สิทธิของคนต่างด้าว - กรณีการถือครองที่ดินของคนต่างด้าวในประเทศไทย


 เรื่องการถือครองที่ดินของคนต่างด้าวในประเทศไทย เป็นประเด็นที่หลายๆคนยังเข้าใจผิด ว่าคนต่างด้าวที่เข้ามาในไทยนั้น ไม่มีสิทธิโดยเด็ดขาดในการถือครองที่ดินเลย แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะยังมีกรณียกเว้น คือไม่ใช่การจำกัดสิทธิโดยเด็ดขาด ทำให้คนต่างด้าวสามารถถือครองที่ดินได้ แต่ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือ 

- ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 4 แห่งหมวด 1 บททั่วไปแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง

- ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 84 แห่งหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

รัฐต้องจัดระบบการถือครองที่ดินและการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม จัดหาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรกรรมให้เกษตรกรอย่างทั่วถึงและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรในการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร ให้ได้รับผลตอบแทนสูงสุด รวมทั้งส่งเสริมการรวมตัวของเกษตรกรเพื่อวางแผนการเกษตรและรักษาผลประโยชน์ร่วมกันของเกษตรกร

- ตามข้อ 17 แห่งปริญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948

(1)บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะเป็นเจ้าของทรัพย์สินโดยลำพังตนเองและโดยร่วมกับผู้อื่น

(2) การยึดเอาทรัพย์สินของบุคคลใดไปเสียโดยพลการจะกระทำมิได้

- ตามกฎหมายที่ดินนั้น คนต่างด้าวจะมีสิทธิในการถือครองที่ดินหรือไม่ ต้องพิจารณา ต้องพิจารณาว่ามีสนธิสัญญาระหว่างประเทศให้สิทธิคนต่างด้าวมีสิทธิเหนือที่ดินหรือไม่ แต่ทั้งนี้ นอกจากสนธิสัญญาระหว่างประเทศแล้ว ก็ยังต้องมีกฎหมายที่ดินของไทยให้สิทธิดังกล่าวด้วย 

ตามกฎหมายที่ดินของไทย คนต่างด้าวสามารถมีสิทธิเหนือที่ดินได้ ตามจำนวนดังต่อไปนี้

1. ที่อยู่อาศัย ครอบครัวละ ไม่เกิน 1 ไร่

2. ที่ใช้เพื่อการพานิชยกรรม ไม่เกิน 1 ไร่

3. ที่ใช้เพื่ออุตสาหกรรม ไม่เกิน 10 ไร่

4. ที่ใช้เพื่อเกษตรกรรม ครอบครัวละไม่เกิน 10 ไร่

5. ที่ใช้เพื่อการศาสนา ไม่เกิน 1 ไร่

6. ที่ใช้เพื่อการกุศลสาธารณะ ไม่เกิน 5 ไร่

7. ที่ใช้เพื่อการสุสาน ตระกูลละ ไม่เกิน 1/2 ไร่

และตามกฎหมายอื่นๆอีก ซึ่งจะขอยกตัวอย่างเพียงเท่านี้เพื่อกล่าวถึง เรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นหลัก

ดังนั้น จึงจะเห็นได้ว่า เรื่องการถือครองที่ดินของคนต่างด้าวหรือเรียกได้ว่าการถือครองทรัพย์สินของคนต่างด้าวในไทยนั้น มีเรื่องสิทธิมนุษยชนเข้ามาเกี่ยวข้องโดยตรง เห็นได้จากการได้รับการรับรองโดยกฎหมายดังกล่าวข้างต้น คือ ตามมาตรา 4 แห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งสามารถตีความได้ว่า ในเรื่องของ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้น เป็นสิ่งที่มีติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด เป็นคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ที่มีจุดประสงค์ให้มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ ไม่ขึ้นอยู่กับความแตกต่างต่างๆเช่น เพศ อายุ การศึกษา และเป็นสิ่งที่จะอยู่คู่กับมนุษย์ไปจนตาย

สิทธิ คือประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ในการที่จะกระทำ งดเว้นกระทำ รวมทั้งเรียกร้องให้บุคคลอื่นกระทำหรืองดเว้นกระทำเพื่อการใช้สิทธิของผู้ทรงสิทธิ

เสรีภาพ คือ สภาพแห่งความอิสระในการเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำของผู้ทรงเสรีภาพ

ความเสมอภาคของบุคคล คือการที่บุคคลมีสิทธิ เสรีภาพโดยเสมอกัน เพราะจะเป็นตัวที่ป้องกันไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติ

และเมื่อเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงมีความมุ่งหมายใช้บังคับในประเทศไทย และเมื่อไม่มีการระบุหรือแบ่งแยกว่าต้องใช้บังคับเฉพาะกับคนสัญชาติไทย จึงหมายความว่า บุคคลทุกคนที่อยู่ในราชอาณาจักไทย ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ย่อมได้รับความคุ้มครองโดยเท่าเทียมกัน ไม่แบ่งแยกเชื้อชาติหรือสัญชาติ ซึ่งก็หมายถึงคนต่างด้าวด้วย

นอกจากนี้การรับรองด้านสิทธิมนุษยชนของคนต่างด้าวในการถือครองที่ดินที่เห็นได้ชัดอีกทางหนึ่งก็คือ การรับรองในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948 ข้อ 17 ดังกล่าวนั่นเอง

สำหรับเหตุผลในการจำกัดสิทธิการถือครองที่ดินของคนต่างด้าว (โดยไม่เด็ดขาด) ดังกล่าว ซึ่งเมื่อเทียบกับสิทธิทางที่ดินของคนสัญชาติไทยแล้วเห็นว่ามีความแตกต่างกัน โดยข้าพเจ้าคิดว่าการจำกัดสิทธินี้ น่าจะมาจากเหตุผลในเรื่องความมั่นคงภายในประเทศ การสงวนสิทธิในที่ดินไว้ให้คนสัญชาติไทย ป้องกันการถือครองที่ดินเป็นจำนวนมาก หรือการแย่งการครอบครองที่ดินจากคนที่ไม่ใช่คนสัญชาติไทย เพราะไม่เช่นนั้น คนต่างด้าวที่มีทุนทรัพย์มาก ดังเช่น นักลงทุน อาจทำการกว้านซื้อที่ดินจากคนยากจน ชาวไร่ชาวสวน หรือคนไทยที่ต้องการขายที่ดินของตน จนสุดท้าย ที่ดินของประเทศไทยก็จะกลายเป็นของต่างชาติหมด ทำให้อนาคตภายภาคหน้า ที่ดินทั้งหมดหรือส่วนใหญ่ของไทยเราก็จะกลายเป็นของต่างด้าว และเมื่อถึงเวลานั้น เราคงไม่อาจเรียกประเทศไทยว่า ประเทศไทยได้อีกต่อไป

อ้างอิง

http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_jour...สิทธิของคนต่างด้าวในการถือครองที่ดินในประเทศไทย โดย อัครวัฒน์ เลาวัณย์ศิริ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ค้นหาเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การจัดการสิทธิถือครองทรัพย์สิน โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2547

ค้นหาเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

http://www.l3nr.org/posts/150293 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948

ค้นหาเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

http://www.l3nr.org/posts/155848

มาตรา 4 และมาตรา 27 ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 คืออะไร??

ค้นหาเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 567842เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2014 23:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2014 10:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

วิเคราะห์สักนิดไหมคะว่า สิทธิถือครองที่ดินเป็นประเด็นสิทธิมนุษยชนอย่างไร

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท