ครอบครัวแบบไหน สังคมแบบนั้น


สภาพของสังคมบ้านเมือง หรือประเทศ ถ้าย่อให้เล็กลงก็เหมือนกับสภาพในครอบครัวของแต่ละคนนั่นเอง

.

ถ้าพ่อแม่เห็นลูกเป็น “คน” ที่สามารถเติบโตด้วยตนเองได้ พึ่งตนเองได้ ยอมให้ลูกๆ ได้เรียนรู้ถูกผิดดีชั่วจากประสบการณ์ของเด็ก หัดให้รู้จักรับผิดชอบในชีวิตตนเอง พ่อแม่เพียงแต่ใจเย็น มีสติ เป็นที่ปรึกษา สอนให้มีเป้าหมายในชีวิตด้วยตนเอง รู้จักสิทธิและหน้าที่ หัดให้ยอมรับข้อจำกัดขอบเขตของชีวิต และคอยระมัดระวังไม่ให้ได้รับภัยอันตรายมากไปนัก ครอบครัวแบบนี้ก็จะกลายเป็นคนที่เชื่อมั่นนิยมใน "ระบอบประชาธิปไตย หรือศรัทธาตามแนวทางพระพุทธศาสนา"

.

แต่...ถ้าพ่อแม่เห็นลูกเป็น “เทวดา” ที่ควรได้รับแต่สิ่งดีๆ ทุกอย่างในชีวิต ไม่ควรเจอสิ่งเลวร้าย หรือภัยอันตรายใดๆ ไม่อยากให้ลูกเรียนรู้จากประสบการณ์ ควรเรียนรู้ทุกอย่างจากพ่อแม่ เชื่อฟังพ่อแม่ และพ่อแม่ก็พยายามปกป้อง คอยเอาใจใส่ดูแลลูกทุกย่างก้าวที่เติบโต สภาพครอบครัวแบบนี้ก็จะนิยมใน "ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช"

.

แต่...ถ้าพ่อแม่เห็นลูกเป็น “เด็ก” เสมอ และไม่สามารถเติบโตด้วยตนเองได้ พ่อแม่จึงต้องคอยดูแล ควบคุม กำกับให้ลูกทำตามความคิดของตน หรือตามกรอบประเพณี เพื่อให้ลูกเป็นไปตามที่ตนเองหวัง หรือคิดว่าสิ่งนั้นถูกต้อง ดีจริง ถ้าลูกไม่เชื่อฟังก็จะลงโทษ ดุด่า เฆี่ยนตีเพื่อให้เกรงกลัว หรือหลาบจำ ไม่กล้าฝืนใจพ่อแม่อีก สภาพครอบครัวแบบนี้ก็จะนิยมใน "ระบอบเผด็จการ"

.

แต่...ถ้าพ่อแม่เห็นลูกเป็น “สิ่งวิเศษ” ที่จุติมาหรือสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษ “วิเศษ” พ่อแม่ก็จะส่งเสริมให้ลูกดีกว่าใคร เหนือกว่าใคร วิเศษกว่าใคร สอนให้มองเห็นว่าทุกชีวิตที่เห็นไม่ว่าคนหรือสัตว์ ล้วนเป็นไพร่ หรือเป็นสัตว์ชั้นต่ำ ที่ทำอะไรผิดไปหมด ตัวเองถูกต้อง หรือเป็นคนดีแต่เพียงผู้เดียว หรือพวกเดียว ทุกคนต้องยอมฉัน ฉันสามารถพิพากษาชีวิตใครก็ได้ และถ้าใครขวางเส้นทางชีวิต หรือทำให้ชีวิต ”ผู้วิเศษ” ไม่ราบรื่น ต้องจัดการทำลายล้างให้หมดไปจากชีวิตหรือสังคมของฉัน สภาพครอบครัวแบบนี้ก็จะกลายเป็นพวกนิยม "ระบอบอัตตาธิปไตย" หรือพวก "อภิสิทธิชนาธิปไตย"

.

เห็นสังคมไทยตอนนี้หรือยังครับว่า ใครเป็นใคร นิยมระบอบไหน และที่สร้างความวุ่นวายกันอยู่ในสังคมไทยตอนนี้ เป็นพวกนิยมระบอบอะไร เห็นชัดไหมครับ

.

แล้ว…ท่านล่ะอยากให้สังคมไทย ครอบครัวไทยเป็นแบบไหนกันครับ

หมายเลขบันทึก: 569668เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2014 13:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2014 13:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท