ทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21


การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมงาน“อภิวัฒน์การเรียนรู้ สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย”จัดโดย สสค.เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2557 ณ อิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี ได้รับฟังการบรรยายหัวข้อ การพัฒนาครูเพื่อจัดการเรียนการสอนสำหรับศตวรรษที่ 21 ณ ห้อง Grand Diamond โดย รศ.ดร.ทิศนา ขมมณี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งผมพอจะจับใจความสำคัญได้หลักๆคือ เป้าหมายในการพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21 นั้น มีความชัดเจนในการพัฒนาทักษะ 5 ด้านด้วยกันคือ

1.ด้านทักษะความรู้

2.ด้านทักษะคุณธรรม

3.ด้านทักษะปัญญา

4.ด้านทักษะทางสังคม และ

5.ด้านทักษะการใช้สื่อสารสนเทศ

โดยผู้เขียนมองว่า ทักษะข้อ 3 ทักษะทางด้านปัญญา เป็นสิ่งที่เป็นนามธรรมและมีตัวชี้วัดหรือพิสูจน์ได้ยากมาก แม้ด้านอื่นๆที่ผู้เขียนมองว่าอาจจะพอหาเครื่องมือมาประเมินกันยากและเป็นที่ถกเถียงกันมากพอแล้ว การวัดทักษะทางปัญญา ที่ต้องอาศัยสถานการณ์ ความเชี่ยวชาญและแรงกระตุ้นมากพอน่าจะยากเพิ่มเป็นทวีคูณ พอที่จะทำให้รู้ว่า คน 1 คนนั้นมีปัญญามากน้อยเพียงใด อันนี้เราก็ต้องติดตามกันต่อไป

อีกท่านหนึ่งที่กล่าวไว้ในหนังสือครูนอกกรอบกับห้องเรียนนอกแบบ อาจารย์วิจารณ์ พานิช,สสค; 2555 ท่านก็กล่าวแบบกดดันนักการศึกษาไทยว่า การเรียนรู้ในโรงเรียนไทย เกือบทั้งหมดยังมุ่งที่สาระความรู้ ยังไม่ไปถึงการพัฒนาทักษะ ที่เป็นที่ซับซ้อน ที่เรียกว่า “ทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21”หากสภาพเป็นเช่นนี้ต่อไป คนไทยจะ “โง่ทั้งชาติ” สะดุ้งครับ ในฐานะที่ผมคนหนึ่งที่เป็นคนไทย ผมเรียนจบมา ทำงานด้านการศึกษา จึงสอบถามตัวเองในปัจจุบันนี้ว่า เรามีทักษะมากพอแล้วใช่ไหมที่จะอยู่ในสังคมนี้ ผมเกิดมาก็อยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนานะเราก็เห็นว่าเรากำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่แม้ว่าการพัฒนาจะเป็นสิ่งที่ดีเสมอก็ตาม แต่เราก็ต้องไม่มองข้ามด้านความพร้อม ความต้องการ ความจำเป็น และบริบทที่แท้จริงของประเทศไทย (ฟาฏินา วงศ์เลขา;2556) เมื่อกล่าวถึง ความพร้อม ความต้องการสิ่งที่ผู้เขียนทำได้ตอนนี้คือ ขณะที่เรารับรู้ข่าวสารที่มีมากมายหลายช่องทางจนปัจจุบันกลายเป็นสิ่งรบกวนเรา เราเองควรเลือกอ่าน รู้ตัวอยู่เสมอว่าเรากำลังทำอะไร เลือกรับอะไร เข้าถึงข้อมูลอะไร เพื่อให้เราได้พัฒนาตัวเองและมีความพร้อมก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ได้อย่างจริงจัง ไม่หลงทางนั่นเอง

ขอขอบคุณ

ผู้เขียน: นายมงคล สาระคำ นวัตกรมือใหม่

ฉบับที่: 2 สัปดาห์ที่ 4 เดือน กรกฎาคม 2557

อ้างอิง

สสค แปลจาก เอสควิท, เรฟ; 2555. ครูนอกกรอบกับห้องเรียนนอกแบบ: สรรพวิธีแบะสารพัดลูกบ้าในห้อง 56.กทม.มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หน้า ค

สสค:2557.เอกสารประกอบการบรรยาย “อภิวัฒน์การเรียนรู้ สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย”เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2557 ณ อิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี

เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ; 2555.การเตรียมความพร้อมสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน; อจท.หน้า 15

หมายเลขบันทึก: 573120เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2014 23:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กรกฎาคม 2014 23:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท