ความสำเร็จคุณครู ณ โรงเรียนการจัดการความสุข


ดร.ป๊อปขอขอบพระคุณและขอชื่นชมคุณครูมูลนิธิออทิสติกไทยที่ใช้สละเวลาจากงานประจำมาเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการในโรงเรียนการจัดการความสุข คลินิกกิจกรรมบำบัด ศูนย์กายภาพบำบัด ม.มหิดล ด้วยระยะเวลาทั้งสิ้น 10 ชม. (4 วัน - 1 วันต่อสัปดาห์) นับเป็นทีมคุณครูที่มีความเสียสละและความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเองเพื่อช่วยเหลือฝึกทักษะชีวิตเด็กออทิสติกให้มีความสุข ผมจึงขอบันทึกความคาดหวังในวันแรกและความสำเร็จในวันสุดท้ายแห่งการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้จริงในชีวิตของคุณครูออทิสติกไทย

ครูท่านที่หนึ่ง: อยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อนำไปเพิ่มเติมหรือต่อยอดสิ่งที่ทำอยู่กับเด็กออทิสติก (วันแรก)...ได้เรียนรู้การประเมิน การสังเกตพฤติกรรมเด็กหรือคนรอบข้าง ประเมินจากสายตา การฟัง ซึ่งนำไปใช้กับเด็ก ทั้งประเมินผู้สอนให้ปล่อยวาง การคิด การตัดสินใจ ไม่ตัดสินใจจากความคิดความรู้สึกของตัวเอง เรื่องอารมณ์และสภาวะเครียด จิตใต้สำนึก ลดอคติต่อเด็กกับผู้ปกครอง เพศศึกษากับการสังเกตพฤติกรรมทางเพศของเด็ก การวิเคราะห์กิจกรรมเพื่อให้เราจัดกิจกรรมได้ตรงตามเป้าหมายและลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็กออทิสติกได้ (วันสุดท้าย)

ครูท่านที่สอง: อยากได้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมและเทคนิคการช่วยเหลือเด็กพิเศษและสามารถนำไปถ่ายทอดให้แก่ผู้อยากรู้และต้องการ พร้อมทั้งช่วยเป็นแนวทางในการนำมาบูรณาการให้เหมาะกับเด็กและช่วยได้อย่างถูกต้อง...ได้เรียนรู้หลักการประเมิน เทคนิคการประเมินเพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริง หลักการตัดสินใจ จิตใต้สำนึก เพศศึกษา การเรียนรู้ภาษากายแต่ละช่วงอายุ การแก้ไขปรับพฤติกรรม การวิเคราะห์กิจกรรมและนำไปเขียนเป็นแผนในการฝึกต่อไป

ครูท่านที่สาม: อยากได้เทคนิควิธีการที่จะนำไปช่วยเหลือเด็ก...การฝึกสังเกตพฤติกรรมเด็กแล้วนำมาประเมินเพื่อให้เกิดความถูกต้อง น่าเชื่อถือ เที่ยงตรง การประเมินที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ การจัดการกับภาวะอารมณ์ทางเพศ ได้จัดกระบวนการคิดและได้เทคนิคเกี่ยวกับการจัดทำแผนกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็ก การมาเรียนกับอ.ป๊อปได้ความรู้ กระบวนการ ที่จะนำไปปฏิบัติกับเด็กออทิสติกให้เหมาะสม และนำความรู้ที่ได้นำไปถ่ายทอดให้กับครูและผู้ปกครอง ขอบคุณค่ะ

ครูท่านที่สี่: อยากสามารถประเมินพฤติกรรมเด็กได้และสามารถปรับพฤติกรรมเด็กได้บ้างไม่มากก็น้อย...การประเมินตัวเพื่อนและตัวเราเองว่ามีความหวังอะไรบ้างและได้อะไรบ้าง ทรายถึงพฤติกรรมต่างๆของตัวเรา การเรียนแบบประเมินแบบเป็นทางการโดยมีความเชื่อมั่นในตัวเองและเชื่อมั่นในสิ่งที่เราเห็น การประเมินจาการมองอดีตถึงปัจจุบันที่เราเป็นแบบอย่าง ได้ทรางถึงระบบสัมผัสจากที่เราไม่เคยทราบได้ทราบถึงลักษณะสัมผัสที่ต่างกัน ได้เรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆที่เราไม่ทราบถึงพฤติกรรที่เราควรจะไปปรับใช้ได้อย่างถูกต้อง จะนำกลับไปใช้ในการปรับลักษณะต่างๆของเด็กเพื่อจะได้เรียนรู้เด็กเพิ่มเติมและก่อนที่เราจะไปใช้กับเด็กก็ต้องนำมาใช้กับตัวเราเองก่อน

ครูท่านที่ห้า: ต้องการความรู้ไปสอนเด็กที่ได้รับมอบหมายจำนวน 4 คน และหวังว่าเรียนทุกครั้งจะสามารถให้พวกเราทำงานได้...ได้เรียนรู้การประเมินเด็กก่อนให้กิจกรรม การประเมินผู้ปกครอง การสังเกตแบบละเอียด ทำให้การปรับพฤติกรรมเด็กได้ชัดเจน ลองนำไปฝึกกับเด็กในสำนักงานในบางกิจกรรมที่เด็กทำได้ เด็กได้มีสมาธิ ทำให้เราเป็นคนช่างสังเกต มีความรู้เรื่องเพศศึกษา

ครูท่านที่หก: ได้นำความรู้ใหม่ไปใช้ในการสอนนักเรียนให้ประสบความสำเร็จในการเรียนมากขึ้น...สิ่งที่ได้เรียนจากการมาอบรมในครั้งนี้ มีประโยชน์มากสามารถนำมาปรับใช้กับการจัดการเรียนการสอนเด็กออทิสติกที่อยู่ในชั้นเรียนได้อย่างมาก รวมทั้งบางส่วนยังสามารถนำมาปรับใช้กับการดำเนินชีวิตของตัวเราเองได้ด้วย เช่น การประเมินความต้องการฝึกทักษะชีวิต การประเมินจิตใต้สำนึก เพศศึกษา การผ่อนคลายความเครียด หลักการวิเคราะห์กิจกรรม เป็นต้น ต้องขอขอบคุณเป็นอย่างมากในความรู้ที่สอน ขอบคุณครับ

ครูท่านที่เจ็ด: ได้ยินชื่อกิจกรรมบำบัดมานาน บางทีก้อได้ยินว่าเป็นวิชาชีพที่เฉพาะบุคคลทั่วไป ไม่ค่อยเข้าถึง แม้แต่ผู้มารับบริการก็คิวยาว เลยอยากเรียนรู้เพื่อนำไปปรับใช้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ...จากการมาร่วมอบรมที่เกี่ยวกับกิจกรรมบำบัดในครั้งนี้ทำให้ได้รู้และทราบว่าถึงวิธีการหลายๆอย่าง เทคนิคหลายๆเรื่องจากงานที่เราปฏิบัติอยู่ ทำให้เราสามารถนำไปปรับวิธีคิด วิธีฝึก รวมทั้งปรับเรื่องต่างๆ ในการพัฒนาศักยภาพเด็กให้มากขึ้น เช่น การวิเคราะห์การประเมิน เทคนิคการตัดสินใจ การปรับแต่งพฤติกรรม ฯลฯ ขอบคุณอ.ป๊อปที่ถ่ายทอดเทคนิคเหล่านี้ ทริปสั้นๆแต่เต็มไปด้วยเนื้อหาอันหลากหลาย พร้อมที่จะสามารถปรับใช้ให้เหมาะสมได้ ขอบคุณมากๆครับ

ครูท่านที่แปด: เสริมสร้างความรู้ให้ตนเองเพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ทั้งตัวเองและนำมาให้ความรู้แก่ผู้ปกครองอื่น ผู้ร่วมงาน และดูแลเด็ก...สิ่งที่เรียนรู้ การประเมินทางการและไม่ทางการจากกิจกรรมที่ให้ประเมินกันเอง เมื่อเด็กมาหาเรา ต้องดูพฤติกรรมและจดให้เร็วโดยคำสั้นๆและให้ได้มากที่สุด และมาสอบถามจากผู้ดูแลที่พามา แล้วนำมาประเมิน ถ้าตรงกันคือว่า เชื่อมั่นได้ และถ้าเรามีผู้ประเมิน 2 คนและตรงกันถือได้ว่า เที่ยงตรง เรื่องการมอง เมื่อพบเด็กและเรามองที่ตาแล้วดูว่า เด็กกำลังคิดถึงอะไรอยู่ แต่สิ่งที่ต้องคำนึงคือ ต้องรู้ว่าเด็กถนัดข้างใด จากการมองยังสามารถนำมาศึกษาและรู้ได้ว่า เราต้องปรับเด็กอย่างไร ลักษณะที่มอง เด็กจะมีพฤติกรรมอย่างไร หลักการฟัง-ดู-สัมผัส เรื่องพลังจิตใต้สำนึกสามารถนำมาใช้กับผู้ดูแลได้ดี ทำให้ผ่อนคลายได้ปลดปล่อย เรื่องเพศวิธีการจัดการและการสอน ซึ่งเด็กที่อยู่ในปัจจุบัน นำไปสอนผู้ปกครองได้ โดยเฉพาะเรื่องนี้คิดว่า ไปช่วยพ่อ-แม่ได้หาทางออกและการดูแลลูกที่ไม่เคยได้รับรู้มาก่อน เป็นเรื่องใหม่ที่สุด ได้รู้เป็นครั้งแรกจริงๆ แต่ในเรื่องอื่นๆ ก็ไม่รู้เหมื่อนกัน แต่เรื่องเพศเป็นเรื่องที่ทุกข์ของพ่อ-แม่ ซึ่งสามารถนำเรื่องของจิตใต้สำนึกมาช่วยผู้ดูแลได้มาก ขอบคุณมากที่ให้โอกาส หวังว่าอาจารย์ป๊อปดูแลสุขภาพด้วยนะค่ะ ขอบคุณและขอบคุณค่ะ

หมายเลขบันทึก: 571766เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2014 15:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กรกฎาคม 2014 15:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นการเสียสละของคุณครูมากเลยครับ

ขอบคุณน้องดร.Pop

มากๆครับ

ขอบพระคุณมากครับพี่ขจิต พี่โอ๋ และพี่นงนาท 

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท