ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย


ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย

"มาตรา4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง"[1] มาตราดังกล่าวเป็นมาตราเกี่ยวกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ซึ่งปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2550 มาตราดังกล่าวใช้กับมนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะมีสัญชาติใดก็ตามในประเทศไทย ถ้าไม่ได้มีสัญชาติไทยแต่อยู่ในประเทศไทยก็เท่ากับว่าหรือถือว่าเป็นคนเข้าเมือง

ตามกฎหมายของประเทศไทย คนเข้าเมืองมี3ประเภท ได้แก่ ประเภทแรกคือคนที่เข้าเมืองไทยมาโดยข้อเท็จจริง ประเภทที่สองคือคนที่อ้างว่ามีสัญชาติไทยแต่ยังไม่ผ่านการพิสูจน์ และประเภทสุดท้าย คือ คนที่เกิดในประเทศไทยแต่ถูกถือเป็นคนเข้าเมือง และหากคนเข้าเมืองคนนั้นเข้ามาในประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตย่อมเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย

คนเข้าเมืองอาจจะมิได้มีสิทธิเทียบเท่ากับคนชาติ แต่คนเข้าเมืองต้องได้รับการรับรองสิทธิขั้นพื้นฐานของเขา เพราะสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานนั้นเป็นสิทธิที่มิอาจลิดรอนได้

กรณีตัวอย่าง น้องนิวัฒน์ จันทร์คำ หรือน้องนิก อายุ19ปี เนื่องจากน้องนิกยังไม่ได้รับการรับรองสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรของประเทศใดเลยน้องเด็กจึงเป็นคนไรรัฐโดยสิ้นเชิง ในเมื่อน้องนิกเป็นคนไร้รัฐแน่นอนว่าน้องนิกย่อมไม่มีสัญชาติไทย ดังนั้นนอกนิกจะถูกจำกัดสิทธิบางประการ เช่น สิทธิในการประกอบอาชีพ เนื่องจากมีบางอาชีพที่สงวนไว้เพื่อคนสัญชาติไทยเท่านั้น เพื่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน

อย่างไรก็ตาม น้องนิกต้องได้รับการรับรองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ไม่สามารถถูกจำกัดได้ เช่น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ6ทุกคนมีสิทธิท่ีจะได้รับการยอมรับทุกแห่งหนว่าเป็นบุคคลตามกฎหมาย[2] หรือข้อ16แห่งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ16บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการยอมรับว่าเป็นบุคคลตามกฎหมายในทุกแห่งหน กล่าวคือ น้องนิกควรได้รับการรับรองสถานะบุคคล และข้อ13(1)ทุกคนมีสิทธิในการศึกษา การศึกษาจะต้องให้เปล่าอย่างน้อยในขั้นประถมศึกษาและขั้นพื้นฐาน การศึกษาระดับประถมจะต้องเป็นภาคบังคับ การศึกษาด้านวิชาการและวิชาชีพ จะต้องเปิดเป็นการทั่วไป และการศึกษาระดับสูงข้ึนไปจะต้องเข้าถึงได้อย่างเสมอภาคสําหรับทุกคนบนพื้นฐานของคุณสมบัติความเหมาะสม[3] กล่าวคือ น้องนิกได้มีสิทธิเข้าถึงการศึกษาระดับสูงเทียบเท่ากับคนทั่วไปแม้ว่าจะเป็นคนไร้รัฐก็ตาม

นอกจากนั้นน้องนิกยังสิทธิในการรักษาพยาบาลซึ่งปัจจุบันก็ยังคงเข้าไม่ถึงสิทธิดังกล่าว ซึ่งบัญญัติไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ25(1)ทุกคนมีสิทธิในมาตรฐานการครองชีพ อันเพียงพอสําหรับสุขภาพและความอยู่ดีของตนและของครอบครัว รวมท้ังอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และการดูแลรักษาทางการแพทย์ และบริการสังคมท่ีจําเป็น และมีสิทธิในหลักประกันยามว่างงาน เจ็บป่วย พิการ หม้าย วัยชรา หรือปราศจากการดํารงชีพอื่นในสภาวะแวดล้อมนอกเหนือการควบคุมของตน[4]

จากที่กล่าวมาคือสิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีและควรได้รับการรับรองจากรัฐ หากบุคคลใดยังไม่สามารถเข้าถึงสิทธิดังกล่าวได้เช่นเดียวกับน้องนิก เท่ากับว่าบุคคลนั้นกำลังถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนและควรได้รับการช่วยเหลือโดยด่วนเพื่อให้ได้รับโอกาสในการมีชีวิตที่ดีต่อไป

[1]รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2550. แหล่งที่มา: http://bcp.nbtc.go.th/sites/default/files/act3%20ร....pdf ... 14 พฤษภาคม 2557

[2]ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน. แหล่งที่มา:http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/book.pdf ... 14 พฤษภาคม 2557

[3]กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง. แหล่งที่มา: http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/ic... ... 14 พฤษภาคม 2557

[4]กล่าวแล้วในเชิงอรรถที่2

หมายเลขบันทึก: 567975เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2014 23:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2014 11:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท