ร่างข้อบังคับคณะกรรมการการบินพลเรือนว่าด้วยเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกสิ่งติดตั้งและอุปกรณ์ของสนามบิน


ร่างข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือนว่าด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกสิ่งติดตั้งและอุปกรณ์ของสนามบิน

การนำเสนอร่างข้อบังคับนี้มุ่งหวังให้ผู้ปฏิบัติงานด้านการบิน ทราบแนวทางข้อกำหนดของรัฐที่จะจัดให้มีขึ้นในภายภาคหน้า และจะเป็นข้อกำหนดเกณฑ์การปฏิบัติต่อไปในด้านเกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อให้สนามบิน ดำเนินการเตรียมการออกแบบ วางแผนปรับปรุงและคุณลักษณะของอุปกรณ์ สิ่งติดตั้ง ตลอดจนการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศให้เหมาะสม พอเพียง และถูกต้องตามข้อกำหนดที่จะเกิดขึ้นต่อไป

ร่างข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน

ฉบับที่ ..

ว่าด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก สิ่งติดตั้ง และอุปกรณ์ของสนามบิน

------------------------

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการการบินพลเรือนโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกข้อบังคับตามภาคผนวกแห่งอนุสัญญา ภาคผนวก ๑๔ สนามบิน เกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวก สิ่งติดตั้ง และอุปกรณ์ของสนามบินไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ในข้อบังคับนี้

“ข้อบังคับ” หมายความว่า ข้อบังคับของคณะกรรมการบินพลเรือน

“เครื่องหมาย (marker)” หมายความว่า วัตถุที่แสดงไว้เหนือระดับพื้นดินเพื่อแสดงถึงสิ่งกีดขวางหรือเพื่อกำหนดขอบเขตพื้นที่

“การทำเครื่องหมาย (marking)” หมายความว่า สัญลักษณ์หรือกลุ่มของสัญลักษณ์ที่แสดงไว้บนผิวพื้นของพื้นที่เคลื่อนไหวเพื่อสื่อความหมายเกี่ยวกับข้อมูลการเดินอากาศ (aeronautical information.)

“ทางวิ่ง (runway)” หมายความว่า พื้นที่รูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่กำหนดไว้ในสนามบินสำหรับการขึ้นและลงของอากาศยาน

“พื้นที่เคลื่อนไหว (movement area)” หมายความว่า ส่วนของสนามบินซึ่งใช้สำหรับการบินขึ้น การบินลง และการขับเคลื่อนของอากาศยาน ประกอบด้วยพื้นที่ขับเคลื่อนและลานจอดอากาศยาน

“สนามบินควบคุม (controlled aerodrome)” หมายความว่า สนามบินที่จัดให้มีบริการควบคุมการจราจรทางอากาศแก่การจราจรของสนามบิน

“พื้นที่สำหรับแสดงทัศนสัญญาณ (signal panels)” หมายความว่า พื้นที่ในสนามบินที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้แสดงสัญญาณบนพื้น

“ทางวิ่งแบบบินขึ้นลงด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน (instrument runway)” หมายความว่า ทางวิ่งประเภทใดประเภทหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ซึ่งสร้างขึ้นสำหรับการปฏิบัติการของอากาศยานที่ใช้วิธีปฏิบัติการบินเข้าสู่สนามบินโดยใช้เครื่องวัดประกอบการบิน

(๑)ทางวิ่งแบบนอนพรีซิชั่น (non-precision approach runway) คือ ทางวิ่ง

แบบบินขึ้นลงด้วยเครื่องวัดประกอบการบินที่ใช้เครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ประเภททัศนวิสัยและเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศประเภทอื่นซึ่งอย่างน้อยช่วยให้ทิศทางที่เพียงพอสำหรับการบินเข้าสู่สนามบินโดยตรง (straight-in approach)

(๒) ทางวิ่งแบบพรีซิชั่น ประเภทที่หนึ่ง (precision approach runway, categoryI)คือ ทางวิ่งแบบบินขึ้นลงด้วยเครื่องวัดประกอบการบินที่ใช้ระบบการบินลงด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน (Instrument Landing System-ILS) และ/หรือระบบการบินลงด้วยไมโครเวฟ (Microwave Landing System-MLS) และเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ประเภททัศนวิสัยที่ติดตั้งสำหรับการปฏิบัติการโดยใช้ระยะสูงตัดสินใจ (decision height) ไม่ต่ำกว่าหกสิบเมตร (สองร้อยฟุต) และทัศนวิสัยไม่ต่ำกว่าแปดร้อยเมตรหรือระยะที่นักบินมองเห็นทางวิ่ง (runway visual range) ไม่ต่ำกว่าห้าร้อยห้าสิบเมตร

(๓) ทางวิ่งแบบพรีซิชั่น ประเภทที่สอง (precision approach runway, category II)

คือ ทางวิ่งแบบบินขึ้นลงด้วยเครื่องวัดประกอบการบินที่ใช้ระบบการบินลงด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน (Instrument Landing System-ILS) และ/หรือระบบการบินลงด้วยไมโครเวฟ (Microwave Landing System-MLS) และเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ประเภททัศนวิสัยที่ติดตั้งสำหรับการปฏิบัติการโดยใช้ระยะสูงตัดสินใจต่ำกว่าหกสิบเมตร (สองร้อยฟุต) แต่ไม่ต่ำกว่าสามสิบเมตร (หนึ่งร้อยฟุต) และระยะที่นักบินมองเห็นทางวิ่ง (runway visual range) ไม่ต่ำกว่าสามร้อยเมตร

(๔) ทางวิ่งแบบพรีซิชั่น ประเภทที่สาม (precision approach runway, category III)คือ ทางวิ่งแบบบินขึ้นลงด้วยเครื่องวัดประกอบการบินที่ใช้ระบบการบินลงด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน (Instrument Landing System-ILS) และ/หรือระบบการบินลงด้วยไมโครเวฟ (Microwave Landing System-MLS) ไปยังและตลอดพื้นผิวของทางวิ่ง และ

(ก) ติดตั้งสำหรับการปฏิบัติการโดยใช้ระยะสูงตัดสินใจต่ำกว่าสามสิบเมตร (หนึ่งร้อยฟุต) หรือไม่มีระยะสูงตัดสินใจและระยะที่นักบินมองเห็นทางวิ่ง (runway visual range) ไม่ต่ำกว่าหนึ่งร้อยเจ็ดสิบห้าเมตร

(ข) ติดตั้งสำหรับการปฏิบัติการโดยใช้ระยะสูงตัดสินใจต่ำกว่าสิบห้าเมตร (ห้าสิบฟุต) หรือไม่มีระยะสูงตัดสินใจและระยะที่นักบินมองเห็นทางวิ่ง (runway visual range) ต่ำกว่าหนึ่งร้อยเจ็ดสิบห้าเมตร แต่ไม่ต่ำกว่าห้าสิบเมตร

(ค) ติดตั้งสำหรับการปฏิบัติการโดยไม่มีระยะสูงตัดสินใจและไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับระยะที่นักบินมองเห็นทางวิ่ง (runway visual range)

“ทางวิ่งหลัก (primary runway)” หมายความว่า ทางวิ่งที่ใช้เป็นประจำมากกว่าทางวิ่งอื่น เมื่อสภาวะแวดล้อมอำนวย

“หัวทางวิ่ง (threshold)” หมายความว่า จุดเริ่มต้นของทางวิ่งส่วนที่ใช้สำหรับการบินลงของอากาศยาน

“หัวทางวิ่งที่ถูกเลื่อนไป (displaced threshold)” หมายความว่า จุดเริ่มต้นของทางวิ่งส่วนที่ใช้สำหรับการบินลงของอากาศยานที่ถูกเลื่อนไป มิได้อยู่ปลายสุดทางวิ่ง

“ไหล่ทาง (shoulder)” หมายความว่า พื้นที่ที่เชื่อมต่อจากขอบของผิวทางเพื่อเป็นช่วงเปลี่ยนระหว่างผิวทางไปสู่พื้นผิวที่อยู่ติดกัน

“เขตจุดแตะพื้นในการลงของอากาศยาน (touchdown zone)” หมายความว่า ส่วนของทางวิ่งที่อยู่เลยจากหัวทางวิ่งซึ่งใช้ในการแตะพื้นครั้งแรกในการลงจอดของอากาศยาน

“ลานกลับลำ (runway turn pad)” หมายความว่า พื้นที่ที่กำหนดไว้ในสนามบินที่อยู่ติดกับทางวิ่งซึ่งมีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ในการทำให้อากาศยานสามารถกลับลำหนึ่งร้อยแปดสิบองศาบนทางวิ่งได้อย่างสมบูรณ์

“พื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง (runway strip)” หมายความว่า พื้นที่ที่กำหนดไว้ซึ่งรวมถึงทางวิ่งและทางหยุด (ถ้ามี) ที่มีไว้เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายแก่อากาศยานที่วิ่งออกนอกทางวิ่งและเพื่อป้องกันอากาศยานที่บินอยู่เหนือพื้นที่ดังกล่าวระหว่างการปฏิบัติการบินขึ้นหรือการบินลงของอากาศยาน

ข้อ ๒ในข้อบังคับนี้ ประกอบด้วย ๕ ส่วน ได้แก่

(๑) ส่วนที่ ๑ [เครื่อง] [อุปกรณ์] บอกทิศทางและ [เครื่อง] [อุปกรณ์] ให้สัญญาณ

(๒) ส่วนที่ ๒ การทำเครื่องหมาย

(๓) ส่วนที่ ๓ ไฟสนามบิน

(๔) ส่วนที่ ๔ ป้าย

(๕) ส่วนที่ ๕ เครื่องหมาย

ส่วนที่ ๑

[เครื่อง] [อุปกรณ์] บอกทิศทางและ [เครื่อง] [อุปกรณ์] ให้สัญญาณ
--------------------

๑.๑ เครื่องบอกทิศทางลม

ข้อ ๓สนามบินต้องติดตั้งเครื่องบอกทิศทางลมอย่างน้อยหนึ่งอัน โดยต้องตั้งอยู่ในบริเวณที่มองเห็นได้จากอากาศยานในระหว่างการบินหรือมองเห็นได้ในพื้นที่เคลื่อนไหว และติดตั้งในลักษณะที่จะไม่ได้รับผลกระทบจากมวลอากาศรบกวนซึ่งเกิดขึ้นจากวัตถุที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง

ข้อ ๔เครื่องบอกทิศทางลมควรมีลักษณะ ดังต่อไปนี้

(๑) ทำจากผ้าเป็นรูปกรวยตัดยอด มีความยาวไม่น้อยกว่าสามเมตรหกสิบเซนติเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ปลายด้านที่ใหญ่กว่าไม่น้อยกว่าเก้าสิบเซนติเมตร

(๒) สามารถบอกทิศทางลมที่ชัดเจนตามพื้นผิวของลมและบอกทิศทางความเร็วลมโดยทั่วไป

(๓) ใช้สีที่สามารถมองเห็นได้ชัดและสามารถเข้าใจได้จากความสูงอย่างต่ำสามร้อยเมตร และจะใช้สีเดียว เช่น สีส้มหรือสีขาว หรือใช้สองสี เช่น สีส้มและสีขาว สีแดงและสีขาว หรือสีดำและสีขาว ซึ่งควรเป็นห่วงสลับสีกันห้าห่วง โดยสีของห่วงแรกและห่วงสุดท้ายควรเป็นสีเข้ม

ที่ตั้งของเครื่องบอกทิศทางลง ให้มีแถบวงกลมกว้างหนึ่งเมตรยี่สิบเซนติเมตร ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง สิบห้าเมตร และมีสีขาวหรือสีที่มองเห็นได้ชัดเจน โดยฐานของเครื่องบอกทิศทางลมควรอยู่ตรงจุดศูนย์กลางของแถบวงกลมดังกล่าว

ในกรณีที่เป็นสนามบินที่ให้บริการในเวลากลางคืน เครื่องบอกทิศทางลมของสนามบินควรเรืองแสงได้อย่างน้อยหนึ่งอัน

๑.๒ เครื่องบอกทิศทางในการบินลง

ข้อ ๕ สนามบินต้องมีเครื่องบอกทิศทางในการบินลงซึ่งควรตั้งอยู่ในที่ที่เห็นเด่นชัดในสนามบิน

เครื่องบอกทิศทางในการบินลงควรเป็นรูปตัวที ( T ) ซึ่งมีรูปทรงและขอบเขตที่น้อยที่สุดของการบินลงที่ “ตัวที” ให้เป็นไปตามรูปที่ ๑ และควรมีสีขาวหรือสีส้ม ทั้งนี้ ควรเป็นสีที่ชัดเจนกับพื้นหลังซึ่งจะทำให้มองเห็นเครื่องบอกทิศทางในการบินลงได้

ในกรณีที่กำหนดให้ใช้งานในเวลากลางคืน เครื่องบอกทิศทางในการบินลงควรเรืองแสงได้หรือทำเส้นใต้ด้วยไฟสีขาวได้                                             

รูปที่ ๑.เครื่องบอกทิศทางในการบินลง

๑.๓ ไฟฉายสัญญาณ

ข้อ ๖ สนามบินต้องมีไฟฉายสัญญาณ ณ หอควบคุมการจราจรทางอากาศของสนามบินควบคุม (controlled aerodrome)

ไฟฉายสัญญาณ ควรจะมีความสามารถให้สัญญาณสีแดง สีเขียวและสีขาวได้ และสามารถ

(๑) เล็งโดยใช้มือไปยังเป้าหมายใด ๆ ตามที่ต้องการได้

(๒) ให้สัญญาณโดยสีใดสีหนึ่ง ตามด้วยสัญญาณสีอื่นสองสี และ

(๓) ส่งข้อความโดยสีใดสีหนึ่งในสามสี โดยรหัสมอสซึ่งมีความเร็วอย่างน้อยสี่คำต่อนาที

ลำแสงที่ส่องเป็นลำมีมุมการกระจายแสงไม่น้อยกว่าหนึ่งองศา แต่ไม่มากกว่าสามองศา และเมื่อต้องการใช้ไฟฉายสัญญาณในตอนกลางวัน ความเข้มของแสงสีใด ๆ ต้อง ไม่ต่ำกว่าหกพันแคนเดลลา

๑.๔ [อุปกรณ์และ] พื้นที่ให้สัญญาณ

(signal panels and signal area)

ข้อ ๗สนามบินต้องมีพื้นที่ให้สัญญาณ โดยให้อยู่ในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้จาก

ทุกมุมรอบตัว และอยู่ในมุมเงยมากกว่าสิบองศาจากแนวนอน เมื่อมองจากที่ความสูงสามร้อยเมตร

พื้นที่ให้สัญญาณจะต้องเป็นพื้นที่แนวนอนขนาด ไม่ต่ำกว่าเก้าตารางเมตร โดยสีของ

พื้นที่ให้สัญญาณควรเลือกให้แตกต่างจากสีที่แผงให้สัญญาณใช้ และให้มีขอบล้อมสีขาวรอบขนาดกว้าง

ไม่ต่ำกว่สามสิบเซนติเมตร

หมายเหตุ : ใน text ยังไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับ signal panels

ส่วนที่ ๒

การทำเครื่องหมาย

--------------------

๒.๑ บททั่วไป

ข้อ ๘การทำเครื่องหมายที่จุดตัดของทางวิ่งสองทางวิ่งขึ้นไป จะต้องแสดงเครื่องหมายบนทางวิ่งหลักและการทำเครื่องหมายของทางวิ่งรองอาจเว้นช่วงได้ เว้นแต่เครื่องหมายขอบทางวิ่งของทางวิ่งหลักอาจจะลากเส้นต่อเนื่องผ่านจุดตัดกันของทางวิ่งหรือเว้นช่วงก็ได้

ข้อ ๙ ในการทำเครื่องหมาย ให้ลำดับความสำคัญของทางวิ่งที่จะทำเครื่องหมาย ดังนี้

(๑) ลำดับที่ ๑ ทางวิ่งแบบพรีซิชั่น

(๒) ลำดับที่ ๒ ทางวิ่งแบบนอนพรีซิชั่น

(๓) ลำดับที่ ๓ ทางวิ่งแบบบินขึ้นลงโดยไม่ใช้เครื่องวัดประกอบการบิน

ข้อ ๑๐สนามบินต้องให้ทำเครื่องหมายของทางวิ่งให้ครบถ้วน ณ บริเวณจุดตัดของทางวิ่งและทางขับ และให้ทำเครื่องหมายของทางขับที่เป็นจุดตัด เว้นแต่เครื่องหมายขอบทางวิ่งอาจเว้นช่วงได้

ข้อ ๑๑ การทำเครื่องหมายของทางวิ่งให้ใช้สีและให้มีความเด่นชัดในลักษณะดังต่อไปนี้

(๑)การทำเครื่องหมายของทางวิ่งให้ใช้สีขาว ทั้งนี้

(ก) ในกรณีพื้นผิวของทางวิ่งที่มีสีอ่อน ให้เพิ่มความชัดเจนของเครื่องหมายของทางวิ่งโดยใช้สีดำทาขอบเครื่องหมายดังกล่าว

(ข) การใช้สีที่เหมาะสมอาจลดความเสี่ยงในการเปลี่ยนแปลงลักษณะความฝืดของพื้นผิวในการทำเครื่องหมาย

(ค) การทำเครื่องหมายอาจประกอบด้วยแถบสีทึบหรือแถบสีตามแนวยามเป็นช่วง ๆ ซึ่งจะทำให้ได้ผลเช่นเดียวกับแถบสีทึบ

(๒) การทำเครื่องหมายของทางขับ เครื่องหมายพื้นที่ลานกลับลำอากาศยาน และ

เครื่องหมายหลุมจอดให้ใช้สีเหลือง

(๓) เส้นความปลอดภัยในลานจอดอากาศยานให้ใช้สีที่เด่นชัดเมื่อเปรียบเทียบกับสี

ของการทำเครื่องหมายหลุมจอด

สนามบินที่มีการปฏิบัติการบินในเวลากลางคืน การทำเครื่องหมายบนพื้นที่ปูพื้นผิวแล้ว จะต้องทำด้วยวัสดุสะท้อนแสงเพื่อให้มองเห็นเครื่องหมายอย่างชัดเจน

กรณีทางขับไม่มีผิวพื้นจราจรให้มีการทำเครื่องหมายที่กำหนดเท่าที่สามารถทำได้

๒.๒ การทำเครื่องหมายเลขทางวิ่ง

ข้อ ๑๒สนามบินต้องให้มีการทำเครื่องหมายเลขหัวทางวิ่งที่หัวทางวิ่งที่มีผิวพื้นจราจร

กรณีที่หัวทางวิ่งของทางวิ่งที่ไม่ได้ปูผิวพื้น ให้มีการทำเครื่องหมายเลขหัวทางวิ่งเท่าที่สามารถทำได้

ข้อ ๑๓การทำเครื่องหมายเลขหัวทางวิ่งจะต้องทำที่หัวทางวิ่ง ให้เป็นไปตามรูปที่ ๒

ถ้าหัวทางวิ่งถูกย้ายจากปลายสุดของหัวทางวิ่งอาจจะมีป้ายแสดงเลขหัวทางวิ่งสำหรับให้เครื่องบินบินขึ้น

                                             

รูปที่ ๒ การทำเครื่องหมายเลขทางวิ่ง เส้นกึ่งกลางทางวิ่ง และหัวทางวิ่ง

ข้อ ๑๔ เครื่องหมายเลขหัวทางวิ่งจะต้องประกอบด้วยตัวเลขสองตัวและบนทางวิ่งขนานจะต้องมีตัวอักษรหนึ่ง ในลักษณะดังต่อไปนี้

(๑) บนทางวิ่งเดี่ยว ทางวิ่งคู่ขนาน หรือทางวิ่งสามเส้นขนานกัน ให้ใช้ตัวเลขสองตัวซึ่งแสดงค่าตัวเลขหลักสิบและหลักร้อยของทิศเมื่อเทียบกับทิศเหนือของเข็มทิศ เมื่อมองจากทิศทางการบินเข้าหาทางวิ่งนั้น

(๒) บนทางวิ่งขนานสี่เส้นขึ้นไปจุดของทางวิ่งที่ประชิดกันจะต้องใช้เลขหลักสิบขึ้นไปของมุมแม่เหล็ก และจุดของทางวิ่งที่ประชิดกันที่เหลือจะเป็นเลขหลักสิบถัดไปของมุมแม่เหล็ก ถ้าการใช้กฎดังกล่าวให้ค่าเป็นตัวเลขตัวเดี่ยว ให้เติมศูนย์ข้างหน้าตัวเลขนั้น

ข้อ ๑๕ในกรณีของทางวิ่งขนานตัวเลขทางวิ่งแต่ละตัวจะต้องตามด้วยตัวอักษรดังต่อไปนี้ ตามลำดับจากซ้ายไปขวา เมื่อมองจากทิศทางการบินเข้าสู่สนามบิน

(๑) สำหรับทางวิ่งขนานสองทางวิ่ง ใช้ตัวอักษร “L” “R”

(๒) สำหรับทางวิ่งขนานสามทางวิ่ง ใช้ตัวอักษร “ L” “C” “R”

(๓) สำหรับทางวิ่งขนานสี่ทางวิ่ง ใช้ตัวอักษร “L” “R” “L” “R”

(๔) สำหรับทางวิ่งขนานห้าทางวิ่ง ใช้ตัวอักษร “L” “C” “R” “L” “R”

(๕) สำหรับทางวิ่งขนานหกทางวิ่ง ใช้ตัวอักษร “L” “C” “R” “L” “C” “R”

ข้อ ๑๖ตัวเลขและตัวอักษรของเครื่องหมายเลขหัวทางวิ่งจะต้องอยู่ในรูปแบบและสัดส่วนที่เหมาะสม ตามรูปที่ ๓ แต่ในกรณีที่ตัวเลขรวมอยู่ในการทำเครื่องหมายหัวทางวิ่ง อาจจะใช้ขนาดตัวเลขที่ใหญ่ขึ้นเพื่อจะให้เพียงพอกับช่องว่างระหว่างการทำเครื่องหมายแถบที่หัวทางวิ่ง

 

รูปที่ ๓ รูปแบบและสัดส่วนของตัวเลขและตัวอักษรสำหรับการทำเครื่องหมายเลขทางวิ่ง

๒.๓ การทำเครื่องหมายเส้นกึ่งกลางทางวิ่ง

ข้อ ๑๗ สนามบินจะต้องจัดให้มีการทำเครื่องหมายเส้นกึ่งกลางทางวิ่งบนทางวิ่งที่มีผิวพื้นจราจรโดยให้เครื่องหมายอยู่ในแนวเส้นกึ่งกลางทางวิ่ง ระหว่างเครื่องหมายเลขหัวทางวิ่งตามรูปที่ ๒ ยกเว้นเมื่อมีการเว้นช่วงการทำเครื่องหมายตามข้อ ๗

การทำเครื่องหมายเส้นกึ่งกลางทางวิ่งจะต้องทำให้มีลักษณะ ดังต่อไปนี้

(๑) เครื่องหมายเส้นกึ่งกลางทางวิ่งจะต้องประกอบด้วยแถบเส้นตรงที่มีความกว้างสม่ำเสมอและช่องว่างระหว่างแถบเส้นตรง โดยความยาวของแถบเส้นตรงและช่องว่างจะต้องยาวรวมกันไม่น้อยกว่าห้าสิบเมตร และยาวไม่เกินเจ็ดสิบห้าเมตร ทั้งนี้ ความยาวของแถบเส้นตรงแต่ละแถบจะต้องเท่ากับหรือมากกว่าความยาวของช่องว่างหรือมีความยาวเท่ากับสามสิบเมตร

(๒) ความกว้างของแถบเส้นตรงจะต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้

(ก) ไม่น้อยกว่าเก้าสิบเซนติเมตร บนทางวิ่งแบบพรีซิชั่นประเภทที่หนึ่งและประเภทที่สอง

(ข) ไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าเซนติเมตร บนทางวิ่งแบบนอนพรีซิชั่น สำหรับทาง

วิ่งที่มีรหัสตัวเลขเป็น ๓ หรือ ๔ และบนทางวิ่งแบบพรีซิชั่นประเภท ๑

(ค) ไม่น้อยกว่าสามสิบเซนติเมตร บนทางวิ่งแบบนอนพรีซิชั่น สำหรับทาง

วิ่งที่มีรหัสตัวเลขเป็น ๑ หรือ ๒ และทางวิ่งแบบบินขึ้นลงโดยไม่ใช้เครื่องวัดประกอบการบิน

๒.๔ การทำเครื่องหมายหัวทางวิ่ง

ข้อ ๑๘ การทำเครื่องหมายหัวทางวิ่งจะต้องจัดให้มีที่หัวทางวิ่งแบบบินขึ้นลงด้วยเครื่องวัดประกอบการบินที่มีผิวพื้นจราจร และทางวิ่งแบบบินขึ้นลงโดยไม่ใช้เครื่องวัดประกอบการบินที่มีผิวพื้นจราจร ซึ่งมีรหัสทางวิ่งตัวเลขเป็น ๓ หรือ ๔ โดยเป็นทางวิ่งที่มุ่งหมายเพื่อใช้ในการขนส่งเพื่อการพาณิชย์ระหว่างประเทศ

การทำเครื่องหมายหัวทางวิ่งจะต้องจัดให้มีที่หัวทางวิ่งแบบบินขึ้นลง [โดยไม่ใช้เครื่องวัดประกอบการบิน] [ด้วยทัศนวิสัย] ที่มีผิวพื้นจราจร

ในกรณีที่เป็นทางวิ่งที่ไม่มีผิวพื้นจราจร ให้มีการทำเครื่องหมายหัวทางวิ่งที่ทางวิ่งที่ไม่มีผิวพื้นจราจรเท่าที่จะทำได้

รูปแบบการทำเครื่องหมายหัวทางวิ่งให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด

ข้อ ๑๙ ความกว้างของแถบการทำเครื่องหมายหัวทางวิ่งจะต้องเริ่มที่ระยะ ๖ เมตรจากหัวทางวิ่ง

ข้อ ๑๙/๑ การทำเครื่องหมายหัวทางวิ่งจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้

(๑) เป็นกรณีที่เป็นทางวิ่งที่มีความกว้างสี่สิบห้าเมตร ให้ทำเครื่องหมายหัวทางวิ่งในรูปแบบของแถบเส้นตรงในแนวระนาบที่เป็นมิติเดียวซึ่งอยู่สองข้างของเส้นกึ่งกลางทางวิ่งเป็นระยะทางเท่า ๆ กันตามรูปที่ ๒ รูป เอ ทางวิ่งทั่วไปและทางวิ่งแบบพรีซิชั่นและรูปที่ ๒ รูปบี ทางวิ่งขนานกัน จำนวนแถบเส้นตรงขึ้นกับความกว้างของทางวิ่ง ดังนี้

๑) ทางวิ่งกว้างสิบแปดเมตร ใช้แถบเส้นตรงจำนวนสี่แถบ

๒) ทางวิ่งกว้างยี่สิบสามเมตร ใช้แถบเส้นตรงจำนวนหกแถบ

๓) ทางวิ่งกว้างสามสิบเมตร ใช้แถบเส้นตรงจำนวนแปดแถบ

๔) ทางวิ่งกว้างสี่สิบห้าเมตร ใช้แถบเส้นตรงจำนวนสิบสองแถบ

๕) ทางวิ่งกว้างหกสิบเมตร ใช้แถบเส้นตรงจำนวนสิบหกแถบ

กรณีทางวิ่งแบบนอนพรีซิชั่นและทางวิ่งแบบบินขึ้นลงโดยไม่ใช้เครื่องวัดประกอบการบินที่มีความกว้างสี่สิบห้าเมตรขึ้นไป อาจจะจัดไว้ด้านข้างของหมายเลขหัวทางวิ่ง ตามรูปที่ ๒ รูปซี รูปแบบที่เลือกได้ (optional pattern) ก็ได้

(๒) แถบเส้นตรงจะต้องขยายไปทางด้านข้างของเส้นกึ่งกลางทางวิ่งไปจนถึงระยะสามเมตรห่างจากขอบทางวิ่งหรือขยายไปจนถึงระยะยี่สิบเจ็ดเมตรจากเส้นกึ่งกลางทางวิ่ง แล้วแต่กรณีใดจะมีระยะทางน้อยกว่า

ในกรณีที่การทำเครื่องหมายเลขทางวิ่งกำหนดไว้บนการทำเครื่องหมายหัวทางวิ่ง จะต้องมีแถบเส้นตรงของเครื่องหมายหัวทางวิ่งอย่างน้อยสามแถบบนแต่ละด้านของเส้นกึ่งกลางทางวิ่ง และเมื่อการทำเครื่องหมายเลขหัวทางวิ่งวางอยู่เหนือเครื่องหมายหัวทางวิ่ง แถบเส้นตรงของเครื่องหมายหัวทางวิ่งจะต้องกำหนดต่อเนื่องกันไปตามแนวขวางทางวิ่งแถบเส้นตรงจะต้องมีความยาวอย่างน้อยสามสิบเมตร และมีความกว้างประมาณหนึ่งเมตรแปดสิบเซนติเมตร โดยมีระยะห่างระหว่างแต่ละแถบเส้นตรงประมาณหนึ่งเมตรแปดสิบเซนติเมตรทั้งนี้ สำหรับแถบเส้นตรงที่ตัดขวางตลอดหัวทางวิ่ง ระยะห่างระหว่างแถบเส้นตรงของเครื่องหมายหัวทางวิ่งจะต้องเพิ่มเป็นสองเท่า ณ ตำแหน่งที่อยู่ติดกับแนวเส้นกึ่งกลางทางวิ่ง ในกรณีที่การทำเครื่องหมายเลขหัวทางวิ่งรวมอยู่ในการทำเครื่องหมายหัวทางวิ่ง ระยะห่างระหว่างแถบเส้นตรงของเครื่องหมายหัวทางวิ่งจะต้องเป็นยี่สิบสองเมตรห้าสิบเซนติเมตร ณ ตำแหน่งที่อยู่กับเครื่องหมายเลขหัวทางวิ่ง

ข้อ ๒๐ในกรณีที่หัวทางวิ่งที่ถูกเลื่อนไปจากปลายสุดของทางวิ่งหรือแนวปลายสุดของทางวิ่งโดยไม่ตั้งฉากกับเส้นกึ่งกลางทางวิ่ง ให้สนามบินทำเครื่องหมายเส้นตัดขวางตามรูปที่ ๔ รูปบี เพิ่มลงในการทำเครื่องหมายหัวทางวิ่ง

เครื่องหมายเส้นตัดขวางจะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตรแปดสิบเซนติเมตร

 

รูปที่ ๔ การทำเครื่องหมายหัวทางวิ่งที่ถูกเลื่อนไป

ข้อ ๒๑เมื่อมีการทำเครื่องหมายหัวทางวิ่งที่ถูกเลื่อนไปอย่างถาวรจะต้องจัดให้มี

เครื่องหมายลูกศรบนส่วนของทางวิ่งก่อนที่จะถึงหัวทางวิ่งที่ถูกเลื่อนไป ตามรูปที่ ๔ รูปบี

เมื่อมีการทำเครื่องหมายหัวหัวทางวิ่งที่ถูกเลื่อนไปชั่วคราวจากตำแหน่งปกติ จะต้อง

จัดให้มีเครื่องหมายหัวลูกศร ตามรูปที่ ๔ รูปเอ หรือรูปที่ ๔ รูปบี บนส่วนของทางวิ่งก่อนที่จะถึงหัวทางวิ่งที่ถูกเลื่อนไปและเครื่องหมายอื่นทั้งหมดที่ถูกจัดทำไว้ในพื้นที่ก่อนที่จะถึงหัวทางวิ่งนั้นจะต้องถูกปกปิดไว้ ยกเว้นการทำเครื่องหมายเส้นกึ่งกลางทางวิ่งที่สามารถแปลงเป็นเครื่องหมายลูกศรได้

ในกรณีหัวทางวิ่งที่ถูกเลื่อนไปชั่วคราวในระยะเวลาสั้น ๆ อาจจะใช้อุปกรณ์เครื่องหมายที่มีรูปแบบและสีของเครื่องหมายการเลื่อนหัวทางวิ่งที่กล่าวมา แทนการทาสีเครื่องหมายการเลื่อนหัวทางวิ่งลงบนพื้นผิวทางวิ่ง

เมื่อในกรณีที่พื้นที่ทางวิ่งก่อนถึงหัวทางวิ่งที่ถูกเลื่อนไปมีสภาพไม่เหมาะสมสำหรับการขับเคลื่อนของอากาศยาน จะต้องจัดทำเครื่องหมายปิดพื้นที่ทางวิ่งลักษณะกากบาทตามรูปแบบในรูปที่ ๕ โดยให้เครื่องหมายมีสีขาว


 

รูปที่ ๕ การทำเครื่องหมายปิดพื้นที่ทางวิ่งและการทำเครื่องหมายปิดพื้นที่ทางขับ

๒.๕ การทำเครื่องหมายจุดเป้าหมาย (aiming point marking)

ข้อ ๒๒การทำเครื่องหมายจุดเป้าหมายที่ทำไว้ก่อนวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ไม่จำเป็น ต้องเปลี่ยนให้เป็นไปตามข้อนี้และข้อ ๒๕ ถึงข้อ ๒๙

ข้อ ๒๒สนามบินต้องจัดให้มีการทำเครื่องหมายจุดเป้าหมายที่หัวทางวิ่งในแต่ละหัวทางวิ่งของทางวิ่งแบบบินขึ้นลงด้วยเครื่องวัดประกอบการบินที่มีผิวพื้นจราจรวิ่งที่มีรหัสตัวเลขเป็น ๒, ๓ หรือ ๔และสนามบินควรจัดให้มีการทำเครื่องหมายจุดเป้าหมายที่หัวทางวิ่งในแต่ละหัวทางวิ่งดังนี้

(๑) ทางวิ่งแบบบินขึ้นลงโดยไม่ใช้เครื่องวัดประกอบการบินที่มีผิวพื้นจราจรที่มีรหัสตัวเลขเป็น ๓ หรือ ๔

(๒) ทางวิ่งแบบบินขึ้นลงด้วยเครื่องวัดประกอบการบินที่มีผิวพื้นจราจรที่มีรหัสตัวเลขเป็น ๑ เมื่อต้องการให้มีสภาพการมองเห็นเครื่องหมายจุดเป้าหมายที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

ข้อ ๒๓การทำเครื่องหมายจุดเป้าหมายจะต้องไม่อยู่ตำแหน่งในระยะใกล้หัวทางวิ่งเกินเกณฑ์ที่กำหนดในตารางที่ ๑ ยกเว้นกรณีที่ทางวิ่งนั้นมีการติดตั้งระบบไฟนำร่อนลงด้วยสายตาซึ่งจะต้องให้จุดเริ่มของเครื่องหมายจุดเป้าหมายจะต้องสอดคล้องกับจุดเริ่มต้นของแนวร่อนลงด้วยสายตา

การทำเครื่องหมายจุดเป้าหมายจะต้องประกอบด้วยแถบเส้นตรงที่เด่นชัดจำนวนสองแถบ โดยขนาดของแถบเส้นตรงและระยะห่างระหว่างสองแถบจะต้องเป็นไปตามข้อมูลในตารางที่ ๑

กรณีมีเครื่องหมายเขตจุดแตะบนพื้นทางวิ่ง ระยะห่างระหว่างเครื่องหมายจุดเป้าหมายจะต้องเท่ากับระยะห่างของเครื่องหมายเขตจุดแตะบนพื้นทางวิ่ง

ที่ตั้งและขนาด น้อยกว่าแปดร้อยเมตร ตั้งแต่แปดร้อยเมตรขึ้นไปแต่ไม่ถึงหนึ่งพันสองร้อยเมตร หนึ่งพันสองร้อยเมตรขึ้นไปแต่ไม่ถึงสองพันสี่ร้อยเมตร ตั้งแต่สองพันสี่ร้อยเมตรขึ้นไป
ระยะทางจากหัวทางวิ่งไปที่จุดเริ่มต้นของการทำเครื่องหมาย หนึ่งร้อยห้าสิบเมตร สองร้อยห้าสิบเมตร สามร้อยเมตร สี่ร้อยเมตร
ความยาวของเส้นตรง* สามสิบเมตร   ถึงสี่สิบห้าเมตร สามสิบเมตร   ถึงสี่สิบห้าเมตร สี่สิบห้าเมตร   ถึงหกสิบเมตร สี่สิบห้าเมตร   ถึงหกสิบเมตร
ความกว้างของเส้นตรง สี่เมตร หกเมตร หกเมตรถึงสิบเมตร** หกเมตรถึงสิบเมตร**
ช่องว่างในแนวตั้งระหว่างด้านในของเส้นตรง หกเมตร*** เก้าเมตร*** สิบแปดเมตร   ถึง
   ยี่สิบสองเมตรห้าสิบเซนติเมตร
สิบแปดเมตร   ถึง
   ยี่สิบสองเมตรห้าสิบเซนติเมตร

*ขนาดที่ใหญ่ที่สุดของระยะห่างที่กำหนดมีเพื่อใช้ในกรณีที่ต้องการเพิ่มความชัดเจน

**ช่องว่างในแนวตั้งอาจเปลี่ยนแปลงได้ภายในขอบเขตที่จำกัดเพื่อลดการปนเปื้อนของการทำเครื่องหมาย โดย rubber deposit

*** ค่าตัวเลขนี้ลดลงโดยอ้างอิงจากระยะห่างพวงล้อหลักด้านนอกซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ ๒ ของรหัสอ้างอิงสนามบินตามข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือนว่าด้วยมาตรฐานกายภาพของสนามบิน

ตารางที่ ๑ ตำแหน่งและขนาดของการทำเครื่องหมายจุดเป้าหมาย

๒.๖ การทำเครื่องหมายเขตจุดแตะบนพื้นทางวิ่ง

ข้อ ๒๔ สนามบินต้องจัดให้มีเครื่องหมายเขตจุดแตะบนพื้นทางวิ่งในเขตแตะพื้นของทางวิ่งแบบพรีซิชั่นที่มีผิวพื้นจราจรที่มีรหัสตัวเลขเป็น ๒, ๓ หรือ ๔

การทำเครื่องหมายเขตจุดแตะพื้นบนทางวิ่งควรจะจัดให้มีในเขตแตะพื้นของทางวิ่งแบบพรีซิชั่นหรือของทางวิ่งแบบบินขึ้นลงโดยไม่ใช้เครื่องวัดประกอบการบินที่มีรหัสตัวเลขเป็น ๓ หรือ ๔ และเมื่อต้องการให้มีสภาพการมองเห็นเขตจุดแตะพื้นที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

ข้อ ๒๕ การทำเครื่องหมายเขตจุดแตพื้นบนทางวิ่งจะต้องประกอบด้วยคู่ของ

เครื่องหมายสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เท่ากันวางอยู่สองข้างของเส้นกึ่งกลางทางวิ่งในระยะห่างเท่ากัน โดยมีจำนวนคู่ของเครื่องหมายสี่เหลี่ยมผืนผ้านั้นจะสัมพันธ์กับระยะทางที่อากาศยานสามารถใช้ในการร่อนลง หรือระยะห่างระหว่างหัวทางวิ่ง ในกรณีที่มีการแสดงเครื่องหมายเขตจุดแตพื้นบนทางวิ่งทั้งสองหัวทางวิ่ง ดังนี้

ระยะทางที่อากาศยานใช้ในการร่อนลง   หรือ

ระยะระหว่างเครื่องหมายหัวทางวิ่ง   (X   เมตร)

จำนวนคู่ของการทำเครื่องหมาย
   เขตแตะพื้นที่ทางวิ่ง
X < ๙๐๐
๙๐๐ <X < ๑,๒๐๐
๑,๒๐๐ <X < ๑,๕๐๐
๑,๕๐๐ <X < ๒,๔๐๐
X >๒,๔๐๐

ข้อ ๒๖ การทำเครื่องหมายเขตแตะพื้นทางวิ่งจะต้องเป็นไปตามรูปที่ ๖ ดังนี้

(๑) สำหรับรูปแบบของการทำเครื่องหมายเขตแตะพื้นทางวิ่งในรูปที่ ๖ รูปเอ แต่ละแถบเส้นตรงจะต้องมีความยาวไม่น้อยกว่า ๒๒.๕ เมตร และความกว้างไม่น้อยกว่า ๓ เมตร

(๒) สำหรับรูปแบบของการทำเครื่องหมายเขตแตะพื้นทางวิ่งในรูปที่ ๖ รูปบี แต่ละแถบเส้นตรงจะต้องมีความยาวไม่น้อยกว่า ๒๒.๕ เมตร และความกว้างไม่น้อยกว่า ๑.๘ เมตร โดยมีระยะห่างระหว่างแถบเส้นตรงที่ติดกัน ๑.๕ เมตร

ในกรณีที่มีการทำเครื่องหมายจุดเป้าหมาย ระยะห่างระหว่างแถบเส้นตรงของการทำเครื่องหมายเขตแตะพื้นทางวิ่งจะต้องเท่ากับระยะห่างระหว่างแถบเส้นตรงของเครื่องหมายจุดเป้าหมาย หากไม่มีการทำเครื่องหมายจุดเป้าหมาย ระยะห่างระหว่างแถบเส้นตรงของเครื่องหมายเขตแตะพื้นที่ทางวิ่งจะต้องสมนัยกับระยะห่างของเครื่องหมายจุดเป้าหมายตามตารางที่ ๑

ระยะห่างระหว่างแถบเส้นตรงตามแนวยาวจะต้องจัดให้มีระยะห่างเท่ากับ ๑๕๐ เมตรนับจากหัวทางวิ่ง ยกเว้นกรณีที่แถบเส้นตรงของเครื่องหมายเขตแตะพื้นทางวิ่งตรงกันหรือตั้งอยู่ในระยะ ๕๐ เมตรของเครื่องหมายจุดเป้าหมาย ไม่ต้องแสดงแถบเส้นตรงในส่วนนั้น

ข้อ ๒๗ บนทางวิ่งแบบนอนพรีซิชั่นที่มีรหัสตัวเลขเป็น ๒ ควรจะเพิ่มคู่ของการทำ

แถบเครื่องหมายเขตแตะพื้นทางวิ่งที่ระยะ ๑๕๐ เมตรเหนือการทำเครื่องหมายจุดเป้าหมาย

 

รูปที่ ๖ การทำเครื่องหมายจุดเป้าหมายและเครื่องหมายเขตแตะพื้นทางวิ่ง

๒.๗ การทำเครื่องหมายเส้นขอบทางวิ่ง

ข้อ ๒๘ในกรณีที่ไม่มีความชัดเจนระหว่างขอบของทางวิ่งกับไหล่ทางวิ่งหรือบริเวณรอบๆ ทางวิ่ง สนามบินจะต้องจัดให้มีการทำเครื่องหมายเส้นขอบทางวิ่งระหว่างหัวทางวิ่งทั้งสองด้านของทางวิ่งที่มีผิวพื้นจราจร

สนามบินควรจัดให้มีการทำเครื่องหมายเส้นขอบทางวิ่งบนทางวิ่งแบบพรีซิชั่น โดยไม่ต้องคำนึงถึงความชัดเจนระหว่างขอบทางวิ่งกับไหล่ทางวิ่งหรือบริเวณรอบทางวิ่ง

ข้อ ๒๙ การทำเครื่องหมายเส้นขอบทางวิ่งควรประกอบด้วยแถบเส้นตรงสองแถบ โดยแต่ละแถบอยู่บนขอบของแต่ละด้านของทางวิ่ง และให้ขอบนอกของแถบเส้นตรงนั้นอยู่บนขอบของทางวิ่ง เว้นแต่กรณีทางวิ่งมีความกว้างมากกว่า ๖๐ เมตร แถบเส้นตรงควรจะกำหนดอยู่ที่ระยะห่าง ๓๐ เมตรห่างจากเส้นกึ่งกลางทางวิ่ง

ในกรณีที่สนามบินมีพื้นที่ลานกลับลำอากาศยาน การทำเครื่องหมายเส้นขอบทางวิ่งควรจะต่อเนื่องระหว่างทางวิ่งและพื้นที่ลานกลับลำอากาศยาน

แถบเส้นตรงแต่ละแถบของการทำเครื่องหมายเส้นขอบทางวิ่งควรจะมีความกว้างอย่างน้อย ๐.๙ เมตร บนทางวิ่งที่มีความกว้างเท่ากับหรือมากกว่า ๓๐ เมตร และความกว้างอย่างน้อย ๐.๔๕ เมตรบนทางวิ่งที่กว้างน้อยกว่า ๓๐ เมตร

๒.๘ การทำเครื่องหมายเส้นกึ่งกลางทางขับ

ข้อ ๓๐สนามบินจะต้องจัดให้มีเครื่องหมายเส้นกึ่งกลางทางขับณ ทางวิ่งที่มีรหัส

ตัวเลขเป็น ๓ หรือ ๔ เพื่อเป็นการนำทางอย่างต่อเนื่องจากเส้นกึ่งกลางทางวิ่งถึงหลุมจอดอากาศยาน ในบริเวณดังต่อไปนี้

(๑) บนทางขับที่มีผิวพื้นจราจร และ

(๒) บนลานจอดอากาศยาน

ในกรณีที่ทางวิ่งมีรหัสตัวเลขเป็น ๑ หรือ ๒ สนามบินอาจจัดให้มีเครื่องหมายเส้น

กึ่งกลางทางขับบนทางขับที่มีผิวพื้นจราจรและบนลานจอดอากาศยานด้วยก็ได้ เพื่อเป็นการนำทางอย่างต่อเนื่องจากเส้นกึ่งกลางทางวิ่งถึงหลุมจอดอากาศยาน

ข้อ ๓๑ สนามบินจะต้องจัดให้มีเครื่องหมายเส้นกึ่งกลางทางขับบนทางวิ่งที่มีผิวพื้นจราจร เมื่อทางวิ่งนั้นเป็นส่วนหนึ่งในเส้นทางขับเคลื่อนมาตรฐานของอากาศยาน และเมื่อ

(๑) ไม่มีเครื่องหมายเส้นกึ่งกลางทางวิ่ง หรือ

(๒) แนวเส้นกึ่งกลางทางขับไม่สอดรับกับแนวเส้นกึ่งกลางทางวิ่ง

ข้อ ๓๒ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องแสดงตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่ง สนามบินอาจ จัดให้มีเครื่องหมายเส้นกึ่งกลางทางขับแบบเน้นย้ำซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการป้องกันการล่วงล้ำทางวิ่ง

หากมีการจัดทำเครื่องหมายเส้นกึ่งกลางทางขับแบบเน้นย้ำ จะต้องจัดทำ

เครื่องหมายเน้นเส้นกึ่งกลางทางขับแบบเน้นย้ำที่ทุกจุดตัดของทางวิ่งและทางขับของสนามบินนั้น

ข้อ ๓๓ตำแหน่งของการทำเครื่องหมายเส้นกึ่งกลางทางขับให้มีลักษณะดังนี้

(๑) การทำเครื่องหมายเส้นกึ่งกลางทางขับบนส่วนที่เป็นเส้นตรงของทางขับควรจะ

อยู่บนแนวเส้นกึ่งกลางทางขับ

(๒) การทำเครื่องหมายเส้นกึ่งกลางทางขับควรบนส่วนที่เป็นแนวโค้งของทางขับจะ

ต่อเนื่องจากส่วนที่เป็นแนวตรงของทางขับและรักษาระยะคงที่จากขอบนอกของส่วนโค้ง

ข้อ ๓๔ บริเวณจุดตัดของทางขับกับทางวิ่งซึ่งทางขับถูกใช้เป็นทางขับออกจากทางวิ่ง ควรจัดทำเครื่องหมายเส้นกึ่งกลางทางขับในลักษณะโค้งเข้าไปหาเส้นกึ่งกลางทางวิ่งตามที่แสดงไว้ในรูปที่ ๗ โดยเครื่องหมายเส้นกึ่งกลางทางขับควรจะต่อขนานไปกับเครื่องหมายเส้นกึ่งกลางทางวิ่งเป็นระยะทางอย่างน้อย ๖๐ เมตร นับจากจุดสัมผัสกับเส้นกึ่งกลางทางวิ่ง สำหรับทางวิ่งที่มีรหัสตัวเลขเป็น ๓ หรือ ๔ และเป็นระยะทางอย่างน้อย ๓๐ เมตร สำหรับทางวิ่งที่มีรหัสตัวเลขเป็น ๑ หรือ ๒

ในกรณีที่เครื่องหมายเส้นกึ่งกลางทางขับถูกจัดให้มีบนทางวิ่งตามข้อ ๓๑ วรรคสอง

ควรจัดให้มีเครื่องหมายเส้นกึ่งกลางทางขับบนแนวเส้นกึ่งกลางทางขับของทางขับที่ถูกกำหนดให้เป็นทางขับออกมาตรฐาน

เมื่อมีการจัดให้มีเครื่องหมายเส้นกึ่งกลางทางขับแบบเน้นย้ำ จะต้องจัดทำเครื่องหมายเส้นกึ่งกลางทางขับให้ขยายจากตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่งตามรูปที่ ๗ รูปแบบ เอ เป็นระยะทาง ๔๕ เมตร โดยใช้แถบเส้นตรงอย่างน้อยจำนวนสามแถบ ในทิศทางที่ขับออกจากทางวิ่ง หรือขยายไปจนถึงเครื่องหมายตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่งอีกตำแหน่งหนึ่ง หากตำแหน่งนั้นอยู่ภายในระยะทาง ๔๕ เมตร

ข้อ ๓๕ การทำเครื่องหมายเส้นกึ่งกลางทางขับจะต้องมีความกว้างอย่างน้อย ๑๕

เซนติเมตร และเป็นเส้นต่อเนื่องตามความยาว ยกเว้นเมื่อการทำเครื่องหมายเส้นกึ่งกลางทางขับตัด

ผ่านเครื่องหมายตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่งหรือเครื่องหมายตำแหน่งหยุดคอยตามรูปที่ ๗

เครื่องหมายเส้นกึ่งกลางทางขับแบบเน้นย้ำจะต้องเป็นแบบที่แสดงไว้ในรูปที่ ๘

๒.๙ การทำเครื่องหมายนำทางกลับลำอากาศยาน

ข้อ ๓๖ กรณีที่สนามบินได้จัดให้มีพื้นที่ลานกลับลำอากาศยาน สนามบินจะต้องจัดให้มีการทำเครื่องหมายนำทางกลับลำอากาศยานเพื่อนำทางอากาศยานให้เลี้ยวกลับลำบนทางวิ่งครบ ๑๘๐ องศา อย่างต่อเนื่องและตั้งลำตรงกับแนวกึ่งกลางทางวิ่ง

 

รูปที่ ๗ การทำเครื่องหมายทางวิ่งโดยทั่วไป

รูปที่ ๘ การทำเครื่องหมายเส้นกึ่งกลางทางขับแบบเน้นย้ำ

ข้อ ๓๗ การทำเครื่องหมายนำทางกลับลำอากาศยาน ให้อยู่ในตำแหน่งในลักษณะดังต่อไปนี้

(๑) ให้เครื่องหมายเริ่มเลี้ยวโค้งจากแนวเส้นกึ่งกลางทางวิ่งเข้าสู่ลานกลับลำอากาศยาน โดยรัศมีของส่วนโค้งควรจะสอดคล้องกับความสามารถในการขับเคลื่อนและความเร็วในการขับเคลื่อนของอากาศยานในพื้นที่ลานกลับลำที่ถูกออกแบบไว้ จุดตัดกันของเครื่องหมายนำทางกลับลำอากาศยานกับแนวเส้นกึ่งกลางทางวิ่งควรจะทำมุมกันไม่เกิน ๓๐ องศา

(๒) ควรต่อขยายขนานไปกับการทำเครื่องหมายเส้นกึ่งกลางทางวิ่งเป็นระยะทางอย่างน้อย ๖๐ เมตร นับจากจุดสัมผัสกัน สำหรับทางวิ่งที่มีรหัสตัวเลขเป็น ๓ หรือ ๔ และเป็นระยะทางอย่างน้อย ๓๐ เมตร สำหรับทางวิ่งที่มีรหัสตัวเลขเป็น ๑ หรือ ๒

(๓) ทำเครื่องหมายให้สามารถนำเครื่องบินให้มีการขับเคลื่อนในแนวตรงก่อนถึงจุดเริ่มเลี้ยว ๑๘๐ องศา ทั้งนี้ ส่วนที่เป็นแนวตรงของเครื่องหมายนำทางกลับลำอากาศยานบนทางวิ่งควรจะขนานกับขอบนอกของพื้นที่ลานกลับลำอากาศยาน

(๔) การออกแบบส่วนโค้งของเครื่องหมายนำทางกลับลำอากาศยานในส่วนตำแหน่งเลี้ยว ๑๘๐ องศา ควรคำนึงถึงมุมเลี้ยวของล้อหน้าที่ไม่ควรเกิน ๔๕ องศา

(๖) การออกแบบเครื่องหมายนำทางกลับลำอากาศยาน ควรคำนึงถึงกรณีเมื่อห้องนักบินของอากาศยานยังคงอยู่บนเครื่องหมายนำทางกลับลำอากาศยานแล้ว ระยะห่างระหว่างล้อใดๆ ของล้อฐานของอากาศยานกับขอบของพื้นที่ลานกลับลำอากาศยาน ไม่ควรน้อยกว่าที่กำหนดในข้อ ๒๐ (๓) (ก) ๗) และ ๘) ของข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน ฉบับที่ .. ว่าด้วยมาตรฐานทางกายภาพของสนามบิน

๒.๑๐ การทำเครื่องหมายตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่ง

ข้อ ๓๘ การทำเครื่องหมายตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่งจะต้องแสดง ณ ตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่ง

ข้อกำหนดของป้ายแสดงตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่ง ให้เป็นไปตามข้อ ๗๓

ข้อ ๓๙ การเครื่องหมายตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่ง ให้มีลักษณะดังต่อไปนี้

(๑) ที่จุดตัดของทางขับกับทางวิ่งแบบบินขึ้นลงโดยไม่ใช้เครื่องวัดประกอบการบินหรือทางขับกับทางวิ่งแบบนอนพรีซิชั่น รูปแบบของเครื่องหมายตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่งจะต้องเป็นไปตามรูปที่ ๗ รูปแบบ เอ

(๒) เมื่อมีตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่งเพียงแห่งเดียว ณ ตำแหน่งตัดกันของทางขับ

กับทางวิ่งแบบพรีซิชั่นประเภทที่หนึ่ง ประเภทที่สองและประเภทที่ ๓ รูปแบบของเครื่องหมายตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่งจะต้องเป็นไปตามรูปที่ ๗ รูปแบบ เอ และเมื่อมีตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่งจำนวนสองหรือสามแห่ง ณ ตำแหน่งตัดกันตำแหน่งหนึ่ง รูปแบบเครื่องหมายตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่งที่ใกล้ทางวิ่งมากกว่า จะต้องเป็นไปตามรูปที่ ๗ รูปแบบ เอ และเครื่องหมายที่อยู่ไกลจากทางวิ่งมากกว่าต้องเป็นตามรูปที่ ๗ รูปแบบ บี

(๓) การทำเครื่องหมายตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่งที่แสดง ณ ตำแหน่งคอย

ก่อนเข้าทางวิ่งที่จัดทำบนทางขับที่หากมีอากาศยานหรือยานพาหนะขับเคลื่อนอยู่ อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของวิทยุเครื่องช่วยการเดินอากาศหรือล้ำพื้นที่ระนาบจำกัดสิ่งกีดขวาง จะต้องจัดทำให้เป็นไปตามรูปที่ ๗ รูปแบบเอ

(๔)เมื่อต้องการเพิ่มความชัดเจนในการมองเห็นตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่ง

ควรจะจัดทำเครื่องหมายตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่งตามรูปที่ ๗ รูปแบบ เอ หรือรูปแบบ บี ตามความเหมาะสม

(๕)เมื่อเครื่องหมายตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่งรูปแบบบี อยู่บนพื้นที่ที่มีความ

กว้างเกิน ๖๐ เมตร ควรจะมีการทาสีเครื่องหมาย “CAT II” หรือ “CAT III” ตามความเหมาะสมบน

พื้นที่จุดสิ้นสุดของเครื่องหมาย โดยมีช่องไฟเท่ากันห่างไม่เกิน ๔๕ เมตร ระหว่างเครื่องหมายอื่นที่ต่อเนื่องกัน โดยตัวอักษรควรจะมีความสูงไม่น้อยกว่า ๑.๘ เมตร และควรระยะห่างเหนือเครื่องหมายไม่เกิน ๐.๙ เมตร

(๖) เครื่องหมายตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่งซึ่งแสดง ณ จุดตัดกันของสองทางวิ่ง

ควรจะตั้งฉากกับแนวกึ่งกลางทางวิ่งที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางขับเคลื่อนมาตรฐานของอากาศยาน โดยมีรูปแบบของเครื่องหมายตามรูปที่ ๙ รูปแบบเอ

 

รูปที่ ๙ การเครื่องหมายตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่ง

๒.๑๑

การทำเครื่องหมายตำแหน่งหยุดคอย

ข้อ ๔๐ สนามบินควรจะจัดให้มีเครื่องหมายตำแหน่งหยุดคอย ณ ตำแหน่งหยุดคอย

สำหรับอากาศยานหรือยานพาหนะ

เมื่อมีเครื่องหมายตำแหน่งหยุดคอยแสดงอยู่ ณ จุดตัดกันของทางขับ เครื่องหมาย

ดังกล่าวจะต้องตัดขวางทางขับในระยะห่างที่เพียงพอจากขอบของอีกทางขับที่ตัดกันเพื่อให้เกิดระยะห่างที่ปลอดภัยระหว่างเครื่องบินที่กำลังขับเคลื่อนบนทางขับทั้งสอง เครื่องหมายดังกล่าวจะต้องสมนัยกับไฟแสดงตำแหน่งหยุดและไฟแสดงตำแหน่งหยุดคอย

การทำเครื่องหมายตำแหน่งหยุดคอยจะต้องเป็นแถบเส้นประเส้นเดี่ยวตามรูปที่ ๗

๒.๑๒ การทำเครื่องหมายจุดตรวจสัญญาณ VOR

ข้อ ๔๑สนามบินที่จัดให้มีตำแหน่งตรวจสอบสัญญาณ VOR ขึ้นในสนามบิน ณ ตำแหน่งนั้นจะต้องแสดงโดยการทำเครื่องหมายจุดตรวจสอบสัญญาณ VOR และป้ายแสดงจุดตรวจสอบสัญญาน VOR

การทำเครื่องหมายจุดตรวจสอบสัญญาณ VOR จะต้องอยู่จุดตรงกลางของตำแหน่งที่อากาศยานจอดเพื่อรับสัญญาณ VOR ที่ถูกต้อง

ข้อ ๔๒ การทำเครื่องหมายจุดตรวจสอบสัญญาณ VOR จะต้องประกอบด้วยวงกลมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว ๖ เมตร และมีแถบเส้นผ่านศูนย์กลางซึ่งมีความกว้าง ๑๕ เซนติเมตรตามรูปที่ ๑๐ รูปเอ

ในกรณีที่ต้องการกำหนดให้อากาศยานหันหัวไปในทิศทางเฉพาะ ควรจะจัดให้มีแถบเส้นผ่าศูนย์กลางของวงกลมซึ่งมีความกว้าง ๑๕ เซนติเมตร โดยแถบเส้นดังกล่าวควรจะต่อยาวออกนอกวงกลมไปอีก ๖ เมตรในทิศทางเฉพาะที่กำหนดไว้ และที่ปลายแถบเส้นเป็นสัญลักษณ์หัวลูกศร

การทำเครื่องหมายจุดตรวจสอบสัญญาณ VOR ประจำสนามบิน ควรจะเป็นสีขาวและควรแตกต่างจากสีที่ใช้สำหรับเครื่องหมายของทางขับ และเพื่อให้เห็นเด่นชัดควรทาขอบด้วยสีดำ

 

รูปที่ ๑๐ การทำเครื่องหมายจุดตรวจสัญญาณ VOR

๒.๑๓ การทำเครื่องหมายหลุมจอดอากาศยาน

ข้อ ๔๓ สนามบินควรจัดให้มีเครื่องหมายหลุมจอดอากาศยาน ณ ตำแหน่งหลุมจอด

อากาศยานที่กำหนดไว้บนลานจอดอากาศยานที่มีผิวพื้นจราจร

การทำเครื่องหมายหลุมจอดอากาศยานบนลานจอดอากาศยานที่มีผิวพื้นจราจรควรจะอยู่ในตำแหน่งที่จะทำให้มีระยะห่างระหว่างอากาศยานกับอากาศยาน สิ่งปลูกสร้าง หรือวัตถุอื่น ดังนี้

รหัสทางวิ่งระยะห่าง (เมตร)

A๓

B๔

C๔.๕

D๗.๕

E๗.๕

F๗.๕

ข้อ ๔๔ การทำเครื่องหมายหลุมจอดอากาศยาน ณ สนามบิน ให้มีลักษณะดังนี้

(๑) การทำเครื่องหมายหลุมจอดควรจะประกอบด้วยส่วนย่อยๆ เช่น ชื่อหลุมจอด

แถบเส้นนำเข้า แถบเส้นเลี้ยว แถบเส้นปรับแนวแถบเส้นหยุด และแถบเส้นนำออก ตามความจำเป็นสำหรับแบบการใช้งานในการจอดของอากาศยานและการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ช่วยอื่นๆ

(๒)ใช้ตัวเลขหรือตัวอักษรเป็นชื่อหลุมจอดอากาศยาน ซึ่งควรจะอยู่ในแนวแถบเส้น

นำเข้าโดยอยู่ที่ระยะห่างสั้นๆ หลังจากจุดเริ่มต้นของแถบเส้นนำเข้า ความสูงของชื่อหลุมจอดควรจะเพียงพอที่จะสามารถอ่านได้จากห้องนักบินของอากาศยานที่กำลังใช้งานหลุมจอด

(๓)เมื่อเครื่องหมายหลุมจอดอากาศยานสองชุดอยู่บนตำแหน่งซ้อนกัน ซึ่งถูกออกแบบให้เกิดความยืดหยุ่นในการใช้งานของลานจอดอากาศยานและเป็นการยากที่จะแยกแยะว่าควรจะใช้เครื่องหมายใด หรืออาจเป็นการทำให้ความปลอดภัยลดลงหากเลือกใช้เครื่องหมายผิดพลาดแล้ว ควรจะเพิ่มชื่อแบบของอากาศยานของแต่ละเครื่องหมายหลุมจอดอากาศยาน เช่น 2A-B747, 2B-F28

(๔)แถบเส้นนำเข้า แถบเส้นเลี้ยว และแถบเส้นนำออก ควรจะมีลักษณะยาวต่อเนื่องกันและมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๑๕ เซนติเมตร แต่หากมีกรณีที่มีเครื่องหมายหลุมจอดมากกว่า ๑ เครื่องหมายซ้อนกันบนหลุมจอด ควรจัดทำแถบเส้นที่ต่อเนื่องกันสำหรับเครื่องหมายหลุมจอดที่มีการใช้งานประจำและแถบเส้นประสำหรับเครื่องหมายหลุมจอดอื่น

(๕) หากแถบเส้นนำเข้า แถบเส้นเลี้ยวและแถบเส้นนำออกของเครื่องหมายหลุมจอด

มีส่วนโค้งแล้ว ส่วนโค้งนั้นควรจะมีรัศมีที่เหมาะสมกับแบบอากาศยานที่ใช้งานเป็นประจำ

(๖)เมื่อเครื่องหมายหลุมจอดถูกออกแบบให้ใช้งานได้ในทิศทางเดียว ควรจะมีการ

เพิ่มลูกศรชี้ทิศทางเป็นส่วนหนึ่งในส่วนของแถบเส้นนำเข้าและแถบเส้นนำออก

(๗) แถบเส้นเลี้ยวควรจะอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับแถบเส้นนำเข้ายื่นออกไปทางด้านซ้ายมือตรงตำแหน่งนักบินที่จุดเริ่มต้นของการเลี้ยว โดยแถบเส้นนั้นควรมีความยาวไม่น้อยกว่า ๖ เมตร และความกว้างไม่น้อยกว่า ๑๕ เซนติเมตร และมีหัวลูกศรบ่งชี้ทิศทางในการเลี้ยว

ระยะที่จะต้องรักษาระหว่างแถบเส้นเลี้ยวและแถบเส้นนำเข้าอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับแบบอากาศยาน โดยคำนึงถึงการมองเห็นของนักบิน

(๘) ถ้ามีแถบเส้นเลี้ยวมากกว่า ๑ แถบเส้น หรือมีความต้องการแถบเส้นหยุด ควรจะมีการบ่งบอกไว้

(๙) แถบเส้นปรับแนว ควรจะวางในตำแหน่งที่สมนัยกับส่วนต่อขยายของแนวเส้นกึ่งกลางของอากาศยานในตำแหน่งจอด และสามารถมองเห็นโดยนักบินในขณะขับเคลื่อนอยู่ในส่วนสุดท้าย และควรจะมีขนาดกว้างของแถบเส้นไม่น้อยกว่า ๑๕ เซนติเมตร

(๑๐) แถบเส้นหยุดควรจะอยู่ในแนวตั้งฉากกับแถบเส้นปรับแนว และยื่นไปทางด้านซ้ายตรงกับนักบินที่จุดต้องการให้หยุด และควรมีความยาวไม่น้อยกว่า ๖ เมตรและความกว้างไม่น้อยกว่า ๑๕ เซนติเมตร

ระยะที่จะต้องรักษาระหว่างแถบเส้นหยุดและแถบเส้นนำเข้าอาจเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับแบบอากาศยาน โดยคำนึงถึงการมองเห็นของนักบิน

๒.๑๔ เส้นปลอดภัยในลานจอดอากาศยาน

ข้อ ๔๕ สนามบินควรจัดให้มีเส้นปลอดภัยในลานจอดอากาศยาน ณ ลานจอดอากาศยานที่มีผิวพื้นจราจรตามลักษณะการใช้งานและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ

สนามบินจะต้องมีการจัดทำเส้นปลอดภัยในลานจอดอากาศยานเพื่อกำหนดและบ่งบอกพื้นที่สำหรับยานพาหนะภาคพื้นและอุปกรณ์ให้บริการเครื่องบินและอื่นๆ เพื่อให้เกิดระยะปลอดภัยจากอากาศยาน

ข้อ ๔๖เส้นปลอดภัยในลานจอดอากาศยานควรจะประกอบด้วยส่วนย่อย เช่น แถบเส้นระยะห่างจากปลายปีกและแถบเส้นขอบถนน ตามลักษณะการใช้งานและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ

เส้นปลอดภัยในลานจอดอากาศยาน ควรมีลักษณะเป็นแถบเส้นต่อเนื่องตามความยาวและมีความกว้าง ๑๐ เซนติเมตร

๒.๑๕ การทำเครื่องหมายตำแหน่งหยุดคอยบนถนน

ข้อ ๔๗สนามบินจะต้องจัดให้มีเครื่องหมายตำแหน่งหยุดคอยบนถนน บนพื้นผิวถนนที่การเชื่อมต่อเข้าสู่ทางวิ่ง โดยให้เครื่องหมายตำแหน่งหยุดคอยบนถนนจะต้องอยู่ในตำแหน่งตัดขวางถนน ณ ตำแหน่งให้หยุดคอยก่อนเข้าสู่ทางวิ่ง

เครื่องหมายตำแหน่งหยุดคอยบนถนนจะต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก

๒.๑๖ การทำเครื่องหมายแนะนำเชิงบังคับ

ข้อ ๔๘ในกรณีที่สนามบินไม่สามารถติดตั้งป้ายแนะนำเชิงบังคับได้ สนามบินจะต้องจัดทำเครื่องหมายแนะนำเชิงบังคับบนพื้นผิวขับเคลื่อนที่ที่มีผิวพื้นจราจรแทน

ในกรณีที่มีความจำเป็นในทางปฏิบัติ ควรมีการทำเครื่องหมายแนะนำเชิงบังคับเพิ่มเติมจากการจัดทำป้ายแนะนำเชิงบังคับ

ข้อ ๔๙ การทำเครื่องหมายแนะนำเชิงบังคับซึ่งอยู่บนพื้นผิวทางขับที่มีรหัสทางวิ่งเป็น A, B, C หรือ D จะต้องวางตัวขวางทางขับในระยะสมมาตรรอบแนวเส้นกึ่งกลางทางขับ และอยู่ทางด้านที่อากาศยานหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่งของเครื่องหมายตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่ง ตามรูปที่ ๑๑ รูปเอ โดยมีระยะห่างระหว่างขอบของเครื่องหมายแนะนำเชิงบังคับกับเครื่องหมายตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่งหรือกับเครื่องหมายเส้นกึ่งกลางทางขับ จะต้องไม่น้อยกว่า ๑ เมตร

การทำเครื่องหมายแนะนำเชิงบังคับซึ่งอยู่บนพื้นผิวทางขับที่มีรหัสทางวิ่งเป็น E หรือ F จะต้องวางตัวขวางทางขับในตำแหน่งทั้งสองด้านของเส้นกึ่งกลางทางขับ และอยู่ทางด้านที่อากาศยานหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่งของเครื่องหมายตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่ง ตามรูปที่ ๑๑ รูปบี โดยมีระยะห่างระหว่างขอบของเครื่องหมายแนะนำเชิงบังคับกับเครื่องหมายตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่งหรือกับเครื่องหมายเส้นกึ่งกลางทางขับ จะต้องไม่น้อยกว่า ๑ เมตร

การทำเครื่องหมายแนะนำเชิงบังคับ ไม่ควรอยู่บนพื้นผิวทางวิ่ง ยกเว้นมีความจำเป็นในทางปฏิบัติ

ข้อ ๕๐ให้สนามบินจัดให้มีการทำเครื่องหมายแนะนำเชิงบังคับในลักษณะดังต่อไปนี้

(๑) จะต้องประกอบด้วยข้อความสีขาวบนพื้นสีแดง ยกเว้นสำหรับ เครื่องหมายห้ามเข้าซึ่งจะต้องมีข้อความที่ให้ข้อมูลที่สมนัยกับป้ายแนะนำบังคับที่เกี่ยวข้อง

(๒) เครื่องหมายห้ามเข้า (NO ENTRY) จะต้องประกอบด้วยข้อความสีขาวอ่านว่า “NO ENTRY” บนพื้นสีแดง

(๓) หากไม่ความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างเครื่องหมายกับผิวพื้นด้านหลัง เครื่องหมายแนะนำเชิงบังคับจะต้องถูกเน้นด้วยขอบสีขาวหรือดำตามความเหมาะสม

(๔) การทำเครื่องหมายแนะนำเชิงบังคับจะต้องใช้ตัวอักษรควรมีความสูง ๔ เมตร โดยข้อความควรจะมีรูปแบบและสัดส่วนตามที่กำหนดในประกาศกรมการบินพลเรือน

(๕) พื้นหลังของข้อความควรจะเป็นสี่เหลี่ยมและควรขยายเพิ่มจากข้อความด้านละ ๐.๕ เมตร

 

รูปที่ ๑๑ การทำเครื่องหมายแนะนำเชิงบังคับ

๒.๑๗ การทำเครื่องหมายแสดงข้อมูล

ข้อ ๕๑กรณีที่ไม่สามารถติดตั้งป้ายแสดงข้อมูลได้สนามบินจะต้องจัดทำเครื่องหมาย

แสดงข้อมูลบนพื้นผิวขับเคลื่อนที่มีผิวพื้นจราจรแทน

ในกรณีที่มีความจำเป็นในทางปฏิบัติ สนามบินควรมีการจัดทำเครื่องหมายแสดง

ข้อมูลเพิ่มเติมจากการจัดทำป้ายแสดงข้อมูล

สนามบินควรจัดให้มีการทำเครื่องหมายแสดงข้อมูล ประเภทการทำเครื่องหมาย

แสดงทิศทางและการทำเครื่องหมายแสดงตำแหน่ง ไว้ก่อนและหลังจุดตัดกันของทางขับที่มีความซับซ้อน และ ณ ตำแหน่งที่พบว่าหากมีการกำหนดเครื่องหมายเหล่านั้นแล้วจะเป็นการช่วยนักบินในการปฏิบัติการบินภาคพื้น

สนามบินควรจัดให้มีการทำเครื่องหมายแสดงข้อมูลประเภทเครื่องหมายแสดง

ตำแหน่งไว้บนพื้นผิวทางขับในระยะห่างที่เหมาะสมเป็นช่วงๆ

ข้อ ๕๒สนามบินควรทำเครื่องหมายแสดงข้อมูลไว้บนพื้นผิวของทางขับหรือลานจอด

อากาศยานตามความจำเป็นและอยู่ในตำแหน่งที่สามารถอ่านได้จากห้องนักบินของอากาศยานที่กำลัง

ขับเคลื่อนเข้าหา

ข้อ ๕๓การทำเครื่องหมายแสดงข้อมูล จะต้องประกอบด้วย

(๑) ข้อความเป็นสีเหลืองบนพื้นหลังสีดำ เพื่อใช้แทนที่หรือเสริมการใช้ป้ายแสดงตำแหน่ง

(๒) ข้อความเป็นสีดำบนพื้นหลังสีเหลือง เพื่อใช้แทนที่หรือเสริมการใช้งานป้าย

แสดงทิศทางหรือป้ายแสดงจุดหมายปลายทาง

ในกรณีที่ความแตกต่างระหว่างพื้นหลังของเครื่องหมายและพื้นผิวของพื้นที่ไม่มี

ความแตกต่างที่ชัดเจนเพียงพอ เครื่องหมายนั้นจะต้องเพิ่มเติม

(๑) ขอบสีดำบนพื้นหลัง เมื่อตัวหนังสือเป็นดำ และ

(๒) ขอบสีเหลืองบนพื้นหลัง เมื่อตัวหนังสือเป็นสีเหลือง

ตัวอักษรในข้อความควรมีความสูง ๔ เมตร โดยข้อความควรจะมีรูปแบบและสัดส่วน

ตารางแสดงรายละเอียดของรูปแบบและสัดส่วนของตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์ในการทำเครื่องหมาย

แนะนำเชิงบังคับและการทำเครื่องหมายแสดงข้อมูลในระยะกริด ๒๐ เซนติเมตร ท้ายข้อบังคับนี้

ส่วนที่ ๓

ไฟสนามบิน
--------------------

ข้อ ๕๔สนามบินจะต้องดับไฟ พรางไฟ หรือดัดแปลงเพื่อให้กำจัดเหตุของอันตรายอันเนื่องมาจากไฟภาคพื้นที่มิใช่ไฟสนามบินและอยู่ใกล้สนามบินที่อาจเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของเครื่องบิน

ข้อ ๕๕สนามบินควรจะจัดตั้งเขตปกป้องในบริเวณรอบสนามบินเพื่อปกป้อง

ความปลอดภัยของเครื่องบินในผลกระทบอย่างร้ายแรงของเครื่องกำเนิดแสงเลเซอร์ โดยการจัดให้มีเขตดังต่อไปนี้

(๑) เขตปลอดแสงเลเซอร์ (LFFZ= a laser beam free flight zone)

(๒) เขตปกป้องจากแสงเลเซอร์ (LCFZ = a laser beam critical flight zone)

(๓) เขตอันตรายจากแสงเลเซอร์ (LSFZ =a laser-beam sensitive flight zone)

การหาระดับความเข้มในการกระจายแสงเลเซอร์และระยะห่างที่เพียงพอที่จะปกป้องการปฏิบัติการบิน ให้เป็นไปตามรูปที่ ๑๒ รูปที่ ๑๓ และรูปที่ ๑๔

การห้ามใช้แสงเลเซอร์ ในบริเวณเขตปลอดแสงเลเซอร์ (LFFZ) เขตปกป้องจากแสงเลเซอร์ (LCFZ) และเขตอันตรายจากแสงเลเซอร์ (LSFZ) ให้หมายถึงเฉพาะแสงเลเซอร์ที่มองเห็นได้ด้วยตาเท่านั้น ไม่รวมถึงเครื่องกำเนิดแสงเลเซอร์ที่เจ้าหน้าที่ใช้เพื่อความปลอดภัยทางด้านการบิน ในเขตพื้นที่บินทั้งหมด

อัตราความเข้มการกระจายแสงเลเซอร์ใดๆ ไม่ว่าจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือไม่ก็ตาม จะต้องมีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับค่าสูงสุดที่ยอมให้ใช้ได้ (MPE) ถ้าสูงกว่าจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจอนุญาต

 

รูปที่ ๑๒เขตการบินที่ได้รับการปกป้อง

 

รูปที่ ๑๓เขตปลอดแสงเลเซอร์บริเวณทางวิ่งหลายเส้น

 

รูปที่ ๑๔เขตการบินที่ได้รับการปกป้องที่บ่งชี้อัตราความเข้มการกระจายแสงเลเซอร์สูงสุด

ข้อ ๕๖สนามบินควรจะปิด พรางหรือดัดแปลงไฟในลักษณะดังต่อไปนี้ เพื่อมิให้เกิดความสับสนในทางปฏิบัติ

(๑) ไฟภาคพื้นดินที่มิใช่ไฟสนามบินที่มีความเข้มสูง

(๑) ไฟที่มีรูปแบบหรือสีที่อาจเป็นสาเหตุของความสับสน หรือทำให้แปลความหมายเป็นไฟสนามบิน

สนามบินควรจะมุ่งความสนใจโดยตรงต่อไฟภาคพื้นที่มิใช่ไฟสนามบินที่มองเห็นจากเครื่องบินภายในพื้นที่ดังต่อไปนี้

(ก) ทางวิ่งที่ขึ้นลงด้วยเครื่องวัดประกอบการบินที่มีรหัสตัวเลขเป็น ๔ ให้สนามบินมุ่งความสนใจภายในพื้นที่ก่อนถึงหัวทางวิ่ง และเลยสุดทางวิ่งอย่างน้อย ๔,๕๐๐ เมตร และในระยะ ๗๕๐ เมตร จากจุดกึ่งกลางทางวิ่งออกไปด้านข้างทั้งสองด้าน

(ข)ทางวิ่งที่ขึ้นลงด้วยเครื่องวัดประกอบการบินที่มีรหัสตัวเลขเป็น ๒ หรือ ๓ ให้สนามบินดำเนินการตาม (ก) ยกเว้นความยาวเลยทางวิ่งอย่างน้อย ๓,๐๐๐ เมตร

(ค) ทางวิ่งที่ขึ้นลงด้วยเครื่องวัดประกอบการบินที่มีรหัสตัวเลขเป็น ๑ และทางวิ่งที่ทางวิ่งแบบบินขึ้นลงโดยไม่ใช้เครื่องวัดประกอบการบินภายในพื้นที่เขตร่อน

ข้อ ๕๗ในกรณีไฟสนามบินอยู่ใกล้ชายฝั่ง สนามบินจะต้องพิจารณาเพื่อให้แน่ใจว่าแสงของไฟฟ้าสนามบินจะไม่ทำให้เกิดความสับสนต่อเรือเดินทะเล

ข้อ ๕๘ โคมไฟนำร่องที่เป็นโคมไฟเหนือพื้นและโครงสร้างขาตั้งจะต้องสามารถแตกหักได้ ยกเว้นในระบบไฟนำร่องที่ห่างจากหัวทางวิ่งเกิน ๓๐๐ เมตร

(๑)สถานที่ที่ความสูงของโครงสร้างขาตั้งสูงเกินกว่า ๑๒ เมตร การแตกหักได้ให้ทำที่ตำแหน่งความสูงจากยอดลงมา ๑๒ เมตร

(๒)สถานที่ที่โครงสร้างขาตั้งล้อมรอบ โดยวัตถุที่ไม่แตกหักง่าย ให้ทำรอยที่สามารถแตกหักได้ที่ส่วนที่สูงกว่าวัตถุที่ไม่แตกหักง่ายนั้น

สนามบินไม่ต้องเปลี่ยนโคมไฟนำร่องที่เป็นโคมไฟเหนือพื้นและโครงสร้างขาตั้งที่ติดตั้งอยู่เดิมก่อนวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘

เมื่อโคมไฟนำร่อง หรือโครงสร้างขาตั้งโดยตัวมันเองไม่ชัดเจน สนามบินจะต้องทาสีทำเครื่องหมายอย่างเพียงพอ

ข้อ ๕๙โคมไฟเหนือพื้นของทางวิ่ง ทางหยุดและทางขับ จะต้องสามารถแตกหักได้ ความสูงของมันจะต้องต่ำเพียงพอ เพื่อรักษาระยะห่างสำหรับใบพัดและเครื่องยนต์ของเครื่องบินไอพ่นขนาดใหญ่

ข้อ ๖๐โคมไฟฝังในผิวพื้นของทางวิ่งทางหยุด ทางขับ และลานจอดอากาศยานจะต้องออกแบบให้เรียบร้อยพอดีและแข็งแรงพอที่จะให้ล้อเครื่องบินทับได้ โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งเครื่องบินและโคมไฟ

ความร้อนที่เกิดขึ้นจากโคมไฟฝัง โดยการแผ่รังสีหรือการนำความร้อนที่ผิวพื้นระหว่างไฟฝังและล้อเครื่องบิน ควรจะไม่เกิน ๑๖๐ องศาเซลเซียสเมื่อล้อเครื่องบินทับโคมไฟนาน ๑๐ นาที

ข้อ ๖๑ ความเข้มแสงของระบบไฟทางวิ่งจะต้องมากเพียงพอ สำหรับกรณีทัศนวิสัยบนทางวิ่งต่ำสุด และเพียงพอกับแสงไฟโดยรอบที่ใช้กับไฟทางวิ่ง และเข้ากันได้กับส่วนที่อยู่ใกล้กันของไฟนำร่องเมื่อมีการติดตั้ง

เมื่อระบบไฟสนามบินความเข้มสูงถูกติดตั้งการควบคุมความเข้มแสงที่เหมาะสม จะต้องจัดให้มีเพื่อการปรับความเข้มแสงให้เห็นเด่นชัด การแยกการควบคุมแสงหรือวิธีการอื่นที่เหมาะสมจะต้องมีให้ เพื่อให้แน่ใจว่าระบบต่อไปนี้เมื่อติดตั้งแล้วสามารถทำงานในความเข้มแสงที่เหมาะสมกันหรือเข้ากันได้

(๑) ระบบไฟนำร่อง

(๒) ไฟขอบทางวิ่ง

(๓) ไฟหัวทางวิ่ง

(๔) ไฟสิ้นสุดทางวิ่ง

(๕) ไฟกึ่งกลางทางวิ่ง

(๖) ไฟบริเวณเครื่องบินแตะพื้น

(๗) ไฟกึ่งกลางทางขับ

ข้อ ๖๒สนามบินควรติดตั้งไฟแสดงหัวทางวิ่ง ในบริเวณ ดังต่อไปนี้

(๑) ที่หัวทางวิ่งของทางวิ่งแบบนอนพรีซิชั่น ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องทำให้หัวทางวิ่งเห็นได้อย่างเด่นชัดหรือเป็นบริเวณที่ไม่สามารถติดตั้งไฟนำร่องได้

(๒) ที่ซึ่งหัวทางวิ่งถูกเลื่อนอย่างถาวร จากปลายสุดทางวิ่ง หรือซึ่งหัวทางวิ่งถูกเลื่อนชั่วคราว จากตำแหน่งปกติ และมีความจำเป็นต้องเพิ่มความเด่นชัดของหัวทางวิ่ง

ข้อ ๖๓ไฟแสดงหัวทางวิ่งให้ติดตั้งห่างจากเส้นกึ่งกลางทางวิ่งเป็นระยะห่างเท่าๆ กันในแนวเดียวกับหัวทางวิ่ง โดยให้ห่างจากขอบทางวิ่งข้างละสิบเมตร

ไฟแสดงหัวทางวิ่งตามวรรคหนึ่งควรเป็นไฟกระพริบสีขาว โดยกระพริบด้วยความถี่ระหว่างหกสิบถึงหนึ่งร้อยยี่สิบครั้งต่อนาทีทั้งนี้ ไฟดังกล่าวควรมองเห็นได้ในทิศทางที่เครื่องบินร่อนลงสู่ทางวิ่ง

ข้อ ๖๔สนามบินต้องจัดให้มีไฟขอบทางวิ่งสำหรับทางวิ่งที่ต้องใช้งานในช่วงเวลากลางคืนหรือสำหรับทางวิ่งแบบพรีชิชั่น ไม่ว่าจะใช้งานในช่วงเวลากลางวันหรือกลางคืนก็ตาม

นอกจากทางวิ่งตามวรรคหนึ่งแล้ว สนามบินควรจัดให้มีไฟขอบทางวิ่งสำหรับทางวิ่งที่ใช้งานสำหรับการบินขึ้นโดยมีทัศนวิสัยบนทางวิ่งต่ำกว่าแปดร้อยเมตรในเวลากลางวันด้วย


๒๙

ข้อ ๖๕ ไฟขอบทางวิ่งให้ติดตั้งตลอดความยาวทางวิ่ง ในลักษณะเป็นแถวขนานกันสองแถวซึ่งห่างจากเส้นกึ่งกลางทางวิ่งในระยะเท่ากันทั้งนี้ ให้ติดตั้งบนขอบของพื้นที่ที่ประกาศสำหรับใช้งานเป็นทางวิ่งหรือนอกขอบทางวิ่งในระยะไม่เกินสามเมตร

ข้อ ๖๖ ในกรณีที่พื้นที่อาจประกาศให้ใช้งานเป็นทางวิ่งมีความกว้างเกินหกสิบเมตร ระยะห่างระหว่างไฟขอบทางวิ่งทั้งสองแถวตามข้อ ๖๕ควรกำหนดโดยการพิจารณาลักษณะของการปฏิบัติการการกระจายแสงของไฟขอบทางวิ่ง และเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ประเภททัศนวิสัยอื่นๆ ที่ติดตั้งบนทางวิ่งดังกล่าว

ข้อ ๖๗ ไฟขอบทางวิ่งต้องมีระยะห่างกันสม่ำเสมอในแถว โดยให้มีระยะห่างระหว่างโคมไฟ ดังต่อไปนี้

(๑) ไม่เกินหกสิบเมตร สำหรับทางวิ่งแบบบินขึ้นลงด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน

(๒) ไม่เกินหนึ่งร้อยเมตร สำหรับทางวิ่งแบบบินขึ้นลงโดยไม่ใช้เครื่องวัดประกอบการบิน

ไฟขอบทางวิ่งที่อยู่ด้านตรงกันข้ามกับทางวิ่งต้องอยู่บนเส้นในมุมตั้งฉากกับแกนกลางทางวิ่งทั้งนี้ ในบริเวณจุดตัดของทางวิ่ง ไฟขอบทางวิ่งอาจมีระยะห่างไม่สม่ำเสมอหรือไม่มีก็ได้ หากว่าสามารถส่องนำทางให้แก่นักบินได้อย่างเพียงพอ

ข้อ ๖๘ ไฟขอบทางวิ่งต้องเป็นไฟที่มีแสงคงที่สีขาว เว้นแต่

(๑) ในกรณีที่มีการเลื่อนหัวทางวิ่ง ไฟขอบทางวิ่งระหว่างจุดเริ่มต้นทางวิ่งและจุดที่เลื่อนหัวทางวิ่ง ต้องเป็นไฟสีแดงในทิศทางที่เครื่องบินบินเข้าสู่สนามบิน

(๒) ส่วนของไฟขอบทางวิ่งในระยะหกร้อยเมตรหรือหนึ่งในสามของความยาวทางวิ่ง แล้วแต่ ค่าใดน้อยกว่า ที่บริเวณจุดปลายสุดของทางวิ่งซึ่งเครื่องบินเริ่มบินขึ้นอาจเป็นไฟสีเหลืองก็ได้

ข้อ ๖๙ ไฟขอบทางวิ่งต้องแสดงที่มุมทุกมุมในแนวนอนซึ่งจำเป็นสำหรับการนำทางให้แก่นักบินที่ทำการบินลงหรือบินขึ้นจากแต่ละทิศทาง ในกรณีที่ไฟขอบทางวิ่งมีไว้เพื่อนำทางในการบินวนเข้ามาลงไฟดังกล่าวต้องแสดงในทุกมุมที่เห็นได้รอบตัว

ในทุกมุมแนวนอนตามวรรคหนึ่ง ไฟขอบทางวิ่งต้องแสดงในมุมยกขึ้นถึงสิบห้าองศาเหนือแนวระดับ โดยต้องมีความเข้มเพียงพอสำหรับสภาพทัศนวิสัยและแสงแวดล้อมในการใช้ทางวิ่งสำหรับบินขึ้นหรือบินลงทั้งนี้ไฟขอบทางวิ่งต้องมีความเข้มของแสงอย่างน้อยห้าสิบแรงเทียน เว้นแต่ในกรณีที่สนามบินมีแสงโดยรอบน้อย ความเข้มของแสงอาจลดลงได้ แต่ต้องไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าแรงเทียนเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ไฟแยงตานักบิน

ข้อ ๗๐ สนามบินต้องจัดให้มีไฟหัวทางวิ่งสำหรับทางวิ่งที่ติดตั้งไฟขอบทางวิ่ง เว้นแต่ทางวิ่งแบบบินขึ้นลงโดยไมใช้เครื่องวัดประกอบการบินหรือทางวิ่งแบบนอนพรีซิชั่น เมื่อหัวทางวิ่งถูกเลื่อนออกไปและมีการติดตั้งไฟแถบปีก

ส่วนที่ ๔ป้าย

--------------------

ข้อ ๗๑ข้อมูลบนป้ายจะเป็นแบบข้อมูลคงที่ถาวรหรือข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงก็ได้

ป้ายจะต้องถูกจัดให้มีเพื่อสื่อสารเกี่ยวกับ คำแนะนำเชิงบังคับหรือข้อมูล ที่แสดงถึงตำแหน่งที่อยู่หรือจุดหมายปลายทางบนพื้นที่เคลื่อนไหว หรือให้ข้อมูลอื่นๆ

ข้อ ๗๒สนามบินต้องจัดให้มีป้ายในลักษณะดังต่อไปนี้

(๑) เป็นแบบแตกหักได้ และหากติดตั้งในตำแหน่งใกล้ทางวิ่งหรือทางขับจะต้องมีความสูงที่ในระดับต่ำมากพอเพื่อรักษาระยะห่างระหว่างใบบัดและเครื่องยนต์ของอากาศยานกับป้ายนั้น

(๒) เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยมีระยะในแนวขนานกับพื้นยาวกว่าแนวตั้ง

(๓) ป้ายที่อยู่บนพื้นที่เคลื่อนไหวและใช้สีแดงจะต้องเป็นป้ายแนะนำเชิงบังคับ

(๔) ป้ายจะต้องมีแสงไฟส่องสว่าง เมื่อต้องการใช้สำหรับ

๑) ทางวิ่งที่มีค่า RVR ต่ำกว่า ๘๐๐ เมตร หรือ

๒) ในเวลากลางคืนเมื่อใช้ร่วมกับ ทางวิ่งที่ขึ้นลงด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน

หรือในเวลากลางคืนเมื่อใช้ร่วมกับทางวิ่งแบบบินขึ้นลงโดยไม่ใช้เครื่องวัดประกอบการบินที่มีรหัสตัวเลขเป็น ๓ หรือ ๔

(๕) เป็นแบบสะท้อนแสงหรือมีแสงไฟส่องสว่าง เมื่อใช้ในเวลากลางคืนทางวิ่งแบบบินขึ้นลงโดยไม่ใช้เครื่องวัดประกอบการบินที่มีรหัสตัวเลขเป็น ๑ หรือ ๒

(๖) มีข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงได้จะต้องแสดงเป็นป้ายเปล่าเมื่อไม่ใช้ได้งาน

(๗) ในกรณีที่ป้ายแบบมีข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงมีความเสียหาย จะต้องไม่แสดงข้อมูลที่จะ

นำไปสู่การกระทำที่ไม่ปลอดภัยจากนักบินและผู้ขับขี่ยานพาหนะ

(๘) ช่วงระยะเวลาที่เปลี่ยนจากข้อมูลหนึ่งไปยังอีกข้อมูลหนึ่งของป้ายแบบมีข้อมูลที่

เปลี่ยนแปลงได้จะต้องสั้นที่สุดและไม่เกิน ๕ วินาที

รายละเอียด รูปแบบ ตัวหนังสือหรือตัวเลข ความสูง ขนาด การสะท้อนแสงและความส่องสว่างในการติดตั้งป้ายให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด

ข้อ ๗๓สนามบินต้องจัดให้มีป้ายแนะนำเชิงบังคับตามรูปที่ ๑๕ และป้ายแสดงตำแหน่ง ที่จุดตัดกันของทางวิ่งและทางขับตามรูปที่ ๑๖

ป้ายแนะนำเชิงบังคับจะต้องถูกจัดให้มีเพื่อระบุตำแหน่ง ซึ่งเครื่องบินหรือยานพาหนะที่กำลังขับเคลื่อนเข้าไปในพื้นที่ต่อจากตำแหน่งนั้นจะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานควบคุมจราจรทางอากาศก่อนเข้าสู่พื้นที่นั้น

ป้ายแนะนำเชิงบังคับประกอบด้วย ป้ายหมายเลขหัวทางวิ่ง ป้ายตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่งประเภทที่หนึ่ง ประเภทที่สอง หรือประเภทที่สาม ป้ายตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่งป้ายตำแหน่งหยุดคอยบนถนน และป้ายห้ามเข้า

 

รูปที่ ๑๕ ป้ายแนะนำเชิงบังคับ

 

รูปที่ ๑๖ ป้ายแสดงตำแหน่ง ที่จุดตัดกันของทางวิ่งและทางขับ

ข้อ ๗๔สนามบินต้องจัดให้มีการเครื่องหมายตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าทาง รูปแบบเอ จะต้องมี ณ จุดตัดกันระหว่างทางวิ่งและทางขับหรือทางวิ่งสองเส้นตัดกัน พร้อมด้วยป้ายหมายเลขทางวิ่ง

เครื่องหมายตำแหน่งหยุดรอก่อนเข้าทางวิ่ง รูปแบบบี จะต้องมีที่จุดรอเข้าทางวิ่ง พร้อมด้วยป้ายตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่งประเภทที่หนึ่ง ประเภทที่สอง หรือประเภทที่สาม

เครื่องหมายตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่ง รูปแบบเอ จะต้องมีบนทางขับ ณ จุดรอเข้าทางวิ่ง ที่หากอากาศยานหรือยานพาหนะล่วงล้ำเข้าไปแล้วอาจส่งกระทบต่อการทำงานของวิทยุเครื่องช่วยการเดินอากาศหรือล้ำพื้นที่ระนาบจำกัดสิ่งกีดขวาง และจะต้องมีพร้อมด้วยป้ายตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่ง

สนามบินควรติดตั้งป้ายหมายเลขทางวิ่งไว้ด้านข้างป้ายบอกตำแหน่งในระยะไกลสุดจาก

ทางขับตามความเหมาะสมณ จุดตัดกันของทางวิ่งกับทางขับ

ป้ายห้ามเข้าจะต้องจัดให้มีที่ตำแหน่งก่อนเข้าไปในเขตหวงห้าม

ข้อ ๗๕สนามบินต้องจัดให้มีตำแหน่งในการติดตั้งป้ายในลักษณะดังต่อไปนี้

(๑) ป้ายหมายเลขทางวิ่งที่จุดตัดกันของทางวิ่งกับทางขับหรือทางวิ่งกับทางวิ่งจะต้องติดตั้งบนแต่ละด้านของเครื่องหมายตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่ง โดยหันหน้าไปในทิศทางที่มองเห็นได้เมื่อจะเข้าสู่ทางวิ่ง

(๒) ป้ายตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่งประเภทที่หนึ่ง ประเภทที่สอง หรือประเภทที่สามจะต้องติดตั้งบนตำแหน่งแต่ละด้านของเครื่องหมายตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่ง โดยหันหน้าไปในทิศทางที่มองเห็นได้เมื่อจะเข้าสู่ทางวิ่ง

(๓) ป้ายห้ามเข้าจะต้องติดตั้งที่จุดเริ่มต้นของพื้นที่ที่จะเข้าไปสู่เขตหวงห้ามบนแต่ละด้านของทางขับที่มองเห็นโดยนักบิน

(๔) ป้ายตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่งจะต้องติดตั้งอยู่บนแต่ละด้านของจุดรอเข้าทางวิ่งที่หากอากาศยานหรือยานพาหนะล่วงล้ำเข้าไปแล้วอาจส่งกระทบต่อการทำงานของวิทยุเครื่องช่วยการเดินอากาศหรือล้ำพื้นที่ระนาบจำกัดสิ่งกีดขวาง โดยหันหน้าไปในทิศทางที่มองเห็นได้เมื่อจะเข้าสู่พื้นที่ระนาบจำกัดสิ่งกีดขวาง หรือพื้นที่ ILS/MLS หรือพื้นที่วิกฤตหรือพื้นที่ที่มีความอ่อนไหว ตามความเหมาะสม

ข้อ ๗๖ลักษณะของป้ายในสนามบิน ให้มีลักษณะดังต่อไปนี้

(๑) ป้ายแนะนำบังคับ จะต้องประกอบด้วย ตัวหนังสือสีขาวบนพื้นสีแดง

เนื่องจากสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยด้านอื่นๆ ซึ่งต้องการเพิ่มความชัดเจนในการมองเห็นตัวหนังสือสีขาวบนป้ายแล้ว ควรเพิ่มเส้นขอบสีดำโดยรอบตัวหนังสือนั้นๆ โดยความกว้างของเส้นขอบสีดำดังกล่าวเท่ากับ ๑๐ มิลลิเมตร สำหรับทางวิ่งที่มีรหัสตัวเลขเป็น ๑ หรือ ๒ และเท่ากับ ๒๐ มิลลิเมตร สำหรับทางวิ่งที่มีรหัสตัวเลขเป็น ๓ หรือ ๔

(๒) ตัวหนังสือบนป้ายหมายเลขทางวิ่ง จะต้องประกอบด้วยตัวเลขหัวทางวิ่งทั้งสองข้างของทางวิ่งที่ถูกเชื่อม เมื่อเทียบกับตำแหน่งที่มองป้าย ยกเว้นกรณีป้ายหมายเลขทางวิ่ง ติดตั้งอยู่บนทางเชื่อมปลายสุดของทางวิ่ง อาจจะแสดงตัวเลขของทางวิ่งนั้นเพียงอันเดียว

(๓) ตัวหนังสือบนป้ายตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่งประเภทที่หนึ่ง ประเภทที่สอง หรือประเภทที่สาม หรือประเภทที่สอง/สาม จะต้องประกอบด้วย หมายเลขหัวทางวิ่งและตามด้วยตัวหนังสือ CAT I, CAT II, CAT III หรือ CAT II/III ตามความเหมาะสม

(๔) ตัวหนังสือบนป้ายตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าทางวิ่ง ณ จุดรอก่อนเข้าทางวิ่งที่หาก

อากาศยานหรือยานพาหนะล่วงล้ำเข้าไปแล้วอาจส่งกระทบต่อการทำงานของวิทยุเครื่องช่วยการเดินอากาศหรือล้ำพื้นที่ระนาบจำกัดสิ่งกีดขวาง จะต้องประกอบด้วย ตัวหนังสือชื่อทางขับและตัวเลข

ข้อ ๗๗สนามบินจะต้องใช้ตัวหนังสือหรือสัญลักษณ์ในกรณีต่างๆ ตามความเหมาะสม ดังนี้

ลักษณะตัวหนังสือหรือสัญลักษณ์ ใช้สำหรับ
หมายเลขหัวทางวิ่งที่แสดงปลายหัวทางวิ่งด้านเดียว แสดงตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าสู่ทางวิ่ง   ณ บริเวณปลายสุดทางวิ่ง
หมายเลขหัวทางวิ่งที่แสดงปลายหัวทางวิ่งทั้งสองด้าน แสดงตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าสู่ทางวิ่ง   ณ จุดตัดกันของทางขับและทางวิ่ง หรือ ณ จุดตัดกันของทางวิ่งกับทางวิ่ง
25 CAT I (ตัวอย่าง) แสดงตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าสู่ทางวิ่งประเภทที่หนึ่ง   ณ บริเวณหัวทางวิ่ง (threshold)   25
25 CAT II(ตัวอย่าง) แสดงตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าสู่ทางวิ่งประเภทที่สอง   ณ บริเวณหัวทางวิ่ง 25
25 CAT III(ตัวอย่าง) แสดงตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าสู่ประเภทที่สามณ บริเวณหัวทางวิ่ง 25
25 CAT   II/III(ตัวอย่าง) แสดงตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าสู่ทางวิ่งแบบรวม   ประเภทที่สอง/สาม ณ บริเวณหัวทางวิ่ง 25
NO ENTRY แสดงว่าห้ามเข้าพื้นที่หวงห้าม
B2(ตัวอย่าง) แสดงตำแหน่งหยุดคอยก่อนเข้าสู่ทางวิ่งที่หากอากาศยานหรือยานพาหนะล่วงล้ำเข้าไปแล้วอาจส่งกระทบต่อการทำงานของวิทยุเครื่องช่วยการเดินอากาศหรือล้ำพื้นที่ระนาบจำกัดสิ่งกีดขวาง

ข้อ ๗๘สนามบินจะต้องจัดให้มีป้ายเพื่อการใช้งานในลักษณะ ดังต่อไปนี้

(๑) ป้ายแสดงข้อมูลจะต้องจัดให้มีในบริเวณที่ที่การปฏิบัติงานต้องการการแยกแยะข้อมูล ซึ่งแสดง โดยป้าย โดยตำแหน่งเฉพาะ หรือ โดยข้อมูลเส้นทางเกี่ยวกับทิศทางหรือจุดหมายปลายทาง

(๒) ป้ายแสดงข้อมูลจะต้องประกอบด้วย ป้ายแสดงทิศทาง (Direction sign) ป้ายแสดงตำแหน่ง (Location sign) ป้ายแสดงจุดหมายปลายทาง (Destination sign) ป้ายแสดงทางขับออกจากทางวิ่ง (Runway exit sign) ป้ายแสดงตำแหน่งรอก่อนถึงทางวิ่ง (Runway vacated sign) และป้ายแสดงระยะทางการวิ่งขึ้นจากจุดตัดทางวิ่ง (intersection take-off signs)

(๓) ป้ายแสดงทางขับออกจากทางวิ่ง จะต้องจัดให้มีในบริเวณที่เมื่อมีการปฏิบัติงานต้องการการแสดงตำแหน่งออกจากทางวิ่ง

(๔) ป้ายแสดงตำแหน่งรอก่อนถึงทางวิ่ง จะต้องจัดให้มีในบริเวณที่ทางขับออกไม่มีไฟกึ่งกลางทางขับ เพื่อแสดงให้นักบินรู้ตำแหน่งขอบของพื้นที่ไวต่อสัญญาณของ ILS/MLS หรือแสดงขอบของพื้นที่ inner transitional ขึ้นกับว่าตำแหน่งใดไกลจากเส้นกึ่งกลางทางวิ่งมากกว่า

(๕) ป้ายแสดงระยะทางการวิ่งขึ้นจากจุดตัดทางวิ่ง เมื่อการปฏิบัติการต้องการข้อมูลแสดงทิศทางและระยะทางที่เหลือบนทางวิ่งสำหรับวิ่งขึ้น (TORA) เมื่อนับจากจุดตัดกันไปจนถึงปลายสุดทางวิ่ง

(๖) ป้ายบอกจุดหมายปลายทาง เพื่อแสดงทิศทางไปยังปลายทางที่ต้องการเจาะจงบนสนามบิน เช่น พื้นที่ขนถ่ายสินค้า พื้นที่การบินทั่วไป

(๗) ป้ายที่รวมทั้งป้ายแสดงตำแหน่งและป้ายแสดงทิศทาง เมื่อมีความต้องการแสดงเส้นทางก่อนที่จะถึงจุดตัดกันของทางขับ

(๘) ป้ายแสดงทิศทางในที่ที่การปฏิบัติการต้องการการแยกแยะทิศทางของทางขับที่จุดตัดกันของทางขับ

ส่วนที่ ๕

เครื่องหมาย

----------------

ข้อ ๗๙อุปกรณ์เครื่องหมายใดๆ จะต้องมีลักษณะแตกหักได้ง่าย ถ้าอยู่ในบริเวณใกล้ทางวิ่งหรือทางขับจะต้องมีความสูงในระดับต่ำเพียงพอเพื่อรักษาระยะปลอดภัยของใบพัดและเครื่องยนต์ของอากาศยาน

ข้อ ๘๐สนามบินควรจัดให้มีอุปกรณ์เครื่องหมายเพื่อบ่งบอกพื้นที่ส่วนขยายของทางวิ่งที่ไม่ปูยางแอสฟัลส์หรือคอนกรีต ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวไม่มีความชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งแวดล้อมโดยรอบ

ในกรณีที่มีการติดตั้งไฟทางวิ่ง ควรจัดตั้งอุปกรณ์เครื่องหมายแสดงขอบทางวิ่ง เป็นไปตามรูปแบบของระบบไฟทางวิ่งนั้น ในกรณีที่ไม่มีการติดตั้งระบบไฟทางวิ่ง ควรมีการจัดตั้งอุปกรณ์เครื่องหมายรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือรูปกรวย แสดงขอบของทางวิ่งอย่างชัดเจน

อุปกรณ์เครื่องหมายแสดงขอบของทางวิ่งที่เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ควรมีขนาดความสูงต่ำสุด ๑ เมตร และความยาวต่ำสุด ๓ เมตร และควรจะถูกจัดวางโดยให้แนวยาวขนานกับเส้นกึ่งกลางทางวิ่ง ในกรณีอุปกรณ์เครื่องหมายที่เป็นรูปทรงกรวยควรจะมีความสูงไม่เกิน ๕๐ เซนติเมตร

ข้อ ๘๑สนามบินควรจัดให้มีอุปกรณ์เครื่องหมายแสดงขอบทางหยุดเพื่อบ่งบอกพื้นที่ส่วนขยายที่เป็นทางหยุด ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมองเห็นไม่ชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งแวดล้อมโดยรอบ

คุณสมบัติ

อุปกรณ์เครื่องหมายแสดงขอบทางหยุดจะต้องมีลักษณะแตกต่างจากอุปกรณ์เครื่องหมายแสดงขอบทางวิ่งใดๆ อย่างเพียงพอ เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนที่อาจะเกิดขึ้นจากการมองอุปกรณ์เครื่องหมายทั้งสอง

ข้อ ๘๒สนามบินควรจัดให้มีอุปกรณ์เครื่องหมายแสดงขอบทางขับ เพื่อแสดงบริเวณทางขับ สำหรับกรณีทางวิ่งที่มีรหัสตัวเลขเป็น ๑ หรือ ๒ และไม่มีไฟกึ่งกลางทางขับ หรือไฟขอบทางขับ หรืออุปกรณ์เครื่องหมายแสดงเส้นกึ่งกลางทางขับ

สนามบินควรติดตั้งอุปกรณ์เครื่องหมายแสดงขอบทางขับ ในตำแหน่งใกล้เคียงกับตำแหน่งไฟขอบทางขับมากที่สุด

อุปกรณ์เครื่องหมายแสดงขอบทางขับจะต้องเป็นสีสีน้ำเงินสะท้อนแสง

อุปกรณ์เครื่องหมายแสดงขอบทางขับที่มองเห็นโดยนักบิน ควรจะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าและมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๑๕๐ ตารางเซนติเมตร

ข้อ ๘๔สนามบินควรจะจัดให้มีอุปกรณ์เครื่องหมายแสดงเส้นกึ่งกลางทางขับบนทางขับ ในลักษณะดังต่อไปนี้

(๑) สำหรับกรณีทางวิ่งที่มีรหัสตัวเลขเป็น ๑ หรือ ๒ และไม่มีไฟกึ่งกลางทางขับหรือไฟขอบทางขับ หรืออุปกรณ์เครื่องหมายแสดงเส้นขอบทางขับ

(๒) สำหรับกรณีทางวิ่งที่มีรหัสตัวเลขเป็น ๓ หรือ ๔ และไม่มีไฟกึ่งกลางทางขับ ทั้งนี้เมื่อต้องการปรับปรุงการนำทางโดยเครื่องหมายแสดงเส้นกึ่งกลางทางขับ

(๓) จัดให้มีในตำแหน่งใกล้เคียงกับตำแหน่งไฟกึ่งกลางทางขับมากที่สุด

(๔) บนเส้นกึ่งกลางทางขับที่ทำเครื่องหมายไว้ ยกเว้นกรณีไม่สามารถติดตั้งบนเครื่องหมายเส้นกึ่งกลางทางวิ่งที่จัดทำไว้ ให้สามารถขยับไปติดตั้งทางด้านข้างได้ในระยะไม่เกิน ๓๐เซนติเมตร

สำหรับระยะห่างในการติดตั้งอุปกรณ์เครื่องหมายแสดงกึ่งกลางทางขับให้เป็นไปตามระยะห่างของไฟกึ่งกลางทางขับ

อุปกรณ์เครื่องหมายแสดงเส้นกึ่งกลางทางขับจะต้องเป็นสีเขียวสะท้อนแสง และจะต้องได้รับการออกแบบให้สามารถทนต่อการบดทับด้วยล้อเครื่องบินโดยไม่ทำให้เครื่องบินและอุปกรณ์เครื่องหมายนั้นเองเสียหาย

อุปกรณ์เครื่องหมายแสดงเส้นกึ่งกลางทางขับที่มองเห็นโดยนักบิน ควรจะเป็นสี่เลี่ยมผืนผ้าและมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๒๐ ตารางเซนติเมตร

ข้อ ๘๕ สนามบินที่มีสิ่งอำนวยความสะดวก สิ่งติดตั้งและอุปกรณ์ที่ให้บริการในสนามบินที่มีอยู่ก่อนข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับ แต่ยังไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานสิ่งอำนวยความสะดวก สิ่งติดตั้งและอุปกรณ์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้ เจ้าของหรือผู้ดำเนินงานสนามบินต้องทำการปรับปรุงแก้ไขให้เป็นไปตามข้อบังคับนี้ โดยให้จัดทำแผนการปรับปรุงแก้ไขที่เหมาะสมให้กรมการบินพลเรือนให้ความเห็นชอบภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่ข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับ

ข้อ ๘๖ให้ใช้ข้อบังคับนี้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ให้ไว้ณวันที่ พ.ศ. ..


ตารางท้ายข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน ฉบับที่ ..

ว่าด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก สิ่งติดตั้ง และอุปกรณ์ของสนามบิน


ตารางแสดงรายละเอียดของรูปแบบและสัดส่วนของตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์

ในการทำเครื่องหมายแนะนำเชิงบังคับและการทำเครื่องหมายแสดงข้อมูลในระยะกริด ๒๐ เซนติเมตร

หมายเลขบันทึก: 572690เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2014 06:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2014 05:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ร่างที่ขัดเส้น

ไม่ใช้แล้วใช่ไหมครับ

ชอบใจการทำงาน

มาเขียนบ่อยๆนะครับ

สวัสดีครับครู

ร่่างที่ขัดเส้นนั้นใช้ครับ

กำลังแก้ไขการแสดงภาพและคำสั่งขัดเส้นอยู่ครับ

ขอบคุณครับที่ให้กำลังใจ

ทำให้ผู้เขียนยินดีและมีแรงถ่ายทอดองค์ความรู้กันนิรันดรครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท