สาเหตุที่คุณมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น


ภาพ- google

สาเหตุที่คุณมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 

ไม่แปลกเลย หากคุณมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเพราะชอบรับประทานอาหารที่มันๆในปริมาณมากๆ ของหวาน ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์หรือที่มีน้ำตาลสูง หรือเมื่อคุณได้รับพลังงานจากการทานเข้ามามากกว่าที่ได้เผาผลาญออกไป

แต่ถ้าหากคุณมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น แม้จะได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและรับประทานอาหารอย่างเหมาะสมแล้วก็ตาม คุณหมอ Michelle May ผู้เขียนหนังสือ Am I Hungry? What to Do When Diets Don't Work ได้อธิบายไว้ว่า นั่นอาจเกิดจากสาเหตุหลายๆอย่างประกอบกัน ซึ่งมีดังต่อไปนี้คือ

  1. การอดนอน- ร่างกายจะทำงานเป็นปกติหากได้พักผ่อนเพียงพอ การอดนอนจะทำให้ร่างกายเกิดความเครียดและอยากรับประทานเพื่อคลายเครียด และยังเริ่มสะสมไขมันมากขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้คุณรับประทานอาหารดึกเกินไปด้วย หากรู้สึกเพลียไม่มีแรง เผลอหลับบ่อย หงุดหงิด นั่นแปลว่าคุณอดนอน คุณควรพยายามนอนให้ได้คืนละ 8 ชั่วโมง ควรเพิ่มเวลานอนให้ได้มากขึ้นๆทีละน้อย โดยเพิ่มขึ้นครั้งละ 15 นาที แล้วเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนกว่าจะรู้สึกว่าได้นอนเพียงพอแล้ว การออกกำลังกายและนอนให้ตรงเวลาจะช่วยให้หลับได้ดีขึ้น
  1. ความเครียด- เราอยู่ในสังคมที่ต้องทำงานมากๆ เพื่อให้มีทรัพย์สินมากๆ แม้ว่าความเครียดจะช่วยผลักดันเราให้ก้าวหน้าขึ้นก็ตาม แต่ก็ส่งผลเสียต่ออารมณ์และความรู้สึกของเราด้วยเช่นกัน ผลคือการตอบสนองของกลไกภายในร่างกายต่อความเครียดเหล่านี้โดยมีการเผาผลาญที่ช้าลงๆ สะสมไขมันมากขึ้นๆ โดยเฉพาะในบริเวณหน้าท้อง คุณ Susan Bowerman นักโภชนาการแห่งมหาวิทยาลัย UCLA ได้กล่าวถึงความอยากในการรับประทานเพื่อคลายเครียดว่ามักจะทำให้อยากรับประทานอาหารจำพวกแป้ง ซึ่งจะไปเพิ่มสารซีโรโทนินในสมองเพื่อคลายเครียดและทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ซึ่งเธอได้แนะนำให้ออกกำลังกายและฝึกเทคนิคการผ่อนคลายแทนจะดีกว่า
  2. ยา- ยาบางชนิดเช่น ยารักษาโรคซึมเศร้าและโรคประสาทต่างๆ โรคทางสมอง  โรคปวดศีรษะ โรคความดันโลหิต และโรคเบาหวาน มีผลทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้มากถึง 10 ปอนด์(5 กก)ต่อเดือน หรือพวกฮอร์โมน สเตียรอยด์ และยาคุมกำเนิดก็ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน อย่างไรก็ดี การทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นของยาแต่ละชนิดก็แตกต่างกันไปแล้วแต่บุคคลและอาการเช่น ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเพราะทำให้อารมณ์ดีเลยอยากรับประทาน หรือทำให้ร่างกายสะสมน้ำมากขึ้น ดังนั้นเราจึงควรรับประทานอย่างมีสติและหมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  3. ฮอร์โมน- โรคของต่อมไทรอยด์ซึ่งผลิตฮอร์โมนน้อยเกินไป ทำให้ร่างกายไม่ค่อยจะเผาผลาญ โดยมักมีอาการอ่อนเพลีย ตัวบวม เป็นหวัดง่าย นอนมาก ปวดศีรษะ หรือเมื่อร่างกายผลิตฮอร์โมนคอร์ติโซลมากเกินไป ก็ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน
  4. วัยทอง- เมื่อผู้หญิงเข้าสู่วัยทอง ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนผิดปกติ ซึ่งทำให้หิวมากขึ้น นอนไม่หลับ มีอาการซึมเศร้า และเมื่อร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อยลง จะทำให้ร่างกายโดยเฉพาะส่วนล่างสะสมไขมันมากขึ้นๆ วิธีป้องกันที่จำเป็นมากคือ การฝึกยกน้ำหนัก เพื่อเพิ่มมวลกล้ามเนื้อและทำให้กระชับขึ้น โดยไม่ต้องกังวลว่าจะทำให้ตัวล่ำหรือโตขึ้น การฝึกยกน้ำหนักจะช่วยทำให้ร่างกายเผาผลาญได้ดีขึ้นและยังลดความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนได้ด้วย 

ที่มา www.webmd.com

หมายเลขบันทึก: 565143เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2014 17:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2014 17:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำดี ๆ นะคะ จะลองทำค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท