การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ


การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ

          การสอนแบบบูรณาการ เป็นการ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้วิธีการสอนหลายวิธี จัดกิจกรรมต่าง ๆ ในการสอนเนื้อหาสาระที่เชื่อมโยงกัน ตลอดจนมีการฝึกทักษะต่างๆ ที่หลากหลาย การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
เป็นการเรียนรู้ในลักษณะองค์รวมเน้นการจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริง การเรียนรู้ร่วมกัน การเรียนรู้จากธรรมชาติ การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง และมีการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยประเมินจากการปฏิบัติ และประเมินตามสภาพจริง

          ผู้เรียนจะสามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้ทุกสาขาวิชาความคิดต่างๆทักษะเจตคติหรือความเชื่อได้ดีเมื่อได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนนำเสนอแก่ผู้เรียนในลักษณะบูรณาการจะทำให้ผู้เรียนมองเห็นรูปแบบและความสัมพันธ์นักเรียนสามารถเชื่อมโยงผสมผสานสาระความรู้ต่างๆช่วยให้นักเรียนได้รับความรู้ ความเข้าใจในลักษณะองค์รวมมีความหมายลึกซึ้งบรรยากาศการเรียนรู้จะผ่อนคลายไม่รู้สึกกดดันและเอื้อต่อการเรียนรู้ได้ดีช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ทั้งในด้านพุทธิพิสัยทักษะพิสัยและจิตพิสัยสามารถนำความรู้ต่างๆและประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงการสอนแบบบูรณาการจะช่วยส่งเสริมและพัฒนาความสามารถทางสติปัญญาที่หลากหลายและตอบสนองต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกันของนักเรียนแต่ละคนได้เป็นอย่างดีสำหรับการบูรณาการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนทางด้านวิชาชีพ มีดังนี้

1. การบูรณาการเชิงเนื้อหาสาระ เป็นการผสมผสานเชื่อมโยงเนื้อหาสาระหรือองค์ความรู้ในลักษณะของการหลอมรวมกัน

2. การบูรณาการเชิงวิธีการ เป็นการผสมผสานวิธีการสอนแบบต่างๆ เข้าในการสอน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้วิธีสอนหลายๆวิธี

3. การบูรณาการความรู้กับกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนพัฒนาวิธีการแสวงหาความรู้และการได้มาซึ่งองค์ความรู้ที่ต้องการ

4. การบูรณาการความรู้ความคิดกับคุณธรรม เน้นไปที่ด้านพุทธิพิสัยมากกว่าด้านจิตพิสัย

5. การบูรณาการความรู้กับการปฏิบัติ ถ้าความรู้นั้นเชื่อมโยงไปกับการปฏิบัติจะทำให้ความรู้นั้นติดตัวไปได้ยาวนาน

6. การบูรณาการความรู้ในโรงเรียนกับชีวิตจริงของนักเรียน สิ่งที่ครูสอนหรือให้นักเรียนเรียนรู้ในโรงเรียนหรือสถาน ศึกษาควรเชื่อมโยงให้สัมพันธ์กับชีวิตของนักเรียนและเป็นสิ่งที่ช่วยเหลือนักเรียนในการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพชีวิต

          สรุปได้ว่า การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ยังช่วยพัฒนาในด้านสุนทรียะและความดีงามซึ่งจะมีอิทธิพลต่อความรู้สึกและความคิดที่ดีอีกทั้งผู้เรียนจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิชาและสามารถนำความรู้จากการเรียนรู้ในส่วนหนึ่งไปช่วยทำให้การเรียนรู้ในส่วนอื่นๆดีขึ้นด้วย การบูรณาการมีหลายลักษณะหลายแนวความคิด แต่ละลักษณะเอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการได้เป็นอย่างดี ในบางครั้งครูอาจบูรณาการหลายลักษณะเข้าด้วยกัน สุดแล้วแต่ความคิดของครูแต่ละคนและความเหมาะสมเป็นเรื่องๆ ไป

ที่มา : ผศ. ดร. สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. 2546. การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพ ฯ. บุ๊ค พอยท์.

                                                                                                                        อาจารย์แสงแข ไชยชนะ

                                                                                                             สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจและวิชาชีพ

คำสำคัญ (Tags): #kmanw
หมายเลขบันทึก: 567052เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2014 09:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2014 09:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การบูรณาการผ่านกระบวนการ เป็นเรื่องสำคัญมากเลยครับ  เพราะกระบวนการ ย่อมหมายถึงเครื่องไม้เครื่องมือของการค้นหา-แสวงหา นั่นเอง..

ขอบคุณบันทึกดีๆ นะครับ

ดีจังเลยครับ

ลองไปอ่านเรื่องการบูรณาการของคุณแผ่นดินนะครับ

ผมเอาที่เคยเขียนไว้มาฝากด้วยครับ

http://www.gotoknow.org/posts/16413

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท