ความชอบธรรม : ทฤษฎีทั่วไป และความชอบธรรมในรัฐไทย ตอนที่ 2


1. ประวัติศาสตร์ของความชอบธรรมทางการเมือง

     วีระ เลิศสมพรในเรื่องความชอบธรรมทางการเมืองกับความมั่นคงของรัฐและกลุ่ม และความชอบธรรมทางการเมือง. ได้กล่าวถึงประวัติศาสตร์ของความชอบธรรมไว้ดังนี้

ยุคดั้งเดิม

     ในยุคโบราณมีหลักปรัชญาทางกฎหมาย มีการให้ศัพท์ในปรัชญากฎหมายนั้น คือคำว่า legitimus แปลว่า ชอบด้วยกฎหมายหรือเป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งอาจถือว่าเป็นคำแรกๆที่กล่าวถึง ความชอบธรรม Ceciroมักใช้คำว่า legitimus imperium, potestas legitima เมื่อกล่าวถึงเรื่องอำนาจและผู้ปกครอง (magistrates)ที่ถูกสถาปนาขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยสรุป ความชอบธรรมในยุคโบราณมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมาย ว่า ถูกต้อง สอดคล้อง และเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่อย่างไร

ยุคกลาง

     แนวคิดเรื่องความชอบธรรมเปลี่ยนไปจากยุคโบราณภายหลังการล่มสลายของระบอบการปกครองโดยตรง ซึ่งพลเมืองเข้าไปเกี่ยวข้องในกระบวนการทางการเมืองโดยตรงในสมัยกรีกโบราณความชอบธรรมในยุคกลางจึงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือเชิงอำนาจเพื่อสร้างการยอมรับให้เกิดขึ้นกับคนในสังคมต่อการปกครองของผู้ปกครองในสมัยนั้นซึ่งได้แก่ผู้ปกครองอาณาจักร และองค์พระสันตะปาปา ดังนั้นความชอบธรรมจึงมีนัยยะถึง ความสมเหตุสมผลของอำนาจ (validity of power)

     ในศตวรรษที่14 มีการใช้คำว่า คววามไม่ชอบธรรม (illegitimacy)ของผู้ปกครองแบบเผด็จการ โดย Thomas Aquinas และ Bartolo di Sassoferrato ซึ่งอธิบายว่าการปกครองแบบเผด็จการมี 2 ประการ ได้แก่ 1. เป็นการปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (illegal) เพราะการปกครอบแบบนี้เป็นการละเมิด กดขี่และก่อให้เกิดความกลัวของผู้ถูกปกครองต่อผู้ปกครอง 2. เป็นการปกครองที่ไม่ชอบธรรม(illegitimacy)เพราะการปกครองแบบนี้เป็นการใช้สิทธิอำนาจหรือตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่ไปในทางที่ไม่เหมาะสมกับแนวทางที่ควรจะเป็น

     Williamof Ockham นักปรัชญาผู้มีชื่อเสียงในปรัชญานามนิยม กล่าวคือแนวคิดนี้ปฏิเสธสิ่งที่เป็นนามธรรม และเป็นสากลโดยถือว่าสิ่งต่างๆเป็นเพียงการตั้งชื่อ หรือการกำหนดของมนุษย์ความจริงหรือสัจธรรมที่ไม่มีรูปร่างนั้นไม่มีอยู่จริงได้กล่าวถึงประเด็นเรื่องความชอบธรรมในการปกครอง (governmental legitimacy) ว่าเกิดจากประชาชนให้การยอมรับ (consent)ในอำนาจแห่งการปกครองนั้นหากประชาชนไม่ยอมรับนั่นก็แสดงว่าผู้ปกครองไม่มีความชอบธรรมในการปกครอง

     ในช่วงเวลาต่อมา แนวคิดเรื่องความชอบธรรม มีการพัฒนามากขึ้นตามลำดับจะเห็นได้จากผลงานของนักปรัชญาการเมืองสมัยใหม่ในช่วงแรกที่เริ่มกล่าวถึงปัญหาว่าด้วยเรื่องความสมเหตุสมผลหรือความเหมาะสมในความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครองทั้งในกรณีภายในประเทศและกรณีระหว่างประเทศ ซึ่งได้แก่ Hugo Grotinus ที่เสนอเรื่องการปรับปรุงโครงสร้างทางกฎหมายระหว่างประเทศใหม่, Thomas Hobbes ที่เสนอเรื่องทฤษฎีว่าด้วยหน้าที่หรือพันธะทางการเมือง, Samuel vonPuferdorf ที่เขียนเรื่องกติกาการอยู่ร่วมกันของสังคมระหว่างผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครอง, John Locke ที่เสนอเรื่อง สิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ และ Jean-JacquesRousseau ที่เสนอเรื่อง เจตจำนงทั่วไป

หมายเลขบันทึก: 568906เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2014 17:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2014 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท