รูปแบบการบริหารที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายใน ของโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย สำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร


ชื่อเรื่อง        รูปแบบการบริหารที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายใน ของโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย  สำนักงานเขตสายไหม  กรุงเทพมหานคร

ผู้วิจัย          นางสุนันท์   วชิรมนตรี

ปีการศึกษา     พ.ศ.2555 – 2556

                                                                                   บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการบริหารที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายใน  2)  สร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารที่มีคุณภาพมาตรฐาน และ3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารที่สร้างและพัฒนาขึ้นส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายใน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 4 คน ครูผู้สอน จำนวน 167 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน และคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง จำนวน 7 คน รวมทั้งสิ้น 192 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และแปลความหมาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

        ผลการวิจัย พบว่า

                1) สภาพปัญหาการบริหารที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายใน โดยรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด x =  1.44  ระดับสภาพปัญหาของแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่มีปัญหาน้อยที่สุด  คือ ด้านการประเมินคุณภาพ  x = 1.40 รองลงมา คือ ด้านการควบคุมคุณภาพการศึกษา  = 1.48 และด้านการตรวจสอบคุณภาพและปรับปรุงโรงเรียนx = 1.52 ตามลำดับ

                 2)  สร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารที่มีคุณภาพมาตรฐาน โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 12 คน ดำเนินการโดยการสนทนากลุ่ม (FocusGroup) และวิธีอ้างอิงผู้ทรงคุณวุฒิ (Connoisseurship) ผลการใช้รูปแบบการบริหารที่สร้างและพัฒนาขึ้น โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  x=  4.51 ระดับการปฏิบัติของแต่ละองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด  คือ องค์ประกอบที่ 4 ความเป็นเอกภาพ  x =  4.55 รองลงมาคือองค์ประกอบที่ 1  ผู้บริหารเหนือผู้บริหาร x  =  4.52 ส่วนองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ องค์ประกอบที่ 2  การสู่เป้าหมายสูงสุด  x=  4.47

                  3)  ผลการใช้รูปแบบการบริหารที่สร้างและพัฒนาขึ้นส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายใน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ระดับการปฏิบัติของแต่ละองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบ  ที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด  คือ  องค์ประกอบที่  4  การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาx =  4.60 รองลงมาคือองค์ประกอบที่ 3 การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ  x =  4.58  ส่วนองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ องค์ประกอบที่ 1 กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา x  =  4.45

 

คำสำคัญ (Tags): #ประกันคุณภาพ
หมายเลขบันทึก: 565087เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2014 02:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2014 09:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท