บางคนส่องพระเก๊จนสติ "ฟั่นเฟือน"


เมื่อคืน (18 เมย 57) เพื่อนในเฟสมาเล่าให้ฟังว่า .......................


มีหลวงพีรูปหนึ่งที่สุโขทัย บอกเขาว่า "ซุ้มกอแดง ไม่มีกนก เก๊ทุกองค์"


สองสามวันก่อน ก็มีคนมาบอกผมว่า "พระสมเด็จไม่มีในตลาด ที่มีอยู่นั้น เก๊ทุกองค์"

หรือคำพูดประจำในวงการพระเครื่อง "พระสมเด็จ เสร็จทุกราย"

ที่น่าจะสะท้อนว่า........ ในชีวิตของคนที่พูดนั้น "เจอแต่ของเก๊".................................

ที่ผมคิดว่า ......น่าสงสารมากๆ

แต่ผมว่า....ไม่น่าเห็นใจ เพราะแสดงว่า เขาเหล่านั้น "ยังไม่สนใจเรียนรู้"............

.......................

------ดูแยก แท้/เก๊ ก็ไม่เป็น
------พระแท้ๆ มาจากไหน ปัจจุบันอยู่ที่ไหนบ้าง ก็ไม่รู้
------ราคาพระแท้ๆ จริงนั้นเท่าไหร่ ก็ไม่รู้
------ใครจะขายบ้าง ก็ไม่เคยสืบเสาะ
------ถ้าอยากได้นั้น/จะได้มาโดยวิธีใด จึงจะสะดวก
------ราคาพอสมควร และ-ไม่เป็นหนี้บุญคุณใครมากจนเกินไปนั้น เท่าไหร่ดี ...................
...............................................

นับได้ว่า "ไม่รู้เรื่องเลย"

ตลอดชีวิต ได้แต่ส่องพระเก๊ จนสติฟั่นเฟือน 

แล้วก็เพ้อออกมาสารพัดคำพูดดังกล่าว

แต่ที่น่าสงสารกว่านั้น คือ ................

คนประเภทเดียวกัน (หรือใกล้เคียงกัน) ที่ไม่ยอมเรียน พอได้ยินพวก "เซียนพระเก๊" เหล่านั้น แสดงอาการ "เพ้อ"..............ออกมา

แทนที่จะตกใจกลัว แล้ว "รีบ" หันมาตั้งใจเรียน เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว..........
กลับนำคำเพ้อ.... เหล่านั้นไปเป็นคัมภีร์ในการดำรงชีวิตต่อไป

ก็ไม่รู้ว่าควรจะ "สงสาร" หรือ "สมเภท" ดีครับ

อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ

คำสำคัญ (Tags): #ตลาดพระ
หมายเลขบันทึก: 566273เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2014 07:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 เมษายน 2014 07:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

คนเหล่านี้ขาดความตั้งใจในการศึกษานะครับ ของที่ตนเองไม่เคยเห็นก็ใช่ว่าไม่มี เช่นอากาศ เป็นต้น คนส่วนใหญ่มักฟังและเชื่อกันตามๆกันมา ไม่ค่อยใช้วิจารณญาณไตร่ตรองหรือใช้หลักความเชื่อ 10 ประการ แต่อย่างว่าต่อให้เห็นด้วยตาก็ยังไม่อาจเชื่อได้ เหมือนการทดสอบทางจิตวิทยาต่างๆ เช่น ขนาดของความยาวของเส้น 2 เส้นที่อยู่ในสภาพแวดล้อมต่างกัน หรือภาพลวงตาที่เคยปรากฏเป็นข่าวบ่อยๆ เช่นรถวิ่งขึ้นเขาได้เอง ทั้งๆที่ความเป็นจริงรถกำลังลงเขา หากแต่ว่า ภาพลวงตาทำให้เห็นเป็นกำลังขึ้นเขา อันความรู้นั้นขึ้นอยู่กับผู้ตั้งใจศึกษา เหมือนการเรียนหนังสือครับ มีโง่ มีฉลาด มีขยัน มีขี้เกียจ คนส่วนใหญ่อยากจะทำตัวเป็นเซียนพระ ก็มักจะตีพระของคนอื่นเก๊ เพราะส่วนใหญ่มันมักจะถูกครับ แต่ถ้าไปเจอผู้รู้ที่แท้จริงแล้ว แค่สอบทานความรู้แค่ไม่กี่อย่างก็ทราบความจริงได้ง่ายๆครับ คำว่าเซียนไม่ได้มีไว้เรียกตัวเองครับ ต้องให้คนอื่นเขาเรียกจึงจะอยู่ในฐานะนั้นอย่างจริงๆ ผู้ชำนาญการจะตอบเฉพาะเรื่องที่ตนเองรู้เท่านั้นครับ และสอนสิ่งที่ได้รับการพิสูจน์แล้วเท่านั้น ไม่นำเอาพระเครื่องที่ตนมีมาเป็นมาตราฐานวัด เพื่อตัดสินพระเครื่องของคนอืน ผมเองเวลาจะตีพระใครเก๊ หากไม่ใช่เก๊ดูง่ายหรือรู้จักพระองค์นั้นดีจริงๆ ยังไม่กล้าตีเลยครับ เพราะอาจเป็นพระที่เกจิอาจารย์ท่านอื่นสร้างล้อพิมพ์ไว้ก็ได้ ใครจะพูดอย่างไรไม่สำคัญ สำคัญว่าเราจะคิดและเชื่ออย่างไรครับ ......อวิชาแพ้ความตั้งใจจริงครับ.....สวัสดีมีชัยทุกท่าน

ได้ติดตามอาจารย์แสวงมาประมาณ2ปีครับ อ่านบันทึกแล้วลงสนาม วิเคราะห์และอ่านซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนปัจจุบันพอที่จะเข้าใจในวิธีดูพระและกระบวนการของพระเครื่องได้ไม่มากก็น้อย(แต่ยังต้องเร่งเพิ่มประสพการณ์) และได้ยินคำพูดต่างๆที่อาจารย์กล่าวถึงอยู่เสมอ วิเคราะห์คนที่พูดได้ดังนี้ครับ

-คนที่อยู่ในวงจรพระเครื่องส่วนมากเป็นคนที่มาตรฐานของการศึกษาค่อนข้างน้อยอยู่แล้ว(โลกทรรศน์ต่ำ)

-การเรียนรู้ส่วนมากใช้วิธีจำกันมา(บอกต่อ)ไม่ได้เรียนรู้โดยการวิเคราะห์ข้อมูล(คิดเชิงวิทยาศาสตร์)

-ศาสตร์ในการดูพระใช้ข้อมูลเยอะมากมาก จนกว่าจะตกผลึกได้(ยิ่งไม่มีคนสอนยิ่งยาก)

-และคนเหล่านื้ให้คุณค่าของพระเครื่องอยู่ที่มูลค่า(เก๊-แท้เรื่องรอง ขายได้หรือไม่เป็นเรื่องหลัก)

-พระที่เรียนรู้ยากเช่นพระกรุหรือพระเนื้อผงถือว่าเป็นเรื่องไกลตัวเพราะขายยาก(ไม่เป็นทั้งคนซื้อคนขาย)

ก็เลยทำให้คนเหล่านี้ขาดความสนใจที่จะเรียนรู้อย่างจริงจัง ก็เลยไม่สามารถขึ้นเป็นเซียน(ผู้ชำนาญ)ได้

เมื่อขาดความรู้ความเข้าใจพร้อมกับโลกทรรศน์ที่ถูกต้อง เราก็เลยได้ยินคำพูดเหล่านี้บ่อยๆ ครับ

ศิษย์ปี2(แอบเรียนครับ)

เห็นด้วยส่วนใหญ่ครับ เว้นข้อเดียว

".....-พระที่เรียนรู้ยากเช่นพระกรุหรือพระเนื้อผงถือว่าเป็นเรื่องไกลตัวเพราะขายยาก(ไม่เป็นทั้งคนซื้อคนขาย)..."

เพราะ

1. ไม่ได้เรียนรู้ยาก แต่หายากมากกว่า และ

2. คนที่ไม่เป็น นั้นก็เฉพาะคนยังไม่เรียนเท่านั้น คนตั้งใจเรียน แค่ 5-10 นาที ก็ดูเป็นแล้วครับ

และ

พระที่เรียนรู้ยากที่สุด คือ พระเหรียญ เพราะ

1. เนื้อพระแท้ก็ใหม่ และทำเลียนแบบได้ 100%

2. บล็อก พิมพ์ ของแท้ๆ ก็ใหม่ๆ ทำเลียนแบบได้ 100%

3. ตำหนิ รอยตัด ก็ทำเลียนแบบได้ 100%

ที่พอจะสังเกต แยกแยะได้บ้าง ก็ "ความเก่า" และจุดแตกต่างเล็กๆน้อย ทีต้องอาศัยความชำนาญขั้นสูงมากๆ ทั้งประสบการณ์สูง และความรู้ "ฝังลึก" (Tacit knowledge) ที่บอกกันไม่ได้

แต่พระเนื้อดิน และเนื้อผงนั้น แค่ดูเป็นกลุ่ม มาตรฐานกลาง (เหี่ยว ฉ่ำ นวล) ถ้าผ่าน ก็แท้แล้วครับ

ยังไม่ต้องรู้ด้วยซ้ำว่าพระอะไร วัดไหน ปีไหน

ง่ายกว่ากันเยอะเลย

อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ

เห็นด้วยกับอาจารย์เป็นอย่างยิ่งจับเหรียญทีไรบาดมือเลือดออกซิบๆทุกที สู้เนื้อผงเนื้อดินไม่ได้ยังได้ลุ้นบ้าง 2ภาพข้างบนงามบาดตา บาดใจครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท