HR-LLB-TU-2556-TPC-ครอบครัวข้ามชาติ


ครอบครัวข้ามชาติ

                 มนุษย์ที่ข้ามชาติ หมายถึง บุคคลที่มีการกระทำในลักษณะที่ข้ามชาติ คือมีถิ่นที่อยู่หรือเคยอยู่อาศัยในประเทศประเทศหนึ่งอยู่แล้ว แต่ได้มีการข้ามหรือเคลื่อนย้ายมายังอีกประเทศหนึ่ง ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม บุคคลเหล่านี้ได้แก่ นักท่องเที่ยว แรงงานข้ามชาติ นักลงทุนข้ามชาติ นักศึกษา และผู้หนีภัยความตาย เป็นต้น การได้รับรองสัญชาติมากกว่าหนึ่งสัญชาตินั้นทำให้เป็นมนุษย์ข้ามชาติ ส่งผลต่อสิทธิต่างๆของบุคคลนั้น และเมื่อบุคคลดังกล่าวตัดสินใจสร้างครอบครัว จึงเป็นครอบครัวข้ามชาติ กล่าวคือ ครอบครัวข้ามชาติ คือครอบครัวที่ประกอบด้วยสมาชิกในครอบครัวที่มีปัญหาเรื่องสถานะของตน เช่น สัญชาติที่ไม่ตรงกับดินแดนที่ตั้งถิ่นฐาน ได้แก่ บิดามารดา เป็นคนข้ามชาติ จากการเข้ามาในประเทศนั้นๆไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม และครอบครัวข้ามชาตินั้นใช้สิทธิก่อตั้งครอบครัว อันเป็นสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่งแล้ว ก็อาจส่งผลถึงบุตรในการได้รับรองสัญชาติจากรัฐ แม้บุตรมีสิทธิในการได้รับรองสัญชาติ ตามกฎหมายสัญชาติ ซึ่งมีการบัญญัติถึงการได้รับสัญชาติไทยโดยการเกิดไว้ว่า (๑)ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย เป็นตาม หลักสายโลหิต(๒)ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ตามหลักดินแดน โดยยกเว้นบุคคลตามมาตรา๗ทวิ วรรคหนึ่ง

                 กรณีศึกษาครอบครัวเจดีย์ทอง นางสาวแพทริเซียเป็นคนสัญชาติมาเลเซีย แต่แสดงตนว่าเป็นคนไร้รัฐต่อนายอำเภอไทย จึงทำให้เป็นบุคคลที่ไม่มีสถานะตามกฎหมายทะเบียนราษฎร เมื่อนางสาวแพทริเซียเป็นบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับหลายประเทศคือทั้ง มาเลเซียและไทย เธอจึงเป็นมนุษย์ข้ามชาติ

                 ต่อมาเธอแต่งงานกับนายอาทิตย์ คนสัญชาติไทย และมีบุตรด้วยกัน3คน ซึ่งได้รับการรับรองในสถานะสัญชาติไทย จึงอาจทำให้ครอบครัวเจดีย์ทองเป็นครอบครัวข้ามชาติ แต่นางสาวแพทริเซียกับอาทิตย์ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน จึงไม่ใช่ครอบครัวข้ามชาติตามกฎหมาย กรณีนี้หากนายอาทิตย์และนางสาวแพทริซียจดทะเบียนสมรสกัน ซึ่งสามารถทำได้ ปฏิญญาสากลว่าด้วย สิทธิมนุษยชน ข้อ16 หลักว่าชายหญิงเมื่อเจริญวัยบริบรูณ์แล้ว มีสิทธิที่จะสมรสและสร้างครอบครัว โดยไม่มีการจำกัดใดๆเนื่องจาก เชื้อชาติ สัญชาติ หรือศาสนา บุคคล ชอบที่จะมีสิทธิเท่าเทียมกันในเรื่องการสมรส ในระหว่างการสมรส และในการขาดจากการสมรส เมื่อสมรสกันแล้วจะทำให้สิทธิของสมาชิกในครอบครัวดีขึ้น

                  อย่างไรก็ตาม บุตรทั้ง3ของนางสาวแพทริเซียและนายอาทิตย์นั้นควรได้รับการรับรองสถานะสัญชาติ มาเลเซียด้วยหรือไม่นั้น พิจารณาได้ว่า นางสาวแพทริเซียและนายอาทิตย์ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ดังนั้นบุตรทั้ง3จึงเป็นบุตรของนางสาวแพทริเซียผู้เป็นมารดา ซึ่งควรได้สัญชาติมาเลเซียตามหลักสายโลหิตจากแม่ คือ ถ้านางสาวแพทริเซียแจ้งเกิดเด็กทั้ง3ในทะเบียนราษฎรของรัฐมาเลเซีย พวกเขาก็สามารถถือ2สัญชาติได้คือสัญชาติไทยและมาเลเซีย ซึ่งบุคคลใดๆสามารถถือสัญชาติมากกว่า1สัญชาติได้

                    ดังนั้นจะเห็นได้ว่าปัญหาดังกล่าวเกิดจากความไม่รู้กฎหมายของเจ้าของปัญหา กล่าวคือ ครอบครัวข้ามชาติที่แก้ไขปัญหาไม่ถูกวิธีจนทำให้เกิดปัญหาการละเมิดสิทธิของนางสาวแพทริเซียและบุตรทั้ง3

หมายเลขบันทึก: 568354เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 21:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 21:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท