การบริหารทรัพยากร ทางการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ นักบริหารการศึกษา รุ่นที่ 2/2 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น


สวัสดีลูกศิษย์และชาว Blog ทุกท่าน

วันนี้ผมได้รับเกียรติจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น มาบรรยายหัวข้อ 

การบริหารทรัพยากร ทางการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ให้กับนักบริหารการศึกษา รุ่นที่ 2/2 กว่า 70 คน 

เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ตลอดจนวิสัยทัศน์ทางการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด

ณ สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น  เวลา 9.00-12.00 น. 

ผมจึงขอใช้ Blog เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ

<p>จีระ หงส์ลดารมภ์</p>

หมายเลขบันทึก: 566849เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2014 09:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2014 15:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ

หลักสูตรนักบริหารการศึกษา รุ่นที่ 2

ณ สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น จ.ปทุมธานี

27 เมษายน 2557

ทุนมี 4 ชนิด

1. เงินคือ อบต. เทศบาล ต้องบริหารการศึกษาด้วยเงิน

2. เทคโนโลยีรวมถึง I-pad

3.ทรัพยากรธรรมชาติ

4.คน ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุด

การจะเป็นผู้บริหารการศึกษาในนามผู้นำท้องถิ่น ต้องทำเรื่องมัธยม อาชีวะ และระดับมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น

ในประเทศอเมริกา งบประมาณ เงินเดือน มาจากภาษี คนในท้องถิ่นมีความสนใจในการเรียนมาก

ในประเทศไทย ต้องมาดูว่ารัฐบาลเอาจริงกับการศึกษามากน้อยแค่ไหน

คุณพิชญ์ภูรี: ทุกท่านต้องตระหนักเรื่องเงิน เทคโนโลยีที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือเรื่องคน ซึ่งนักบริหารการศึกษามีความสำคัญมากในการศึกษาหลายด้าน เช่น อาชีวะ กศน. การศึกษาตามอัธยาศัย

ทฤษฎีการเรียนรู้ในโลกที่เปลี่ยนแปลงสำคัญมากเพราะทุกวันนี้ทุกอย่างในโลกเปลี่ยนแปลงเร็วมาก

อ.จีระ: ตอนจบในช่วงเช้าขอให้ทุกท่านเขียนว่า

1. เรียนแล้วได้อะไร

2. ท่านจะทำอะไรในการศึกษาท้องถิ่น

การศึกษาคือการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริงหากคนไทยคิดไม่เป็น เรียนเพื่อปริญญา ประเทศชาติก็ล่มจม

จริงๆแล้วอยากให้ทุกคนมีการเรียนรู้ตลอดชีวิตประเทศไทยคือความหลากหลายของท้องถิ่น

ขอให้ทุกท่านเป็นแกนนำในวันนี้เพื่อให้ไปร่วมมือกับคนอื่น

สิ่งแรก คือ ร่วมมือกับหน่วยงานของท่านเอง

สอง คือ Stakeholder ร่วมมือกับคนที่อยู่นอกอบจ.อบต. หรือนอกเทศบาลปราชญ์ชาวบ้าน

นักการศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมต้องถามตัวเองให้ได้ว่าเป้าหมายคืออะไร มีศักยภาพอะไรบ้าง ซึ่งวันนี้มี Case study ของโรงเรียนมัธยมสาธิตพัทยา

ทุกคนต้องมองอนาคตให้ออกว่าเศรษฐกิจ สังคม อาเซียนจะเป็นอย่างไร วันนี้ท้องถิ่นในอนาคตหากต้องมีการปฏิรูปประเทศไทยต้องมีการเลือกตั้งผู้ว่าทุกจังหวัด เพราะฉะนั้นการศึกษาจะถ่ายโอนจากกระทรวงศึกษา

การกระจายอำนาจในอนาคตต้องกระจายการศึกษาด้วย

1. ค้นหาตัวเองในเรื่องการศึกษาท้องถิ่น ยังมีช่องว่างอะไรบ้างตัวเองต้องปรับปรุงอะไรบ้าง

2. ต้องทำตัวเองให้เป็นแนวร่วมกับคนในองค์กรได้อย่างไร

3. มองทรัพยากรนอกองค์กรไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานอื่นๆ หรือปราชญ์ชาวบ้าน

ท้องถิ่น ควรตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ซึ่งมีความจำเป็นมาก ฐานความคิด ฐานความรู้ เป็นสิ่งที่ยังขาดอยู่การแก้ปัญหาคือต้องเชื่อมโยงและเป็นแนวร่วมกับมหาวิทยาลัย

อบต.จะไม่ด้อยถ้ามีความมุ่งมั่นสูง คือถ้าเจอปัญหาต้องเอาชนะอุปสรรคให้ได้

การกระตุ้นในวันนี้ จะเป็นการกระตุ้นให้ทุกคนได้คิดการศึกษาในอนาคตคือการสร้างทุนมนุษย์ และต้องเป็นคนที่มีคุณภาพให้คิดเป็น วิเคราะห์เป็น และมีความใฝ่รู้

การศึกษามันยากเพราะเป็นเรื่องที่ต้องจัดการกับคนการพัฒนาคนต้องใช้เวลา ต้องคิดให้ได้ว่าต้องเดินเส้นทางที่มุ่งมั่น

ในหัวข้อวันนี้เรารวมเรื่องอาเซียน เพราะต้องเป็นเรื่อง Local และต้อง Global ด้วย

(1)มีการ Seminar หรือ Workshop เรื่อง HR รองรับ ASEAN มากและบ่อยๆ

มีความคาดหวังสูงขึ้นว่าการบรรยายครั้งนี้จะเกิด Good Idea – Turn ideas into action turn action in to Success

มีการนำไปทำต่อ 3 ต. คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

ASEAN 2015 ต้องปรับตัวให้ทุนมนุษย์ในภาคราชการมีคุณภาพสูงขึ้น

ต้องมีภาควิทยาศาสตร์ มีความรู้เรื่องไบโอเทค เพื่อที่จะมาปรับปรุงเรื่องเกษตร อุตสาหกรรม เพื่อไปยังอาเซียน และเข้าถึงโลกาภิวัตน์

(2) วันนี้เราพูดถึงทุนมนุษย์ในมุมมองของ ราชการซึ่งอาจจะหมายถึงรัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระหรืออาจหมายถึงรัฐบาลท้องถิ่นด้วยก็น่าจะดีแต่บทบาทของราชการไม่ใช่ทำเพื่อข้าราชการ ถ้าทำดีก็จะไปกระตุ้นให้ทุนมนุษย์ในภาคอื่นๆดีไปด้วย เช่นถ้าเป็นภาคการศึกษา ข้าราชการดี มีคุณสมบัติของทุนมนุษย์ที่มีมาตรฐาน ASEAN หรือสูงกว่านั้น

(3) เรื่อง ASEAN ทำให้เรารู้ว่าประเทศไทยมีคุณภาพการศึกษาต่ำภาษาอังกฤษเป็นอันดับ8 ในอาเซียนซึ่งต้องทำให้เราหลุดจาก Comfort Zone

(4) การเรียนต้องมีการสร้างบรรยากาศในการเรียน และมีการสร้างแรงบันดาลใจ แรงจูงใจให้เป็นเลิศได้

(5) การเข้า ASEAN เหมือนเป็นการเข้าหมู่บ้านซึ่งมี 10 หลัง หากบ้านหลังนั้นไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษ และมีแต่เรื่องทุจริตคอร์รัปชั่น ก็ไม่สามารถเป็นบ้านที่มีความสง่างามได้

ลาว กัมพูชา พม่า ถึงเป็นประเทศที่จนกว่าเรา แต่เรื่องการศึกษามีคุณภาพมากว่าเรา

(6) ถึงแม้ว่าจะแบ่ง HRD กับ HRM ออกจากกันในการพูดวันนี้ ซึ่งตามข้อเท็จจริงไม่ควรจะแยกเพราะเป้าหมายทุนมนุษย์ คือ Deliver Values ซึ่งทุกท่านก็คงทราบแล้วว่า Value ในอนาคตที่สำคัญคือ 3v

-Value Added

- Value Creationในเรื่องการศึกษาต้องมีความคิดสร้างสรรค์ หาโครงการใหม่ๆให้เด็กมีความเป็นเลิศ

- Value Diversitiesอาจจะร่วมกับนักบริหารการศึกษาในประเทศอาเซียน

นักบริหารการศึกษา ต้องมีความสุขในการทำงาน คือ ปลัด ต้องเห็นคุณค่าของนักบริหารการศึกษา

8 Hเป็นคุณสมบัติที่นักบริหารการศึกษาทุกคนพึงมี

Heritageประวัติศาสตร์ รากเหง้า

Homeมีครอบครัวที่อบอุ่น

Handมีความเป็นมืออาชีพ

Headคิดเป็น วิเคราะห์เป็น

Heartมีความมุ่งมั่น

Happinessมีความสุขในการทำงาน

Harmonyมีการทำงานเป็นทีม

Healthมีสุขภาพ

8 K

Human Capital

Intellectual Capitalคิดเป็น วิเคราะห์เป็น

Ethical Capitalเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม

Happiness Capitalการทำอะไร ต้องมีความสุขที่ได้ทำ ต้องมีPassion

Social Capitalการสร้างเครือข่ายนอกองค์กรเครือข่ายข้างในองค์กร และต้องไปสร้างความสัมพันธ์ให้เขาอยากมาทำงานกับเราแบบ win win

Sustainability Capitalมองความยั่งยืนในการศึกษาในท้องถิ่น ว่าทำแล้วได้ประโยชน์หรือไม่ ไม่ได้เรียนเพื่อลอก แต่เรียนเพื่อคิด คิดถึงสังคม ประชาธิปไตย

Digital Capital

Talented Capitalทักษะ ความรู้ทัศนคติ

เมื่อเรามี 8K แล้ว หลังจากนั้นจะได้ทฤษฎี5K

Creativity Capitalทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capitalทุนทางความรู้

Innovation Capitalทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capitalทุนทางอารมณ์

CulturalCapitalทุนทางวัฒนธรรม

หากเรามี 8k 5k ต่อไปก็จะมี

  • -มีมาตรฐาน
  • -มีคุณภาพ
  • -มีความเป็นเลิศ
  • -เปรียบเทียบกับคู่แข่งได้
  • -เป็นแบบอย่างการปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practice)

ในระดับประเทศต้องมีการพัฒนาด้าน

  • -การสื่อสารเน้นเรื่องภาษา
  • -การปรับการเปลี่ยนแปลง
  • -ปรับการทำงานแบบมืออาชีพ
  • -ปรับการทำงานแบบสากล ต้องทำงานเพื่อมาตรฐานสากลให้มากขึ้น

ผู้นำที่ดีต้องสามารถจัดการสิ่งเหล่านี้ให้ได้

1. Crisis management การจัดการภาวะวิกฤต

2. Anticipate change การคาดคะเนการเปลี่ยนแปลง

3. Motivate others to be excellent การกระตุ้นผู้คนสู่ความยอดเยี่ยมมองไปสู่คุณภาพการศึกษา

4. Conflict resolution การแก้ไขความขัดแย้งการลดความขัดแย้งในองค์กร

5. Explore opportunities การสร้างโอกาสแก่ผู้อื่นการหาStakeholder

6. Rhythm & Speed รู้จักใช้จังหวะและความรวดเร็วให้ดี

7. Edge ( Decisiveness ) กล้าตัดสินใจเด็ดขาดและรวดเร็ว

8. Teamwork ทำงานเป็นทีม

9. การบริหารความไม่แน่นอนทั้งปัญหาเรื่องงบประมาณ ครูต้องจัดการกับสิ่งเหล่านี้ให้ได้

คุณพิชญ์ภูรี:

ทฤษฎีการปลูก : HRD และ เรื่องทฤษฎี 8H8K

Human Capitalเปรียบเป็นที่ดิน

Intellectual Capitalปัญญา :ดิน

Ethical Capitalคุณธรรม จริยธรรม: น้ำ

Happiness Capitalทุนแห่งความสุข: ปุ๋ย

Social Capitalสังคม เครือข่าย

Sustainability Capitalทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capitalทุนทางไอที

Talented Capitalการฝีมือ มีความชำนาญ

Trend ของโลกในอนาคตจะเป็น Green growth

ทฤษฎี 5K

Creativity Capitalทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capitalทุนทางความรู้

Innovation Capitalทุนทางนวัตกรรมวิธีการ เทคโนโลยี อุปกรณ์ใหม่ๆ

Emotional Capitalทุนทางอารมณ์

CulturalCapitalทุนทางวัฒนธรรมเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่อาเซียน


Workshop

1. ยกตัวอย่างกรณี การศึกษาในระดับท้องถิ่นที่ประสบความสำเร็จ1 เรื่อง และอธิบายปัจจัยความสำเร็จทางทรัพยากรมนุษย์

- เรื่องปลูก หรือ เก็บเกี่ยว

2. ยกตัวอย่างความล้มเหลวในระดับการศึกษาท้องถิ่นและอธิบาย

- ปัจจัยการปลูก

- ปัจจัยการเก็บเกี่ยว

3. ศักยภาพผู้นำในการศึกษาระดับท่องถิ่นที่พึ่งประสงค์ คืออะไร ยกตัวอย่าง 3 ท่าน และสำคัญอย่างไร

4. จากการดูเทปกรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมสาธิตพัทยา

- ประโยชน์ 3 เรื่อง ที่นำมาปรับใช้ในหน่วยงานการศึกษาของท่าน

- อุปสรรค 3 เรื่อง

Workshop

กลุ่ม 1ยกตัวอย่างกรณี การศึกษาในระดับท้องถิ่นที่ประสบความสำเร็จ 1 เรื่อง และอธิบายปัจจัยความสำเร็จทางทรัพยากรมนุษย์

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลเขาพระงาม จ.ลพบุรี มีศูนย์ 3 ศูนย์ 2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ได้รับรางวัล เด็กปลอดโรค

Human Capital ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ มีบุคลากรที่เพียงพอ ประมาณ 40คน

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา :ผู้บริหารสนับสนุนครูดูแลเด็ก ให้ครูมีการรับตรงวุฒิ ถ้าไม่ตรงวุฒิผู้บริหารจะให้ไปเรียนหลักสูตรครูเด็กปฐมวัย

Ethical Capital คุณธรรม จริยธรรม ที่ศูนย์มีป้ายจรรยาบรรณวิชาชีพ 9 ข้อ

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข: ครูมีความสุขและมีความสุขใจในการปฏิบัติงาน ทางองค์กรช่วงปิดเทอม แต่ครูยังมาปฏิบัติงานร่วมกัน ท่านนายกพาไปทำแผนร่วมกัน เป็นแรงจูงใจในการทำงาน

Social Capital ทุนทางสังคม ครูส่วนใหญ่เป็นครูในพื้นที่ ครูยังมีเครือข่ายในส่วนของจังหวัด อำเภอท้องถิ่น

Sustainability Capitalทุนแห่งความยั่งยืน : ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ทางด้านการศึกษา ส่งเสริมให้ครูมีความสามารถอย่างสม่ำเสมอ

Digital Capital ทุนทางไอที : ใช้ในการปฏิบัติงาน มีการตั้งไลน์กลุ่ม

Talented Capital การฝีมือ มีความชำนาญให้เกิดทักษะ ความรู้ ทัศนคติ ซึ่งทำให้กองพัฒนาเด็กเล็กประสบความสำเร็จ ทำให้ครูเป็นผู้ดูแลเด็กดีเด่น

กลุ่ม 2. ยกตัวอย่างกรณี การศึกษาในระดับท้องถิ่นที่ประสบความสำเร็จ 1 เรื่อง และอธิบายปัจจัยความสำเร็จทางทรัพยากรมนุษย์

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัดภูสิงห์ จ.ลพบุรี โครงการออมเงินวันละ 1 บาท

ซึ่งสอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง

การปลูก: จัดประชุม ชี้แจงว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่เสริมคุณธรรมให้แก่เด็ก ผู้ที่เกี่ยวข้องคือ ผู้บริหาร ครู ธนาคาร และส่งบัญชีให้ครูดูแล

ขั้นตอนการดำเนินงาน: ช่วงออมเงินคือ ช่วงเปิดเรียนจนถึงปิดเทอม ออมวันละ 1 บาท

การเก็บเกี่ยว: สรุปว่านักเรียนแต่ละคนได้เงินเท่าไหร่ และมีการรายงานให้กับครูชั้นอื่นๆต่อไปเพื่อเสริมสร้างการออม

กลุ่ม 3ยกตัวอย่างความล้มเหลวในระดับการศึกษาท้องถิ่นและอธิบาย

Human capital เป็นพื้นฐานของแต่ละครอบครัว คือต้องมีการอบรมเลี้ยงดู บริบททางสังคมคือเป็นเกษตรกรรม ทำให้ขาดการอบรมเลี้ยงดู

ทำให้เกิดผลของรายได้ ทำให้เกิดความดิ้นรน ขาดการมีส่วนร่วมของสังคม เนื่องจากผู้ปกครองไม่มีเวลา

วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ที่ยังไม่ให้ความสำคัญไม่สนใจความคิดเห็นความคิดของศูนย์เด็ก จริงๆแล้วเป็นบันไดขั้นแรกของความสำเร็จ

กลุ่ม 4ยกตัวอย่างความล้มเหลวในระดับการศึกษาท้องถิ่นและอธิบาย

ในส่วนของท้องถิ่นที่เตรียมความพร้อมแล้วจะส่งต่อให้โรงเรียน มีการติดตามว่าการศึกษาขั้นพื้นฐานเกิดปัญหาดังนี้

  • -ครูขาดความชำนาญเฉพาะด้านทำให้เด็กขาดโอกาสการเรียนรู้เฉพาะด้าน
  • -การสื่อสารกับโรงเรียนของผู้ปกครองยังไม่ดีพอ
  • -ผู้ปกครองไม่มีส่วนร่วมกับเด็กทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ไม่มีความชัดเจนในหลักสูตร ไม่มีวิชาคุณธรรม จริยธรรม เน้นการสอบ O-NET A-NET มากกว่า ทำให้คุณธรรม จริยธรรม ลดลง

กลุ่ม 5ศักยภาพผู้นำในการศึกษาระดับท้องถิ่นที่พึงประสงค์ คืออะไร ยกตัวอย่าง 3 ท่าน และสำคัญอย่างไร

1. ผู้นำต้องมีนโยบายทางการศึกษาชัดเจน และให้ความสำคัญอย่างจริงจัง

2. ให้ความรู้ทางด้านการศึกษา ผู้นำต้องใฝ่การเรียนรู้

3. ไม่นำการเมืองมานำการศึกษา

4. มีทีมงานที่มีคุณภาพ จึงจะนำวิสัยทัศน์ได้

5. ต้องฟังผู้ที่เกี่ยวข้องที่ทำเรื่องการศึกษาเป็นอย่างดี

ผู้นำที่ยกตัวอย่าง

1. ยงยุทธ สุวรรณบุตร บริหารจัดการโดยเห็นความสำคัญของการศึกษาเป็นอันดับแรก

2. ภาคิไนย สุวรรณวิภาค ต้องไม่สกัดนักเรียนที่คิดนอกกรอบ

3. ดร.นิชากร มาชมาดล รองนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด มีการศึกษาดูงานเด็กเล็กศูนย์ร้อยเอ็ด ครูได้บรรจุเป็นข้าราชการ เป็นคนใฝ่รู้ เป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัย

กลุ่ม 6ศักยภาพผู้นำในการศึกษาระดับท้องถิ่นที่พึงประสงค์ คืออะไร ยกตัวอย่าง 3 ท่าน และสำคัญอย่างไร

1. ต้องมีความรอบรู้

2. ความคิดพัฒนา

3. คิดแล้วต้อง ปฎิบัติจริง

4. มีคุณธรรม จริยธรรมในสมอง ไม่ทำเรื่องผิดศีลธรรม

ตัวอย่างผู้นำ

1. อิทธิพล คุณปลื้ม

2. ยงยุทธ สุวรรณบุตร เป็นนักธุรกิจแล้วมาเป็นนักพัฒนาการศึกษา

3. ธนาวุฒิ ธาวรพาม เป็นบุคคลที่คิดนอกกรอบ คิดเรื่องสังคัง ตรงไหนที่เป็นโรค ต้องรักษา เปรียบเป็นการปฏิบัติงานจริง ตรงไหนไม่ดี ต้องพัฒนาทำให้ดีขึ้น

กลุ่ม 7จากการดูเทปกรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมสาธิตพัทยา

- ประโยชน์ 3 เรื่อง ที่นำมาปรับใช้ในหน่วยงานการศึกษาของท่าน

1. ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ มีความชัดเจน สามารถนำไปปรับใช้คือบริหารโดยการนำชุมชนเข้ามาศึกษา

2. หลัก บ้าน วัด โรงเรียน เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามาจัดการการศึกษา

3. ครู Dream team ปรับใช้คือ ให้จัดการเรียนการสอนแบบไม่ประจำศูนย์ ให้หมุนเวียนปรับเปลี่ยนกันไปในหลายศูนย์เด็กเล็ก

4. จัดแหล่งเรียนรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ชุมชน ท้องถิ่น จากปราชญ์ ภูมิปัญญา ท้องถิ่น

5. นโยบายในการกำหนดเกรดในการรับเข้าศึกษา 3.00 เป็นเรื่องยากเพราะส่วนนี้ต้องเป็นนโยบายจากผู้บริหารระดับสูง

- อุปสรรค 3 เรื่อง

1. ให้เด็กเล็กเรียนรู้จาการปฏิบัติจริง

2. ปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ของนโยบายของผู้บริหาร ซึ่งเป็นเรื่องยากในการเปลี่ยนความคิด

3. ในการได้รับการสนับสนุนจากชุมชนท้องถิ่น ชุมชนคิดว่าทำอย่างไรถึงจะได้รับจากเรา เราต้องมีวิธีการทำงานให้คนมาร่วมกับเรา ซึ่งเป็นการเปลี่ยนวีธีคิดของชาวบ้านว่าไม่ควรเป็นผู้รับอย่างเดียว

กลุ่ม 8 จากการดูเทปกรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมสาธิตพัทยา

- การเปลี่ยนความคิดของผู้บริหารเปลี่ยนได้ แต่ไม่ตัดสินใจที่จะทำเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด เพราะไม่อย่างนั้นก็จะทำไม่สำเร็จ

คุณพิชญ์ภูรี : สิ่งที่ควรทำและย้ำคือ learning how to learn เรียนรู้ที่จะเรียน

เน้นเรื่อง Learn, Share และ Care :ซึ่งเป็นหัวใจของความสำเร็จ

เรื่องเครือข่าย ทำให้การทำงานง่ายขึ้น

ความล้มเหลว ทำให้เกิดการเรียนรู้ แต่อย่าลืมเรื่องเศรษฐกิจ 

นางสาววรรณภา รักษาแก้ว

1.อะไรใหม่ๆ ที่ได้จากการอบรม

-การค้นหาตัวตนของตัวเองว่ามีความสุขในงานที่ทำ

-การได้รับความรู้กับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

2.หลังจากวันนี้ไปจะทำอะไร?

-กล้านำเสนอวิสัยทัศน์ทางด้านการศึกษากับผู้บริหาร

-กลับไปนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาทำเป็นจุดแข็งด้านการศึกษาให้ได้

3.โครงการเกี่ยวกับอาเซียน

-ส่งเสริมให้ชุมชมโดยเฉพาะเด็กวัยเรียน สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้

1.อะไรใหม่ๆ ที่ได้จากการอบรม

-แนวคิด ทฤษฎี 8K’s , 8H, 5K’s

-แบบอย่างความมุ่งมั่นของอาจารย์

2.หลังจากวันนี้ไปจะทำอะไร?

- ศึกษาเรียนรู้ความเป็นปัญหาของท้องถิ่นเพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สามารถอยู่รอดในสังคม

1.การได้กรอบแนวคิด ทำให้การคิดเป็นระบบ ทุกอย่างที่เราทำปัจจุบัน อยู่ในทฤษฎี แต่เราไม่คิดอย่างเป็นระบบ

2.มาเรียนในวันนี้ได้การคิดโดยมีกรอบแนวคิด การสร้างกรอบแนวคิด จะทำให้การคิดของเราเป็นระบบขึ้น เมื่อการคิดเป็นระบบ จะทำให้การทำงานเป็นระบบขึ้นด้วยเหมือนกัน

นางผัลย์สุภา ทองปลิว

1.เรียนรู้ที่จะเรียน ความรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด จะต้องใฝ่รู้ตลอดเวลา

2.กระตุ้นครู ให้เป็นคนใฝ่รู้เห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาของท้องถิ่นเป็นสำคัญ

1.ได้ทราบถึงทฤษฎีทุน 8 ประเภท 8K’s , 5K’s ใหม่ : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ

2.นำทฤษฎีในข้อ 1 ไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่รับผิดชอบ

3.โครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางภาษาเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

นางสาวเหรียญทอง ดลเอี่ยม

1.เข้าใจเข้าถึงความเป็นมนุษย์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และความเป็นคน มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต

2.อยากจะพัฒนาตัวเอง และพัฒนาชุมชนให้ยั่งยืน

3.ฝึกอบรมภาษาอังกฤษในชุมชนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จัดโครงการแลกเปลี่ยน

นายอุดม วงษ์ศรีเทพ

1.ทุนทางมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญ ถ้าเรามีมนุษย์ที่มีคุณภาพ ก็จะสามารถจัดการศึกษาอย่างทีประสิทธิภาพ

2.สามารถนำความรู้ที่ได้ มาปรับเปลี่ยนตนเองว่า ตนยังด้อยทุนทางปัญญาทางภาษาอังกฤษ จะเริ่มศึกษาภาษาอังกฤษอย่างจริงจัง

3.จัดทำโครงการภาษาอังกฤษเพื่อรองรับ AEC

นายอนันต์ พรรณา

1.มีอะไรใหม่ๆ 1 เรื่อง เกี่ยวกับการจัดการศึกษาท้องถิ่น

-การจัดการศึกษาแบบบูรณาการ สร้างองค์ความรู้ตามบริบทของชุมชน

-ทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางนวัตกรรม ทุนแห่งการสร้างสรรค์

1.วันนี้ได้อะไรใหม่ ได้การเรียนรู้และทฤษฎี 8K’s ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานของการจัดการศึกษา จัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ

2.หลังจาวันนี้แล้วจะทำอะไร

-นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษา

3.เสนอความคิดเกี่ยวกับอาเซียน

-อยากทำร่วมกับมหาวิทยาลัย เอานักศึกษามาฝึกสอนวิชาภาษาอังกฤษ หรือผู้มีจิตสาธารณะ

วราภรณ์ เดชสอนคราม

3.โครงการเกี่ยวกับอาเซียน

- โครงการภาษาไทยเข้มแข็ง ภาษาอาเซียนควรเรียนรู้

นางสาวเพียงใจ โสเจยา

1.โครงการสู่อาเซียน ที่ประเทศไทยควรดำเนินการคือ การสอนเสริมภาษาอังกฤษเพราะในกลุ่มอาเซียนมีเพียงไทยประเทศเดียวที่ภาษาอังกฤษอ่อนกว่าทุกประเทศในกลุ่ม จึงเห็นการเร่งให้ทุกหน่วยงานที่จัดการศึกษาจัดอบรมให้ประชากรในประเทศ เรียนรู้ภาษาอังกฤษอย่างเร่งด่วน

2. จะนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ ไปเผยแพร่เกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมให้มากขึ้น โดยขอให้ทุกคนยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม

สุริยะ พุทธารักษ์

1.การพัฒนาคน (ทรัพยากร)

2. คุณ/นำเสนอกับผู้บริหาร (การศึกษาในตำบล)

1.ได้แนวคิดการจัดการการศึกษาอนาคตท้องถิ่นจะต้องเป็นกลไกสำคัญในการจัดการศึกษา (ทุนมนุษย์สำคัญที่สุด)

2.จะต้องกลับไปส่งเสริมบุคลากรในสำนัก กอง โรงเรียน ให้มีทัศนคติที่ต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอในการเตรียมจัดการศึกษาในทุกระบบ

3. โครงการเสวนาชาวบ้าน เรื่องความพร้อม ความต้องการ ในการเตรียมพร้อมเข้าสู่อาเซียน

นายอภิสิทธิ์ ศิริรขันธ์

1.การนำทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning How to Lean) มาใช้ในการจัดการศึกษาท้องถิ่น

2.เมื่อเสร็จสิ้นการอบรมข้าพเจ้าจะนำองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ในครั้งนี้ ไปใช้ในการทำงานในองค์กร งานด้านการจัดการศึกษาของท้องถิ่น โดยยึดหลักหัวข้อของการเรียนรู้ คือ Learn Share Care

3.โครงการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ด้านการศึกษา

2.หลังจากวันนี้ จะทำอะไร? ตนเอง องค์กร

- บูรณาการ การเรียนการสอน สับเปลี่ยนครูในแต่ละแห่ง ที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน แลกเปลี่ยนระหว่างศูนย์

3.เสนอโครงการเกี่ยวกับอาเซียน

- โครงการ Learn Share Care บุคลากรทางการศึกษา

นางวิลาวรรณ ศรีอักษร

1.สิ่งที่ได้จากการฟังบรรยาย การนำเสนอกลุ่ม

1.มีความรู้ด้านปัจจัยความสำเร็จของทรัพยากรมนุษย์

2.ได้แนวคิด การพัฒนา ปรับปรุงแก้ไขความล้มเหลว การจัดการศึกษา

3.มีกรอบความคิดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

4.ได้แนวคิดในการสร้างแหล่งเรียนรู้ ส่งเสริมปราชญ์ท้องถิ่น

5.ได้แนวคิดการบริหารความไม่แน่นอน ซึ่งในการปฏิบัติงานในบริบทท้องถิ่นเกิดขึ้นบ่อย

2.ส่งเสริมแสดงออกของเด็กปฐมวัยให้เต็มร้อย

3.สร้างภาคีเครือข่าย การศึกษาอาเซียน (ลาว พม่า ) ด้านภาษา

นางสาวเพียงใจ โสเจยา

1.เรียนรู้ที่จะเรียน ความรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด จะต้องใฝ่รู้ตลอดเวลา

2.กระตุ้นครู ให้เป็นคนใฝ่รู้เห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาของท้องถิ่นเป็นสำคัญ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท