สรุปบทเรียน กลุ่ม การดูพระแท้ ทางไลน์ 16 กรกฎาคม 2557


มื่อวานยังสอนสองกลุ่มพร้อมๆกัน เริ่มเร็วตั้งแต่สองทุ่ม แต่ก็เลิกเกือบตีสอง

กลุ่ม 1 ยังเน้น เรื่อง การใช้เปลือกหอยเป็นตัวชี้วัดความตั้งใจในการศึกษา ทั้งอุปกรณ์ ความเหมาะสม คนที่ตั้งใจก็จะพร้อมเร็ว เปลือกหอยเป็นตัวทดสอบที่ดีมาก

ใครเห็น 3+2 ในเปลือกหอยแล้ว แสดงว่าสายตาใช้ได้แล้ว ต่อไปก็ดู 3+2 ในพระเนื้อผง

จึงอยากให้ทุกท่านส่งภาพ 3+2 ของแต่ละท่านมาให้ดู ผมจะได้มั่นใจว่าเราเข้าใจตรงกัน

เพราะ ผมไม่หวังว่าใครจะมีองค์พระสมเด็จ จึงเริ่มที่เปลือกหอย ขอให้ทุกท่านส่งรูปเปลือกหอยที่จะใช้ศึกษา พร้อมชี้จุด 3+2 มาด้วย

ขอชัดๆ เท่าที่ทุกท่านเข้าใจมาเลย ผมจะได้ทราบว่าเข้าใจถูกหรือเปล่า ระบบที่แต่ละท่านมีนั้นใช้เรียนได้หรือยัง

ผมต้องการวัดความเข้าใจของแต่ละคน ว่าหลัก 3+2 ในเปลือกหอยผ่านไหม

ขอให้จริงใจกับตัวเองด้วยครับ

ผมจะได้เข้าใจว่าผมสอนไม่ชัดตรงไหน

สำหรับท่านที่อยู่ กทม และปริมณทล คู่ปรับของท่านคือเซียน และสายของเซียน กทม อย่าคิดว่าฝีมือเขาเบาๆนะครับ

มาเรียนเล่นๆแบบนี้ ไม่มีทางไปสู้กับเขาได้ยังไง เตือนก็จะหาว่าขู่ให้กลัว

มีคำถามว่า การดูเปลือกหอย ถ้านำไปเทียบกับการดูสมเด็จ มีความใกล้เคียงประมาณไหนครับ

ผมตอบว่า 100 % สำหรับปูนนะครับ ไม่ใช่ไปดูเปลือกหอย

ถามยังนี้แสดงว่ายังไม่เข้าใจเจตนาผม ว่าผมให้ดูเปลือกหอยทำไม

เขาตอบมาว่า เข้าใจครับ แต่นึกว่าเปลือกหอย เมื่อเทียบกับสมเด็จ น่าจะไม่ถึง 100%

ที่ผมก็ย้ำว่า ถูกต้อง 30 % เท่านั้น พระสมเด็จกับเปลือกหอยจะเหมือนกันแค่ 30%

แต่ ปูนเปลือกหอยในเปลือกหอย จะเหมือนกับปูนเปลือกหอยในพระสมเด็จ 100%

โดยดูลักษณะการเกิดของ ปูนสุก ปูนดิบ น้ำมัน ความเหี่ยว แล้วลักษณะของรูพรุน

ปูนในพระสมเด็จ นั้นปูนสุกเกิดก่อนปูนดิบขึ้นมาทับ ตามมาด้วยน้ำมัน

รอบๆ ปูนดิบต้องมีปูนสุกส่วนที่งอกต้องมีน้ำมัน

การจับหลักนี้จำเป็นมากๆ เพราะ พระที่พอจะเหลือในตลาดล่างก็พระแท้ดูยากสุดๆเท่านั้น



ในกลุ่ม 2 ได้เข้าประเด็นเนื้อดิน ที่เพิ่งได้มาใหม่ในวันนี้ ที่ไม่มีบ้านกร่าง มีแต่นางพญา สงสัยว่า ลมกำลังจะเปลี่ยนทิศ

พิมพ์สังฆาฏิ กรุน้ำ ผิวนอกกร่อนมาก แต่ทรายมนสวย เนื้อค่อนข้างแก่น้ำว่านครับ

เนื้อดินจะถูกปกป้องด้วยน้ำว่านครับ ส่วนที่ยุ่ย น่าจะหลุดไปหมดแล้ว กลายเป็นช่องว่างแทนเนื้อยุ่ยไง เวลาดูพระต้องอาศัยจินตนาการของกระบวนการด้วยครับ

น่าจะมีหลายเหตุผล

ทั้งการประหยัดดิน ความแกร่ง ความทนทาน หรือ แม้แต่พุทธคุณของเม็ดทรายจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์

พระกรุน้ำทรายจะโผล่มากเป็นพิเศษครับ เลยมีคำถามว่าควรจะจำเม็ดทรายด้วยไหม

ผมเลยอุปมาว่า.............

คนเล่นพระบางคนเก่งมากระดับจำตำหนิพระได้ทุกพิมพ์ ที่ผมทึ่งมากๆ

ผมเลยชอบถามว่า เพื่อนแต่ละคนของเขามีขนคิ้วกันคนละกี่เส้น เผื่อเขาจะจำได้หมด

ในพระนางพญา มีข้อสังเกตว่า เศียรพระตะแคงซ้ายๆ นิดๆ เป็นพุทธศิลป์หรือเปล่า

ผมตอบว่า ไม่ทราบครับ ยังไม่ได้ศึกษาเลยครับ แต่เอียงซ้ายทุกองค์ครับ

ผมเดาว่าที่สุดแล้วเป็นศิลปะของพิษณุโลก ที่มีกลิ่นอายของลพบุรี แบบชินราชใบเสมาครับ

พระตลาดล่างก็ได้ประมาณนี้แหละ และไม่ค่อยสวย นานๆจะเจอสวยสักองค์

และมีประเด็นคำถามเชิงราคา ว่าพระแต่ละองค์ราคาเท่าไหร่ ถามยังกับไม่เคยเดินตลาด

ผมต้องยอนถามว่า ราคาที่ไหน

ผมเลย อุปมาว่า....... ลูกสาวเศรษฐี ขี้เหร่ขนาดไหน สินสอดก็ไม่ต่ำกว่าหลักล้าน ลูกขอทาน สวยขนาดไหนก็ต่อหลักพันได้ ดังนั้น เวลาถามราคาต้องบอกที่ไปที่มาครับ

หลักการส่อง ไม่ให้พระราคาแพง ก็คือ..............พระเก๊ส่องนานๆ พระแท้หยิบแล้ววางทันที หรือหยิบดูแต่ไม่ส่อง

แต่ถ้าไปตลาดที่ไม่มีใครรู้จักไม่มีปัญหาหรอก

ผมส่องนานๆ เพื่อศึกษาเทคนิคการทำพระเก๊ แต่ละจุดทำได้ยังไง

ตอนนี้ยังมีหยิบพลาดอีก ยังมีพอสมควรประมาณ 20 % ส่วนใหญ่ฝีมือที่ไม่เคยเห็น หรือพระที่ไม่เคยเห็นครับ

พระแบบเดิมๆ พลาดไม่เกิน 5 %

ผมเล่นกับสาย ไม่ค่อยมีปัญหา หมุนได้ตลอด และพระที่ผมหยิบพลาดมา ขายราคาแรงๆ ได้ทุกองค์

ขอกลับไปประเด็น กรุน้ำ

กรุน้ำแปลว่าอะไรทราบหรือยังครับ

คือพระที่ผ่านการกร่อนจากการกระทำของน้ำ ส่วนใหญ่เจดีย์พัง จมดิน และมีความชื้นสูงยาวนาน ผิวพระเลยกร่อน ถึงระดับจมน้ำจริงๆมีน้อยครับ ส่วนใหญ่แค่จมดิน ส่วนที่ยุ่ยๆของผิวจะผุพังไปเป็นส่วนใหญ่ ถ้าพระแก่ดินก็หมดสภาพเลย จะเหลือก็พระแก่น้ำว่าน

พระกลุ่มนี้มักจะไม่ค่อยเห็นคราบปูน เพราะละลายไปกับน้ำหมดแล้ว

แล้วทีนี้จุดสังเกต นอกจาก เม็ดแร่ และร่องทราย จะดู แก่น้ำว่าน น้ำว่านงอก ร่องทราย ทรายมน เนื้อยุ่ยในร่องทุกร่อง ทรายมน นูน และดูพิมพ์โดยไม่สนใจเม็ดทราย เพราะพระเก๊จะทำพิมพ์ข้ามเม็ดทรายไม่ได้ เส้นพิมพ์พระจะสะดุดเม็ดทราย

ในพระเก๊ ถ้าเห็นเม็ดทราย มักจะมีรอยกดลงไป ไม่ใช่โผล่ขึ้นมาครับ พระกรุน้ำมีการทำเก๊มากพอสมควร แต่ไม่เนียน

การดูเนื้อดินกรุน้ำ ที่เป็นพระเนื้อดินดูยากก็ประมาณนี้ครับ

ยินดีต้อนรับนักเรียนทุกท่านครับ

หมายเลขบันทึก: 572633เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2014 09:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ตุลาคม 2016 15:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เป็นวิทยาทานโดยแท้เลยนะครับอาจารย์

..

ใครได้เรียนกับอาจารย์เนี่ย!! บุญกุศลจริง ๆ ครับ

..

ขอบคุณครับอาจารย์  ชี้จุดชัดดีครับ ความรู้เพิ่มครับ ขอบคุณครับ 

ผมต้องกลับไปดูหนังสือพระนางพญาของท่านอ.เชียร ธีรศานต์ และขอคัดบางตอนในส่วนที่ผมสงสัยดังนี้ครับ.." สมัยนั้นชาวบ้านขาดความรู้ ขาดประสบการณ์ และไม่นึกว่าพระนางพญาจะมีราคาเป็นหมื่น เป็นแสน ต่างอยากเห็นองค์พระจึงเอาพระแช่น้ำ ใช้กาบมะพร้าวถูบ้าง ผ้าบ้าง แปรงสีฟันบ้าง หรือสิ่งอื่นที่หาได้ ผิวพระที่ออกจากกรุใหม่ๆอ่อนจึงหลุดละลายไปกับน้ำ พระจึงเหลือแต่แก่น  ต่อมาวงการเรียกว่า "แร่ลอย" ความจริงไม่น่าจะเรียกว่าแร่ลอย น่าจะเรียกว่า "ผิวร่อน" มากกว่า " องค์ที่ผมให้ความเห็นไปน่าจะเป็นองค์แบบนี้นะครับ..คือมีก้อนกรวด ทรายเยอะอย่างที่เห็นในรูปครับ..ขอบคุณครับ..

ความรู้ที่ดี ขอบคุณครับ

ยิ่งศึกษา ยิ่งมัน ครับอาจารย์ สุโขๆๆๆ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท