ไปเรียนรู้ PLC ที่โรงเรียนเพลินพัฒนา


          โรงเรียนเพลินพัฒนาจัดงาน “ชื่นใจ...ได้เรียนรู้” (ภาคครูเพลิน) ครั้งที่ ๕ ในวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๗ และเชิญผมไปสังเกตการณ์เพื่อเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานเขาจัดทั้งวัน แต่ผมมีบุญได้ไปร่วม เพียงช่วงบ่าย กำหนดการของงานมีดังต่อไปนี้


"ชื่นใจ...ไดเรียนรู (ภาคครูเพลิน) ครั้งที่ " วันที่ เม.ย. ๕๗

ณ อาคารประถมปลาย โรงเรียนเพลินพัฒนา


กําหนดการ

๐๗.๓๐ ­ ๐๘.๐๐ น. ลงทะเบียนที่หนาหองอเนกประสงค์ชวงชั้น ๒

๐๘.๐๐ -­ ๐๘.๒๐ น. รองเพลงชาติรวมกัน

๐๘.๒๐ ­ ๐๙.๐๐ น. แบงกลุมแลกเปลี่ยนเรียนรูจากนิทรรศการบันทึก KM ที่หองเรียน ชั้น ๒ อาคารประถมปลาย

๐๙.๐๐ ­ ๑๐.๐๐ น. ครูออนําเสนอนวัตกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้๗ ขั้นตอน ที่สกัดไดจากการเรียนการสอนหนวยวิชาภูมิปญญาภาษาไทย

๑๐.๐๐ ­ ๑๐.๓๐ น. พักรับประทานอาหารวาง และศึกษา KA เปดชั้นเรียนจากหองเรียนภูมิปญญาภาษาไทย และ ESL ระดับชั้น ๒

๑๐.๓๐ - ๑๒.๐๐ น. เปดชั้นเรียน หองภูมิปญญาภาษาไทย ชั้น ๒ (ครูส้ม) ที่หองอเนกประสงค์ ชวงชั้น ๑ / เปดชั้นเรียนหอง ESL ชั้น ๒ (ครูอิ๊ก) ที่หองอเนกประสงค์ ชวงชั้น ๒

๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน ที่โถงชั้น ๑

๑๓.๐๐ - ๑๔.๐๐ น. แบงกลุมทําแผนการเรียนรู ๗ ขั้นตอน

­ หนวยวิชาดนตรีชีวิต ที่หองอเนกประสงค์ชวงชั้น ๑

- หนวยวิชาแสนภาษา ที่หองอเนกประสงค์ชวงชั้น ๒

๑๔.๐๐ ­ ๑๔.๑๕ น. พักรับประทานอาหารวาง ที่หนาหองอเนกประสงค์ชวงชั้น ๒

๑๔.๑๕ - ๑๕.๑๕ น. ทําหองสาธิตหนวยวิชาดนตรีชีวิต / สะทอนผล

๑๕.๑๕ - ๑๖.๑๕ น. ทําหองสาธิตหนวยวิชาแสนภาษา / สะทอนผล

๑๖.๑๕ - ๑๖.๔๕ น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้

๑๖.๔๕ - ๑๗.๐๐ น. ตอบแบบสอบถาม 


*****************

          ผมไปถึงเวลาบ่ายโมง ครูใหม่ออกมารับ พาไปส่งต่อให้ครูปาด เพราะครูใหม่ยังไม่ได้รับประทานอาหาร เที่ยง ต้องไปรับประทานอาหารก่อน ครูปาด (ศีลวัต ศุษิลวรณ์ - รองผู้อำนวยการ) พาไปดูนิทรรศการ ที่น่าตื่นตาตื่นใจในความสามารถของนักเรียนและครู เสียดายที่ผมลืมหยิบกล้องถ่ายรูปมาจากกระเป๋าในรถ จึงต้องใช้โทรศัพท์ Galaxy Note II ถ่าย ทำให้ต้องเลือกถ่าย เพราะถ่ายได้ช้า

          นิทรรศการเหล่านี้ เป็นประจักษ์พยานผลงาน ทั้งของนักเรียนและของครู และเป็นความท้าทายว่า ในการทำงานผลิตผลงานได้ถึงขนาดนั้น ผู้ผลิตผลงานได้เรียนรู้อะไรบ้าง เกิด mastery learning อย่างไร ผมสงสัยว่าหน่วยงานต่างๆ ที่จัดนิทรรศการ เจ้าหน้าที่ลงแรงลงสมองไปมาก แต่เดาว่าได้เรียนรู้น้อยไป เพราะไม่ได้ทำ group reflection หรือ AAR หลังชมนิทรรศการที่ร่วมกันจัดเอง ว่าตนได้เรียนรู้อะไร จากการทำ และจากการชมนิทรรศการนั้น ในกรณีของงาน “ชื่นใจ...ได้เรียนรู้” นี้ เวลา ๔๐ นาที ในช่วง ๘.๒๐ - ๙.๐๐ น. น่าจะไม่พอสำหรับ AAR เพื่อ mastery learning ของสมาชิก

          เวลามีน้อย ผมชมนิทรรศการพอคร่าวๆ ในช่วงนั้นผมถามครูปาดว่า เด็กเล็กในปัจจุบัน กับเด็กเล็ก เมื่อ ๑๐ ปีก่อนแตกต่างกันอย่างไร ครูปาดท่านไม่ตอบเอง ท่านไปตามครูยามาตอบ ครูยา (มนัสนันท์ จุ่นบุญ) เป็นหัวหน้าทีมประจำชั้น ช่วงชั้นที่ ๑ (คือ ป. ๑ - ๓) ทำหน้าที่ฝึกวิธีเป็นครูประจำชั้นให้แก่ครู ทำงานครูที่นี่มา ๑๑ ปี เริ่มจากเป็นครูคณิตศาสตร์ แล้วผันมาเป็นครูประจำชั้นเมื่อ ๓ ปีก่อน แปลกที่ท่านเรียนจบบริหารธุรกิจ แต่ชอบเด็ก จึงเรียนปริญญาโทด้านเด็ก gifted ที่ มศว. กับ ผศ. ดร. อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์ นอกจากนั้น ครูยา ยังเคยทำงาน ได้รับการฝึกฝนเรื่องพัฒนาการเด็ก จากท่านอาจารย์หม่อมดุษฎี บริพัตร ด้วย

          ผมสัมผัสความเป็น “ครูเพื่อศิษย์” ของครูยาได้ทันทีที่คุยกันเพียงไม่กี่ประโยค ท่านบอกว่าในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมาไม่เพียงเด็ก ที่เปลี่ยนไป พ่อแม่ของเด็กก็เปลี่ยนไปด้วย โดยต้องไม่ลืมว่าโรงเรียนเพลินพัฒนาเป็นโรงเรียนเอกชน และเป็น โรงเรียนทางเลือก คือมีวิธี “สอน” แตกต่างจากโรงเรียนทั่วไป พ่อแม่ที่นำลูกมาเข้าโรงเรียนนี้จึงเป็นกลุ่มพิเศษ ครูยาบอกว่า พ่อแม่ของเด็กต่างก็กระหาย จะให้ลูกทำโน่นทำนี่ได้เร็วๆ ทางโรงเรียนจึงต้องคอยทำความเข้าใจว่า พัฒนาการของเด็กต้องค่อยๆ ไป เป็นขั้นเป็นตอน ยิ่งช่วงนี้พ่อแม่อายุน้อยลงการทำความเข้าใจกับพ่อแม่ ยิ่งมีความสำคัญ

          ท่านบอกว่า เด็กสมัยนี้ไม่ต้องทำอะไรเอง มีคนทำให้ทุกอย่าง ยิ่งเป็นลูกคนเดียวของพ่อแม่ เป็นหลาน คนเดียวของปู่ย่าตายาย ๔ คน จึงถูกรุมให้ความรัก ตามใจ และให้บริการ จนเด็กไม่ได้ฝึกทำโน่นทำนี่ ด้วยตนเอง กล้ามเนื้อแขนจึงมักไม่แข็งแรง โดดยเฉพาะกล้ามเนื้อไหล่และต้นแขน จึงฝึกเขียนหนังสือได้ ไม่ง่ายเหมือนเด็กสมัยก่อน

          ผมต่อให้ในใจว่า เด็กสมัยนี้น่าจะรอคอยไม่เป็น เพราะอะไรๆ มันเร็วไปหมด รวมทั้งสิ่งที่ต้องการ ก็มักจะได้ทันใจ คนที่รอไม่เป็น อดเปรี้ยวไว้กินหวานไม่เป็น ในสายตาของผม เป็นคน “ด้อยโอกาส”

          เวลาเป็นเงินเป็นทอง ครูปาดพาผมไปสังเกตการณ์ที่ห้องทำแผนการเรียนรู้ ๗ ขั้นตอน ของหน่วยวิชา ดนตรีชีวิต ซึ่งในเวลาเดี๋ยวเดียว ความเข้าใจของ “ดนตรี” ของผมเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง ผมได้แก้ความเข้าใจผิด ที่มีมาตลอดชีวิต ให้เข้าใจใหม่ว่า คนเราเล่นดนตรีได้โดยไม่ต้องมีเครื่องดนตรี ร่างกาย (โดยเฉพาะมือ) ของเรานี่แหละ เป็น “เครื่องดนตรี” ได้

          หลังพักชั่วครู่ ก็ถึงเวลา ห้องสาธิตวิชาดนตรีชีวิต ที่ครูวิชาดนตรี ๕ คนทำหน้าที่ครู โดย ๑ คนทำหน้าที่ครู อีก ๔ คน เป็นผู้ช่วย ครูที่เหลือ กว่า ๓๐ คน เป็นนักเรียนสมมติ ทำความรู้จักและเข้าใจดนตรี ผ่านการลงมือทำ ตามที่ครูออกแบบกิจกรรมไว้ และนำมาให้ “นักเรียน” เรียนรู้ ตามหลักการ ๗ ขั้นตอน ที่ค้นพบในวิชาภาษาไทย โดยครูอ้อ ที่ได้อธิบายให้เพื่อนครูฟังในตอนเช้า ซึ่งผมไม่ได้ฟัง ผมจึงนั่ง สังเกตการณ์อย่างงๆ ครูปาดคงจะสังเกตเห็นจึงเข้ามาอธิบาย ว่ากระบวนการเรียนรู้ถึงขั้นตอนไหนแล้ว ใน ๗ ขั้นตอน

          แล้วก็ถึงการสาธิตวิชาแสนภาษา ซึ่งก็คือวิชาศิลปะ ซึ่งตีความได้ว่า ศิลปะเป็นการสื่อสารจากภายใน จิตใจและหัวใจ ออกมาให้ผู้อื่นรับรู้ ผมถ่ายรูปขั้นตอนของวิชานี้ไว้มาก แต่อนิจจา! ผมเอามาถ่ายลงใน iPhoto ของ MacBook แล้วรูปเหล่านี้ก็หายไป กู้กลับมาไม่ได้ เท่ากับบันทึกหายหมด ตั้งแต่รูปที่ถ่ายนิทรรศการไว้ ต่อไปนี้จึงเป็นบันทึกจากความจำอันกระท่อนกระแท่น

          ในวิชาแสนภาษา ครูกำหนดกิจกรรมให้ “นักเรียน” ทำร่วมกัน จนเกิดความประทับใจ สนุกสนานมาก คือให้แบ่งกลุ่ม และให้ต่อตัวกันเป็นรูปสัตว์ ให้เพื่อนกลุ่มอื่นทายว่าเป็นส้ตว์อะไร สนุกกันถ้วนหน้าแล้ว ให้แต่ละคนวาดรูป เพื่อบอกความรู้สึกของตนจากกิจกรรม ส่วนนี้แหละ คือขั้นตอนที่ ๕ กิจกรรมสร้างสรรค์ / แก้ปัญหา แล้วจึงถึงกิจกรรมที่ ๖ ปฏิสัมพันธ์ทางภาษา คือให้แต่ละคนอธิบายว่าภาพที่ตนวาดนั้น ต้องการบอกอะไร แล้วจับกลุ่มคนที่วาดรูปคล้ายกัน หรือสื่อสารคล้ายกัน ร่วมกันอธิบายเป็นเรื่องราว ตามด้วยขั้นตอนที่ ๗ ประมวล สรุป สังเคราะห์ร่วมกัน

          ผมเข้าใจว่า ในเวลา ๑ วันนี้ ครูประมาณ ๔๐ คนสนุกมาก ได้เรียนรู้มาก คนที่เป็นตัวเอก คือทำหน้าที่ครูในห้องเรียนสาธิตบอกว่าเหนื่อยมาก และตื่นเต้นมาก ผมยุให้ร่วมกัน AAR แบบอาสาเพียงบางคน เพราะไม่มีเวลาให้พูดทุกคน เห็นได้ชัดเจนว่าทุกคนพอใจกับกระบวนการมาก

          แต่ผมยังเห็นไม่ชัด ว่าครูได้เรียนรู้ในระดับ mastery learning ต่อวิธีจัดการเรียนรู้แบบ active learning แล้วหรือยัง ตรงนี้ขึ้นกับโจทย์ใน AAR ผมได้แนะนำว่า ให้ครูทุกคนกลับไปเขียนข้อประทับใจ และข้อเรียนรู้คนละครึ่งหน้าถึงหนึ่งหน้า เอามา ลปรร. กัน ข้อความที่เขียนเรื่องข้อเรียนรู้ จะสะท้อนว่า แต่ละคนถึง mastery แค่ไหน

          ขออนุญาตให้ข้อเสนอแนะว่า น่าจะตั้งโจทย์ AAR ให้ครูแต่ละคนสะท้อนความคิด ว่าจากกิจกรรม “ชื่นใจ...ได้เรียนรู้” ครั้งที่ ๕ นี้ ตนเองเข้าใจ active learning หรือการ “สอนแบบไม่สอน” อย่างไร และจะนำหลักการนี้ไปใช้ในการทำงานของตนอย่างไร ต้องการทีมงาน/ความร่วมมือ/การสนับสนุน อย่างไร

          ผมกลับมา AAR กับตนเองที่บ้าน ว่าผมไปเห็น Lesson Study หรือ PLC ที่งดงาม เข้มแข็ง เห็นการจัดการโรงเรียน เพลินพัฒนาฝ่ายประถมทั้งโรงเรียน เป็น PLC ทั้งโรงเรียน ดำเนินการต่อเนื่องมา ๕ ปี จนเวลานี้น่าจะพูดได้ว่า โรงเรียนนี้ได้เข้าสู่สภาพ Learning Organization ครูทุกคน และโรงเรียนทั้งโรงเรียน มี Learning Culture เป็นการเรียนรู้เพื่อเป็นสถานศึกษาแห่งศตวรรษที่ ๒๑ จัดการศึกษา/เรียนรู้ แห่งศตวรรษที่ ๒๑ ให้ศิษย์เรียนรู้พัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑

          ผู้บริหารโรงเรียน ที่ต้องการทำให้โรงเรียนของตนเป็น PLC ทั้งโรงเรียน ควรไปปรึกษาครูปาด และครูใหม่ แห่งโรงเรียนเพลินพัฒนานี้

          เส้นทางดำเนินการ และผลลัพธ์การเรียนรู้ ทั้งของนักเรียนและครู ของโรงเรียนเพลินพัฒนา เป็นเส้นทางที่ควรมีนักวิชาการเข้าไปศึกษา ถอดบทเรียน ตีความ และสร้างเป็นทฤษฎี ออกมาเผยแพร่ในวงกว้าง

วิจารณ์ พานิช

๕ เม.ย. ๕๗

หมายเลขบันทึก: 567505เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2014 16:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2014 16:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบพระคุณที่อาจารย์กรุณาชี้แนะค่ะ  ในงาน "ชื่นใจ...ได้เรียนรู้ (ภาคครูเพลิน)" ครั้งหน้า หนูจะพยายามจัดเวลาให้ครูได้มีช่วงเวลาของการ AAR ให้มากขึ้นอีกค่ะ เพื่อยกระดับการเรียนรู้ให้ไปถึง mastery learning ดังที่อาจารย์ได้แนะนำไว้ในบันทึก

ด้วยความเคารพ

ครูใหม่

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท