เรื่องเล่าจาก Team Building MD KKU: MD SUPER TEAM (2) การรู้จักสมาชิกทีม


สิ่งที่หัวหน้าต้องพัฒนาด่วน คือ การขึ้นให้ถึง peak performance… ทำให้ได้ภายในปีนี้

บทเรียนจาก ดร.เภสัชกร ประชาสรรค์ แสนภักดี อาจารย์สังกัดวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ต่อจากตอนที่แล้ว)


(ดร.เภสัชกร ประชาสรรค์ แสนภักดี เขียนบันทึกไว้ให้เข้าใจง่ายขึ้ีน ที่นี่ค่ะ GROUP สำหรับ TEAM )

2. การรู้จักสมาชิกทีม: หากรู้จักและเข้าใจสมาชิกทุกคนในทีมเป็นอย่างดี จะทำให้เขาทำงานให้อย่างทุ่มเท

Commitment (กระตือรือร้น อยากทำงาน มุ่งมั่น) และ Competence (ความสามารถ) เป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จของทีม การรู้จักและเข้าใจ และมีเทคนิคที่เหมาะสมกับผู้ร่วมทีมใน 2 ประเด็นดังกล่าว (ดังภาพด้านล่าง) ซึ่งก่อให้เกิดความสุขและความสำเร็จในการทำงาน สร้างผลลัพธ์ของงานที่เป็นเลิศได้

การบริหารบุคคลในทีม มีขั้นตอนสำคัญ 3 ขั้นตอน ได้แก่

1.ทำเป้าหมายให้ชัด

2.วินิจฉัยให้ได้ว่า staff ของท่านเป็นคนประเภทไหน

3.ปรับวิธีการในการเข้าให้ถึงเขา (matching)


วิธีสร้างความมุ่งมั่น คือ

1.เป้าหมายชัดเจน และพูดทุกวัน พูดบ่อยๆ (frequency)

2.อยู่กับคำนั้นให้ยาวนานขึ้น (duration) สัก 10 นาทีต่อวัน

3.สร้างอารมณ์และความรู้สึกในการทำให้ได้มาตามที่ฝัน


“รู้จักคนของท่าน” ผ่าน “แผนที่การประเมินตนเองแนวพุทธ”



ความรู้ในการจัดการที่ดี 7 ประการ

1. รู้เหตุผล : รู้เหตุผลว่าเราทำไปทำไม

2. รู้จุดหมาย : ว่าเราจะเป็นอันดับหนึ่ง

3. รู้จักตน รู้การแก้ไขปรับปรุงตน : เพื่อหา/สร้าง จุดแข็งเพื่อนำมาใช้งานในองค์กร

4. รู้จักประมาณ หรือความพอดี :เพื่อสร้างงานสู่ความสำเร็จได้ง่าย

5. รู้จักกาลเวลาที่เหมาะสม : รู้ว่าต้องทำอะไร ในช่วงเวลาใด

6. รู้จักสังคม ชุมชน : เรียนรู้คู่แข่ง และเข้าใจชุมชนที่เกี่ยวข้อง

7. รู้ความแตกต่างของคน : เพื่อนำความต่างมาต่อเติมสู่ความสำเร็จ

...

ความพร้อมที่สำคัญในการเรียนรู้เป็นผู้นำของ SUPER TEAM คือ

1. ให้ความสำคัญกับสมาชิกทีมด้วยการ เปิดใจเรียนรู้จากทีม สร้างความรู้สึกภูมิใจในตนเองของลูกทีมด้วยการให้กำลังใจในผลงาน/สิ่งที่เขานำเสนอ

2. ก่อนสั่งการต้องใคร่ครวญในงานนั้นเป็นอย่างดี แล้วปรับกระบวนการ/หาเทคนิคที่เหมาะสมกับสมาชิกทีมแต่ละคน


มากกว่าดังกล่าวข้างต้น ยังมีเรื่องต้องเรียนรู้ความแตกต่างของคนในทีมอีก ดังนี้


คนมีวิธีคิด 4 แบบ (รู้วิธีวิเคราะห์ความคิดคน)

1.Analytical : พวกที่เรียนหนังสือมาก รู้มาก ลงรายละเอียดมาก >>> ต้องมอบงานวิจัยใก้ทำ

2.Conceptual : ได้หลักการ ได้ concept แต่ไม่ได้รายละเอียดย่อย >>> เป็นนักบริหาร เป็นผู้นำ มองรอบนอกได้

3.Structural : รู้ขั้นตอน กระบวนการสู้เป้าหมาย >>> เป็นเลขาทีม

4.Social : ไม่สามารถคิดได้ด้วยตนเอง เขาจะรอฟังก่อน ชอบช่วยคน ชอบให้ ชอบฟัง

คนมีวิธีเรียนรู้ (Learning) 5 แบบ

1.เรียนรู้เมื่อเห็นภาพ (visual) เช่น กลุ่มนี้ต้องแสดง gantt chart จึงเข้าใจ

2.เรียนรู้เมื่อได้ยินเสียง ควรสั่งงานด้วยเสียง (Audio)

3.เรียนรู้เมื่อมีการเคลื่อนไหว (Kinesthetic) : เรียนรู้ด้วยการต้องลงมือทำจึงอยากทำ

4.เรียนรู้เมื่อได้อ่าน (Read)

5.เรียนรู้เมื่อได้เขียน (Write)

คนตัดสินใจ 3 ชั้น

1.Hand : ใช้ข้อมูล/ของจริงประกอบการตัดสินใจ

2.Heart : ใช้หัวใจ เข้าถึงจิตใจคนประกอบการตัดสินใจ

3.Head : ใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ

จุดแข็งของคนมี 34 ประการ (ดังภาพข้างล่าง) ซึ่งจุดแข็งสำคัญของ SUPER TEAM ได้แก่ เป็นนักริเริ่ม มีเป้าหมายชัดเจน และมีวินัยในการทำงาน 



จริตของคน มี 6 จริต (ดังภาพข้างล่าง)

 การเรียนรู้จริตของคน ทำให้ง่ายต่อการเข้าถึงเพื่อดึงศักยภาพของแต่ละคน ในแต่ละด้านมาผสมผสานสู่ความสำเร็จของงาน ดังนี้


1.ราคะจริต : ส่งไปทำงานกับคน

2.โทสะจริต : พวกชอบใช้อารมณ์ เราต้องนิ่ง สงบ ทำใจว่าเขาเป็นคนเช่นนี้เอง

3.โมหะจริต : ทำงานไม่มีเป้าหมาย ต้องลงไปทำด้วย

4.วิตกจริต : ควรให้เป็นพิธีกร เป็นผู้นำเสนอ เพราะชีวิตเขาวนเวียนอยู่กับ what ควรตั้งคำถามเกี่ยวกับ why ให้เขาได้คิด

5.ศรัทธาจริต : เราอย่าเถียง เขาพูดต้องฟัง เพราะเขาศรัทธาแล้ว ฟังแล้วค่อยหักล้าง

6.พุทธิจริต : มีเหตุมีผล เชื่อด้วยเหตุ ด้วยผล

...


โดยสรุป

จุดแข็งและความสำเร็จในการสร้างทีม Super Team ได้แก่

1. มีเป้าหมายชัดเจน 

2. ยืดหยุ่น ไม่ยึดติด

3. รู้จุดแข็งใช้จุดแข็งให้เกิดประโยชน์ อย่ามองจุดอ่อน

4. มีวินัย

5. มีการ motivation และ

6. มีความรับผิดชอบ

(ขอขอบคุณ ดร.ประชาสรรค์ แสนภักดี อาจารย์สังกัดวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยากรค่ะ)


ดร.เภสัชกร ประชาสรรค์ แสนภักดี เขียนบันทึกไว้ให้เข้าใจง่ายขึ้ีน ที่นี่ค่ะ GROUP สำหรับ TEAM  


(โปรดติดตามตอนต่อไป)

หมายเลขบันทึก: 572365เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2014 22:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กรกฎาคม 2014 12:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท