nobita
นาย ชัยพร รัตนดิลก ณ ภูเก็ต

มีวิชาเป็นเครื่องหาเลี้ยงชีพสำหรับตน


"...เด็กเอ๋ย เด็กน้อย ความรู้เรายังด้อยเร่งศึกษา เมื่อเติบใหญ่เราจะได้มีวิชา เป็นเครื่องหาเลี้ยงชีพสำหรับตน..."

บันทึกนี้มาจากปิ๊งแว๊บในอนุทินวันนี้ แต่กว่าจะเริ่มลงมือได้ก็มัวแต่นังหารูปตัวเองตอนรับปริญญาโทอยู่ สุดท้ายก็หาไม่เจอ แต่ก็เอารูปตอนที่ไปแสดงความยินดีกับน้องสาวผู้น่ารักรับปริญญาโทแทนก็แล้วกัน cr.ภาพของน้องปุ๊กนะคับ

วันก่อนพี่ที่ทำงานมาถามผมว่า น้องแบงค์ เรียนปริญญาโท ที่ไหนจ่ายไม่แพงบ้าง... ผมก็ตั้งสติอยู่พักนึง ก่อนจะเริ่มต้นสนทนา เพราะไม่รู้จะตอบอย่างไรเหมือนกันว่าที่ไหนจ่ายมาก จ่ายน้อย เพราะตอนเรียนก็เรียนแค่ที่เดี่ยว รู้แต่ของตัวเองเท่านั้น แต่ก็พอจะรับฟังมาและจะตอบพี่เขาไปเป็นแค่แนวทางกลาง ๆ ว่า

ปกติการเรียนปริญญาโท จะมีการเรียนอยู่ ๒ แบบใหญ่ ๆ คือ แบบแรก  การเรียนตามโครงการพิเศษที่มหาวิทยาลัยเปิด ซึ่งจะใช้เวลาเรียนนอกเวลาราชการ เช่น ตอนเย็น หรือเรียนวันหยุด ถ้าแบบนี้ ส่วนมากค่าใช้จ่ายก็จะประมาณหลักแสน จนเกือบสองแสนก็มี และมักจะเป็นการเหมาจ่าย เรียนประมาณ ๔ เทอม แต่ละเทอมก็เป็นหมื่นอยู่

แบบที่สอง  ก็จะเป็นการสอบแข่งขันเข้าเรียนตามหลักสูตรปกติของมหาวิทยาลัย ซึ่งจะรับน้อย เรียนในวันและเวลาราชการ และค่าใช้จ่ายจะถูกกว่าที่เป็นหลักสูตรโครงการพิเศษ แต่ก็ประมาณหลักหมื่นอยู่ดีนั่นแหละ

พี่เขาก็ถามว่า ค่าใช้จ่ายครั้งแรกจะประมาณเท่าไหร่  ผมก็ใช้ประสบการณ์ตัวเองบอกว่า ส่วนมากเทอมแรก ก็จะมีค่าบำรุง ค่าหน่วยกิจ ค่าประกัน โน่น นี่ นั้น ก็ หมื่น สองหมื่นนั่นแหละ

คุยโน่นนี่นั้น ก็แนะนำมหาวิทยาลัยเปิดของรัฐให้พี่เขา แล้วบอกกำหนดการ และประมาณค่าใช้จ่าย รวมถึงเวลาการเรียนให้เขารู้

ผมก็ถามเขาว่า จะถามไปทำไม จะเรียนเองรึ.. แล้วก็ได้คำตอบว่า ถามให้หลาน ที่เขาเพิ่งจบปริญญาตรี อยากไปแนะนำให้เขาไปเรียนต่อปริญญาโท เพราะหลานคนนี้เรียนเก่ง ไม่อยากให้เขาหยุดเรียน  แต่ก็ติดปัญหามากมาย ตั้งแต่ พ่อให้สนับสนุนให้เรียน ขนาดปริญญาตรี ยังกีดกันไม่ให้ลูกสาวเรียน แต่เขาก็พยายามเรียนจนจบปริญญาตรีจนได้ (จบ มศว.สาขาการโรงแรม และเก่งภาษาจีน)  พอจบปริญญาแล้ว พ่อเขาก็ไม่ให้ออกไปทำงานอะไรที่ไหน นอกจากให้ทำงานในโรงงานของตนเอง ซึ่งให้เงินเดือนน้อยและงานก็ไม่ตรงกับความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมา  และ ฯลฯ ของปัญหาของลูกสาวในครอบครัวคนจีน...

พอทราบที่ไปที่มาของการหาข้อมูลครั้งนี้ ผมก็เลยให้แนะนำพี่เขาว่า

๑.  อยากให้คิดก่อนว่า เรียนปริญญาโท เพื่ออะไร เรียนเพื่อใช้ทำงาน หรือเรียนเพราะสังคมบอกว่าต้องเรียน โดยไม่รู้ว่าจบแล้วจะได้ประโยชน์อะไรหรือเปล่า อย่างในกรณีหลานสาวคนนี้ จบมาแล้วพ่อก็ไม่ให้ไปทำงานที่ไหน แล้วยังจะให้ทำงานโรงงานซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ปริญญาโทอยู่ดี เรียนไปก็เสียทั้งเวลา และเงินเปล่า ๆ 

๒.  คนที่เรียนปริญญาโท ส่วนมากมาจากคนที่เคยทำงานมาแล้ว แล้วมาเรียนเพิ่มความรู้ เพิ่มหลักการศึกษาวิจัยเพิ่ม การที่คนทำงานแล้วไปเรียน จะช่วยให้มีประสบการณ์ในการทำแบบฝึกหัด การอภิปรายพูดคุย และการทำวิทยานิพนธ์ ต่างกับเด็กที่จบใหม่ ๆ จะขาดตรงนี้แล้วทำให้การเรียนให้แตกฉานดูจะยากแต่ก็ไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้  แต่ก็มีบางสาขาวิชาที่จบตรีแล้วต้องต่อโทให้รู้ลึกไปเลยก็มีซึ่งส่วนมากจะเป็นทางวิทยาศาสตร์ ซะมากกว่า

พี่เขากลัวว่าถ้าหลานสาวไม่เรียนต่อตอนนี้ ถ้าห่างไปจะไม่อยากเรียนหรือเรียนไม่ได้  

ผมบอกว่า คนที่เขาตั้งใจจริง ๆ นานแต่ไหนเขาก็ไม่ลืม ไม่ทิ้งการเรียนหรอก บางคนออกมาหาประสบการณ์สักพักก่อน เก็บเงินเก็บค่าเล่าเรียนก่อน แล้วพอถึงเวลาค่อยกลับไปเรียนใหม่ ก็มีมากมาย ดีกว่ารีบเรียนแล้วไม่ได้ใช้ พอถึงเวลาจะใช้จริง ๆ ความรู้อาจจะเข้าหม้อ (ลืม) ไปแล้วก็ได้

ผมก็ยกตัวอย่าง เคยมีคนถามผมว่า ทำไมไม่เรียนปริญญาเอกล่ะ ตอนนี้ก็มีเปิดสอนหลายแห่ง หลายหลักสูตร และดูผมก็ตั้งใจดี น่าจะเรียนแล้วจบได้ไม่ยาก  ผมก็ตอบเขาไปว่า ตำแหน่งหน้าที่การงานและความก้าวหน้าของผมนั้น ปริญญาเอก ไม่มีความสำคัญอะไรหรอก สิ่งสำคัญของการทำงานแล้วเรียนรู้จากงาน เก็บเกี่ยวประสบการณ์ และรู้จักพัฒนางานที่ทำน่าจะดีกว่า และผมได้ความรู้และกรอบแนวคิดการศึกษาหาความรู้จากการเรียนปริญญาโทมาแล้ว  ที่สำคัญ เรียนปริญญาเอก ต้องใช้ปัจจัยเยอะมากสำหรับผม จบมาแล้วก็น่าจะทำอะไรได้ไม่มาก สรุปว่า ไม่เรียนดีกว่า พอแล้ว...

ผมคิดว่าจากการสนทนากับพี่เขาวันนั้น เขาคงจะนำกลับไปคิด และคงไปคุยกับหลานสาวเขาอีกครั้งหนึ่ง ส่วนเขาจะตัดสินใจอย่างไรนั้น ผมก็ไม่ได้ถามต่อ ปล่อยให้เป็นไปตามความต้องการของแต่ละบุคคลไป...

และนี่คือ กรอบแนวคิดของผม ที่ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการถามเรื่องการเรียนปริญญาโท ในวันนั้น และคิดว่าน่าจะนำมาบันทึกแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้บ้างครับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 564925เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2014 23:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2014 23:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอแสดงความยินดีย้อนหลัง...เพราะในภาพมองเห็นอาจารย์พายัพ พยอมยนต์ยังหนุ่มอยู่นะคะ...พูดถึงความรู้จากการเรียนทั้ง 3 ระดับ มีความแตกต่างกันทั้งฐานะทางสังคม และหน้าที่การงานของผู้เรียน ว่าจบแล้วจะนำความรู้ไปใช้ให้เหมาะสมกับงานและชีวิตประจำวันในระดับไหน จะอยู่ในสังคมกลุ่มไหน...ยังเชื่อมั่นว่าการศึกษาพัฒนาคน พัฒนาชาตินะคะ...

ประสบการณ์เรียน ป.โท มีคุณค่ามากกว่าตอนเรียนป.ตรีนะคะ ตอน ป.ตรียังเด็กน้อย ห่วงเล่นอยู่

ป.โทได้เรียนรู้ด้วยตัวเองมากขึ้น และ ประสบการณ์ตอนทำวิทยานิพนธ์มีคุณค่ามาก นำมาใช้กับการทำงานได้เยอะ

เป็นเครื่องหาเลี้ยงชีพสำหรับตนจริงๆ ค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท