเด็ก คือ เด็กในกลุ่มดราด้อนบอล ที่เป็นเด็กที่เล่นเกมส์เเล้วทำปัญหาเด็กติดเกมส์ สะท้อนออกมาเป็นละคร มีฉากการฆ่ากันในเรื่องด้วย เลยเห็นความรุนเเรงของเกมส์ที่เขาได้สั่งสมมา ซึ่งเราก็ต้องคอยพัฒนาเเละเฝ้าดูว่าละครจะสามารถให้เด็กพวกนี้เปลี่ยนแปลงเเนวคิดได้มากน้อเพียงใด

.

.

.

.

.

คำสำคัญ (Tags): #ฮักนะเชียงยืน 41
หมายเลขบันทึก: 573444เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2014 20:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กรกฎาคม 2014 20:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอชื่นชมอ. ธีระวุฒิ ศรีมังคละ
และหวังว่าจะสามารถช่วยให้เด็กพวกนี้เปลี่ยนแปลงเเนวคิดลดความรุนเเรงลงได้นะครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท