ฮักบ้านเกิด(ความสุขอยู่ที่บ้านเรา) กิจกรรมดีๆ ชวนเยาวชน “คิด” เพื่อชุมชน


โครงการอยากให้ผู้ใหญ่สนับสนุนกิจกรรมเด็กและเยาวชนให้มากขึ้น ซึ่งไม่ได้คาดหวังว่าโครงการที่กลุ่มเยาวชนทำนั้น จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนในชุมชน แต่มุ่งหวังการเปลี่ยนแปลงในตัวเยาวชนมากกว่า ให้พวกเขาได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ โดยมีกิจกรรมเป็นเครื่องมือ มีกระบวนการคิดที่ไม่ใช่แค่การสร้าง แต่ต้องไปเรียนรู้สังคม เข้าใจสภาพแวดล้อม อย่างน้อยให้เด็กระดับประถมได้มีจิตสำนึก มีจิตสาธารณะเมื่อเติบโต

ฮักบ้านเกิด (ความสุขอยู่ที่บ้านเรา) สร้างพื้นที่การเรียนรู้ พัฒนาศักยภาพและเยาชนให้เพิ่มมากขึ้น มุ่งเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ การสร้างคุณค่าและจิตสำนึกรักษ์ถิ่น เกิดกลุ่มเยาวชนที่มีศักยภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งจะนำพาชุมชนและสังคมให้ตระหนักถึงสุขภาวะที่เกิดขึ้นในชุมชน ตลอดจนเกิดแนวทางหรือกลไกการเสริมสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชน เพื่อผลักดันสู่ยุทธศาสตร์ นโยบายการพัฒนาเด็กและเยาวชนต่อองค์กรปกครองส่วนถิ่นต่อไป

ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนของคนหนุ่มสาว สร้างกิจกรรมชวนน้องๆ เยาวชน จาก 9 จังหวัดภาคอีสานตอนบน ได้แก่ เลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี นครพนม สกลนคร มุกดาหารและกาฬสินธุ์ ได้รวมตัวกันระดมความคิดเห็น และลุกขึ้นมาแสดงพลังกระตุ้นให้ผู้ใหญ่จัดการปัญหาภายชุมชนของตัวเอง ตามโครงการ ฮักบ้านเกิด (ความสุขอยู่ที่บ้านเรา)ซึ่งอยู่ในชุดโครงการสุขภาวะทางปัญญาของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส.



ธนภัทร แสงหิรัญหรือตั้มผู้รับผิดชอบโครงการ เล่าว่า โครงการฮักบ้านเกิด (ความสุขอยุ่ที่บ้านเรา) เกิดขึ้นเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ใน4มิติ ได้แก่ “กาย” เปิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การแสดงออก “ใจ” เกิดความเสียสละ จิตอาสา และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ “สังคม” เกิดการยอมรับและเข้ามามีส่วนร่วมจากคนในชุมชนมากขึ้น หรือสามารถขับเคลื่อนให้สังคมเกิดการตระหนักต่อปัญหา “ปัญญา” มีมุมมอง ทัศนคติ การปรับเปลี่ยนทัศนคติ การมองปัญหาและกล้าทำในสิ่งที่ดีงาม

ทั้งนี้โครงการตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ทราบกันโดยทั่วไป ว่าสถานการณ์โครงสร้างครอบครัวและโครงการทางสังคมเปลี่ยนแปลงไป พ่อแม่ไม่มีเวลาให้ลูก หรือผู้นำชุมชนปล่อยปะละเลย ทำให้ปัญหาสังคมย่ำแย่มาช้านาน จนส่งผลกระทบกับเด็กทั้งปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิต ขาดจินตนาการ ใช้เวลาว่างไม่เป็นประโยชน์ นอกจากนี้ผู้ใหญ่ยังไม่สนใจที่จะรับฟังความคิดเห็นของเด็กเสมอมา ดังนั้นโครงการนี้จึงมีส่วนผลักดันให้เด็กได้แสดงพลังกล่าคิดกล้าแสดงออกอย่างเต็มที่

โครงการฮักบ้านเกิด (ความสุขอยู่ที่บ้านเรา) แยกเป็น12โครงการย่อย ใน 7 จังหวัด แต่ละโครงการจะเปิดโอกาสให้เด็กหรือเยาวชน รวมกลุ่มกันไม่เกิน15คน เป็นคนขับเคลื่อนโครงการ จากก็ให้คิดโครงการ ว่าจะทำอะไรในหมู่บ้านของตนเอง

ธนภัทร ชี้แจงด้วยว่า ทางโครงการอยากให้ผู้ใหญ่สนับสนุนกิจกรรมเด็กและเยาวชนให้มากขึ้น ซึ่งไม่ได้คาดหวังว่าโครงการที่กลุ่มเยาวชนทำนั้น จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนในชุมชน แต่มุ่งหวังการเปลี่ยนแปลงในตัวเยาวชนมากกว่า ให้พวกเขาได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ โดยมีกิจกรรมเป็นเครื่องมือ มีกระบวนการคิดที่ไม่ใช่แค่การสร้าง แต่ต้องไปเรียนรู้สังคม เข้าใจสภาพแวดล้อม อย่างน้อยให้เด็กระดับประถมได้มีจิตสำนึก มีจิตสาธารณะเมื่อเติบโตไปจะได้เป็นเด็กค่ายในอนาคต

“เราต้องการให้เด็กที่เข้าร่วมโครงการมีจิตอาสาที่ดีต่อสังคม ไม่ได้คาดหวังว่าสังคมหรือโครงการที่ทำนั้นๆ จะต้องเปลี่ยนแปลงทันทีทันใด ซึ่งแต่ภายหลังเริ่มโครงการ 3เดือนที่ผ่านมา พบว่าเราได้เห็นศักยภาพเด็กมากกว่านั้น ได้เห็นเชิงประเด็นมากขึ้น เด็กสนใจคิดประเด็นในการแก้ปัญหาหมู่บ้านของตัวเอง” ตั้ม กล่าว

ตัวอย่างที่น่าสนใจ มีอยู่หลายพื้นที่ อย่างเช่น ที่บ้านบุ่งคล้า อ.บึงกาฬ จ.บึงกาฬ กลุ่มเยาวชนในหมู่บ้านลุกขึ้นมาจัดการกับปัญหาการลักลอบตัดไม้พะยูง ซึ่งกำลังระบาดหนักในพื้นที่ภาคอีสาน โดยเน้นการรณรงค์มากกว่าการต่อต้าน หรือที่บ้านก่อ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร นักเรียนระดับมัธยมต้นกลุ่มหนึ่ง ร่วมกันทำเรื่องการจัดการบ่อขยะหน้าทางเข้าหมู่บ้าน และพื้นที่เดิมนั้นยังเป็นป่าช้าเก่า เท่ากับว่าการนำเอาขยะมาทิ้งตรงนั้นเป็นการไม่เคารพและให้เกียรติบรรพบุรุษของคนในชุมชนอีกด้วย ดังนั้นโครงการต่าง ๆ เหล่านี้ ผู้ใหญ่จะได้เห็นเด็กรู้จักการสร้างกระบวนความคิด กระบวนการทำงาน และวิธีการจัดการปัญหาอย่างไรจึงจะสำเร็จ

เมื่อถามถึงความยั่งยืนของโครงการ ธนภัทร บอกว่า อยากให้โครงการที่เด็กๆ คิดขึ้นนี้ ถูกนำเข้าไปยังระบบโรงเรียน แต่ก็ต้องใช้เวลาและการตกผลึกของโครงการให้ชัดเจนมากกว่านี้ หรืออย่างน้อยอาจจะเน้นไปที่อาจจะเป็นกิจกรรมให้เด็กได้ทำช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งต้องขอความร่วมมือกับทางโรงเรียน

“เราจะทำโครงการกับเด็กที่สมัครใจจริง สอนให้เด็กทำงานเป็นระบบมากขึ้น เมื่อเด็กได้สะท้อนปัญหาภายในชุมชนขึ้นมา ผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องก็ต้องรู้สึกกระตุ้น เร้าให้จัดการกับปัญหา ซึ่งหลังเสร็จสิ้นโครงการนี้แล้ว เราก็อยากให้เด็กได้ขยับเป้าปัญหาอื่น ขยายผลไปทำโครงการอื่นๆ มากขึ้น พ่อแม่ผู้ปกครองเองก็สนับสนุนให้เด็กได้มีกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ดีกว่าไปเล่นเกม หรือนอนดูทีวีอยู่บ้านไปวันๆ” ตั้ม อธิบาย

ด้านบุญฑริกา พรมภักดีหรือน้องปูเป้จากโรงเรียนภูดินแดงวิทยา ต.หนองสนม อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร บอกถึงโครงการกลุ่มเยาวชนข้าวเหนียวปั้นน้อยบ้านก่อ ซึ่งรับผิดชอบอยู่ว่า บ่อขยะหน้าทางเข้าหมู่บ้านกำลังเป็นปัญหา เพราะชาวบ้านยังไม่มีระบบการจัดเก็บและทำลายอย่างถูกต้อง แต่ละครัวเรือนก็จะนำขยะมัดใส่ถุงมาทิ้งไว้ที่ป่าริมถนนหน้าทางเข้าหมู่บ้าน เมื่อมีคนนำมาทิ้งบ่อยๆ เข้า ปริมาณขยะก็เพิ่มมากขึ้น ทำให้กลายเป็นที่ทิ้งขยะไปโดยปริยาย ทั้งๆ ที่ที่ตรงนั้นเดิมเป็นป่าช้าเก่า การนำขยะไปทิ้งบริเวณนั้นเท่ากับเป็นการไม่แสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษของคนในหมู่บ้านอีกด้วย

ทุกวันนี้ขยะจะส่งกลิ่นเหม็น บ้างก็ปลิวเข้าไปในหมู่บ้าน เปิดปัญหาหลายอย่าง คนที่สัญจรไปมาเข้ามาหมู่บ้านได้เห็นก็ดูไม่ดี

ขณะที่ พัชรินทร์ คนขำหรือน้องน้ำฝนจากโรงเรียนบ้านภูดินแดงวิทยา เพื่อนที่ช่วยทำโครงการ อธิบายเพิ่มเติมว่า การจัดการปัญหาของเราเริ่มจากเราได้เข้าไปพูดคุยกับผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งทาง ผอ.ก็อยากให้มีการย้ายบ่อขยะออกจากพื้นที่ดังกล่าวนี้ด้วย เราเริ่มต้นโครงการโดยนำน้องๆ เดินรณรงค์รอบหมู่บ้านให้ความรู้เกี่ยวกับขยะ นำเด็กมาเข้าค่าย ให้เด็กๆ สรุป ว่าจะทำอย่างไรให้ขยะออกไปจากหมู่บ้าน


หลังจากนี้ไปก็จะเชิญผู้นำชุมชมและชวนชาวบ้านมาประชุมเรื่องขยะ ว่าจะเห็นด้วยไหมในการย้ายไปที่อื่น ซึ่งหากทำสำเร็จพื้นที่บ่อขยะเดิมนั้นเราก็จะปลูกต้นไม้ หรือทำเป็นสวนดอกไม้ต้นไปต่อไป และจะขยายผลไปทำโครงการธนาคารขยะที่ได้วางไว้ต่อไปในอนาคต

บ่อขยะที่กลุ่มเยาวชนข้าวเหนียวปั้นน้อยบ้านก่อ พยายามขอร้องผู้ใหญ่ให้ย้ายออกไป

  ปูเป้ (ซ้าย) และน้ำฝน (ขวา) จากโครงการเยาวชนข้าวเหนียวปั้นน้อยบ้านก่อ
หมายเลขบันทึก: 568962เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2014 16:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2014 17:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เป็นโครงการที่ดีมากเลยครับ

รออ่านอีกครับ

่กิจกรรมดี  โครงการเยี่ยม.... เด็กๆ และเยาวชน มีความสุขนะคะ

เป็นโครงการที่ดีมากครับ  มีพลัง,,,สร้างคนให้หันกลับมาดูบ้านเกิดของตนเอง...

น้องๆ กลุ่มฮักบ้านเกิดเตรียมทำกิจกรรมดีๆ หลายเรื่อง เช่น โครงการรักต้นพะยูง ของน้องที่บึงกาฬ นอกจากนั้น้องทั้ง 12 ทีม ยังมีแผนที่จะคืนข้อมูลให้กับองค์กรปกครองส่วนท้่องถิ่น ไว้จะติดตามมานำเสนอค่ะ ขอบคุณทุกความเห็นค่ะ

ชุมชนขนาดใหญ่ เริ่มต้นด้วยกลุ่มคนกลุ่มเล็กๆ สนัสนุนให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนครับ เพราะเด็กในวันนี้ จะเติโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในวันหน้า ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท