ปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่เชื่อมต่อกับสังคมโลก


         

                     สิทธิมนุษยชน  (Human Right)  หมายถึง  สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ คุ้มครองตามกฎหมายและสนธิสัญญาระหว่างประเทศ  และยังเป็นสิทธิที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่กำเนิด ซึ่งไม่สามารถจำหน่าย จ่าย โอน หรือแจกให้กับผู้หนึ่งผู้ใดได้ สิทธิดังกล่าวนี้จึงมีความเป็นสากลและเป็นนิรันดร์  [1]

                     โดยกระแสแห่งโลกยุคปัจจุบันเป็นกระแสของโลกาภิวัตน์เศรษฐกิจทุนนิยมยุคแห่งข้อมูลข่าวสารและความเป็นประชาธิปไตยซึ่งสิ่งจำเป็นสำหรับพื้นฐานของประชาธิปไตยที่สำคัญประเด็นหนึ่งก็คือเรื่องสิทธิมนุษยชน [2] ซึ่งในปัจจุบันนั้นปัญหาสิทธิมนุษยชนนั้นได้เกิดขึ้นมากมายทั่วโลกเป็นและปัญหาสำคัญที่ทุกประเทศต้องเข้ามาร่วมมือและช่วยกันแก้ปัญหา โดยองค์การต่าง ๆ  เช่น สหประชาชาติ และองค์การเอกชนต่าง

                     อย่างไรก็ตามปัญหาในการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยนั้นได้เกิดขึ้นอย่างมากมาย  เช่นกรณีปัญหาการใช้ความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และครอบครัวและ  การละเมิดสิทธิในจังหวัดชายแดนใต้  และกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนของชาวโรฮิงญาที่อพยพและลี้ภัยเข้ามาในประเทศไทยซึ่งปัญหาชาวโรฮิงญาดังกล่าวมิได้เป็นปัญหาเฉพาะในสังคมไทยเท่าทั้น แต่ยังเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลกและนานาประเทศต่างให้ความสนใจเป็นอย่างมาก   ข้าพเจ้าจึงขอหยิบยกในประเด็นปัญญาสิทธิมนุษย์ชนของชาวโรฮิงญาซึ่งเป็นปัญหาที่เชื่อมต่อกับสังคมโลกมาอธิบายโดยละเอียดดังนี้

                 โรฮิงญา เป็นประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามในรัฐอาระกัน ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่ถูกเหยียดหยามและเลือกปฏิบัติโดยรัฐบาลทหารพม่าอย่างต่อเนื่อง และถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมากโดยรัฐบาลทหารพม่า ตั้งแต่การบังคับไม่ให้เคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ตามกฎหมายสัญชาติพม่าปี 1982 (Burma Citizenship Law) ต้องขออนุญาตจากรัฐบาลทหารถ้าจะออกจากพื้นที่ และต้องจ่ายเงินถ้าจะออกจากพื้นที่ ทำให้มีสถานภาพความเป็นอยู่ที่ต่ำมาก เนื่องจากไม่สามารถหางานทำหรือค้าขายได้ ซ้ำร้ายยังถูกละเมิดไม่ให้รับสิทธิที่จะได้รับสัญชาติ ห้ามแต่งงานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลทหารพม่า นับว่าเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีสถานการณ์ความเป็นอยู่ที่เลวร้ายที่สุดในพม่า ด้วยเหตุนี้ทำให้ชาวโรฮิงญาต้องหนีภัยจากพม่าเป็นจำนวนมาก หากพิจารณาเหตุปัจจัยเหล่านี้  [3] 

                                 ซึ่งการที่ชาวโรฮิงญาอพยพลี้ภัยมาจากประเทศพม่านั้นก็เพราะ  ถูกบีบคั้นจากรัฐบาลพม่าโดยการกดขี่ข่มเหง  ทารุณกรรมเนื่องจากประเทศพม่าไม่ต้องการชาวโลฮิงญา ซึ่งการกระทำของประเทศพม่านั้นเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามปฏิญญาสากลฯ  ดังนี้

ข้อ 1 มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรีและสิทธิ ต่างในตนมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งภราดรภาพ

 ข้อ 13  ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งการเคลื่อนย้ายและการอยู่อาศัยภายในพรมแดนของแต่ละรัฐ แต่พม่าได้พยายามทุกวิถีทางเพื่อขับไล่ชาวโรหิงญาออกจากประเทศของตน จึงถือว่าขัดต่อข้อกฏหมายนี้

  ข้อ 15 (1) กล่าวคือ ทุกคนมีสิทธิในสัญชาติหนึ่ง แต่ตามข้อเท็จจริง พม่าปฏิเสธการให้สัญชาติกับชาวโรฮิงญา เช่นนี้ พม่าไม่ได้ให้ชาวโรฮิงญามีสัญชาติ พม่าได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนในข้อนี้ด้วย

             ชาวโรฮิงญาจึงน่าจะมีสถานะเป็นผู้ลี้ภัย ซึ่งโดยหลักปฏิบัติของนานาชาติแล้ว ผู้ลี้ภัย หรือผู้หนีภัยความตาย จะต้องไม่ถูกส่งกลับเพื่อไปเผชิญหน้ากับภาวะความเสี่ยงต่อชีวิต และจะต้องได้รับการช่วยเหลือคุ้มครองจากประเทศที่เข้าไปลี้ภัยด้วยหลักมนุษยธรรมในฐานะมนุษยชนคนหนึ่ง แต่เมื่อชาวโรฮิงญามีสถานะที่แตกต่างกับประชาชนในรัฐอาระกันหรือชนชาติยะไข่ ทั้งเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม และภาษาพูด อีกทั้งรัฐบาลทหารพม่ามีทัศนคติว่า ชาวโรฮิงญาเข้ามาอยู่ในพม่าไม่นาน ทำให้รัฐบาลทหารไม่ยอมรับความเป็นประชาชนของพม่า แม้ปัจจุบันในรัฐอาระกันมีประชาชนทั้งหมดกว่า 3 ล้านคน และประมาณ 1 ล้านกว่าเป็นชาวโรฮิงญาก็ตาม เมื่อรัฐบาลทหารพม่ามีนโยบาย “สร้างชาติพม่า” เพื่อจะ “กำจัดชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศอย่างผิดกฎหมาย" ชาวโรฮิงญาจึงได้รับผลกระทบอย่างมาก

                โดยเมื่อชาวโรฮิงญาอพยพหรือลี้ภัยหรือลักลอบเข้ามาใประเทศไทยแล้วนั้น  จึงมีประเด็นให้พิจารณาว่าประเทศไทยของเรานั้นได้จัดที่อยู่และได้ให้ความช่วยเหลือเพียงพอเท่าที่มนุษย์คนนึงสมควรจะได้รับตามหลักสิทธิมนุษยชนหรือยัง   และหากประเทศไทยไม่ได้ทำการดังกล่าวและผลักดันกลุ่มบุคคลดังกล่าวออกไปไม่ให้เข้าประเทศจะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษย์ชนของชาวโรฮิงญาหรือไม่   ซึ่งตามความคิดเห็นของข้าพเจ้า  จากอดีตที่ประเทศไทยได้ผลักชาวโรงฮิงญาที่ลักลอบผิดกฎหมายเข้ามาไม่ให้เข้าดินแดนไทยนั้น   ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนเพราะการกระทำดังกล่าวขัดต่อปฏิญญาสากล ข้อ 14(1) ทุกคนมีสิทธิที่จะแสวงหา และที่จะได้ที่ลี้ภัยในประเทศอื่นจากการประหัตประหาร  และการที่ชาวโรฮิงญาก็เป็นมนุษย์คนนึงมีคุณค่าความเป็นมนุษย์เท่ากับคนชนชาติอื่นๆ  ก็ควรจะจัดให้ที่พักพิงและอาหารเท่าที่จำเป็นเพื่อยังชีพและเพื่อความอยู่รอดหากไม่กระทำการดังกล่าวก็จะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนเช่นกัน

  •                  และปัญหาที่สำคัญอีกประการนึงก็คือการนำเอาชาวโรฮิญญามาค้ามนุษย์  กล่าวคือ ชาวโรฮิงญานั้นได้ลักลอบเข้ามาในประเทศของเราโดยผิดกฎหมาย  เมื่อเข้ามาอยู่ในประเทศไทย  ก็มิได้มีการรับรองสถานะแต่อย่างใดและประเทศไทยก็มิได้ต้องการโรฮิงญาเข้ามาอยู่ในประเทศอยู่แล้วการคุ้มครองและดูแลบุคคลดังกล่างจึงหละหลวมและมีหน่วยงานของรัฐ ตั้งแต่หน่วยงานที่รับผิดชอบในน่านน้ำ บนบก ที่มีทั้งแค่เปิด “ไฟเขียว” ให้มีการนำชาวโรฮิงญาไปเป็น “สินค้า” ได้อย่างสะดวก ง่ายต่อการถูกนำไปค้ามนุษย์ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน   ซึ่งขัดต่อปฏิญญาสากล ข้อ 4   บุคคลใดๆจะถูกนำไปเป็นทาสไม่ได้ และห้ามการค้าทาสทุกรูปแบบ [4]   และยังขัดต่อ UDHR สิทธิมนุษย์ใน ข้อ 1All human beings are born free and equal in dignity and rights.They are endowed with reason and conscience and should act towards one another in a spirit of brotherhood. [5]

      จากที่กล่าวมาการกระทำของรัฐบาลไทยนั้นไม่ว่าจะเป็นการที่รัฐเอื้ออำนวยให้มีการนำชาวโรฮิงญาไปขาย  หรือกรณีที่ผลักไม่ยอมให้โรฮิงญาเข้ามาในประเทศนั้นรํฐไทยมิได้แตกต่างไปจากรัฐเมี่ยนม่าแต่อย่างใด    เพราะโรฮิงญายังคงถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนและไม่ได้รับความคุ้มครอง  ข้าพเจ้าจึงมีความคิดเห็นว่าประเทศไทยควรจะรณรงค์ให้ประชาชนเห็นความสำคัญของความเป็นมนุษย์และหลักว่าด้วยสิทธิมนุษย์ชนต่างๆ   เพื่อเปลี่ยนแปลงมุมมองความคิดของคนในประเทศให้มีทัศนคติที่ดีต่อคนที่ลี้ภัยหรืออพยพหรือหนี้ความตายเข้ามา   เนื่องจากข้าพเจ้าเห็นว่าประเทสไทยนั้นมีกฎหมายและอนุสัญญาต่างๆรับรองเรื่องดังกล่าวอยู่มากแล้ว  ซึ่งปัญหาที่แท้จริงน่าจะเกิดที่ไม่สามารถปฏิบัติตามได้จริงเพราะทัศนคติและความคิดของผู้ใช้

         

แหล่งอ้างอิงข้อมูล

[1] ความหมายของสิทธิมนุษยชน (ออนไลน์) http://th.wikipedia.org/wiki

[2] ประชาธิปไตยกับโลกาภิวัฒน์ (ออนไลน์) http://www.oknation.net/blog/print.php?id=390434

[3] ความเป็นอยู่ของคนโรฮิงญา(ออนไลน์)  http://www.oknation.net/blog/print.php?id=447005

[4]การรับรองสถานะคนโรฮิงญา(ออนไลน์)  http://www.l3nr.org/posts/519241

[5]ี udhr(ออนไลน์)  http://www.un.org/en/documents/udhr/index.shtml

หมายเลขบันทึก: 565921เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2014 15:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2014 23:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท