ตามไปดู กำปงจัดการตนเองจาก กลุ่มออมทรัพย์สู่เศรฐกิจชุมชนบ้านแกแมเก้า


แกแมเก้า

นวคิดการพึงตนเอง ไม่หวังพึ่งสถาบันการเงินภายนอกชุมชน เป็นแนวคิดมีทั้ง นานแล้วที่ต้องการพึงตนเองให้ได้ ดังกรณี กลุ่มออมทรัพย์บ้านแกแมเก้า เริ่ม จากศูนย์ นับถึงปัจจุบัน 7 ปีเต็ม เป็นกองทุนการเงินที่ยืนหยัดต่อสู้ด้วยขาของตนเอง โดยปราศจากเงินทุนจากภายนอกของชุมชน ตลอดเวลาที่ผ่านมา กลุ่มไม่รู้จักคำว่า “อุปสรรค และปัญหาไม่ว่าด้านใดๆ ซึ่งถึงว่า “เป็นการจัดการตนเองที่เป็นรูปธรรมชัดเจนมาก”

(การประชุมคณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์)

นายสาอารี บินดอเลาะกล่าวว่า กลุ่มออมทรัพย์เกิดก่อน กองทุนหมู่บ้านเสียอีก เราเริ่มจัดตั้งเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 จากการประชุมจัดทำเวทีประชาคม โดยมีเป้าหมายครั้งแรกออมเงิน และขอสนับสนุนเงินจากกองทุนฟื้นฟู 50,000 บาท หลังจากสะสมสัจจะครบ 6 เดือน แต่ไม่ได้รับการสนับสนุน งานออมดำเนินการต่อจนถึงปัจจุบัน สมาชิกแรกเริ่ม 120 คน ค่าสมัครสมาชิก 10 บาท เงินสัจจะเดือนละ 30 บาท โดยมีข้อตกลงกันว่า สมาชิกแรกเริ่มห้ามถอด และห้ามลาออก และเริ่มประชุมเป็นทางการครั้งแรก 27 มกราคม 2551 โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ สร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสมาชิก พัฒนาแหล่งเงินทุน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น ปัจจุบันมีสมาชิก 270 คน


                               (ซ้าย)ป้ายบอกที่ทำการกลุ่ม      (ขวา) ที่ทำการกลุ่มออมทรัพย์แกแม

ในส่วนการบริหารจัดการ นายสาอารี บินดอเลาะ กล่าวเติมเพิ่มอีกว่า จะมีคณะกรรมการตามสัดส่วนจำนวนสมาชิกในแต่ละชุมชนและแบ่งกลุ่มสมาชิกตามสภาพชุมชนในหมู่บ้านแต่ละชุมชนเลือกตัวแทนของชุมชนมาเป็นแต่ละชุมชนจะมีกรรมการชุมชนละ 1 คน คอยทำหน้าที่รวบรวมเงินสัจจะและค่าผ่อนชำระเงินสินเชื่อแต่ละเดือน มามอบให้เหรัญญิกภายในวันที่ 28 ของทุกเดือน และคอยติดตามหนี้สินที่มีปัญหา แล้วกลุ่มจะขายสินค้าตามหลักมูฎอรอบะ(ขายสินค้าบวกกำไร)ความต้องการของสมาชิกโดยให้สมาชิกเป็นผู้เลือกและต่อรองราคาจากร้านค้าจนพอใจ แล้วกลุ่มจะไปจัดซื้อ โดยจะขายให้ในราคาที่บวกกำไร 15 % ให้สมาชิกผ่อนในระยะเวลา 12 เดือน( 12 งวด) ค่าขนส่งสมาชิกจะต้องเป็นผู้จ่าย ซึ่งสมาชิกที่ซื้อไม่ต้องจ่ายเงินดาวน์ จะเริ่มจ่ายเงินเมื่อซื้อสินค้าไปแล้ว ครบ 1 เดือนในปัจจุบัน กลุ่มฯ จะจ่ายค่าสินค้าให้ไม่เกินรายละ 6,000 บาท


(ภาพการประชุมสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ประจำปี)

และในทุกๆ ปีทางกลุ่มมีการประชุมสมาชิกเพื่อแบ่งผลกำไร จ่ายเฉลี่ยคืนแก่สมาชิก และจ่ายซากาตค้าขาย(บริจาคทานภาคบังคับ) ซึ่งปีนี้ทางกลุ่มจ่ายซากาตแก่บุคคลในหมู่บ้านเพียง 2 ประเภทเท่านั้น ก็คือ คนยากจน และมุอัฟลัม(ผู้เข้ารับศาสนาอิสลามใหม่) รวม 30 กว่าคน นายสาอารี กล่าวทิ้งท้ายทางมุกตา ปาโอ๊ะ ผู้ใหญ่บ้านแกแมเก้า กล่าวเสริมว่า ทางผู้ใหญ่สนับสนุน และส่งเสริมมาด้วยตลอด เพราะเราพยายามส่งเสริม คณะกรรมการหมู่บ้าน ปลูกผักสวนครัวก่อนเป็นตัวอย่าง และขยายไปถึงชาวบ้าน เมื่อปลูกผัดเหลือจากกินแล้ว ก็ไปขาย แล้วเอาเงินที่ขายผัดมาฝากสัจจะที่กลุ่มของเรา เพื่อทำเป็นเศรฐกิจพอเพียงตามในหลวงของเรา”

นี่คือพื้นที่รูปธรรมของการจัดการตนเองอย่างแท้จริง ที่น่าจะนำมาเป็นกรณีศึกษา และเรียนรู้ ทั้งในเรื่องแนวคิด การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ โดยไม่ร้องขอจากใคร จากแนวคิด ทีว่า” กำปงเราเป็นเรื่องของเรา เราต้องจัดการกันเอง และรับผลประโยชน์ร่วมกันเอง”

*กำปง หมายถึง หมู่บ้าน

หมายเลขบันทึก: 569358เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2014 13:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2014 13:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

...น่าชื่นชมมากๆค่ะ การบริหารจัดการเศรษฐกิจ สินทรัพย์ ตลอดจนทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น... ร่วมมือดูแลพัฒนากันเอง ด้วยระบบสหกรณ์...

สลามครับ รุสดี นานแล้วที่ไม่ได้สนทนากัน

หมู่บ้านจัดการตนเอง ดูท่าเข้มแข็ง เพราะเห็นวงคุยกัน (จังกับ)  ล้วนแต่ผู้มากประสบการณ์

นำพัทลุง จัดการตนเองมาแลกเปลี่ยนhttp://www.gotoknow.org/dashboard/home#/posts/568796

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท