สรุปผลการเรียน "ศิลปะ" ของพระเครื่อง จากห้องเรียนกลุ่มทางไลน์ "การดูพระแท้"


ตั้งแต่ตั้งกลุ่ม "การดูพระแท้" มา ผมก็เปิดสอนทุกเย็น ไม่มีวันหยุด

ประมาณ 3 ถึง 4 วัน ที่ผ่านมา ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เน้นการแจกแจงศิลปะพระเครื่อง โดยใช้เวลาตั้งแต่ประมาณสองทุ่มกว่า จนถึงประมาณเที่ยงคืนกว่า บางวันก็ถึงตี 2

สรุปสาระสำคัญ ได้ความว่า .....................

มีนักเรียนเข้าเรียน สม่ำเสมอ อยู่ประมาณ 10 กว่าท่าน นอกจากนั้นประมาณ 10 ท่าน แอบตามมาอ่านคำสนทนาภายหลัง ที่เหลืออีกประมาณ 20 ท่าน ยังไม่เห็นในสารบบของการบันทึก ที่ผมจะพิจารณา ลบออกตามความจำเป็น เพื่อให้ระบบการเรียน มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีคนเอาจริงเอาจังมากขึ้น

สรุปเมื่อคืนวันที่ 30 พค 57 ที่ผ่านมา ก็ไปถึงจุดที่ว่า กลุ่มแนวหน้า สามารถจำแนกแยกแยะ ประเภทและพัฒนาการของศิลปะต่างๆ ที่เป็นศิลปะหลัก ของดินแดนสุวรรณภูมิ
อันได้แก่ ศิลปะทวารวดี ศิลปะลพบุรี ศิลปะเชียงแสน ศิลปะอู่ทอง และแถมมาด้วย ศิลปะสุโขทัย ที่สืบเนื่อง ออกลูกออกหลาน มาจากศิลปะดั้งเดิม และยังมีศิลปะพิษณุโลก ที่ผสมผสานเข้ามาภายหลัง ในยุคอยุธยาตอนกลาง และมีอิทธิพลคนทางสูง กับพระเครื่อง ในกลุ่ม กรุบ้านกร่าง และพระจากเมืองพิษณุโลกแบบต่างๆ ที่ได้รับความนิยมมาก ในวงการ

เมื่อสามารถแยกแยะศิลปะได้แล้ว ก็จะมองเห็นการผสมผสาน และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถแบ่งแยก ยุคของพระเครื่องได้อย่างชัดเจน และทุกท่านที่เข้าใจแล้ว จะสามารถ กำหนดอายุของศิลปะได้เอง ประกอบกับการดูเนื้อ และมวลสารขององค์พระ

วิธีการดูศิลปะแบบนี้ จะช่วยทำให้ สามารถมั่นใจได้ว่า พระดังกล่าว ถึงยุค และสอดคล้องกับพงศาวดาร ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ การปกครอง และ ทางการเมือง ที่สอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดี ที่อาจมีอยู่โดยทั่วไป

จึงทำให้มั่นใจได้ว่า หลักการต่างๆ สามารถสนับสนุนซี่งกันและกัน
เพราะไม่น่าจะมีหลักการใด ที่สามารถเชื่อได้อย่างสมบูรณ์ โดยไม่มีข้อสงสัยใดๆ


แต่เมื่อเรานำ หลักฐานพัฒนาการทางศิลปะ มาผสมผสานกับหลักฐานทางโบราณคดีและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ฯลฯ
ก็จะทำให้เราเชื่อได้ว่า สิ่งที่ปรากฏอยู่ต่อหน้าเรานี้น่าจะเป็นจริง ตามคำเล่าลือที่ผ่านมาทั้งหมด

นี่คือเจตนา ในการเรียนของผมเอง เพื่อความมั่นใจ ในตัวผมเอง เพื่อความมั่นใจในการที่จะบอกคนอื่นๆ และมั่นใจในการสอน และพัฒนาตัวเองต่อไปเรื่อยๆอย่างไม่มีข้อจำกัด

ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า นักเรียนทั้งหลาย จะพัฒนา พร้อมที่จะเป็นนักเรียนที่ดี และเป็นศึกษาที่ดีต่อไป

ที่จะช่วยทำให้ วงการนี้ มีความโปร่งใส ชัดเจน ปราศจากการหลอกลวง ด้วยข้อมูลวิชามารอันมืดดำ อาศัยความเชื่อนำทางเป็นหลัก หรือแม้กระทั่งการหลอกลวงกันเอง เพือผลประโยชน์ส่วนตน

นี่คือเจตนาทั้งหมด ที่ผมเข้ามาในวงการพระเครื่องครับ และยินดีต้อนรับนักเรียนทุกท่านครับ

หมายเลขบันทึก: 569456เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2014 10:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กันยายน 2016 02:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สมเด็จบางขุนพรหมครับ รบกวนอาจารย์ชี้แนะให้ความรู้หน่อยครับ 

ดูตามหลัก 3+2 เลยครับ ผ่านก็แท้แน่นอนครับ

สวัสดีครับอาจารย์ บางขุนพรหม องค์นี้ผมว่าเข้าหลัก เหี่ยว ฉ่ำ นวลนะครับ แต่ไม่เห็นคราบฟองเต้าฮู้ มีคราบตั้งอิ๋ว ปกคุมด้วยคราบแคลนเซี้ยมทั่วองค์พระ ผมเข้าใจถูกต้องใช่มั้ยครับ.

คำพูดกับความจริงอาจจะไม่เหมือนกันครับ ต้องระวัง พระสมเด็จหาไม่ง่ายอย่างที่ทานคิดเท่าไหร่นะครับ

ขอดูรูปชัดๆจะพอตอบได้ครับ

อาจารย์ครับ รบกวนสอบถามหน่อยครับ อาจารย์ใช่เครื่อง แท็บเล็ต ดูหรือเปล่าครับ ทำไมเห็นไม่ชัดครับ คือผมสงสัยว่าผมส่งภาพไปก็ชัดอยู่ แต่อาจารย์ดูไม่ค่อยชัด หรือเป็นเพราะ ไฟล์ ที่ผมส่งมันใหญ่ไป เวลาอาจารย์ขยายแล้วมันเลยดูไม่ชัด ไว้ผมลองถ่ายไปให้ดูใหม่นะครับ ขอบคุณครับ

รูปที่ไหนครับ มีแต่ตัวหนังสือ อย่ามั่นิ่มซิครับ อิอิอิอิ

หลังครับ ส่งไปก่อนนี้คงไม่ไปครับ

ใกล้เคียงครับ เสียดาย ภาพไม่ชัด ขยายและแตก ขอภาพซูมที่ไม่แตกครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท