กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


                                            กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย

       สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิติดตัวของมนุษย์ทุกคน เพราะมนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรี มีเกียรติศักดิ์ประจำตัว และปัจจุบันได้พบว่าปัญหาสิทธิมนุษยชนพบได้ทั่วโลกและรวมถึงประเทศไทยด้วย ซึ่งพบว่ามีคนจำนวนมากถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนและถูกลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

       ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน คือการประกาศเจตนารมณ์ในการร่วมมือระหว่างประเทศที่มีความสำคัญในการวางกรอบเบื้องต้นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เป็นกติการะหว่างประเทศ ที่มีผลทางกฎหมาย และสหประชาชาติมีมติรับรอง โดยบรรดาประเทศที่ให้สัตยาบัน

        กฎหมายไทยได้มีมาตรการในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของปัจเจกชนในรูปแบบต่างๆ มานานรับจากประเทศไทยได้ให้ความเห็นชอบกันปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2491 หลังจากนั้นประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนอีกหลายฉบับด้วยกัน เช่น อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ เป็นต้น

        โดยในปัจจุบันนั้น ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีตราสารระหว่างประเทศหลักเหล่านี้แล้วทั้งสิ้น 7 ฉบับ ส่วนอนุสัญญาอีกสองฉบับที่ไทยยังไม่ได้เป็นภาคีคือ อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันบุคคลจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ และอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิกในครอบครัว

โดยในที่นี้ผู้เขียนขอนำเสนอเกี่ยวกับอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination-CERD)

         ในอนุสัญญานี้ คำว่า“การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ”จะหมายถึง การจำแนก การกีดกัน การจำกัด หรือการเลือก โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของเชื้อชาติ สีผิว เชื้อสายหรือชาติกำเนิดหรือเผ่าพันธุ์กำเนิด ซึ่งมีเจตนาหรือมีผลให้เกิดการระงับหรือกีดกั้นการเคารพสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคลในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และในด้านอื่น ๆ ของการดำรงชีวิตในสังคม รวมทั้งการระงับหรือกีดกั้นการใช้สิทธิเหล่านั้นอย่างเสมอภาคของบุคคล ในอนุสัญญานี้เน้นถึงการมีให้ชาติในภาคีห้าม และขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ อีกทั้งจะต้องประฌามการกระทำดังกล่าว อีกทั้งรัฐภาคีจะต้องจัดให้มีมาตรการที่มีประสิทธิภาพและอย่างทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาการสอน การศึกษา วัฒนธรรมและสารสนเทศ โดยมุ่งหมายที่จะต่อสู้กับการมีอคติอันนำไปสู่การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติแต่อนุสัญญานี้ จะไม่ใช้กับการจำแนก การกีดกัน การจำกัด หรือการเลือก โดยรัฐภาคีของอนุสัญญานี้ ระหว่างพลเมืองและบุคคลที่มิใช่พลเมือง

      ประเทศไทยได้ตกลงเข้าร่วมภาคียานุวัติในอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบรับรองโดยสมัชชาใหญ่สหประชาชาติเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2548 มีรัฐภาคีร่วมแล้วกว่า 170 ประเทศ โดยมีหลักการที่ว่า ในขณะที่การเลือกปฏิบัติระหว่างมนุษย์บนพื้นฐานของเชื้อชาติ สีผิวและเผ่าพันธุ์ กำเนิด ยังคงมีให้เห็นอยู่เด่นชัดในหลายประเทศทั่วโลก อาทิ นโยบายแบ่งแยกผิว การแบ่งแยกกลุ่มและการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ
       ปัญหาการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในประเทศไทย ดังเช่น ปัญหาแรงงานข้ามชาติซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน กล่าวคือ แม้รัฐจะมีการเร่งให้แรงงานต่างด้าวมีการขึ้นทะเบียน แต่กลไกดังกล่าวก็ยังรองรับให้กับกลุ่มนายทุนบางกลุ่มเท่านั้น อีกทั้ง เรื่องการจดทะเบียนยังมีเรื่องการทุจริต การเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มนายทุนเพื่อได้รับผลประโยชน์ หรือปัญหา ชนพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทยชนพื้นเมืองในไทยมักถูกเรียกว่า “กลุ่มชนเขา” หรือ “ชนกลุ่มน้อย” ซึ่งมีการปลูกฝังทัศนคติถึง ความไร้อารยธรรมและ โดยประเทศไทยไม่มีกฎหมายเฉพาะที่ยอมรับและปกป้องสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง และรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ผ่านในปี 2007 ก็ไม่ได้ระบุชัดถึงการยอมรับตัวตนของพวกเขา แม้ว่าระหว่างการร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวจะมีตัวแทนจากชนเผ่าพื้นเมืองต่างๆ เข้าร่วมการประชุมหารือทั้งในระดับจังหวัดและในระดับประเทศก็ตาม

       ชนเผ่าพื้นเมืองประมาณ 296,000 คนในประเทศไทยยังคงไม่มีสัญชาติ ทำให้พวกเขาไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี และเข้าไม่ถึงบริการสาธารณะเช่นสาธารณสุขพื้นฐานหรือโรงเรียน นโยบายและแผนงานที่เน้นเฉพาะ หรือการกระทำเกี่ยวกับบทบัญญัติกฎหมายภายในเกี่ยวกับการรักษาป่าไม้นั้นได้ถูกใช้กดขี่สิทธิในที่อยู่อาศัยและเพาะปลูกของชุมชนมากมายที่อาศัยในบริเวณป่า ซึ่งเป็นบ้านของชนเผ่าพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่ม กฎหมายที่ประกาศให้พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นพื้นที่สงวนทำให้ผู้คนนับล้านกลายเป็นผู้บุกรุกที่ดินรัฐ

        จะเห็นได้ว่าแม้ประเทศไทยจะได้ลงนามและให้สัตยาบันปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและว่าด้วยอนุสัญญา ว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ แต่ประเทศไทยก็ยังมีปัญหาการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน จึงต้องร่วมกันตระหนักและร่วมกันแก้ปัญหาอย่างท้จริง ดังเช่นรัฐบาลมีการ ทำรายงานสถานการณ์ดังกล่าวเพื่อเสนอต่อองค์การสหประชาชาติดโดยในรายงานฉบับนี้ตนเห็นว่าต้องทำให้สังคมโลกเห็นว่าสถานการณ์ดังกล่าวในประเทศไทยมีสภาพเป็นเช่นไร ในรายงานจะต้องเสนออย่างตรงไปตรงมา ทั้งนี้เพราะปัญหาดังกล่าวมีอยู่ทุกประเทศ ดังนั้นข้อมูลในรายงานถือเป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดกลไกการแก้ปัญหาทางออก และรัฐบาลเองก็ต้องรับทราบและช่วยกันแก้ไขต่อไป และสุดท้ายควรมีการเคารพสิทธิเสรีภาพอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน

http://www.sac.or.th/databases/cultureandrights/cultural-rights-forum/list-of-readings/1753-2/

http://www.th.wikipedia.org/

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9490000103753

http://pawanrat078.wordpress.com/

http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/cerdt.pdf

หมายเลขบันทึก: 566651เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2014 13:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 เมษายน 2014 13:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท