พระ "ดินดิบ" กับ "ดินเผา"


คนในวงการพระเครื่องที่ยังไม่แยก หรือแยกไม่ออกระหว่าง
ดินดิบ กับ ดินเผา 

ก็แสดงว่ายังไม่ได้ศึกษา เนื้อ มวลสาร วิธีการ และหลักการสร้างพระเนื้อดิน

ดินเผา.......
จะปั้นแล้วนำไปผ่านการเผาด้วยความร้อนสูง จนเนื้อดินเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมี แตกสลาย เกาะกันใหม่ และแข็งแกร่งทนทานกว่าดินธรรมดา (ที่ไม่เผา) แบบเดียวกับอิฐที่คงทนใช้เป็นวัสดุก่อสร้างได้ ทำหลังคาบ้านได้ แต่ระยะยาวจะผุพังได้แบบอิฐผุ อายุการใช้งานระดับร้อยถึงพันปี

ดินดิบ.....
จะคลุกด้วยน้ำมันที่เคี่ยวมาจากพืชสมุนไพร ที่เรียกกันว่า "น้ำว่าน" หรือในระยะหลังๆใช้น้ำมันชักเงาไม้ที่เรียก "ตังอิ้ว" ที่จะมีความเหนียวเกาะกันได้ดี หลังจากปั้นอาจจะผ่านการเคลือบด้วยยางไม้ และอบด้วยความร้อนให้เนื้อแกร่งขึ้น แต่ไม่ถึงกับเผา
มีความทนทานต่อการแทรกซืมของน้ำ มีชั้นยางไม้และน้ำว่านในเนื้อดิน 
เป็นการรักษาเนื้อดินให้ยังคงอยู่ จึงไม่ผุพังง่ายๆ มีความทนทานต่อการผุพัง แต่ไม่มีความแข็งแกร่ง

ถ้าน้ำว่านมากพออาจอยู่คงรูปอยู่ได้เป็นหมื่นๆปี

เท่าที่ผมพยายามสืบค้นดูนั้น
พระ "ดินเผา" มีเพียงกรุเดียว คือ กรุพระธาตุนาดูน มหาสารคาม
พระ "ดินดิบ" คือพระที่เหลือทั้งหมด

แต่ในตำรารุ่นเก่าอาจจะถือว่าการผ่านความร้อนแม้เพียงเล็กน้อยก็นับว่าเป็น "ดินเผา"

จึงเรียกรวมกันว่าดินเผาทั้งหมด

แตในความคิดของผม ผมคิดว่าน่าจะแยกกัน เพื่อการศึกษา และแยกแยะที่ง่ายขึ้นครับ

อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ

หมายเลขบันทึก: 563973เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2014 07:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มีนาคม 2014 07:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ในอดีตพระเนื้อดินดิบที่อาจารย์ผมสอนก็มีแค่ พระเม็ดกระดุมทางใต้ การแยกแยะก็คือ ถ้านำพระองค์นั้นมาล้างหรือแช่น้ำก็จะละลายกลายเป็นดินไปครับ ส่วนที่แช่แล้วไม่ละลายก็ถือว่าเป็นดินเผาครับ การจะเปลี่ยนความคิดหรือหลักการในการดูพระของเซียนแต่ละสายนั้นค่อนข้างจะยากครับ ต่อให้เรามีความคิดและความรู้ที่ถูกต้องกว่าก็ตาม นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่เกิดคำพูดประโยคที่ว่า"เล่นแค่ชอบ" หลักการของท่านอาจารย์แสวงก็ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์มาไขและในช่วงอายุของเราก็คงพอใช้กันได้ครับ ผมแนะนำทุกคนที่สนใจจะเข้ามาในวงการนี้ให้ศึกษาข้อเขียนของอาจารย์โดยให้อ่านย้อนหลังไปเรื่อยๆและให้อ่านหลายๆรอบครับ ถ้าใครอ่านจนขึ้นใจเวลามาหาผม ผมแค่ชี้หรือนำตัวอย่างมาประกอบก็จะเรียนรู้ได้เองครับ อย่างน้อยก็บอกว่าพระของตนเองนั้นเก๊แท้ได้(เฉพาะเนื้อผง) ความจริงแล้ววิชาความรู้ทั้งหลายก็อยู่ภายใต้กฏอนิจจังครับ หากแต่คนเราไปยึดมั่นถือมั่นกันไปเองครับ พยายามต่อไปครับท่านอาจารย์ ไม่ต้องให้คนรุ่นเก่ายอมรับก็ได้เพราะอีกไม่นานคนพวกนี้ก็แก่ตายไปเองครับ ผมรอให้ต้นไม้ใหม่ผลิดอกออกผลมาประดับวงการครับ วงการนี้ไม่มีอะไรเที่ยงแท้ ไม่ยึดติดก็ไม่ทุกข์ร้อน สุดท้ายถ้าเข้าใจก็คงเหลือแต่ความว่างเปล่าเท่านั้นครับ.....โชคดีมีความคิดทุกท่าน...........สวัสดีมีไตรลักษณ์ทุกคน

จะเป็นพระดินดิบ หรือดินเผาเท่าที่รู้...พระในบ้านสำคัญมากที่สุดสำหรับครุหยิน

บางทีก็หายากครับ ที่มีบางทีก็ไม่ใช่พระ

เลยต้องทำเอง หรือเป็นซะเอง อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท