​จรรยาบรรณของนักประวัติศาสตร์ ต่อมุมที่ใช้มอง ชุดความเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น “จริง”


                              จรรยาบรรณของนักประวัติศาสตร์ ต่อมุมที่ใช้มอง ชุดความเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น “จริง”

                                                                                                                                      -โมไนย พจน์-


      

          (30 ม.ค.57 บรรยาย "จรรยาบรรรณนักประวัติศาสตร์"  กับนิสิตชั้นปี 3-4 ประมาณ 60 คน เอกประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ (มศว.)  ถือว่าร่วมแลกเปลี่ยน มุมมองกับนิสิตนักศึกษาประวัติศาสตร์รุ่นใหม่ (เพราะรุ่นเราใช้พิมพ์ดีด รุ่นใหม่ใช้ไอแพดกันหมดแล้ว แปลว่าวิธีการหาข้อมูลค้นคว้ากว้างขวางกว่าแต่เดิม) ที่จะเติบโตไปเป็นคนคุณภาพของสังคมต่อไป มีท่านดร.พรพรรณ (ด้านอิหร่านศึกษา/อิหร่าน) ดร.แคท (ด้านประวัติศาสตร์ยุโรป จากเยอรมัน) อำนวยการ ดูแลนิสิต)

-------------------

           มีโอกาสต้องไปบรรยายพิเศษในฐานะคนเคยเรียนประวัติศาสตร์

          โจทย์ของการบรรยายคือ “จรรยาบรรณของนักประวัติศาสตร์”

          ก็คิดอยู่ตั้งนานว่าจะหาอะไรไปพูดที่มันดูไม่หนัก และเบาสบาย สอดคล้องกับช่วงเวลาของสถานการณ์บ้านเมือง ที่มุมหนึ่ง ฟากฝั่งหนึ่งประสงค์จะให้มีการเลือกตั้ง จึงลากกันไปสูการเลือกตั้ง อีกฟากหนึ่งก็ปิดถนน ที่เรียกว่า ชัทดาวกรุงเทพ พยายามคัดค้าน ไปจนกระทั่งขัดขวางการเลือกตั้งจนนำไปสู่ความรุนแรงมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต และมีการเสนอข่าวในมุมของกันและกัน แต่เท่าที่ดูเป็นการกล่าวหาในฝั่งของกันและกัน ซึ่งก็ไม่รู้ว่าบทสรุปอันไหนเท็จ อันไหนจริงระหว่าง “ข้อเท็จจริง” กับความเป็นจริง ดังนั้นเมื่อมีโอกาสจะต้องไปพูดเรื่องแนวนี้แต่ในมุมของประวัติศาสตร์ จึงทำให้ต้องคิดและสนใจว่าเราจะพูดอย่างไร จึงพยายามหาข้อมูลบ้าง หามุมสำหรับไว้มองได้ บังเอิญให้ได้พบข้อความทางสื่อออนไลน์ ที่น่าจะสอดคล้องกับสถานการณ์

         เป็นนิทานที่อ่านเล่น ๆ แนวสร้างสรรค์

          จึงนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการให้คำอธิบายต่อชุดความจริง

          ประกอบการบรรยายโดยมีเรื่องว่า

          “ชายคนหนึ่งกระหืดกระหอบไปหาหลวงพ่อท่านหนึ่ง แล้วพูดว่า

           "ผมมีข่าวจะมาบอกท่าน"

          หลวงพ่อชิงพูดขึ้นก่อนว่า"เรื่องที่เธอจะเล่าผ่านตะแกรงมาสามครั้งแล้วหรือยัง?

          ชายคนนั้นไม่เข้าใจว่าหมายถึงอะไร?

          จึงถามขึ้นว่า"ตะแกรงสามอัน ตะแกรงสามอันไหนครับ"

          หลวงพ่ออธิบายว่า "ตะแกรงอันแรกคือ ความจริง ข่าวที่ท่านจะเล่าเป็นความจริงหรือเปล่า?"

          ชายคนนั้นตอบว่า "ไม่รู้เหมือนกัน ผมฟังมาจากที่เขาเล่า"

          หลวงพ่อพูดต่อว่า "ตอนนี้เธอลองใช้ตะแกรงอันที่สองไปตรวจสอบดู ข่าวที่เธอจะบอกฉัน แม้จะไม่ใช่ความจริง แต่ก็ควรจะเป็นข่าวที่มีเจตนาดี"

          ชายคนนั้นลังเลสักครู่แล้วพูดว่า "ไม่มีเจตนาดีครับ แต่เป็นเจตนาตรงข้ามกันเลย"

          หลวงพ่อพูดต่อว่า "ถ้าอย่างนั้นเราใช้ตะแกรงอันที่สาม ข่าวที่ทำให้เธอเร่งรีบอย่างนี้เป็นข่าวสำคัญหรือเปล่า?"

          ชายคนนั้นรู้สึกเขินนิดๆ แล้วตอบว่า "ไม่ได้สำคัญอะไร?"

          หลวงพ่อจึงพูดต่อว่า "เรื่องที่เธอจะเล่าให้ฉันฟัง ไม่ใช่เรื่องจริง แล้วก็ไม่ได้มีเจตนาดี แล้วก็ไม่สำคัญ งั้นก็อย่าเล่าเลย ข่าวนั้นจะได้ไม่รบกวนจิตใจทั้งของเธอและของฉัน"

         เมื่อนำไปใช้กับสถานการณ์บ้านเมือง การแบ่งเป็นฝักฝ่าย  ข้อมูล ข้อเท็จจริง เป็นเรื่องดี แต่ถ้าจะให้ดี ต้องมีกระบวนการคัดกรองอย่างถูกต้องและเหมาะสม 

          เมื่อพูดในแนวคิดทางศาสนา  ข้อเท็จจริงก็เป็นสิ่งสำคัญ แต่บทจบที่สำคัญก็คือ "ดี มีประโยชน์ ถูกต้องดีงาม คนส่วนใหญ่ชอบใจ" จึงน่าจะเป็นเรื่องของการนำเสนอ 

-----------

โครงการพัฒนาคุณธรรมนิสิต/คุณธรรมของนักประวัติศาสตร์

30 ม.ค. พฤหัส 13.00 นักศึกษา  48 คน

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

หมายเลขบันทึก: 572364เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2014 22:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กรกฎาคม 2014 04:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท