ศาลสิทธิมนุษยชน


          สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิที่มีติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่กำเนิด เป็นสิทธิทางกายภาพ ซึ่งไม่สามารถจำหน่าย แจก จ่าย โอน หรือบังคับให้กับผู้หนึ่งผู้ใดได้ สิทธิดังกล่าวนี้มีความเป็นสากลและเป็นนิรันดร์ ได้รับรองในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 1 กล่าวว่า มนุษย์ทั้งหลายทั้งหลายเกิดมามีอิสระเสรี เท่าเทียมกันทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิ ทุกคนได้รับการประสิทธิ์ประสาทเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันอย่างฉันพี่น้อง[1]

          หนึ่งในศาลสิทธิมนุษยชนที่น่าสนใจ ศาลหนึ่งที่มีมีความสำคัญเป็นอย่างมากและถือเป็นต้นแบบศาลสิทธิมนุษยชนแห่งอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้น นั่นคือศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป (The European Court of Human Right-ECHR) เรามาดูกันดีกว่าว่า ศาลนี้มีที่มาอย่างไร แล้วหน้าที่ของศาลนี้ต้องทำอะไรบ้าง

ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป (The European Court of Human Rights-ECHR) ตั้งอยู่ที่เมืองสตราส์บูร์ก (Strasbourg) ประเทศฝรั่งเศส ตามหลักการในอนุสัญญายุโรปว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน ปี 1950 (The European Convention on Human Rights) เพื่อดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติตามอนุสัญญาของประเทศสมาชิก ซึ่งอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า อนุสัญญาเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน (Convention for the Protection of Human Rights and Fundamental Freedoms) ซึ่งเป็นหนึ่งในอนุสัญญาที่สำคัญที่สุด ที่สภายุโรป (The Council of Europe) ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกของสภายุโรป ทั้ง 47 ประเทศได้เข้าเป็นภาคีและรับหลักการของอนุสัญญาฯ หลักสำคัญของอนุสัญญาสรุปได้ดังต่อไปนี้

1.สิทธิในการดำรงชีวิต

2.สิทธิในการที่จะได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมทั้งในทางแพ่งและอาญา

3.สิทธิที่จะได้รับการคำนึงถึงชีวิตส่วนตัวและครอบครัวของบุคคล

4.เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

5.เสรีภาพทางความคิด จิตสำนึกและศาสนา

6.สิทธิในการที่จะได้รับการเยียวยาที่ดี

7.สิทธิในการครอบครองทรัพย์สินอย่างสุขสงบ

          สิทธิในการเลือกตั้งและการรับเลือกตั้งผู้ที่จะตกจำเลยหรือเป็นโจทย์นั่น การนำคดีขึ้นสู่ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป จะสามารถทำได้โดยรัฐบาลคู่กรณีหรือบุคคลธรรมดาหรือองค์กรพัฒนาเอกชน (non-Government organization )เพื่อฟ้องร้องรัฐบาลของรัฐภาคีทั้ง 47 ประเทศหากเกิดการละเมิดในสิทธิมนุษยชนโดยรัฐ ทั้งนี้ คำพิพากษาของศาลมีผลผูกพันต่อรัฐคู่กรณีที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาล และแนวทางการพิจารณาคดียึดถือตามคำพิพากษาที่ได้พิพากษาไปแล้วเป็นหลัก (Case law)

          เมื่อรัฐใดรัฐหนึ่งตกเป็นจำเลย ระหว่างการดำเนินคดีในกระบวนการพิจารณานั้น มีหน้าที่ต้องให้ความร่วมมือกับศาลในการให้ข้อมูล ตลอดจนเอกสารต่างๆ ที่จำเป็นในการประกอบการพิจารณา และศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปสามารถที่จะลงโทษโดยให้รัฐผู้กระทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ปัจเจกชนได้ด้วย

          กรณีตัวอย่างการพิจารณาของศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป เช่น ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปมีคำตัดสินว่าการจำคุกอดีตนายกรัฐมนตรียูลิยา ทีโมเชนโกของยูเครน เป็นการละเมิดสิทธิในชีวิตและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเธอ โดยมีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง ก่อนหน้านี้นางทีโมเชนโก แกนนำเรียกร้องประชาธิปไตย ถูกตัดสินจำคุก 7 ปี ในความผิดฐานใช้อำนาจโดยมิชอบขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กรณีลงนามข้อตกลงนำเข้าก๊าซจากรัสเซีย โดยเธอเรียกร้องว่ารัฐบาลจำคุกเธอเพื่อกีดกันให้พ้นจากการเมือง และเป็นการละเมิดสิทธิ เพื่อให้เธอไม่มีสิทธิในการเลือกตั้งรัฐสภา รวมถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดี แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้มีการลดหย่อนโทษของเธอแต่ประการใด

          จะเห็นว่า ECHR นั้นมีบทบาทอย่างมากไม่ใช้เพียงแต่เป็นศาลที่คุ้มครองสิทธิในยุโรปเท่านั้นแต่ถือว่าเป็นองค์กรที่พิทักษ์สิทธิมนุษยชนทั่วโลกไม่ว่าผู้ถูกละเมิดจะมีสัญชาติในรัฐภาคีหรือไม่ นี้ถือว่าเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่า เป็นที่สบายใจสำหรับมวลมนุษยชน เพื่อป้องกันและเป็นเครื่องมือทวงสิทธ์ในความเป็นมนุษย์ของตนได้

ที่มา

http://www.l3nr.org/posts/535961

http://th.wikipedia.org

หมายเลขบันทึก: 568528เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 19:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 19:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท