วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

แนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) การเขียนแผนการสอนให้มีคุณภาพ และ เทคนิคการเผยแพร่ผลงานวิจัย


แนวปฏิบัติที่ดีในการเขียนแผนการสอนให้มีคุณภาพ

เทคนิควิธีการปฏิบัติที่ดีในการเขียนแผนที่มีคุณภาพ มีขั้นตอนในการเขียนแผนการสอน ๔ ขั้นตอน

๑. ขึ้นเตรียมการเขียนแผนการสอน

๑.๑ ศึกษาหลักสูตร ประมวลรายวิชา ขอบเขตเนื้อหา และวัตถุประสงค์ของหัวที่จะดำเนินการสอน

๑.๒ ศึกษาผู้เรียน เช่น จำนวน ระดับความรู้ ประสบการณ์ของผู้เรียน

๑.๔ สำรวจทรัพยากรที่จะใช้ เช่น สื่อ โสต หนังสือ/ตำรา อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการจัดการเรียนการสอน

๑.๓ ศึกษาและจัดเตรียมทรัพยากรพื้นฐาน สำรวจสิ่งแวดล้อม เช่น สภาพของห้องเรียน โต๊ะ เก้าอี้ แสงสว่าง

๑.๕ ประสานงานกับห้องสมุด รวบรวมรายชื่อหนังสือ เอกสาร ตำราที่เกี่ยวข้อง

๑.๖ วางแผนการจัดการเรียนการสอน โดยอาจารย์ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำความเข้าใจเนื้อหาวิชา กำหนดการจัดการเรียนการสอน วิพากษ์ในภาควิชาก่อน ว่าวิธีการสอนเหมาะสมหรือไม่

๒. ขั้นเขียนแผนการสอน หลักการเขียนแผนการสอนอย่างมีคุณภาพ แบบบูรณาการ ควรยึดหลัก ๕W ๒H กล่าวคือ

๒.๑ Why สอนไปทำไม แล้วกำหนดเป็นวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ๒ ประเด็นใหญ่ คือ

๒.๑.๑ วัตถุประสงค์ทั่วไป ใช้หลักการเขียน KAP ดังนี้

  • Knowledge (ความรู้) เขียนวัตถุประสงค์โดยใช้คำ ดังนี้ “อธิบาย ระบุ บอก ยกตัวอย่าง บรรยาย”
  • Attribute (คุณลักษณะอันพึงประสงค์) เขียนวัตถุประสงค์โดยดูจากหลักสูตร อัตลักษณ์บัณฑิต
  • Process (ทักษะ หรือกระบวนการคิด) เขียนวัตถุประสงค์โดยใช้คำ ดังนี้ “ให้การพยาบาล แก้ปัญหาผู้ที่ ....”

๒.๑.๒ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (Learning outcomes) เป็นการระบุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังตามรายวิชา ตาม มคอ. ๓ และมคอ. ๔ โดยไม่จำเป็นต้องทุกด้านหรือทุกข้อของแต่ละด้าน แต่ควรระบุให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระของหัวเรื่องนั้นๆ เมื่อทุกหัวข้อรวมกันแล้วจะครบถ้วน สมบูรณ์ ตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของรายวิชา โดยใช้หลักของบลูม (Bloom’s Taxonomy)

  • รู้ จำ (Remember)
  • เข้าใจ (Understand)
  • นำไปประยุกต์ใช้ (Apply)
  • วิเคราะห์ (Analyze)
  • ประเมินผล (Evaluate)
  • สร้างสรรค์ (Create)

๒.๒ What สอนอะไร เรื่องอะไร เพื่อกำหนดขอบเขตเนื้อหาสาระที่จะสอน เนื้อหาในแผนการสอนไม่ละเอียดมาก ทั้งนี้หัวข้อสาระสำคัญในแผนการสอน สามารถเขียนได้ ๓ แบบ คือ เขียนแบบเน้นความหมาย เขียนแบบเน้นความสำคัญ และเขียนแบบเป็นองค์ประกอบ

๒.๓ Who ใครสอน ระบุชื่ออาจารย์

๒.๔ Whom สอนใคร ระบุชั้นปี รุ่น จำนวนของนักศึกษา

๒.๕ When กำหนดเวลาในการสอนในแต่ละเนื้อหา สอนเมื่อไร ปีการศึกษา วัน เวลา ชั่วโมง

๒.๖ How to teach สอนอย่างไร เช่น TBL สอนด้วยวิธีบรรยายและใช้ศูนย์การเรียนรู้

๒.๖.๑ กำหนดวิธีการสอนการเขียนกิจกรรมการสอน แยกกิจกรรมครูและกิจกรรมผู้เรียนการจัดการเรียนการสอนมี ๒ ชนิด คือ สิ่งที่นักศึกษาต้องรู้ กับสิ่งที่นักศึกษาควรรู้ โดยสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้ ครูจะต้องสอนในห้องเรียน ส่วนสิ่งที่นักศึกษาควรรู้ คือนักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง อาจารย์ที่ออกแบบการจัดการเรียนการสอน ต้องแยกให้ได้ว่าเนื้อหาใดเป็นสิ่งที่ต้องรู้หรือควรรู้โดยมีขั้นตอนการเขียนวิธีการสอน ๓ ขั้นตอนดังนี้

-วิธีการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเนื้อหา

-วิธีการสอนในแต่ละเนื้อหาให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ กำหนดสื่อที่ใช้ในประกอบการสอน โดยใช้หลักการเขียนกิจกรรมการเรียนการสอนของ Kolb ดังนี้

-วิธีการสรุปเนื้อหาสาระจากการสอนทั้งหมด

ขั้นที่ ๑ ประสบการณ์เชิงรูปธรรม ใช้ความรู้สึก (Feeling)

ขั้นที่ ๒ การคิดไตร่ตรอง พยายามทำความเข้าใจกับประสบการณ์ที่ได้รับโดยการสังเกตผ่าน การดู (Watching) และการฟัง (Listening)

ขั้นที่ ๓ การสรุปเป็นนามธรรม เป็นการใช้เหตุผลและความคิดในการเข้าใจสถานการณ์ แล้วสรุปเป็นความรู้รวบยอดโดยผ่านการคิด (Thinking)

ขั้นที่ ๔ การทดลองปฏิบัติ เป็นการนำความคิดรวบยอดไปปฏิบัติจริงโดยผ่านการกระทำ (Doing)

๒.๗ How to evaluate กำหนดวิธีการวัดและประเมินผลโดยระบุกิจกรรมอาจารย์ แยกจากกิจกรรมนักศึกษา ประเมินผลอย่างไร ตาม learning outcomes เช่น TQF ประเมินด้านใดบ้าง เช่น คุณธรรม ทักษะทางปัญญา

๓. ขั้นสอน ดำเนินการสอนตามแผนที่กำหนดไว้ เช่น วิธีการสอนแบบ Team Based Learning (TBL) การบรรยาย หรือศูนย์การเรียนรู้

๔. ขั้นประเมินผลหลังสอน

-เป็นการตรวจสอบการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนตามที่ผู้สอนกำหนดไว้นั้น ผู้เรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาสาระนั้นมากน้อยเพียงใด บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยควรมีการกำหนดวิธีการประเมินผลไว้ให้ชัดเจนว่าจะใช้วิธีการใด เช่น การถามตอบ การสอบหลังเรียน การแสดงความคิดเห็น การสาธิตย้อนกลับ การทำผังความคิด เป็นต้น และรวมทั้งเกณฑ์การประเมินผลด้วย

-ต้องการประเมินผลการเรียนรู้ตาม ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ระบุในมคอ.๓ หรือมคอ.๔ เพื่อนำไปพัฒนาหรือปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนครั้งต่อไป

-เขียนผลการเรียนรู้เป็นรายวิชา ไม่เขียนเป็นรายบท

-วิธีเขียนการประเมินควรแยกเป็น ๒ ส่วน คือ วิธีการประเมิน และเกณฑ์การประเมินผล

สรุปแนวทางปฏิบัติที่ดีของการเขียนแผนการสอนให้มีคุณภาพ

๑.จำนวนของแผนการสอน ๑ ฉบับต่อการสอน ๑ ครั้ง

๒.หลักการเขียนแผนการสอนใช้หลัก ๕W๒H

๓.กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ใช้หลัก Bloom Taxonomy

๔.แผนการสอนต้องสอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในมคอ.๓ หรือมคอ.๔

๕.แผนการสอน ต้องระบุกิจกรรมของผู้สอนและผู้เรียนให้ชัดเจน รวมทั้งระบุสาระ/เนื้อหาการสอนพอสังเขป


แนวทางการพัฒนาแผนการสอนให้เป็นไปตามรูปแบบของวิทยาลัย

๑.ใช้หลัก ๕W๑ ๒Hในการเขียนแผนการสอน

๒. ใช้หลัก Bloom Taxonomy มาใช้ในการเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

. พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)เกี่ยวกับ สติปัญญา ความคิด เชาวน์ปัญญา ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งพฤติกรรมทางพุทธิพิสัย ๖ ระดับ ได้แก่

๑.๑ ความรู้ (Remembering) เป็นความสามารถในการจดจำแนกประสบการณ์ต่างๆและระลึกเรื่องราวนั้นๆออกมาได้ถูกต้องแม่นยำ

(ตัวอย่างคำที่บ่งบอก: บอกอธิบาย ให้นิยามระบุ ฯ)

๑.๒ ความเข้าใจ (understanding) เป็นความสามารถบ่งบอกใจความสำคัญของเรื่องราวโดยการ ตีความ (Interpreting) ยกตัวอย่าง (Exemplifying) จำแนกประเภท (Classifying) สรุป (Summarizing)เปรียบเทียบ (Comparing)

(ตัวอย่างคำที่บ่งบอก:แปลความหมายขยายความ จัดเรียงใหม่ยกตัวอย่างคาดการณ์ฯ)

๑.๓ การนำความรู้ไปประยุกต์ (Application) เป็นความสามารถในการนำหลักการ กฎเกณฑ์และวิธีดำเนินการต่างๆของเรื่องที่ได้รู้มา นำไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ได้(ตัวอย่างคำที่บ่งบอก: แก้ปัญหาประยุกต์คำนวณ แสดง ฯ)

๑.๔ การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นความสามารถในการแยกแยะเรื่องราวที่สมบูรณ์ให้กระจายออกเป็นส่วนย่อยๆได้อย่างชัดเจน

(ตัวอย่างคำที่บ่งบอก: จำแนกความแตกต่าง/ความสำคัญ /ความสัมพันธ์คัดเลือกแยกแยะฯ)

๑.๕ การประเมินค่า (Evaluation) เป็นความสามารถในการวินิจฉัยหรือตัดสินกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไป การประเมินเกี่ยวข้องกับการใช้เกณฑ์คือ มาตรฐานในการวัดที่กำหนดไว้ (ตัวอย่างคำที่บ่งบอก: ให้เหตุผลตัดสินวิพากษ์ฯ)

๑.๖ การสังเคราะห์ หรือ สร้างสรรค์(Create) เป็นความสามารถในการผสมผสานส่วนย่อยเข้าเป็นเรื่องราวเดียวกัน โดยปรับปรุงของเก่าให้ดีขึ้นและมีคุณภาพสูงขึ้น(ตัวอย่างคำที่บ่งบอก:ออกแบบ ค้นหาแนวทางวางแผนใหม่ฯ)

๒. ทักษะพิสัย

๓. จิตพิสัย

แผนการสอน (ร่างจากวิชาการนำเสนอในที่ประชุม)

แผนการสอนวิชา.................................................รหัสวิชา........................... (What)

๑. เรื่องที่สอน.................................................... (What)

นักศึกษาชั้นปีที่........ หลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิตกลุ่ม.....จำนวนนักศึกษา...... คน(Whom)

ปีการศึกษา ๒๕..........ภาคการศึกษาที่... ระยะเวลาเรียน... ช.ม.วันที่ ................เวลา ..................น.และ วันที่ ............ เวลา ............. น.(When)

ผู้สอน…………….. (Who)

สถานที่สอน………………….(Where)

. คำอธิบายรายวิชา……………………………….

๓. วัตถุประสงค์เฉพาะเมื่อนักศึกษาเรียนจบ นักศึกษามีความสามารถ(Why)

๓.๑ ด้านความรู้

๓.๑.๑

๓.๑.๒

๓.๒ ด้านทักษะ/กระบวนการคิด

๓.๒.๑

๓.๒.๒

๓.๓ ด้านเจตคติ/คุณลักษณะ

๓.๓.๑

๓.๓.๒

. ผลการเรียนรู้ (learning outcome)ในรายวิชาตาม มคอ.๓

  • ๔.๑คุณธรรมจริยธรรม
  • ๔.๑.๑ .

๔.๒ ความรู้

๔.๒.

๔.๓ ทักษะทางปัญญา

๔.๓.๑

๔.๔ ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

๔.๔.๑

๔.๕ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

๔.๕.๑


รายละเอียดแผนการสอน(Howto teach and How to evaluate)

วัตถุประสงค์เฉพาะ ขอบเขตเนื้อหา (โดยสังเขป แต่ไม่ใช่เขียนเฉพาะหัวข้อ) กิจกรรมการเรียนการสอน เวลา สื่อการสอน การประเมินผล
กิจกรรมผู้สอน กิจกรรมผู้เรียน วิธีการประเมินและ/เครื่องมือ ผลการประเมิน (เขียนด้วยลายมือ









ครูบรรยายโดยใช้ของจริงประกอบ ฟังครูบรรยาย ดูของจริง





ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ……………………………………………………….

เอกสารอ้างอิง

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ผู้สอน................................... ()ผู้รับผิดชอบรายวิชา.......................................()

หัวหน้าภาควิชา...................()วันที่...............


แนวปฏิบัติที่ดีเทคนิคการเผยแพร่ผลงานวิจัย

ขั้นตอนการเตรียมผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ

๑.ขั้นเตรียมก่อนการตีพิมพ์ ต้องวางแผนก่อนการตีพิมพ์ ดังนี้

๑.๑ เลือกวารสารที่จะตีพิมพ์ โดยมีหลักการเลือกดังนี้

-เลือกวารสารที่เหมาะสมกับเรื่องที่จะเขียน วิธีการเลือกโดยศึกษาจากเอกสารอ้างอิงจากบทความที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราจะเขียนว่ามีวารสารฉบับใดบ้างที่บทความนั้น ๆ อ้างอิง

-วารสารต้องอยู่ในฐานข้อมูลที่ได้รับการรับรอง ดูฐานข้อมูลวารสารต่างประเทศจากเวบไซด์ SciMago หรือ วารสารในประเทศจากเวบไซด์ TCI

-ศึกษา Impact Factor หรือดูว่าอยู่ในฐานอ้างอิงของ PubMed หรือไม่

-จัดลำดับวารสารที่จะส่งตีพิมพ์ ๓ อันดับ

๑.๒ ศึกษา Author Guidelines เพื่อศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของงานวิจัยที่จะตีพิมพ์ว่าเป็นเชิงคุณภาพหรือเชิงปริมาณ แนวทางการเขียนต้นฉบับและเงื่อนไขของวารสารนั้น ๆ เช่น รูปแบบ จำนวนตัวอักษร จำนวนรูปภาพ ตาราง รูปแบบการอ้างอิง ค่าใช้จ่ายมีหรือไม่มี เป็นต้น

๑.๓ พริ้นตัวอย่างของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารมาดูเป็นแนวทาง เลือกบทความให้ตรงกับรูปแบบที่วางแผนจะเขียน เช่น วิจัยเชิงคุณภาพ วิจัยเชิงปริมาณ Systematic Review เพื่อดูลักษณะการเขียนบทความ

๒.ขั้นเขียน

๒.๑ วาง Outline โดยคำนึงถึง Guidelines เป็นหลัก ซึ่งโครงสร้างบทความที่มีมาตรฐานและใช้ทั่วไปมีดังต่อไปนี้

-ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง

-บทนำและความเป็นมา (๑ หน้า)

-แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อ (๒ หน้า)

-ระเบียบวิธีวิจัย (๒ พิมพ์)

-ผลการวิเคราะห์ข้อมูลและการอภิปรายผล (๑๐ หน้า)

-สรุปและข้อเสนอแนะ (๑ หน้า) โครงสร้างแต่ละหน้าเอ๔ ๒-๓ ย่อหน้า ควรอ้างอิงหน้าละ ๒-๓ แห่ง เขียนด้วยภาษาสารคดี

๒.๒ ปฏิบัติตามระเบียบของวารสาร ถ้าเป็นงานเขียนจากวิทยานิพนธ์ ควรปรับเนื้อหาจากงานวิทยานิพนธ์ ให้ได้เนื้อหาชัดเจนตามวารสารที่กำหนด

๒.๓ เขียนต้นฉบับหลาย ๆ ต้นฉบับ ๑, ๒, ๓, และอื่น ๆ

๒.๔ การสรุปและข้อเสนอแนะ ควรเขียนแบบร้อยแก้ว (หรืออาจเขียนแยกเป็นรายข้อ)

๒.๕ ผู้ที่มีรายชื่อในบทความทุกคน ต้องอ่านร่างบทความนั้น ๆ ก่อนส่งตีพิมพ์

๒.๖ ปรึกษาและให้ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษและการพยาบาลตรวจสอบ หรือส่ง edit ต่างประเทศ

๓.ขั้นเตรียมตีพิมพ์

๓.๑ เตรียม Cover letter ถึงบรรณาธิการ ชี้แจงว่าเป็นวิจัยชนิดไหน IRB ที่ไหน

๓.๒ จัดแบ่งไฟล์ เช่น เนื้อหาหลัก ตาราง รูปภาพ บทคัดย่อ

๔.ขั้นส่งตีพิมพ์

๔.๑ ส่งร่างบทความไปยังบรรณาธิการ

๔.๒ Copyright จากผู้เขียนทุกคน อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ต้องเซ็นใบรับรอง

๔.๓ ลงทะเบียนเพื่อเข้าสู่ระบบการเขียนบทความทางออนไลน์สำหรับวารสารนั้น ๆ

๔.๔ ดำเนินการตามขั้นตอนของวารสาร

๔.๕ รอรับอีเมล์ ว่าบรรณาธิการได้รับบทความแล้ว

๔.๖ กระบวนการ Review มีดังนี้ บรรณาธิการตรวจสอบเนื้อหาและรูปแบบว่าเหมาะสมกับวารสารหรือไม่ ส่งบทความถึง Reviewers ให้ข้อเสนอแนะ บรรณาธิการตัดสินใจขั้นสุดท้าย

๔.๗ อาจเสียค่า Peer Review ๒,๐๐๐ บาท

๔.๘ รอการติดต่อกลับ รับใบตอบรับการตีพิมพ์ ปกติจะใช้เวลา ๖-๘ สัปดาห์ คำตอบมี ๔ แบบ

-Accept

-Minor Revision

-Major Revision

-Reject

หมายเหตุ เหตุผลที่ได้รับการปฏิเสธมีดังนี้

-ไม่ทำตาม Guidelines

-เขียนเหมือนรายงานส่งครู

-ข้อมูลไม่ถูกต้อง ผิดข้อเท็จจริง ไม่ทันสมัย

-สไตล์การเขียนอ่านแล้วงง ผิดหลักไวยกรณ์

-หัวข้อไม่เหมาะสมกับวารสารนั้น ๆ ไม่เหมาะกับวารสารนั้น ๆ ไม่เหมาะกับกลุ่มผู้อ่าน

-ประเด็นจริยธรรมการวิจัย (Ethical concerns)

๕.ขั้นดำเนินการหลังได้รับคำตอบ

๕.๑ ถ้าได้รับการตอบรับแบบมีเงื่อนไขให้แก้ไข

-พิจารณาข้อเสนอแนะของบรรณาธิการและ Reviewers

-ดำเนินการปรับแก้ตามข้อเสนอแนะ

-ทำจดหมายชี้แจงข้อแก้ไขพร้อมทำตารางเปรียบเทียบสิ่งที่เสนอแนะกับสิ่งที่เราแก้ไข

๕.๒ ถ้าได้รับการปฏิเสธ

๕.๒.๑ อ่านข้อเสนอแนะ แก้ไข

๕.๒.๒ หาวารสารใหม่โดยลดระดับวารสารลงมา

๕.๓ ถ้าได้รับการตอบรับ รอเจ้าหน้าที่ติดต่อเพื่อแก้ไขข้อสงสัยต่าง ๆ ตรวจสอบรอบสุดท้ายก่อนตีพิมพ์

ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการตีพิมพ์ผลงานวิจัย

๑.มีการวางแผนทีดี มีประเด็นการพิมพ์

๒.มีเวลาในการเขียนบทความ

๓.มีเพื่อนหรือผู้ร่วมเขียนที่ดี ช่วยอ่าน ช่วยวิจารณ์งานเขียน ให้กำลังใจ

๔.เขียนตามรูปแบบที่กำหนด ทำตาม Guidelines อย่างเคร่งครัด

๕.เขียนเรื่องที่น่าสนใจ ทันสมัย

๖.ข้อมูลต้องถูกต้อง ไม่ผิดข้อเท็จจริง ทันสมัย

๗.ตรวจสอบไวยากรณ์ให้ถูกต้อง มีแหล่งตรวจความถูกต้องภาษาอังกฤษ

๘.เลือกวารสารที่เหมาะสมกับบทความและอยู่ในฐานข้อมูล

๙.ไม่ยึดติดกับเนื้อหาที่เขียนไว้เดิมในเล่มวิทยานิพนธ์ ปรับลดให้เหมาะสม

๑๐.มีกำลังกาย กำลังใจ และกำลังทรัพย์

๑๑.แก้ไขตามข้อเสนอแนะ

๑๒.มีความมุ่งมั่น

ขั้นตอนการนำเสนองานวิจัยในเวทีระดับชาติหรือนานาชาติ (Oral or Poster Presentation)

๑.ขั้นเตรียม

๑.๑ แสวงหาเวทีในการนำเสนอ เช่น การประชุมวิชาการ

๑.๒ กำหนดวัตถุประสงค์ในการนำเสนอ

๑.๓ สมัครไปร่วมนำเสนอผลงานวิจัย และเข้าร่วมประชุมวิชาการ

-เขียนบทคัดย่อ

-ศึกษาหัวข้อ รูปแบบ ตามที่ผู้จัดประชุมกำหนด

-ส่งบทคัดย่องานวิจัย

-วางแผนขั้นตอนการนำเสนอ เช่น ความสำคัญของปัญหา กรอบแนวคิด ระเบียบวิธีการวิจัย ผลการวิจัย และสรุปผลการวิจัย

-ตรวจสอบความถูกต้อง การสะกดคำ จำนวนคำ ภาษา ส่ง edit ต่างประเทศ

-รูปแบบการนำเสนอตามที่เวทีวิจัยกำหนด

-ให้เพื่อนหรือผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบบทคัดย่อภาษาอังกฤษให้ถูกต้องตามไวยากรณ์

-เขียนต้นฉบับ ส่งต้นฉบับในเวทีนำเสนอ

-หลีกเลี่ยงภาษาพูดหรือภาษาสแลง

-การนำเสนอตาราง รูปภาพ หรือสถิติ ควรใช้ทศนิยมไม่เกิน ๒ ตำแหน่ง ขนาดตัวอักษรใหญ่ อ่านง่าย และเข้าใจง่าย อ้างอิงด้วยอักษรตัวเล็ก

-เก็บไฟล์สำรองไว้หลาย ๆ ที่ เช่น แผ่นซีดี Thump drive หรือฝากไว้ในอีเมล์ของตนเอง ๑-๒ อีเมล์

-ฝึกซ้อมการนำเสนอให้เหมาะสมกับเวลาที่กำหนด (ประมาณ ๑๐-๒๐ นาที) ซ้อมให้เพื่อนฟัง ฝึกกับชาวต่างประเทศ ซ้อมจนจำได้ทุกประโยค ซ้อมกับเครื่องจริง

-ฝึกตั้งคำถามแล้วตอบคำถามที่คาดว่าจะมีในการนำเสนอ

-เตรียมตัวในการนำเสนอ “เสื้อผ้า หน้า ผม File”

-ตรวจสอบสถานที่ที่ผู้จัดประชุมกำหนดเตรียมตัวก่อนเวลา ความพร้อมของสื่อ

-เตรียมนามบัตร

๑.๔ ตรวจสอบ กำหนดวันส่ง และค่าลงทะเบียน

๑.๕ ติดตามผลการตอบรับหรือปฏิเสธ

๒. ขั้นดำเนินการ

๒.๑ การเตรียมต้นฉบับผลงานวิจัยหรือ Proceeding

๒.๒ การเตรียมสื่อ เช่น ร่างการนำเสนอ สไลด์ หรือโปสเตอร์

๒.๓ การเตรียมนำเสนอตามวัน เวลา สถานที่

๓. ขั้นนำเสนอ

-นำเสนอตามวันเวลา

-นำเสนอช้า ๆ ชัดเจน เสียงดังทั่วถึง

-การแต่งกายที่เหมาะสม

-ท่าทางการนำเสนอ ทั้งท่ายืน และท่านั่ง สง่างาม การสบตาผู้ฟัง

-แบ่งเวลาการนำเสนอ ฟังคำถามให้จบ วิเคราะห์คำถาม ทวนคำถาม ตอบคำถาม ตรวจสอบว่าตอบตรงคำถามหรือไม่

-รับข้อเสนอแนะ ตอบคำถาม

๔. ขั้นผลลัพธ์

๔.๑ งานวิจัยได้รับการเผยแพร่

๔.๒ ได้รับใบประกาศในการนำเสนอ

๔.๓ ได้รับประสบการณ์ ได้เครือข่าย

๔.๔ ได้ประเด็นจากคำถาม

ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการนำเสนอเวทีระดับชาติหรือนานาชาติ

๑.เลือกเวทีให้ตรงกับหัวข้อ
๒.หัวข้อมีความทันสมัย อยู่ในประเด็นที่สังคมสนใจ มีการบูรณาการ
๓.นำเสนอให้ตรงกับประเด็นของการประชุมวิชาการ
๔.นำเสนอตามเวลาที่กำหนด ห้ามเกินเวลา
๕.นำเสนอการนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร
๖.รูปแบบการวิจัยต้องมีความถูกต้อง
๗.การเตรียมโปสเตอร์ มีความแตกต่าง โดดเด่น และตรงกับประเด็นที่นำเสนอ
๘.ผู้วิจัยควรเป็นผู้เตรียมสไลด์เอง และนำเสนอเอง
๙.PDCA ได้แก่ P: วางแผนดีมีชัยไปกว่าครึ่ง D: ลงมือทำอย่างตั้งใจ C: ตรวจสอบผลงาน สุขใจ A: พัฒนางานวิจัยอย่างยั่งยืน
๑๐.Poster ตรงกับรูปแบบ สาระสำคัญของการประชุม โดดเด่น ชูเนื้อเรื่องที่เรานำเสนอ
๑๑.ใช้ดวง คือ ด. เป็นคนดี ทำหน้าที่ครูที่ดี ผู้บังคับบัญชาที่ดี ลูกน้องที่ดี ว. แวดวงครอบครัว ที่ทำงาน มีความยืดหยุ่นในการทำงาน ง.เงิน

หมายเลขบันทึก: 568954เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2014 15:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2014 15:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอเชิญอาจารย์ทุกท่านร่วมแสดงความคิดเห็น แนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) การเขียนแผนการสอนให้มีคุณภาพ และ เทคนิคการเผยแพร่ผลงานวิจัย

หมายเหตุ ตารางสอนจะดูยากเนื่องจากไม่มีเส้นตารางให้ค่ะ จะพริ้นเอกสารแจกทุกท่านในที่ประชุมอาจาย์เดือนมิถุนายนอีกครั้งหนึ่งค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ทำได้ดีมากจ๊ะคุณน้อง อย่าลืมดุเรื่อง alignment  (LO)ตั้งแต่วัตถุประสงค์ test bp เนื้อหา วิธีการสอน วัดผลและlink สู่ตารางการจัดการเรียนการสอน ...คิดถึงนะ จุ๊บๆๆ

การส่งบทความวิจัยตีพิมพ์ในวารสารจะเสียค่า reviewer เป็นบางวารสารเท่านั้นน่ะค่ะ

อยากให้ลงแหล่งที่จะส่งผลงานวิจัยครับจะเป็นประโยชน์มากครับ

เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากคะ ขอบคุณคะ

รายชื่อวารสารที่อยู่ในฐาน TCI ตรวจสอบได้จากเว็บนี้ค่ะ http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/News/2555/N...

แนวปฏิบัติที่ดีในการเขียนแผนการสอนให้มีคุณภาพและแนวปฏิบัติที่ดีเทคนิคการเผยแพร่ผลงานวิจัย อ่านแล้วได้ประโยชน์มากค่ะ สามารถใช้เป็นแนวทางที่ดีในการเขียนแผนการสอนให้ถูกต้อง สอดคล้องกันทั้งวัตถุประสงค์ เนื้อหา วิธีการสอน และการประเมินผล เพื่อทำให้ได้แผนการสอนที่มีคุณภาพสำหรับใช้กับนักศึกษา สำหรับแนวทางการเผยแพร่ผลงานวิจัย ถือว่าเป็นขั้นตอนที่ดีค่ะ อ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย แต่สำหรับตัวดิฉันเอง ณ ขณะนี้ยังไม่มีผลงานวิจัยที่จะส่งเผยแพร่ แต่สามารถอ่านและเป็นแนวทางไปปรับใช้ในอนาคตค่ะ 

                                                                                       ขอบคุณค่ะ

ดีมากคะในการเขียนแผนการสอน เข้าใจง่ายและนำไปใช้ได้จริง ไม่ควรปรับ Format ในการเขียนบ่อยคะ เพราะผู้ทำล้าในการทำคะ ส่วนการเตรียม Manuscript ดีมากคะสามารถนำไปใช้เป็นรูปธรรม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท