ผลจากการจัดการเศรษฐกิจแบบการตลาดไปสู่ประชานิยม 2. ลักษณะที่ทักษิณและยิ่งลักษณ์ใช้ในการจัดการทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ตอนที่ 5


2. ลักษณะที่ทักษิณและยิ่งลักษณ์ใช้ในการจัดการทางเศรษฐกิจของประเทศไทย

     จากการศึกษาเอกสารของ รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ (ทักษิโณมิกส์ ในสายตารังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. http://prachatai.com/journal/2004/08/87) และ ชัยพงษ์ สำเนียง (การเมืองสมัยทักษิณ ชินวัตร. http://www.siamintelligence.com/thai-politics-in-thaksin-shinawatra-era/

, http://www.siamintelligence.com/thai-politics-in-thaksin-shinawatra-era-part-two/) พบว่า ถึงแม้ว่าระบอบทักษิณ หรือทักษิโณมิคส์ จะประกอบไปด้วยข้อดีหลายอย่าง แต่ก็มีข้อเสียเช่นเดียวกัน อันดับแรก เราจะมาดูข้อดีของระอบบทักษิณ หรือทักษิโณมิคส์ในการดำเนินนโยบายกันก่อน

     นโยบายที่ทักษิณใช้ไม่ว่าจะเป็น 1.โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เป็นโครงการที่ได้สร้างสวัสดิการพยาบาลอย่างทั่วหน้า 2.การพักชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย 3 ปี และการลดภาระหนี้ รัฐบาลดำเนินโครงการนี้ผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) โดยให้เกษตรกรสามารถเลือกที่จะพักชำระหนี้ 3 ปี โดยไม่เสียดอกเบี้ย หรือเลือกลดภาระหนี้ โดยรัฐบาลได้เข้าไปช่วยเกษตรกรในการปรับโครงสร้างและฟื้นฟูอาชีพของตนเองอีกด้วย3. แก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรตามโครงการการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตรและโครงการแผนฟื้นฟูการเกษตร 4. กองทุนหมู่บ้านละล้าน ก่อให้เกิดผลดีบางประการ ดังนี้

      1. คือ นโยบายของพรรคไทยรักไทยเป็นการกลับทิศของการเสนอนโยบายที่มีสำรวจความต้องการของประชาชนอย่างจริงจัง และยาวนาน มากกว่าการจินตนาการจากตัวเลข ทำให้นโยบายต่างๆ ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง และทำให้การแข่งขันกันทางนโยบายเกิดขึ้นจริง แต่เป็นการแข่งขันทางนโยบายที่พยายามจะเป็นประชานิยมมากกว่ากันเพื่อหวังคะแนนเสียงจากผู้เลือกตั้ง ซึ่งแต่เดิมนั้นรัฐบาลก่อนหน้า มักจะได้นโยบายจากการกำหนของเทคโนแครต/ข้าราชการ/นักวิชาการ มากกว่าที่จะมาจากนักการเมือง เมื่อมีการก่อตั้งพรรคไทยรักไทย การกำหนดนโยบายเปลี่ยนโฉมหน้าไป เพราะพรรคไทยรักไทยมีนโยบายของตัวเอง หน่วยราชการเป็นเพียงส่วนเสริมที่คอยนำเอานโยบายกว้าง ๆ ของพรรคไทยรักไทยไปแปรเป็นรูปธรรมและนำไปปฏิบัติใช้ ในยุคนี้ถือว่าเป็นยุคที่ข้าราชการมีอำนาจต่อรองน้อยก็ว่าได้

       2. ได้เกิดการปรับสมดุลของอำนาจระหว่างข้าราชการ และนักการเมือง รัฐบาลมีความพยายามที่จะก้าวรุดหน้าไปกว่าระบบอำมาตยาธิปไตย โดยรัฐบาลเป็นผู้ขับเคลื่อนนโยบายด้วยตนเอง ในการกำหนดทิศทาง แทนที่จะหวังพึ่งแต่ข้าราชการประจำในการดำเนินงาน

       รัฐบาลไทยรักไทยมุ่งสยบข้าราชการระดับสูงให้อยู่ภายใต้อำนาจของฝ่ายบริหารอย่างสิ้นเชิง มีการย้ายข้าราชการอย่างสม่ำเสมอ ฝ่ายบริหารมีอำนาจตัดสินใจในการโยกย้ายอย่างเบ็ดเสร็จ จนเกิดข้อครหาว่าแทรกแซงระบบราชการ เป็นการท้าทายความเป็นใหญ่อุดมการณ์อำมาตยาธิปไตย  แต่อย่างไรก็ตามการบริหารในลักษณะนี้ได้สร้างอำนาจนำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ อย่างเด่นชัด จนทำให้บทบาทของรัฐมนตรีคนอื่นๆ เป็นแต่เพียงลูกคู่เท่านั้น  

       3. เกิดการแข่งขัน และถกเถียงในเชิงนโยบายอย่างจริงจัง ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีการนำแนวคิดประชานิยมมาใช้พรรค/นักการเมืองต่างเสนอนโยบายที่เป็นแต่เพียงความฝัน ไม่สามารถนำมาปฏิบัติใช้ได้ ภายหลังมีการนำแนวคิดประชานิยมมาปฏิบัติใช้ทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างแท้จริง ทำให้เกิดการแข่งขันเชิงนโยบาย ลด/แลก/แจก/แถม อย่างมโหฬาร ของพรรคการเมืองต่างๆ อย่างที่ไม่เคยมีมา นำมาสู่การถกเถียงว่านโยบายประชานิยมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างไร เนื่องจากผลกระทบโครงการเอื้ออาทรต่าง ๆ ได้มีนักวิชาการบางกลุ่มมองว่าเป็นนโยบายที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยในระยะยาว เป็นการบิดเบียนกลไกตลาด และทำให้ประชาชนเป็นแต่เพียงผู้คอยรับความช่วยเหลือจากรัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว

      4. การที่รัฐบาลดำเนินนโยบายประชานิยมรูปแบบต่างๆ มองได้ว่าเป็นการเข้าไปยึด “พื้นที่ทางการเมือง” ของเอ็นจีโอและเครือข่ายการเมืองภาคประชาชนอื่นๆ ด้วยวิธีการดึงมวลชนให้มาอยู่กับภาครัฐและกลไกตลาด เป็นการที่รัฐเข้าไปครอบงำสังคม เป็นการโดดเดี่ยวผู้นำหรือกลุ่มประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบาย เป็นการบั่นทอนบทบาทฐานะและศักยภาพในการเคลื่อนไหวของการเมืองภาคประชาชนไปได้อย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มที่ภาครัฐและฝ่ายทุนจะใช้ความรุนแรงสกัดความเคลื่อนไหวทางการเมืองภาคประชาชน

      อย่างไรก็ตาม การทำงานของ องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) ก็ไม่ได้มุ่งเปลี่ยนแปลงโครงสร้างมุ่งแก้ปัญหาเฉพาะจุด ทำให้ไม่เกิดผลกระเทือนในวงกว้าง แตกต่างจากนโยบายประชานิยมที่ปรับเปลี่ยนโครงสร้าง และทำให้คนทุกกลุ่มเข้าถึงอย่างทั่วหน้า (แม้มีข้อกังขาในเชิงประสิทธิภาพ) จึงทำให้เกิดผลกระเทือนในวงกว้างอย่างที่ไม่เคยมีมา NGOs ที่เคยเฟื่องฟูและมีบทบาทอย่างสูงในสังคมไทยยุคทศวรรษที่ 2520 – ต้น 2540 ได้ลดบทบาทไปอย่างมากและไม่มีท่าทีว่าจะกลับมาเป็นพลังในการขับเคลื่อนสังคมได้อีกเลย

      5. ความสำเร็จของนโยบายประชานิยมได้สร้างความนิยมต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ อย่างมาก จนมีอำนาจในการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีได้อย่างอิสระ ทำให้การเมืองระบบมุ้งลดความสำคัญลง พรรค/นโยบาย/พ.ต.ท.ทักษิณ กลายเป็นจุดขายที่สำคัญแทนตัวบุคคล และเป็นปัจจัยให้พรรคไทยรักไทย/เพื่อไทย ชนะการเลือกตั้งมาอย่างต่อเนื่อง

      กล่าวโดยสรุป นโยบายประชานิยมของทักษิณ ชินวัตร ได้ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกกันว่า “ประชาธิปไตยที่กินได้” ไม่เลื่อนลอย เพ้อฝัน หรือเป็นจินตนาการที่จับต้องไม่ได้แต่อย่างใด เมื่อกล่าวข้อดีไปแล้ว ก็ต้องบอกถึงข้อเสียของนโยบายประชานิยมด้วยเช่นเดียวกัน

หมายเลขบันทึก: 564370เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2014 19:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มีนาคม 2014 19:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

...เป็นอาชีพที่หลอกลวง โกงคนได้ทั้งประเทศนะคะ...

ถ้า..อันสไตล์..ไม่เกิด..คงไม่มีระบบ..นิวเคลีย..เราจะโทษว่า..เขาเป็น..ผู้กระทำผิด..ด้วยหรือไม่..เมื่อมีผลเสีย..ที่เกิด..จาก..ระบบนี้ต่อเนื่อง...(ขอบพระคุณกับสิ่งที่นำมา..กล่าวและอ้างถึง..เจ้าค่ะ...)

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท