ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย


          จากกรณีศึกษาของน้องนิก หรือนายนิวัฒน์ จันทร์คำ อายุราว 19ปี ปัจจุบันพักอาศัยอยู่ที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งยังไม่ได้รับการรับรองสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรของรัฐใดเลย น้องนิกจึงเป็นคนไร้รัฐโดยสิ้นเชิง น้องนิกเข้ามาในประเทศไทยเมื่ออายุประมาณ 3-4 ขวบ มารดาของน้องนิกเป็นคนไทยลื้อไร้รัฐไร้สัญชาติ ในเวลาที่เดินทางเข้าประเทศไทย บิดามารดาและน้องนิกไม่มีหนังสือเดินทางหรือได้รับการตรวจลงตราใดๆทั้งสิ้น จึงเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย แต่ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองไม่สามารถดำเนินคดีกับน้องนิกได้ เนื่องจากน้องนิกยังไม่มีเจตนาในการเข้าเมืองผิดกฎหมาย เนื่องจากอายุเพียง3-4 ปีเท่านั้น ได้แต่เพียงติดสอยห้อยตามพ่อแม่เท่านั้น ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสิทธิที่น้องนิกจะได้รับจากรัฐไทย โดยเฉพาะสิทธิในการศึกษา เนื่องจากน้องนิกต้องการที่จะศึกษาต่อในประเทศไทย

          เมื่อศึกษาเพิ่มเติมกรณีคนไร้รัฐและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะมีชื่อและสัญชาติใดสัญชาติหนึ่ง การจดทะเบียนเกิดช่วยให้เด็กได้รับสิทธิทางการศึกษา การรักษาพยาบาล การบริการทางกฎหมาย

  • เด็กที่ไม่ได้รับการจดทะเบียนเกิด มักเป็นเด็กที่เกิดจากพ่อแม่ที่มีฐานะยากจน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกล หรือกลุ่มแรงงานข้ามชาติ เด็กเหล่านี้อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ เพื่อนำไปใช้แรงงานหรือขายบริการทางเพศ เพราะเด็กเหล่านี้ไม่มีเอกสารยืนยันตัวตนและอายุ เมื่อเด็กเหล่านี้โตขึ้น พวกเขาจะไม่มีหลักฐานในการทำบัตรประจำตัวประชาชน ใบขับขี่ ทะเบียนสมรส หนังสือเดินทาง ไม่สามารถลงคะแนนเสียงเลือกตั้งได้ และไม่สามารถเป็นเจ้าของสินทรัพย์ได้ตามกฎหมาย ดังนั้น เด็กจะต้องทำงานที่มีรายได้น้อยและไม่แน่นอน ทำให้วงจรของความยากจนนี้ดำเนินต่อไป
  • สูติบัตรเป็นหลักฐานทางราชการที่ยืนยันการมีตัวตนของเด็ก เป็นหลักฐานสำคัญในการพิสูจน์ว่าเด็กมีสัญชาติใด ซึ่งอาจเป็นสัญชาติของพ่อหรือแม่ หรือสัญชาติของประเทศที่เด็กเกิด เป็นต้น
  • เด็กที่ไม่ได้แจ้งการเกิดและยังไม่ได้บรรลุนิติภาวะ เด็กถูกทอดทิ้ง เด็กเร่ร่อน ก็สามารถแจ้งการเกิดได้ เพื่อให้มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎรตามกฎหมาย ติดต่อสำนักทะเบียนในท้องที่ที่อยู่ เพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอน และหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบการยื่นคำร้อง

[1]

ขั้นตอนในการจดทะเบียนการเกิดที่ถูกต้องและสมบูรณ์
1.พ่อหรือแม่ของเด็กต้1องขอหนังสือรับรองการเกิด (ท.ร.๑/๑) จากโรงพยาบาล สถานีอนามัย หรือคลินิกที่เด็กเกิดทั้งของรัฐและเอกชน 2.นำสำเนาทะเบียนบ้านที่จะเพิ่มชื่อเด็กที่เกิด บัตรประจำตัวของผู้ที่แจ้งเกิด (พ่อหรือแม่) หนังสือรับรองการเกิด (ท.ร.๑/๑) ไปแจ้งเกิดที่อำเภอ หรือเทศบาลในพื้นที่ที่เด็กเกิด ภายใน ๑๕ วัน หากอยู่ไกลจากอำเภอหรือเทศบาล สามารถไปแจ้งเกิดต่อผู้ใหญ่บ้านหรือกำนันก่อน เพื่อไม่ให้เกินกำหนด ๑๕ วัน แล้วค่อยนำ ใบรับแจ้งการเกิด (ท.ร. ๑ ตอนหน้า) ที่ได้จากผู้ใหญ่หรือกำนัน ไปแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเทศบาล 3.เมื่อนายทะเบียนรับแจ้งการเกิดแล้วจะออกสูติบัตร ท.ร.๑ หรือ ท.ร. ๒ กรณีเด็กได้สัญชาติไทย ถ้าเด็กเป็นบุตรของบุคคลต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว จะได้รับสูติบัตร ท.ร.๓ ถ้าเป็นบุตรของแรงงานต่างด้าวขึ้นทะเบียนและมีใบอนุญาตทำงานถูกต้อง จะได้รับสูติบัตร ท.ร. ๐๓ และถ้าเป็นบุตรของบุคคลต่างด้าวที่เข้ามาอาศัยในประเทศไทยโดยไม่ได้รับอนุญาต จะได้รับสูติบัตร ท.ร. ๐๓๑

และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 26 (1)4 [2] บัญญัติว่า

“ทุกคนมีสิทธิในการศึกษา การศึกษาจะต้องให้เปล่าอย่างน้อยในขั้นประถมศึกษาและขั้นพื้นฐาน การศึกษาระดับประถมจะต้องเป็นภาคบังคับ การศึกษาด้านวิชาการและวิชาชีพจะต้องเปิดเป็นการทั่วไป และการศึกษาระดับสูงขึ้นไปจะต้องเข้าถึงได้อย่างเสมอภาคสําหรับทุกคนบนพื้นฐานของคุณสมบัติความเหมาะสม”

แม้ว่าเขาไม่มีรัฐ ไม่มีสัญชาติใดๆ เขาก็สามารถเข้าถึงสิทธิในการศึกษาได้ นอกจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นกฎฆมายระหว่างประเทศแล้ว กฎหมายภายในประเทศก็ยังรับรองสิทธิในการศึกษาด้วยเช่นกันดังที่บัญญัติไว้ใน ม.10 วรรคหนึ่ง พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 25525 [3]

“การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ”

ผู้ทรงสิทธิตามพรบ.นี้เป็นบุคคล ใครก็ตามที่เป็นมนุษย์ก็ย่อมเป็นผู้ทรงสิทธิตามพรบ.นี้ ไม่ว่าจะมีรัฐมีสัญชาติหรือไม่ก็ตาม ดังนั้น ไม่ว่าน้องนิกจะไร้รัฐไร้สัญชาติหรือไม่ ผู้อำนวยการสถานศึกษาก็ต้องจัดให้น้องนิกได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยให้ครูจัดทำเอกสารแสดงตนให้ ถ้าผู้อำนวยการสถานศึกษาไม่ยอมรับน้องนิกเข้าศึกษา ผู้อำนวยการอาจถูกดำเนินคดีอาญาในข้อหาละเว้นหรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือทุจริต ตามม.157 ประมวลกฎหมายอาญาได้

ดังนั้น ไม่ว่าคนเข้าเมืองผิดกฎหมายหรือคนต่างด้าวก็ตาม ไม่ว่าจะมีรัฐหรือไม่มีรัฐ มีสัญชาติหรือไม่ก็ตาม เขาก็ต้องได้รับสิทธิในการศึกษาตามที่กฎหมายระหว่างประเทศหรือกฎหมายภายในของประเทศนั้นบัญญัติรับรองไว้ เพื่อให้เขาเหล่านั้นที่ได้ใช้สิทธิต่างๆ ได้พัฒนาคุณภาพชีวิตของตนและครอบครัว และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมหรือบนโลกได้อย่างเท่าเทียม

อ้างอิง

[1] เอื้ออาทร ร่วมคุ้มครองเด็ก (ออนไลน์). http://www.factsforlifethai.cf.mahidol.ac.th/prote... พฤษภาคม 2557)

[2] "ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน." (ออนไลน์). http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/book.pdf
(สืบค้นวันที่13 พฤษภาคม 2557)

[3] พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2525 (ออนไลน์). http://www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538975427&Ntype=19 (สืบค้นวันที่13 พฤษภาคม 2557)

หมายเลขบันทึก: 567920เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2014 00:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2014 00:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท